ตอนที่ 18 : Stud TSL : ภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง aka สอนไทยให้ชาวต่างชาติ
STUD TSL
การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
รหัส 2201315
**ข้อมูลจาก เทอม 2 ปีการศึกษา 2561**
ชื่อเล่น: สอนไทยให้ชาวต่างชาติ
จำนวนเซค | 1 เซค | |||
ความยากในการลงทะเบียน | Hard | |||
เทอมที่เปิด | เทอม 1 | เทอม 2 | Summer | |
- | เปิด | - | ||
เวลาที่มักจะได้ | มักจะเป็นเวลาเช้า ส่วนวันไม่แน่ใจค่ะ | |||
สถานที่เรียน | คณะอักษรศาสตร์ มักจะเป็นตึก MCS (มหาจักรีสิรินธร) | |||
อาจารย์ผู้สอน | อาจารย์ประไพพรรณ พึ่งฉิม (PPC) และวิทยากรรับเชิญอีกเป็นจำนวนมาก | |||
เงื่อนไขวิชา | ไม่มี | |||
คุณสมบัติผู้เรียน | ไม่มี ปีไหน เอกโทไหน คณะไหน มาได้จ้า | |||
ประเภทกลุ่มวิชา | เมื่อลงทะเบียนวิชานี้แล้วจะนับเป็น “วิชาเอกภาษาไทย / โทภาษาไทย / เสรี” อย่างใดอย่างหนึ่งจ้ะ | |||
การสอบ | Midterm | Final | Quiz ทั่วไป | Assignment |
- | มี | - | มี |
เป็นวิชาจากเอกภาษาไทยที่ขึ้นชาร์ตฮอตฮิต ขนาดที่เปิดครั้งแรก คนลงเรียนไปถึง 56 คน
โดย 55 คนนี้ มีทั้งเด็กเอกไทย และเด็กนอกเอกปะปนกันไป ก็แหม… โลกทุนนิยม มันก็ต้องกินต้องใช้นี่นา
Q: เรียนอะไรบ้าง?
A: อย่างที่ชื่อเล่นวิชาเขียนไว้นะคะ “สอนไทยให้ชาวต่างชาติ” นั่นแหละค่ะ (ทำเป็นเล่นลิ้นว่าเป็นศึกษาภาษที่สองไปงั้นแหละ) เริ่มมาจะเป็นการปูทฤษฎีก่อนว่าภาษาที่สองคืออะไร แล้วค่อยไล่ไปทีละประเด็นว่า ควรวางหลักสูตรการสอนยังไง / สอนเรื่องอะไรก่อนหลัง /ถ้าสอนออกเสียงควรใช้ตัวคาราโอเกะหรือสัทอักษร / ภาษาไทยมีจุดไหนที่คนต่างชาติน่าจะไม่เก็ต / จะสอนเขียนยังไง / จะสอนส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมยังไง / ควรจัดกิจกรรมบูรณาการความรู้ภาษาไทยอย่างไร / จะสร้างข้อสอบ/วัดผลที่เหมาะสมอย่างไร / หัวข้อพิเศษอย่าง บรรยายประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้คนชาติจีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น รวมอยู่ด้วย
Q: Assignment มีอะไรบ้าง?
A: ก็มาเป็นระยะๆ ไล่เรียงได้ตามนี้
1. กลุ่มใหญ่ - ออกแบบและนำเสนอการสอนฟัง-พูดเบื้องต้น : สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่มีความรู้ภาษาไทยอะไรเลย
2. กลุ่มใหญ่ - เขียนโครงกิจกรรมบูรณาการความรู้ภาษาไทย : (เทอมดิชั้นให้บูรณาการวงศัพท์ที่เกี่ยวกับการทำอาหาร)
3. กลุ่มใหญ่ - เขียนเปเปอร์เสนอประเด็นในภาษาไทยที่ต่างชาติ Amazing / Unseen / ขนาดแปล(ตรงตัว)ก็เป็นงง : เช่น คำแทนตัวที่มีร้อยพันแปดประการของคนไทย (เค้า ตะเอง ดิชั้น เดี๊ยน นี่ ฯลฯ)
4. งานคู่ - วิเคราะห์(ความจริงคือวิพากษ์)แบบเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ : เป็นการหาหนังสือสักเล่มมาแหกมากกว่าว่าหล่อนมีช่องโหว่ตรงไหน อย่างไร เช่น หนังสือสอนภาษาไทยเล่มนี้เขียนในญี่ปุ่น ประโยคสนทนาเป็นตอนดึกๆ ที่คนสองคนกำลังจะแยกย้ายกลับบ้าน ถ้าเป็นคนไทยจริงๆ มันก็จะพูดว่า สวัสดี / ไปก่อนนะ / กลับดีๆ นะ อะไรก็ว่าไป แต่นางเขียนว่า “ราตรีสวัสดิ์” คืออิหยังวะ คนไทยที่ไหนจะราตรีสวัสดิ์ใส่กันตอนแยกย้ายกลับบ้าน แหม่ ดูรู้เลยนะคะว่าแปลจากญี่ปุ่นมาตรงๆ ไม่ได้ใส่ใจบริบทวัฒนธรรมไทยที่แท้อะไรเลย ก็เอามาแหกให้ดูเป็นข้อๆ ไปค่ะ
นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นกิจกรรมที่ Pop-up ให้ทำในคาบ ส่งในคาบจ้า
Q: จะได้ลงภาคสนาม อย่างเช่น จัดกิจกรรมภาษาไทย หรือฝึกสอนอะไรแบบนี้มั้ย?
A: ยังไม่มีค่า (แต่ในอนาคตอาจจะมีก็ได้ ใครจะไปรู้)
Q: ข้อสอบ Final เป็นอย่างไร
A: เทอมดิชั้นเป็น Open book แล้วโจทย์ง่ายมากก็คือ จงแสดงความรู้ และถ้ามีอะไรอยากเสริมก็เชิญค่ะ จบ แค่นี้เอง (เลยคาดว่าเทอมต่อๆ ไป น่าจะปรับให้ยากขึ้น)
Q: โดดได้มั้ย
A: มีเช็คชื่อตลอดน้า ถ้ายอมเสียคะแนนส่วน Attendance ได้ก็แล้วแต่จ้า
Q: ใส่ไปรเวทได้มั้ย
A: ไม่แนะนำให้ใส่ไปรเวทจ้า นิสิตเถอะ อ.ค่อนข้าง concern เรื่องนี้ในระดับหนึ่ง
โดยรวมแล้วเป็นวิชาที่โอเคในเชิงทฤษฎีนะ ส่วนปฏิบัตินี่ไม่มีอยู่ละ เพราะมันก็ไม่ใช่วิชาของคณะครุศาสตร์เนอะ แต่เอาเป็นว่าพี่น้องชาวอักษรคนไหนที่กลัวอดตายในโลกทุนนิยม และรับจ็อบสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ มาลงไว้ให้มีหลักการหน่อยก็จะเป็นการดีค่ะ แนะนำๆ
นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ
