ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #36 : [Finalเทอม2] ภาษาไทยหลัก Feat.Abhichana Anna

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.71K
      3
      22 ก.พ. 57

    สรุปวิชา ภาษาไทยหลัก Final เทอม 2

    Part วรรณคดีวิจักษ์

    By.Abhichana Anna : Arts-Math #76

    สรุปพาร์ทวรรณคดีวิจักษ์โดย Abhichana Anna Arts-Math #76 (จิ้ม)

    สรุปพาร์ทวรรณคดีวิจักษ์โดย Abhichana Anna Arts-Math #76 (Linkสำรอง)


    Part หลักภาษาไวยากรณ์


    ความจริงมันจะมีสอบหลายส่วนนะ เช่น ภาษาสูงต่ำ คำกำกวม คำฟุ่มเฟือย ฯลฯ ซึ่งอันนั้นเป็นส่วนคอมมอนเซนส์ คิดเอง ตีความเอง (ไม่เหมาะแก่การมานั่งท่องจำ เอาเวลาไปท่องวิชาอื่น / ท่องส่วนที่ท่องได้ โอกว่าค่ะ) แต่ส่วนที่พอจะช่วยกันได้จะมีตรง ชนิดของคำ ตามนี้นะก๊ะ


     

    เอาล่ะ ในเรื่องคำประเภทต่างๆ ถ้านึกชื่อของชนิดคำออก ระดับม.4กันขนาดนี้ แบบว่า ถ้าเจอคำไหน ใครๆ ก็คงจะทำได้แล้วใช่มะว่าคำนั้นเป็นคำประเภทอะไร
    แต่ประเด็นสำคัญคือ มันจะมีพวกหน้าตาเหมือนกัน แต่ดันต่างหน้าที่กันเนี่ยดิ นั่นคือ

     ประพันธสรรพนาม     vs        ประพันธวิเศษณ์          (คำคีย์เวิร์ด : ที่ ซึ่ง อัน)
     นิยมสรรพนาม           
    vs        นิยมวิเศษณ์                 (คำคีย์เวิร์ด : นี่ นั่น นู่น)
     อนิยมสรรพนาม         
    vs        อนิยมวิเศษณ์               (คำคีย์เวิร์ด : อะไรๆ ใดๆ)
     ปฤจฉาสรรพนาม      
    vs        ปฤจฉาวิเศษณ์            (คำคีย์เวิร์ด : ทำไม อะไร ไหน)

    คำคีย์เวิร์ดก็ดันเหมือนกันอีก!!  แล้วมันจะต่างกันยังไง!? จะให้ตรูใช้ยังไงฟระ!?

    ดังนั้น อิชั้นจะมาชี้แจงแถลงไขส่วนนี้ให้ชัดเจนเป็นการดีที่สุดนะคะ

    เริ่มต้นที่หลักการง่ายๆ ที่สุด

    ถ้าไอ้คำคีย์เวิร์ดเป็นวิเศษณ์ จะต้องตามหลังคำนาม / กริยา / วิเศษณ์มันเอง เสมอ (ความจริงก็นำหน้าได้นะ แต่น้อยหาได้น้อยมาก)

    เช่น ดินสอเนี่ยโดนซื้อไปละ /
              ดินสอ เป็นคำนาม
              เนี่ย ตามหลังคำนาม จะถือว่าเป็น วิเศษณ์แบบนิยมวิเศษณ์

     

    *แต่จะยกเว้นแค่กรณี ประพันธสรรพนาม vs  ประพันธวิเศษณ์

    เพราะ ประพันธสรรพนาม ตัวคีย์เวิร์ดจะเป็นประเภทเดียวที่ต้องตามหลังคำนาม(ชาวบ้านนำหน้าประโยคได้หมด) ทำให้ ประพันธวิเศษณ์เหลือแค่ตามหลัง กริยา / วิเศษณ์มันเอง เท่านั้น

    เช่น     ดินสอที่เธอใช้
              ดินสอ เป็นคำนาม
              ที่ ตามหลังคำนาม แต่กรณีนี้จะถือว่าเป็น ประพันธสรรพนาม

     เขาดีอย่างที่ใครๆ กล่าวจริง
              ดี เป็นคำวิเศษณ์ (แบบลักษณวิเศษณ์)
              อย่างที่ ตามหลังคำวิเศษณ์มันเอง จะถือว่าเป็น วิเศษณ์แบบประพันธวิเศษณ์

     

    ...เอ่อ งงอ่ะดิ อิฉันก็ว่างั้น เอางี้ เรามาใช้วิธีแบบชัดๆ แบบเดิมดีกว่า...

