ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #64 : [ม.6 Final1] สรุปพระพุทธศาสนา (บทที่ 5,6,7,8)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.34K
      12
      13 ก.ย. 58

    สรุปพระพุทธศาสนา ม.6 Final เทอม 1

    by. Biw TigerPisces

    เม้าท์ก่อนนิดนึง

                    คือบอกเลยว่า ห่างหายจากแวดวงวิชาสังคมไปนานมาก ๆ รอบนี้เลยกลับมาให้หายคิดถึง แต่นั่นก็หมายความว่า ถ้ามีวิชานี้ วิชาอื่นก็จะหักลบไป วิชาที่กะจะทำอีกอันมีภาษาไทยหลัก เฉพาะพาร์ทเนื้อเรื่องวรรณคดีอย่างเดียว (ชั้นก็ต้องอ่านหนังสือสอบเหมือนกันนะยะ) เดี๋ยว นอกเรื่องแล้ว เอาเป็นว่าพุทธศาสนารอบนี้จะมีหลายจุดที่ไล่คนอ่านไปอ่านต่อเองในหนังสือ (หรือลิ้งค์อื่นๆ) เพราะจะให้ใส่ทั้งหมดมันก็คงจะยาวยืด ไม่สมเป็นสรุปเนาะ แต่ แต่ ก็จะทดแทนด้วยภาพกราฟฟิกตามมีตามเกิดมาช่วยในการสร้างความเข้าใจในเนื้อหานะ ยังไงก็ใช้อ่านทวนสอบกันได้เลยจ้ะ


    ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥


    บทที่ 5 หน้าที่ชาวพุทธ มรรยาทชาวพุทธ และชาวพุทธตัวอย่าง

    บทบาทและหน้าที่ของพุทธบริษัท

    1. Class(บทบาทและหน้าที่) แห่งพระสงฆ์

    cr. Dragon Nest Online : Symbol

                    ใครจะเชื่อว่า พระสงฆ์ในศาสนาเราสามารถแบ่งคลาส(บทและหน้าที่)ให้อัพได้ดั่งกำลังเล่นเกมออนไลน์ โดยแบ่งได้ 5 คลาสให้อัพตามความสนใจ ดังนี้

                    1.1 พระธรรมกถึก (มีอีกชื่อว่า พระธรรมวาที) คือ พระนักเทศน์ เน้นการเผยแผ่พุทธศาสนาแก่ชุมชนด้วยวิธีเทศน์ตามงานบุญงานเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ประมาณว่า เทศน์ ถ่ายทอดธรรมะโดยตรงไปเลย
                   
    1.2 พระธรรมทูต คือ พระที่ทำหน้าที่เป็นทูต เป็นตัวแทนของชาวพุทธประเทศไทยที่จะไปเผยแผ่ศาสนาแก่สากลโลก
                   
    1.3 พระวิทยากร คือ พระอาจารย์ เน้นสกิลการสอนให้ความรู้ทางพุทธศาสนาเป็นหลัก แต่ถึงจะเน้นสอนทฤษฎี แต่ถ้ามีโอกาส ได้จังหวะเหมาะ ก็อาจจะทำหน้าที่แบบพระธรรมกถึก(พระนักเทศน์)ที่แอบสอดแทรกการสอนธรรมะไปในเนื้อหาด้วย
                   
    1.4 พระวิปัสสนาจารย์ คือ พระที่เน้นพระวินัยและบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัด ส่วนใหญ่มักจะออกธุดงค์
                   
    1.5 พระนักพัฒนา คือ พระนักบริหาร มีหน้าที่ธำรงไว้ซึ่งสถาบันศาสนาในประเทศ ซึ่งพัฒนาในที่นี้ ต้องพัฒนาทั้งระบบการศึกษาวิชาธรรม , สาธารณูปโภคของทั้งพระทั้งปุถุชน , และจิตใจของคนในสังคม (ประมาณว่า ต้องเป็น adviser ให้ประชาชนในแง่จริยธรรมได้ด้วย)

    2. บทบาทและหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกา

                    ……ถ้าเขาถาม ก็ตอบข้อที่โลกสวย ดูเป็นคนดีมีศีลธรรมเข้าไว้ แค่นั้นแหละ

    พิธีกรรมทางศาสนา (รวมเนื้อหาจากบทที่ 7 บางส่วนมาไว้ด้วยกัน)

    ประเภท

    ชื่อพิธี

    อธิบายเพิ่มเติม

    กุศลพิธี
    (นับว่าเป็นพิธีที่สำคัญทางศาสนา)

    การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

    พิธีประกาศตนว่าจะขอเป็น พุทธศาสนิกชน
    มีการให้โอวาท มีการกรวดน้ำ
    ถ้าเทียบกับศาสนาคริสต์(และยึดตามที่โรงเรียนสอน)
    จะมีค่าเท่ากับ ศีลกำลัง
    แต่ถ้ายึดตามแหล่งอ้างอิงอื่นๆ จะเหมือนกับ ศีลล้างบาป
    **ส่วนตัวดิชั้นว่าเพราะมันคลุมเครือ ไม่น่าเอามาออกอีก**

