ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #55 : [Final ม.5 เทอม2] ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Part. รัชกาลไหน โดดเด่นอะไร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.6K
      7
      19 ธ.ค. 58

    Note เฉพาะกิจ : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Final
    Part. กษัตริย์รัชกาลไหน โดดเด่นอะไร

    By.BiwTigerPisces

    หมายเหตุ : ตรงไหนที่มันว่าง ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ทำ แต่แค่มันไม่เด่นออกมา(และหนังสือก็ไม่ได้บอกไว้)แค่นั้น


    รัชกาลที่ 1 (พ..2325 – 2352)

    คลอง

    คลองบางลำพู , คลองหลอด , คลองโอ่งอ่าง , คลองมหานาค

    ถนน

     

    เกษตรกรรม

    ปลูกอ้อย ข้าว พริกไทย

    อุตสาหกรรม

     

    ค้าขายกับจีน

     

    ค้าขายกับตะวันตก

     

    ระบบภาษีเงินตรา

     

    ธุรกิจพาณิชย์

     

    การคมนาคมอื่นๆ

     

    การติดต่อสื่อสาร

     

     

    รัชกาลที่ 2 (พ..2352 – 2367)

    คลอง

    คลองลัดเมือง

    ถนน

     

    เกษตรกรรม

    ปลูกอ้อย ข้าว พริกไทย

    อุตสาหกรรม

    เริ่มทำน้ำตาลทราย 

    ค้าขายกับจีน

    เริ่มระบบ การผูกปี้ข้อมือจีน

    ค้าขายกับตะวันตก

     

    ระบบภาษีเงินตรา

     

    ธุรกิจพาณิชย์

     

    การคมนาคมอื่นๆ

     

    การติดต่อสื่อสาร

     

                                             

    รัชกาลที่ 3 (พ..2367 – 2394)

    คลอง

    คลองบางขุนเทียน , คลองด่าน , คลองสำโรง , คลองแสนแสบ

    ถนน

     

    เกษตรกรรม

    ปลูกอ้อย ข้าว พริกไทย

    อุตสาหกรรม

    เริ่มผลิตดีบุกส่งออกอย่างจริงจัง แบบใช้แรงงานคนทำ
    และน้ำตาลทราย นิยมที่สุดในช่วงนี้ (อัพเกรดเป็นโรงงานน้ำตาล)

    ค้าขายกับจีน

    ติดต่อซื้อขายกับจีนมากที่สุด

    ค้าขายกับตะวันตก

    - ..2368 ทำสนธิสัญญาเบอร์นี (ไทยได้เปรียบ)
    - ..2375 ทำสัญญาไมตรีและการค้ากับสหรัฐอเมริกา โดยมี เอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูต

    ระบบภาษี / เงินตรา

    - เริ่มให้ 'เบี้ยรายหวัด' แก่ราชการ (อ้างอิงจากหนังสือภาษาไทยเล่มฟ้าๆ หน้า 48)
    - ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร
    - เก็บภาษีปากเรือ (ตามสนธิสัญญาเบอร์นี)
    - ต้องการ เงินส่วย มากกว่าการ เข้าเวร โดยกำหนดอัตราเงินส่วนคนละ 18 บาทต่อปี
    - ออมเงินถุงแดงไว้

    ธุรกิจพาณิชย์

     

    การคมนาคมอื่นๆ

     

    การติดต่อสื่อสาร

     

      

    รัชกาลที่ 4 (พ..2394 – 2411)

    คลอง

    คลองผดุงกรุงเกษม , คลองมหาสวัสดิ์ , คลองภาษีเจริญ , คลองดำเนินสะดวก , คลองถนนตรง(หัวลำโพง) , คลองเจดีย์บูชา  

    ถนน

    ถนนเจริญกรุง , ถนนบำรุงเมือง , ถนนเฟื่องนคร , ถนนสีลม , ถนนพระราม 4

    เชิงผลิต

    เกษตรกรรม

    ตั้งโรงสีข้าว (โดยใช้เครื่องจักรจากสหรัฐอเมริกา)

    ป่าไม้

    เริ่มกิจการป่าไม้สัก

    อุตสาหกรรม

     

    การค้า

    ค้าขายกับจีน

    เพิ่มค่าแรง(คาดว่าน่าจะเป็นการอัพค่าผูกปี้)ให้ชาวจีน

    ยกเลิกพระคลังสินค้า
    ยกเลิกสินค้าต้องห้าม

     

    ค้าขายกับตะวันตก

    ทำสนธิสัญญาเบาริ่ง (ไทยเสียเปรียบ)
     ในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสลายตัวของเศรษฐกิจแบบยังชีพ 

    ระบบภาษี / เงินตรา

    - ตั้งโรงกษาปณ์สิทธิการ และเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์
    - ยกเลิกภาษีปากเรือ (ตามสนธิสัญญาเบาริ่ง)

    ธุรกิจพาณิชย์

    บริษัทบอร์เนียวของอังกฤษ (2398) , บริษัทเอ เอส ปาร์กเกอร์ของสหรัฐอเมริกา(ตั้งโรงสีไฟ) (2401)

    การคมนาคมอื่นๆ

     

    การติดต่อสื่อสาร

     

     

     

    รัชกาลที่ 5 (พ..2411 – 2453)

    การคมนาคม

    คลอง

    คลองนครเนื่องเขต , คลองรังสิต , คลองประเวศน์บุรีรมย์ , คลองทวีวัฒนา

    - ตราพระราชบัญญัติรักษาคลองและทำนบกั้นน้ำ

    - ตั้งกรมคลอง (มีหน้าที่ ควบคุมการทดน้ำ)