     

    ***แนะนำให้จำตัวอย่างไปเลย เวิร์คสุด***

    มาถึงอันถัดไปที่อิฉันเชื่อว่า ทุกคนจะต้องหวีดร้องไม่แพ้กัน

    บุพบท  vs  สันธาน ที่ใช้คีย์เวิร์ดตัวเดียวกัน เช่น
              จน / เพื่อ / ตั้งแต่ / กระทั่ง

    ให้สังเกตตามนี้นะคะ

    จะสังเกตได้ว่า   กลุ่มคำที่ตามหลังของ ฝั่งบุพบท จะเป็นคำนาม/วลีทั้งหมด (ความสุขของทุกคน)

                       กลุ่มคำที่ตามหลังของ ฝั่งสันธาน จะเป็นประโยคทั้งหมด (ทุกคน มี ความสุข)

     

    นี่คือตัวอย่างเบาๆ ค่ะ แต่ถ้าจำหลักการได้ดังนี้แล้ว ต่อให้เจอพลิกแพลงยังไง ก็น่าจะทำได้ไม่ต่างจากในนี้หรอกค่ะเธอ


    Part ประวัติวรรณคดี (อยุธยาตอนต้น)

    .....สวัสดีค่ะสายวิทย์ทุกท่าน

    ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่ง ปวว. ค่ะ #ยิ้มกว้าง
    //โดนเหล่าสายวิทย์ผู้น่ารักเอาสมการเคมีไล่ทิ่มแทง

    เทียบกันแล้ว รอบนี้มีแค่ 7 เรื่องที่ทุกท่านต้องท่องด้วยกัน ห่างไกลจาก 49 เรื่องที่สายศิลป์เพิ่งสอบไปหลายขุมนะคะ ฉะนั้น นี่ถือว่าเบๆ แล้วนะขอบอก!!
    //โดนเหล่าสายวิทย์ผู้น่าพิศวาสเอาภาคตัดกรวยไล่บี้

    เอาล่ะ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะ
     

    ******หมายเหตุ******
    ดาวแดง ได้รับการยกย่อง ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร //แปะๆๆๆ
    ดาวเขียว 
    ต้นตำรับ เริ่มการ.....(อะไรสักอย่าง).....เป็นเรื่องแรก
    ดาวทอง มีอะไรแปลกแหวกแนวกว่าชาวบ้าน



     

    ลักษณะวรรณคดีอยุธยาตอนต้น

    1. เนื่องจากเก่าจัด ข้อมูลผู้แต่ง แหล่งที่มาหลายส่วนจึงต้องสันนิษฐาน เดาเอาว่าใครน่าจะแต่ง ซึ่งผู้ที่มีส่วนในการช่วยวินิจฉัยว่า เรื่องนี้คนนี้แต่ง เยอะสุดเห็นจะเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย)

    2. สำนวนการประพันธ์มีหลายแบบ ได้แก่ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ กลอน(ยังไม่มี)

    3. เนื้อหาเน้นเกี่ยวกับ พระราชพิธี + ศาสนาขัดเกลาจิตใจ + ยอเกียรติพระราชา + ปลุกใจให้รักชาติเพื่อการศึกสงคราม

    4. ใช้ภาษา บาลี สันสกฤต และเขมร ปะปนในเนื้อเรื่องเยอะพอตัว

     

     

      พราหมณ์คนใดคนหนึ่งในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)

    ลิลิตโองการแช่งน้ำ

    จุดมุ่งหมาย : ใช้อ่านในพิธี ศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา)
    ลักษณะการแต่ง
    : ลิลิต (ร่ายดั้น + โคลงห้ามณฑกคติ) ใช้ภาษาสันสกฤตเยอะสุด
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : เป็นบทสวดในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยโบราณ
    • จะเริ่มด้วยร่ายดั้นสรรเสริญตรีมูรติ ว่าด้วยเรื่องไฟบรรลัยกัลป์ทำลายล้างความชั่ว การสร้างโลกใหม่
    • อัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้า อัญเชิญพระรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • ให้สาบานตนว่าจะซื่อสัตย์ในการทำราชการ ว่า ทำดีขอให้ได้ดี ทำชั่วก็รับกรรมตามที่ก่อไว้
    • แล้วดื่มน้ำที่แช่ด้วยอาวุธทั้งหลาย
    • จบด้วยการยอพระเกียรติกษัตริย์นั่นเอง
    ความเด่น
    : เป็นลิลิตเรื่องแรกของวงการวรรณคดี
          
           - ถ่ายทอดวัฒนธรรมฝั่ง ขอม(ต้นฉบับเดิมเอามาจากภาษานี้) + อินเดีย หรือถ้าทางศาสนาก็ทาง พราหมณ์ฮินดู
                  - เรื่องนี้ได้รับการชำระในภายหลัง โดย รัชกาลที่ 6


     

    นักปราชญ์คนใดคนหนึ่ง / กลุ่มหนึ่งช่วยกันแต่ง ในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

    มหาชาติคำหลวง

    จุดมุ่งหมาย : สวด ในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น (อุบาสกอุบาสิกาชั้นผู้ใหญ่นำสวดได้)
    ลักษณะการแต่ง
    : คำหลวง (ร่าย + โคลง + กาพย์ + ฉันท์ 1,000 คาถา)
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : พระมหาเวสสันดรชาดกที่สอบไปรอบที่แล้วน่ะจ้ะ...
    ความเด่น
    : เป็นคำหลวงเรื่องแรกของวงการวรรณคดี
                  
    - ต้นฉบับเป็นภาษาบาลี

    คุณสมบัติของคำหลวง
    1. ผู้แต่ง ต้องเป็นกษัตริย์ หรือผู้ที่ได้รับสั่งจากกษัตริย์เท่านั้น
    2. เนื้อหา ต้องเกี่ยวกับพุทธศาสนา
    3. ใช้สวดเป็นทำนองหลวง ในวันสำคัญทางศาสนาได้
    4. ลักษณะการแต่ง ต้อง
    mix สำนวนหลายๆ แบบไว้ด้วยกัน
    ซึ่งในวงการวรรณคดี มีแค่ 4 เล่ม คือ
         มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง พระนลคำหลวง

     

    ลิลิตยวนพ่าย

    จุดมุ่งหมาย : ยอพระเกียรติแด่พระบรมไตรโลกนาถ สดุดีที่รบชนะเมืองเชียงใหม่
    ลักษณะการแต่ง
    : ลิลิตดั้น (ร่ายดั้น 2 บท + โคลงดั้นบาทกุญชร 365 บท)
                         และมีภาษาสันสกฤตปนมาก

    เนื้อเรื่องโดยย่อ : ว่าด้วยเรื่องการกรีธาทัพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปตีเมืองยวน ซึ่งก็คือ ล้านนาหรือเชียงใหม่ ได้ชัยชนะกลับมา จึงมีการยอพระเกียรติในพระปรีชาสามารถของท่าน
    ความเด่น
    : มีอิทธิพลต่อวรรณคดีเรื่องอื่น (เช่น เป็นต้นแบบพล็อต หรือนำเรื่องราวบางส่วนมาดัดแปลงแล้วใส่) ได้แก่
     1. โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ (แต่งโดย พระศรีมโหสถ)
     2. สดุดีวีรกรรมพระนเรศวร (แต่งโดย พระมหาสมณเจ้า)
    3. **ยวน
    = ล้านนา

     

    ลิลิตพระลอ

    จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน
    ลักษณะการแต่ง
    : ลิลิตสุภาพ (โคลงสุภาพ + ร่ายสุภาพ)
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : เมืองสรวง = ลำปาง (เมืองพระเอก)
                          เมืองสรอง = แพร่ (เมืองนางเอก)
                          เป็นศัตรูกัน โดยพี่เลี้ยงของฝ่ายนางเอกเป็นคนชักใย ทำเสน่ห์ใส่พระลอให้มาขอนายตนแต่งงาน คนที่รับไม่ได้คือย่าเลี้ยงของนางเอกทั้งสอง เพราะยังแค้นที่พ่อพระเอกเคยฆ่าสวามีนาง จึงจัดการทั้งพระเอกนางเอกทิ้ง และท้ายสุดย่าเลี้ยงก็โดนสั่งประหารตามไป ทำให้ความพยาบาททั้งหมดจบลง เมืองทั้งสองกลับมาคืนดีกันดังเดิม
    ความเด่น
    : เป็นสุดยอดลิลิตในวงการวรรณคดี
             