    การเวียนเทียน

    ปฏิบัติในสามวันหลัก คือ วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา กระทำเพื่อบูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม

    พิธีรักษาอุโบสถศีล

    คือ ช่วงเวลาการรักษาศีล 8 สำหรับอุบาสกอุบาสิกา
    แบ่งเป็น
    2 เลเวลให้เลือกทำ ได้แก่
    1.) ปกติอุโบสถ : ทำเดือนละ 4 ครั้ง ครั้งนึงใช้เวลา 1 วัน
    2.)
    ปฏิชาครอุโบสถ : ทำเดือนละ 4 ครั้ง ครั้งนึงใช้เวลา 3 วัน

    การสวดมนต์ไหว้พระ

     

    บุญพิธี

    การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ,
    งานแต่งงาน ,
    การทำบุญเลี้ยงพระ

    จัดเป็นประเภท งานมงคล

    การทำบุญหน้าศพ ,
    การทำบุญอัฐิ

    จัดเป็นประเภท งานอวมงคล

    **(อันนี้ฟังมาอีกทีค่ะ) ทริคแยกความแตกต่างระหว่าง กุศลพิธี vs บุญพิธี คือ
    กุศลพิธี จะเป็นพิธีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยตรง แต่บุญพิธี เป็นพิธีแบบฆราวาสที่เอาพุทธศาสนาไปเสริมเพื่อเป็นสิริมงคล

    ทานพิธี
    (ควรถวาย
    ทานวัตถุ
    10*
    หรือ เครื่องอาศัย 4*)

    การทอดกฐิน

    จัดเป็น กาลทาน
    กำหนดไว้ว่า ถวายได้ตั้งแต่
    แรม
    1 ค่ำ เดือน 11 ถึง
    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    1 ปีทำได้แค่ครั้งเดียว

    จัดเป็น ปาฏิบุคลิกทาน
    (เจาะจงว่าจะถวายพระสงฆ์รูปใด
    ก็แหม กำหนดวัด กำหนดตัวแทนรับกฐินกันซะขนาดนี้แล้วนี่เนอะ)

    การถวายสังฆทาน

    จัดเป็น อกาลทาน
    จะไปถวายเมื่อไหร่ก็ได้

    จัดเป็น สังฆทาน
    (ไม่เจาะจงพระสงฆ์รูปใด)

    การถวายผ้าอาบน้ำฝน
    และผ้าจำนำพรรษา

    จัดเป็น กาลทาน
    คือต้องทำในช่วงเข้าพรรษา

    จัดเป็น ปาฏิบุคลิกทาน

    ปกิณกพิธี
    (พิธีเบ็ดเตล็ด)

    ความจริง คือ เป็นรายละเอียดยิบย่อยของสามพิธีข้างต้น รวมถึงพิธีอื่น ๆ
    ที่ไม่ได้นับไว้

     

                   

                  *ทานวัตถุ 10 คือ วัตถุที่ควรถวายเป็นทาน ได้แก่ อาหาร , น้ำ , ผ้า , ยานพาหนะ(หรือค่าโดยสาร) , มาลัยดอกไม้เครื่องบูชา , ของหอม(ธูปเทียนบูชาพระ) , เครื่องลูบไล้(เครื่องสุขภัณฑ์) , ที่นอน , ที่อยู่อาศัย , เครื่องที่ให้แสงสว่างได้  //ตรงนี้ไม่ต้องจำให้เป๊ะก็ได้ แต่จำแค่ว่า ไม่มี ยารักษาโรค บัญญัติไว้ในนี้ (ไปอยู่ใน เครื่องอาศัย 4 แทน)

                    *เครื่องอาศัย 4 (เรียกอีกอย่างว่า จตุปัจจัย) คือ ก็คือ ปัจจัย 4 เวอร์ชั่นดำรงบรรพชิต เป็นสิ่งที่ใส่ไปคู่กับทานวัตถุ10 ได้ไม่มีปัญหา (แต่เวลาสวดคำถวายก็จะสวดแยกกัน) ได้แก่ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ
    (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา)

                   

                    ในส่วน ปกิณกพิธี หรือ พิธีเบ็ดเตล็ด สิ่งที่จะถูกพูดถึงบ่อย ๆ คือ รายละเอียดเกี่ยวกับ การอาราธนา ที่เป็นทรีโอ้พาวเว่อร์พัฟเกิร์ลมาด้วยกัน 3 แบบ คือ

    รูปแบบ

    รายละเอียด

    หมายเหตุ

    อาราธนาศีล

    ขอพระสงฆ์ให้ช่วยให้ศีล

    มักจะมี สมาทานศีล คือลูกคู่รับ แบบว่า พระสงฆ์อาราธนาศีลข้อที่หนึ่ง อุบาสกอุบาสิกาก็ต้องสมาทานศีลใจความว่า ขอน้อมรับว่าจะงดเว้นการฆ่าสัตว์ค่ะ