    ประตูระบายน้ำ

    ประตูน้ำภาษีเจริญ

    เขื่อน

    ร่างโครงการ เขื่อนพระราม 6 (พ..2446)

    ทะเล

    การสำรวจหินใต้น้ำ ทำแผนที่ชายฝั่ง สร้างประภาคาร

    ถนน

    ถนนเยาวราช , ถนนราชดำเนินกลาง , ถนนราชดำเนินนอก , ถนนบูรพา , ถนนอุณากรรณ , ถนนดินสอ

    สะพาน

    สะพานผ่านภพลีลา , สะพานผ่านฟ้าลีลาศ , สะพานมัฆวานรังสรรค์ , สะพานเทวกรรมรังรักษ์ , สะพานเฉลิมศรี 42 และ สะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง)

    รถไฟ

    สร้างรางรถไฟ ( สายแรกคือ กรุงเทพฯ นครราชสีมา ) สร้างสถานีหัวลำโพง

    เชิงผลิต

    เกษตรกรรม

    เมื่อเลิกทาส มีไพร่ที่ประกอบอาชีพได้อย่างเสรี >>> การค้าข้าวเฟื่องฟู >>> แต่มาพร้อมกับปัญหา ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน

    ป่าไม้

    สืบทอดกิจการป่าไม้สักต่อจาก ร.4

    อุตสาหกรรม

    ขุดแร่แบบดีบุก ด้วยเครื่องจักรแล้ว

    ระบบภาษี / เงินตรา

    - ยกเลิกระบบ เจ้าภาษีนายอากร และตั้งเป็น หอรัษฎากรพิพัฒน์ >>> ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็น กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ(มีเสนาบดีรับผิดชอบ)
    - การจัดเก็บภาษีอากร จะส่งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล แล้วเก็บภาษีเข้ากระทรวงพระคลังมหาสมบัติที่เดียว
    - ยกเลิกบ่อนเบี้ย ,จัดพิมพ์งบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก
    - มีเงินเดือนครั้งแรก (ก่อนหน้าเป็นเบี้ยรายหวัดมาโดยตลอด)
    - ผลิตธนบัตร , กำหนดหน่วยเงิน สตางค์ >>> แทนที่เงินพดด้วงด้วยเงินบาท และสตางค์

    ธุรกิจพาณิชย์

    ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ , ธนาคารซาร์เตอร์ของอังกฤษ , ตั้งธนาคารบุคคลัภย์ >>> ธนาคารสยามกัมมาจล >>> ธนาคารพาณิชย์

    การติดต่อสื่อสาร

    ตั้งกรมไปรษณีย์ + โทรเลข , วางสายโทรศัพท์

             

    **แก้ไขชื่อสะพานเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากค่า** 

    รัชกาลที่ 6 (พ..2453 – 2468)

    การคมนาคม

    คลอง

     

     

    ประตูระบายน้ำ

     

    เขื่อน

    เปิดใช้ เขื่อนพระราม 6 (พ..2467) ที่ดำเนินการสร้างมาตั้งแต่สมัย ร.5

    อากาศ

    - จัดตั้งกรมอากาศยาน
    - สร้างสนามบินดอนเมือง

    ถนน

     

     

    สะพาน

     

    สร้างสะพานพระราม 6
    (เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือสายใต้)

     

     

    รถไฟ

    ตั้งกรมรถไฟหลวง , เปิดใช้สถานีหัวลำโพง

     

     

    เชิงผลิต

    เกษตรกรรม

    ข้าวขาดแคลนมากๆ มีการห้ามส่งข้าวออกนอกประเทศ

     

    ป่าไม้

     

     

    อุตสาหกรรม

     

     

    ระบบภาษี / เงินตรา

    - ยกเลิกหวย ก..

     

    ธุรกิจพาณิชย์

    - ตั้งคลังออมสิน >>> ธนาคารออมสิน
    - สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้

     

    การติดต่อสื่อสาร

    ตั้งสถานีวิทยุโทรเลข @ ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ และสงขลา (โดยตอนแรก กระทรวงทหารเรือคุม ต่อมา กรมไปรษณีย์โทรเลขคุม)

     

                 

     


    รัชกาลที่ 7 (พ..2468 – 2477)

    ระบบภาษี / เงินตรา

    - บัญญัติ ‘(ร่าง)พระราชบัญญัติภาษีเงินเดือน
    - เก็บภาษีอากรมากขึ้น
    - ตัดทอนรายจ่ายพระราชสำนัก

    ระบบราชการ

    - ดุลข้าราชการออกก่อนกำหนด (ให้ไปรับเบี้ยหวัดบำนาญแทน)
    - ยุบรวม / ยุบกระทรวงต่างๆ   เช่น  กระทรวงคมนาคม + กระทรวงพาณิชย์ , ยุบกรมศิลปากร , ยุบกรมราชทัณฑ์

    เศรษฐกิจ

    - เดือดร้อนจากการที่อังกฤษออกจากมาตรฐานทองคำ เพราะไทยค้าขายกับกลุ่มประเทศที่ใช้เงินระบบเงินตราสกุลปอนด์
    - พยายามรักษาค่าเงินของไทยในมาตรฐานทองคำ แต่สุดท้ายก็ยื้อไว้ไม่ไหว

     
     

    ตามที่ทราบกันนะคะ จะเนื้อจะน้ำก็เอามาออกข้อสอบได้ทั้งนั้น ดังนั้นแล้ว ไปเปิดหนังสืออ่านกันต่อกันด้วยนะตัวเธอ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×