        - วลีดังติดชาร์จ
    เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง    อันใด พี่เอย
                  - บางส่วนได้นำไปไว้ใน หนังสือจินดามณี
                  - เป็นวรรณคดีชั้นครู อิทธิพลรูปแบบสำนวนถึง ลิลิตเพชรมงกุฎ และลิลิตตะเลงพ่าย

    ทิพ หรือศรีทิพ (เป็นคนเหนือ @ลำพูน)

    โคลงนิราศหริภุญชัย

    จุดมุ่งหมาย : Stepนิราศ ต้องพรรณนาอาลัยนางอันเป็นที่รัก และบรรยายการไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัย
    ลักษณะการแต่ง
    :  เริ่มแรกเป็น โคลงไทยเหนือ ....
                            แล้วกลายเป็น โคลงสี่สุภาพ 178 บท (เป็นการแปลจากภาษาเหนือ เป็นภาษากลาง)

    เนื้อเรื่องโดยย่อ : เริ่มด้วยบทบูชารัตนตรัย ทูลลาพระพุทธสิหิงค์ อาลัยถึงนางก่อนระยะหนึ่งแล้วออกเดินทางไปยังพระธาตุหริภุญชัย ตอนจบได้นมัสการตามที่ตั้งใจไว้
    ความเด่น
    : เป็นโคลงนิราศเล่มแรกในวงการวรรณคดี (และเป็นแบบอย่างนิราศในอยุธยาด้วยนะ)

    พระเยาวราช , ขุนพรหมมนตรี , ขุนศรีกวีราช , ขุนสารประเสริฐ : แต่งร่วมกัน

    โคลงทวาทศมาส

    จุดมุ่งหมาย : แต่งเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
    ลักษณะการแต่ง
    : โคลงดั้นวิวิธมาลี
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : เกี่ยวกับพระราชพิธีทั้ง 12 เดือน รวมถึงมีบทอาลัยถึงนางอันเป็นที่รัก
                         แต่น่าแปลกคือ ไม่บอกว่าจากไปยังที่ใด (ปกติเขาจะต้องบอกใช่มะล่ะ ว่าจากนางเพื่อไปเที่ยวที่
    xxx)
    ความเด่น
    : - มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น นั่นคือ นิราศเดือน (แต่งโดย นายมี สมัยร.3)
                                                         พระราชพิธีสิบสองเดือน (แต่งโดย ร.5)
                  - มีการกล่าวถึง พิธีตรียัมปวายโล้ชิงช้า + ดอกไม้เพลิง
                  - มีการอ้างอิงตัวละครในวรรณคดีอื่นมาใส่ เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ

     

    ศรีปราชญ์

    โคลงกำสรวล

    จุดมุ่งหมาย : อาลัยถึงนางผู้เป็นที่รัก (คาดว่าจะเป็น พระสนมศรีจุฬาลักษณ์)
    ลักษณะการแต่ง
    : โคลงดั้นบาทกุญชร (ร่ายดั้น 1 บท + โคลงดั้น 129 บท)
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : กล่าวถึงสภาพบ้านเมืองอยุธยาที่กำลังรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางของศาสนา แต่กวีก็ต้องจากนาง ผ่านไปยังตำบลต่างๆ จากอยุธยาสู่ประจวบคีรีขันธ์ เห็นตำบลอะไรเอาชื่อไปก็เปรียบเทียบกับความอาลัยที่มีต่อนาง
    ความเด่น
    : มีอิทธิพลต่อวรรณคดีรุ่นหลัง คือ โคลงนิราศนรินทร์ (แต่งโดย นายนรินทร์ธิเบศร์ อิน)
                                                        โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย (แต่งโดย พระยาตรังคภูมิบาล)

     

    จบแล้ววววว ตามนี้ล่ะจ้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×