    อาราธนาธรรม

    ขอพระสงฆ์ให้ช่วยแสดงธรรม
    (ทำหลังจากการอาราธนาศีล และสมาทานศีลเสมอ)

    มีข้อจำกัดคือ ทำได้เฉพาะในงานวัดงานเทศกาลเท่านั้น (ทำบุญขึ้นบ้านใหม่งี้ คงไม่มากระแดะสวดอาราธนาธรรมหรอก)

    อาราธนาพระปริตร

    ขอพระสงฆ์ให้ช่วยสวดมนต์ให้พร
    (ทำหลังจากการอาราธนาศีล และสมาทานศีลเสมอ)

    ถ้าสวดในงานมงคล เรียกว่า 
    เจริญพระพุทธมนต์ 
    ถ้าสวดในงานอวมงคล
     เรียกว่า 
    สวดพระพุทธมนต์

     

    การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ

                    ถ้าถาม ก็ให้ทำทุกอย่างที่คิดว่า สุภ๊าพสุภาพ และโลกสวยไปก่อน (เช่น ลุกให้นั่ง กล่าววาจาสำรวม แต่งกายเรียบร้อย ฯลฯ) จะมีพิเศษที่ต้องจำเพิ่มนิดหน่อยแค่
                    -
    การพูดคุย : ระหว่างการสนทนา ให้ประนมมือตลอดเวลา แต่ถ้าไม่มีการสนทนาต่อกัน (เช่น ท่านเดินผ่าน แล้วมองหางตามาที่เราเฉยๆ) ให้ประสานมือเหมือนตอนแผ่เมตตาแทน
                    -
    การให้ทางพระสงฆ์ : ให้หลีกชิดมาทางซ้ายมือของท่าน
                    -
    การเดินตามพระสงฆ์ : เดินทิ้งระยะห่าง 2 - 3 ก้าว เยื้องไปทางซ้ายเสมอ

    การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์

    1. ต่อครอบครัว ทั้งครอบครัวควรจะมี สมชีวิธรรม 4’  (สิ่งที่ควรมีให้ตรงกัน ถ้าไม่มี โอกาสบ้านแตกจะมีสูงมั่ก)
                   
    สมชีวิธรรม 4
                   
                    1.1 สมสัทธา เคารพศรัทธาศาสนาเดียวกัน
                                   
    1.2 สมสีลา สันดา.. เอ้ย ความประพฤติ วิถีปฏิบัติ เหมือนกัน
                                    1.3
    สมจาคา มีความใจกว้าง ใจบุญเท่าๆ กัน (จะได้ไม่ต้องมาตามด่ากันว่า แกเอาของไปให้เขาทำไมน่ะ!)
                                   
    1.4
    สมปัญญา ฉลาดพอ ๆ กัน (จะได้พูดกันรู้เรื่อง)

    2. ต่อชุมชน  ชุมชนนี้จะอยู่รอดได้ดี สงบสุข ทุกคนควรจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในใจ

                    2.1 นาถกรณธรรม 10 : หลักการที่ทำให้ตนเองพึ่งตนเองเป็น อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ จะได้ไม่ไปถ่วงแข้งถ่วงขาชาวบ้าน (ซึ่งมันก็มีแยกย่อยอีกสิบข้อ ถ้าใครใคร่จะท่อง แนะนำให้เปิดหนังสือ ไม่ก็ตาม ลิ้งค์นี้ นะลูก)

                    2.2 สาราณียธรรม 6 : ธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน จะได้รู้จักเกรงใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่เบียดเบียน และเน้นการช่วยเหลือกัน (เหมือนเดิมค่ะ 6 ข้อ ถ้าใครจะท่องก็เปิดหนังสือไม่ก็ตาม ลิ้งค์นี้ นะคะ)

    3. ต่อประเทศชาติยันสากลโลก  โลกจะสงบสุขได้ ต้องมีหลักธรรม 2 ตัวนี้

                    3.1 พรหมวิหาร 4 : เป็นธรรมของผู้ใจกว้าง ได้แก่ เมตตา(รักเขา) กรุณา(ช่วยเขา) มุทิตา(ยินดีกับเขา) อุเบกขา(วางเฉย)

                    3.2 สังคหวัตถุ 4 : เป็นธรรมเพื่อการสังเคราะห์ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา(ทำประโยขน์แก่เขา) สมานัตตา(ปรับตัวให้เป็น และดำรงตนแบบเสมอต้นเสมอปลาย)

    ชาวพุทธตัวอย่าง

    ชื่อ

    ผลงานที่โดดเด่น

    วิวาทะ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)

        สร้างวัด
    - วัดเบญจมบพิตร (โปรดให้ช่างจำลองพระพุทธชินราชไว้เป็นพระประธานในอุโบสถ)
    - วัดราชบพิธ
    - วัดเทพศิรินทราวาส (สร้างถวายพระราชชนนี)
    (และมีวัดที่โปรดให้สร้างตามหัวเมืองชนบท)
    - วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (เป็นสถาปัตยกรรมโกธิคอาร์ท)
    - วัดอัษฎางคนิมิตร
    - วัดจุทาทิศราชธรรมสภา
     
     ♥ บูรณปฏิสังขรณ์(ซ่อมแซม)วัด
    - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
    - วัดมหาธาตุ
    - วัดมกุฎกษัตริยาราม
    - วัดพระพุทธบาท
    - วัดสุวรรณดาราม
    - วัดพระปฐมเจดีย์
      
    พระไตรปิฏก ฉบับทอง จัดทำในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก (ครองราชย์ 25th)นับเป็นฉบับแปลไทยฉบับแรก
      
    เริ่มกฎหมายสงฆ์ครั้งแรก คือ ... ลักษณะปกครองสงฆ์
      
    เริ่มให้มียศทางสงฆ์เป็นครั้งแรก คือ (สมเด็จ)พระสังฆราช
      
    เริ่มสภาสงฆ์ครั้งแรก คือ มหาเถรสมาคม
      
    ตั้งวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหามกุฎราชวิทยาลัย และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

     

    พระโพธิญาณเถร
    (ชา สุภัทโท)
    เรียกกันว่า
    หลวงพ่อชา

        เป็นผู้ถือเนสัชชิก (ปรารถนาความเพียร ไม่เห็นแก่การนอน)
     
      ต้นไม้สอนธรรม

    “อย่าแบกพัดยศ อย่าแบกคัมภีร์เข้ามาในวัด”
    “ถ้าไม่ลดทิฐิมานะลงก็เหมือนน้ำเต็มแก้ว”
    “พระเรานี่ได้มาโดยไม่ต้องออกแรงอะไร”

    อนาคาริก ธรรมปาละ
    (เดวิด เหวะวิตารเน)
    เรียกกันว่า
    พระธรรมปาละ

        เป็นผู้เรียกร้องและต่อสู้ให้ศาสนาพุทธกลับมามีบทบาทในแถบอินเดีย (มีผลทำให้ UNESCO ยก พุทธคยา ขึ้นเป็นมรดกโลก)

       จัดตั้งสมาคมมหาโพธิ์ ที่กรุงโคลัมโบ

    “จะได้รีบกลับมาเกิด และทำหน้าที่ต่อไป”

    พระพรหมคุณากรณ์
    (ป
    ..ปยุตโต)
    ฉายา
    พระธรรมปิฏก

       ได้รับพระราชทานให้เป็น นาคหลวง(นับเป็นรูปที่2 ของรัชกาลปัจจุบัน)
      
    เขียนหนังสือ พุทธธรรม ขึ้นชาร์จ Best seller ของวงการหนังสือพุทธศาสนา
      
    ฉายา เพชรน้ำเอกในวงการหนังสือ
      
    จัดทำ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์
      
    ฉายา เพชรแท้ในด้านภาพลักษณ์สงฆ์

    “ท่านเจ้าคุณจะสามารถเป็นเกลือที่รักษาความเค็มไว้ได้อย่างดีตลอดไป”
    สมเด็จพระสังฆราช กล่าวถึง พระธรรมปิฎก

     

    ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥


    บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

    บทสวดทั้งหลาย อ่านเองในหนังสือเถอะนะ

    การบริหารจิต และการเจริญปัญญา

    1. สมถกรรมฐาน หรือ สมถะ คือ การกระทำเพื่อฝึกจิตให้เป็นสมาธิ โดยก่อนจะไปถึงสมาธิได้ ก็มักจะมีตัวคอยขัดขวางเรียกว่า นิวรณ์ 5  (อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน )

                ซึ่งเราสามารถจำลองภาพเส้นทางไปสู่สมาธิได้ ดังนี้


    รูปขนาดเต็ม

                จากภาพ ถ้ากำจัดซึ่งนิวรณ์ 5 (พวกกำแพง หิน ไม้) ได้ครบ ก็จะได้มาซึ่ง สมาธิ (ได้คะแนนจากการตบอิหมูเขียว) แล้วจะได้สมาธิขั้นไหน(กวาดได้กี่ตัว)ก็แล้วแต่ความโปรของแต่ละคน //พอจะเก็ทกันใช่มั้ยคะ

    2. วิปัสสนากรรมฐาน  คือ การกระทำเพื่อให้เห็นแจ้ง การเจริญปัญญา ด้วย สติปัฏฐาน 4 ดังนี้
    สติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญสติระลึกรู้
                    1.
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
                    2.
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส เช่น พอได้กลิ่นหอม แล้วรู้สึกยังไง >>> รู้สึกสุข ประมาณนี้  
                    3.
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนของการรับรู้(อารมณ์) เช่น คิดขึ้นมาเลยว่าตอนนี้จิตมีโทสะมั้ย มีอารมณ์โกรธใครอยู่มั้ย ไม่มี ดีค่ะ ทำต่อไป

                    4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่องทั้งรูปธรรมและนามธรรม

    รูปขนาดเต็ม

    **สติปัฏฐาน เป็นหนึ่งในทีมหลักธรรมที่ช่วยให้ตรัสรู้ได้ หรือเรียกกันว่า โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ : หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ (ตัวในทีมอื่นๆ ก็จะมีอีก 6 ตัว รวมเป็น 7 เช่น สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 เป็นต้น อยากรู้เพิ่มเติม ไปอ่านในนี้นะคะ)
    https://www.unzeen.com/article/437/

    3. โยนิโสมนสิการ คือ รูปแบบการคิดถึงต้นตอสาเหตุ แล้วซักทอดจากต้นถึงปลายอย่างมีระบบระเบียบ โดยไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกมาปะปน สามารถพัฒนาการเรียนรู้เกิดเป็นปัญญา และใช้กำจัดอวิชชาและตัณหาได้ดีที่สุด
    ผลลัพธ์ของการคิดด้วยโยนิโสมนสิการ คือ วิมุตติ (การหลุดพ้น)
    // ซึ่งจะการคิดแบบโยนิโสมนนสิการ ก็มีถึง 10 วิธี ใครใคร่จะอ่านก็เปิดในหนังสือเองจะดีกว่านะคะ

    ศัพท์ควรรู้ : วิภัชชวาท คือ การพูดแบบแยกแยะจำแนก แถลงความแบบวิเคราะห์ ไม่แถ ไม่จับแพะชนแกะ  เป็นการพูดที่จะครอบคลุมทำให้วิธีที่ผ่านๆ มา เกิดประสิทธิผลได้เป็นอย่างดี


    ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥


    บทที่ 7 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และศาสนพิธี

    วันสำคัญทางพุทธศาสนา

    ชื่อวัน

    เวลา / ช่วงเวลา

    ความสำคัญ (ที่ควรรู้)

    หลักธรรม / พิธี /
    กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

    วันวิสาขบูชา
    (วันพระพุทธ)

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

    วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

    เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณ
    UN ยกให้เป็น วันสำคัญสากลนานาชาติ ในชื่อ วันสันติภาพโลก
    ถ้าเป็นที่ลังกา จะมี พิธีพุทธชยันตี เพื่อเฉลิมฉลองแด่พระพุทธเจ้า
    (ไทยก็เคยมีตอน 2555 นะ ฉลองในโอกาสครบ 2600 ปีการตรัสรู้นี่แหละ)

    ตรัสรู้ : อริยสัจ 4 (เป็นหลัก)
    ปรินิพพาน : ประทานปัจฉิมโอวาท
    (เกี่ยวกับ
    ความไม่ประมาท)

    วันอาสาฬหบูชา
    (วันพระสงฆ์)

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

    วันแสดงปฐมเทศนา
    วันที่เกิดพระอริยสงฆ์และสาวกองค์แรก
    วันมีพระรัตนตรัยครบ 3 ประการ
    ได้รับการเพิ่มเป็นวันสำคัญทางราชการเป็นอันดับล่าสุด (14 .. 2501)

    ธัมมจักกัปวัตนสูตร*

    วันมาฆบูชา
    (วันพระธรรม)

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

    เรียกอีกชื่อว่า จาตุรงคสันนิบาต
    เรียกอีกชื่อว่า วันมาฆบุรณมี
    พระสงฆ์มาประชุม 1,250 รูป
    (เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด) 
    Full Moon Party (ศิวาราตรี)เป็นการบูชาในวันเพ็ญ เดือน 3 (ที่เลือกมากันในวันจันทร์เต็มดวง เดือน3 เพราะพระสงฆ์ทั้งหมดต่างเคยเป็นพราหมณ์ และชินกับพิธีพราหมณ์ที่มักจะทำในช่วงนี้)

    แสดง โอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจหลักของคำสอนในพุทธศาสนา
    จัดเป็น วันกตัญญูแห่งชาติ
    (แบบว่า พระอรหันต์กลับมาหาพระพุทธเจ้าอะไรงี้)

    โอวาทปาฏิโมกข์*

    (ไม่ใช่วันสำคัญ)
    วันปลงพระชนมายุสังขาร

    (ตอนมีพระชนมายุได้ 79 พรรษา)
    เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศแล้วว่า จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

     

    วันอัฏฐมีบูชา

    แรม 8 ค่ำ เดือน 6

    เป็นวันถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า

    ให้ระลึกถึง ปัจฉิมโอวาทอีกหน
    รวมถึงเรื่องสังขารที่ไม่เที่ยงแท้

    วันธรรมสวนะ

    ขึ้น/แรม 8 ค่ำ
    ขึ้น
    /แรม 15 ค่ำ

    เป็นวันแห่งการฟังธรรมะ = วันพระ
    คนริเริ่ม คือ พระเจ้าพิมพิสาร

     

    วันเข้าพรรษา

    *ปุริมพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8
    *ปัจฉิมพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 9

     

    การถวายผ้าอาบน้ำฝน
    และ ผ้าจำนำพรรษา

    วันออกพรรษา

    ถ้าเข้ารอบปุริม =  ขึ้น15 ค่ำเดือน 11
    ถ้าเข้ารอบปัจฉิม =  ขึ้น15 ค่ำเดือน 12

     

    การตักบาตรเทโวโรหณะ*
    การทำพิธีปวารณา
    (ให้พระสงฆ์กล่าวตักเตือนกัน)

    เทศกาลทอดกฐิน

    แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง
    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    เป็นกาลทาน
    แบบ
    1 ครั้งต่อปี

    มีขั้นตอน กรานกฐิน คือ การเลือกตั้งในหมู่สงฆ์ว่ารูปไหนจะเป็นตัวแทนมารับกฐิน (เป็นการสะท้อนถึงประชาธิปไตยในคณะสงฆ์)

    เทศกาล
    ลอยกระทง

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา
    รวมถึงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ตรงฝั่งแม่น้ำนัมมทา

     

    เทศกาลสงกรานต์

    13 - 15 เม..

    นับเป็นวันครอบครัว
    (คนละอย่างกับ กตัญญูนะคะ)

    ขนทรายเข้าวัด
    สรงน้ำพระ
    รดน้ำผู้ใหญ่
    บังสกุลอัฏฐิให้ญาตผู้ล่วงลับ

    *บางส่วนสีเทาไว้ เพราะไม่จำเป็นต้องบรรยายอะไรเพิ่มแล้ว

    ส่วนขยายจากตาราง

    1. *ปุริมพรรษา ปัจฉิม พรรษา คืออะไร?
                    มันเหมือนพวกเธอลงเรียนพิเศษอ่ะ
                   
    ปุริมพรรษา (เรียกได้อีกว่า พรรษาต้น พรรษาแรก) นี่ถ้าให้เทียบเป็นรอบสดรอบแรก ก็จะจบไวกว่าชาวบ้าน
                   
    ปัจฉิมพรรษา (เรียกได้อีกว่า พรรษาหลัง) ก็จะเริ่มช้ากว่า จบช้ากว่า
                    เป็นระบบที่เอาไว้รองรับกิจธุระส่วนตัวของพระสงฆ์แต่ละรูป เพราะทุกรูปก็ใช่ว่าจะสะดวกตรงกันหมดเนอะ

    2. ทริคจำเดือนระหว่าง อาสาฬหบูชา กับ มาฆบูชา (หลายคนจะจำสลับกันประจำ วันนี้มีทริคมาฝากค่ะ)

                    อาสาฬ >>> >>> ออกเสียง หะ >>> ** = เดือน 8

                    มาฆบูชา >>> มา >>> มาสาย >>> มาสาม = เดือน 3
    **
    ออกเสียงว่า ฮะจชิ ซึ่งมีความหมายเป็น เลข 8 ในภาษาญี่ปุ่น (ฮะ ใกล้เคียงกับ หะ เลยเอามาใส่ในสูตรค่ะ)

    3. โอวาทปาฏิโมกข์ ไม่ได้มีแค่ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์นะจะบอกให้
                    ที่เราจำฝังหัวกันมาตลอดว่ามันจะมีแค่สามวลีนี้ ว่าเป็นข้อนิยามของโอวาทปาฏิโมกข์ มันก็ถูก แต่ยังไม่ครบค่ะ เพราะความจริงมันจะมีอีก 2 หลักธรรม รวมเป็น 3 ที่เป็นเนื้อหาของโอวาทปาฏิโมกข์ ก็คือ
                    1.
    อุดมการณ์ 4 : อดทน , มุ่งมั่นสู่นิพพาน , ไม่ทำร้ายผู้อื่น , ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
                    2.
    หลักธรรม 3 : ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (อันนี้รู้อยู่ละ)
                    3.
    วิธีการ 6 : ไม่กล่าวร้าย , ไม่ทำร้ายใคร , สำรวมในพระปาฏิโมกข์ , ประมาณในอาหาร , ที่นอนที่นั่งสงัด , เพียรในอธิจิต

    4. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทำไมบางทีก็เจอว่า เกี่ยวกับ อริยสัจ 4 มัชฌิมาปฏิปทา มรรค 8 ยันไตรสิกขา ??

    รูปขนาดเต็ม

    พอเป็นตามนี้ ทุกหลักธรรมที่ปรากฏในรูป ก็จะเป็นสิ่งที่ได้พูดในวันอาสาฬหบูชาทั้งหมด (อย่าโดนข้อสอบหลอกล่ะพวกเธอ)
     บางคนอาจจะมีคำถามว่า อี มรรค 8 มันจะไปอยู่อะไรเยอะแยะ อืมลองดูตามนี้นะคะ

    มรรค (8) เป็นหนึ่งในหลักธรรมของ อริยสัจ 4

    มรรค 8 มีอีกชื่อว่า ไตรสิกขา (แต่ถ้าจะใช้ชื่อนี้ 8 ข้อจะถูกแบ่งเป็น 3 Unit)

    มรรค 8 เป็นองค์ประกอบของ การเดินทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา

     

    5. วันเทโวโรหณะ (การตักบาตรเทโวโรหณะ)
                    เชื่อกันว่า เป็นวันที่พระเจ้าเปิดโลก และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์
                    สามารถจัดในหลังวันออกพรรษา(ที่เกิดจากการเข้าพรรษารอบปุริมพรรษา)
    1 วัน
                    หรือจะรอให้ตรงกับช่วงเริ่มต้นของเทศกาลทอดกฐินก็ได้
    =
    แรม 1 ค่ำ เดือน 11
                    ตามแต่ใจจะสะดวกเลยค่ะ
                    **ประเพณีโยนบัว ต้องทำก่อนวันออกพรรษานะจ๊ะ

    6. พิเศษ เผื่อออก การทอดกฐินของเตรียมอุดมฯ
                    ปี 58 : วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี
                    ปี
    57 : วัดเจ็ดยอด จ.เชียงใหม่

    คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธี

                    อีกแล้วเหรอคะ ถ..ถ้าถามก็หาข้อโลกสวยตอบไป แค่นั้นแหละค่ะ


    ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥


    บทที่ 8 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหา และการพัฒนา

    ในแง่เศรษฐศาสตร์ : การบริหารทรัพย์แบบพุทธ style

    1. ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (หัวใจเศรษฐี หรือ หลักธรรมสร้างคุณภาพชีวิต หรือ หลักธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน)

                    1.1 อุฏฐานสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ได้แก่ มานะพากเพียรเรียนหนังสือ ขยันทำมาหากิน และตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด(ด้วยความเต็มใจด้วยนะ)

                    1.2 อารักขสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษา ได้แก่ ออมเงิน หรือ รักษาตำแหน่งหน้าที่การงานไว้ให้ดี

                    1.3 กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดีไม่คบคนชั่ว

                    1.4 สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก พอเพียงตามแต่กำลังตน

    2. หลักสันโดษ = พอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนมี แบ่งเป็น 3 ด้าน

                    2.1 ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามได้) คือ ยินดีในสิ่งที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง ไม่โลภ ไม่ต้องไปอิจฉา ริษยา อยากได้ของของคนอื่น ตัวอย่างเช่น พอใจในผัวของตัวเอง อย่าไปแย่งของเพื่อนเลย (เอ๊ะ) ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อยากทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

                    2.2 ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) คือ ตั้งใจทำงานให้สุดความสามารถ อย่ากั๊ก อย่าออมแรง แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องไม่หักโหมจนเกินไป

                    2.3 ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) คือ ใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอเหมาะพอควร อย่าฟุ่มเฟือย แต่ก็อย่าตระหนี่เกินไป ให้เสียสละ(จาคะ)ทำบุญบ้างอะไรบ้างก็ดีนะแก

    3. โภคอาทิยะ 5 คือ หลักการใช้ทรัพย์อย่างชาญฉลาด

                    3.1 ใช้จ่ายทรัพย์ นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข

                    3.2 ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข เช่น ไปคาราโอเกะกัน

                    3.3 ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ เช่น จ้างรปภ. จ้างบอดี้การ์ด ต่อรั้ว ติดกล้องวงจรปิด

                    3.4 ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ 5 อย่าง ได้แก่
                                   
    ก. อติถิพลี              ใช้ต้อนรับแขก คนที่ไปมาหาสู่
                                    ข. ญาติพลี             ใช้สงเคราะห์ญาติพี่น้องที่กำลังช็อต 
                                    ค. ราชพลี               ใช้บำรุงราชการ เช่น การเสียภาษีอากร การบริจาคเลือด เป็นต้น
                         
        
    ง. เทวตาพลี           บำรุงเทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ
                                   
    จ. ปุพพเปตพลี      ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณ
                    3.5 บำรุงสมณพราหมณ์ คือ บริจาคเงินบำรุงศาสนา บำรุงวัดที่น่าเชื่อถือ ดูแล้วไม่ใช่ลัทธิจานบิน

    พิเศษ ความเหมือน-ความต่าง ของหลักธรรมบางข้อ

    ยถาสารุปปสันโดษ สมชีวิตา

    เหมือนกันตรงที่ สอนให้รู้จักการใช้จ่ายว่า มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก อย่าเปลือง

    ยถาสารุปปสันโดษ จาคะ

    เหมือนกันตรงที่ สอนให้รู้จักบริจาค ก็คือเสียสละให้คนอื่นบ้าง

    ยถาพลสันโดษ อุฏฐานสัมปทา

    เหมือนกันตรงที่ สอนให้รู้จักตั้งใจทำงานให้สุดกำลังเท่าที่จะทำไหวเหมือนกัน

    ยถาสารุปปสันโดษ x อารักขสัมปทา

    ยถาสารุปปสันโดษ คือ เรื่องใช้จ่าย
    อารักขสัมปทา คือ เรื่องอดออม (จ่ายเงินกับออมเงิน มันไม่เหมือนกันนะตัวเอง)

     

    พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ เหมือนกันอย่างไร?

    ความเหมือน

    ความต่าง

    1. ใช้หลักเหตุ และผลเหมือนกัน
    2. เน้นให้สังเกต สงสัย ตั้งคำถาม ศึกษา และปฏิบัติพิสูจน์ด้วยตัวเองเหมือนกัน
    3.  สอนและศึกษาจากหลักความจริง หลักธรรมชาติเหมือนกัน

    พุทธศาสนา

    วิทยาศาสตร์

    เน้นอนาคตมากกว่า
    (ต้องนิพพาน ชาติหน้าจะได้ไม่มาวนเวียนอีก)

    เน้นรับมือกับปัจจุบันมากกว่า


    พุทธศาสนาสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยอย่างไร?

                    การทำสังฆกรรม (ประชุมสงฆ์) / กรานกฐิน       =     การเคารพมติส่วนรวม
                    การไร้ระบบวรรณะ                                          =     หลักความเสมอภาค
                    ตั้งข้อสงสัยในหลักธรรมได้                                
    =    หลักเสรีภาพ
                    สาราณียธรรม
    6
    (ธรรมในการอยู่ร่วมกัน)           =    หลักภราดรภาพ (หลักคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนควรเกื้อกูลกันดุจเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน)

    พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาสังคม

    ปัญหา

    แก้ไขด้วยหลักธรรมนี้

    สามี vs ภรรยา

    ฆราวาสธรรม 4
                1.
    สัจจะ  (ซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน ไม่หลอกลวงคดโกง)

                2. ทมะ   (การรู้จักข่มจิตของตน ไม่ให้โกรธ ไม่ให้นอกใจ)

                3. ขันติ  (ความอดทนในการศึกษาเล่าเรียน และในการทำงาน)

                4. จาคะ  (สละวัตถุสิ่งของ หรือกำลังกายสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน รวมถึงช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากอื่น ๆ ด้วย)

    พ่อแม่ vs ลูก / คนในโลกไฝ้ว์กัน

    พรหมวิหาร 4
    **พ่อแม่เป็นดุจพรหมของลูก หรือก็คือ เป็นผู้พร่ำสอนดูแลลูก

    คนขาดจริยธรรม

    แก้ที่ตัวผู้สอน ให้มี ครุฐานิยมธรรม(เรียกอีกอย่างว่า กัลยาณมิตรธรรม)ในใจ
       1. ปิโย (เมตตา เอาใจเขาใส่ใจเรา)

       2. ครุ (น่าเคารพ)

       3. ภาวนีโย (เป็นผู้รู้ลึก รู้จริง)  
       4
    . วตฺตา (รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ คอยให้คำแนะนำตักเตือนและเป็นที่ปรึกษาที่ดี)

       5. วจนกฺขโม (พร้อมรับฟังคำปรึกษาซักถาม อดทนต่อคำล่วงเกิน)

       6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้)

       7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหล)
    แก้ที่ผู้เรียนด้วย …..สันดานมันเองแหละ
    แก้ที่ผู้สนับสนุน(ระบบการศึกษา)ด้วย การออกนโยบาย และจัดทำระบบให้เข้าถึงเรื่องจริยธรรมมากขึ้น (แต่ความจริงถอดออกทั้งชุดเลยน่าจะง่ายกว่า)

    สังคมไร้ระเบียบวินัย

    ให้ทุกคนมี พลธรรม 5 (เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 5) ในใจ
         1. ศรัทธาพละ ให้เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

         2. วิริยะพละ ให้ยึดในหลักคนขยัน หมั่นศึกษา และปฏิบัติ

         3. สติพละ ให้ระลึกถึงความสำคัญของจริยธรรม

         4. สมาธิพละ ให้ฝึกทำสมาธิเสมอ

         5. ปัญญาพละ ให้รอบรู้ความจริงในชีวิตและสังคม

                                     

    //ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนที่ช่วยกันตรวจสอบนะคะ

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

    http://www.xn--12c9b1aha5ai6e7a.com/2013/06/tittathammikatta-4.html#sthash.Xav5Y0hA.dpuf
    https://mrvop.wordpress.com/2010/02/24/sd/
    http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/
    http://talk.mthai.com/topic/370617
    http://board.palungjit.org/f13/
    http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m5/web/hungtoom/p11_1.php
    http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn16.php
    http://www.nkgen.com/13.htm
    https://sites.google.com/site/supatsorn3001/sasn-phithi
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=
    13263
    http://www.mmv.ac.th/Result/online/Renu/ka4.htm
    http://www.thongteaw.com/Travel_tour_content
    https://th.wikipedia.org/wiki/
    สมาธิ_(ศาสนาพุทธ)

    โชคดีกับ Final นะคะทุกคน ฮิ้ววว

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×