คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : [Sum1] ประวัติวรรณคดี (แบบย่อ) By. Pong Arectaris
เนื่องด้วยข้าพเจ้าไปเจอสรุปของพี่รุ่น 75 พี่สายผู้น่ารักของข้าพเจ้าได้ทำไำว้แล้วส่วนหนึ่ง
จึงได้ขออนุญาตมาแปะ (เพราะขี้เกียจทำใหม่ด้วยส่วนหนึ่ง) เชิญอ่านได้เลยจ้ะ
สรุปประวัติวรรณคดีกลางภาค 1/55 ตามใจฉัน!
By. Pong Arectaris
แยกประเภท
ลิลิตโองการแช่งน้ำ โคลงทวาทศมาส – พิธีการ
ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงนิราศหริภุญชัย (ฉบับแปล)– ยอเกียรติ
มหาชาติคำหลวง กาพย์มหาชาติ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทสรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ – คำสอน
โคลงกำสรวล โคลงนิราศหริภุญชัย (ฉบับแต่ง) – นิราศ
สมุทรโฆษคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ – บันเทิง / ละคร
สรุปจุดเด่นของแต่ละวรรณคดี (จากใจ)
1.ลิลิตโองการแช่งน้ำ – ใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา / ศรีสัจจปานกาล และมีคุณค่าต่อระบอบประชาธิปไตย
2.ลิลิตยวนพ่าย – ยอเกียรติพระบรมไตรโลกนาถที่รบชนะชาวล้านนา-เชียงใหม่ (พระเจ้าติโลกราช) และคล้ายมหากาพย์ รวมทั้งให้ข้อมูลละเอียดกว่าพงศาวดาร
3.มหาชาติคำหลวง / เวกัณฑ์ 1000 คาถา – ใช้อ่านสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา อ่านยากแต่ไพเราะ (นำคาถาบาลีสลับกับแปลไทย)
ฝนโบกขรพรรษ – กัณฑ์ทศพร + กัณฑ์ฉกษัตริย์
4.ลิลิตพระลอ – ยอดวรรณคดีประเภทลิลิต มีโคลงครู (เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย..) เป็นตำนานพื้นบ้านภาคเหนือ
5.โคลงกำสรวล – อาลัยคนรักที่ผู้แต่งต้องจากไป มีการอ้างเรื่องรามายณะและสมุทรโฆษคำฉันท์
6.โคลงทวาทศมาส / พระราชพิธี 12 เดือน – สันนิษฐานว่ามีผุ้แต่ง 3 คน เป็นการนำเหตุการณ์ต่างๆในรอบปีตั้งแต่เดือย 5 – 4 มาพรรณนา / เดือนอ้าย : พิธีตรียัมปวาย เดือนยี่ : พิธีบุษยาภิเษก
7.โคลงนิราศหริภุญชัย – ใช้ภาษาไทยเหนือต่อมามีคนถอดเป็นไทยกลาง จุดประสงค์ของผู้แต่งและผู้ถอดต่างกัน (แต่งเป็นอาลัยคนรัก ถอดเป็นยอเกียรติ) เป็นนิราศชั้นเก่าที่สุด / นิราศเรื่องแรก
8.กาพย์มหาชาติ – ใช้เทศน์อุบาสก-อุบาสิกา เข้าใจง่ายกว่ามหาชาติคำหลวง และเป็นมหาชาติฉบับแรกที่แต่งเป็นร่ายยาวเพื่อให้พระเทศน์ มีการแต่งใหม่เพื่อให้เทศน์จบภายใน 1 วัน ตามความเชื่อของผู้ฟัง เรียกว่า มหาชาติกลอนเทศน์ ต่อมามีการคัดเลือกมหาชาติกลอนเทศน์ที่สำนวนดีที่สุดมารวมเล่ม เรียกว่า ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
9.โคลงพาลีสอนน้อง – ใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบสั่งสอนข้าราชการ และสะท้อนสังคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์
10.โคลงทศรถสอนพระราม – ชี้ให้เห็นว่าเป็นกษัตริย์ต้องตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
11.โคลงราชสวัสดิ์ – เป็นหลักปฏิบัติของข้าราชการ แม้ในปัจจุบันก็ใช้ได้ด้วย
12.สมุทรโฆษคำฉันท์ – มีคนแต่ง 3 คน 3 แผ่นดิน (อยุธยา – รัตนโกสินทร์) : พระมหาราชครู > พระนารายณ์ > กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ใช้เล่นหนังใหญ่ แสดงให้เห็นว่า หนังใหญ่ไม่จำเป็นต้องเล่นแต่รามเกียรติ์เหมือนสมัยต่อมา และก่อนเล่นจะมีการเล่นเบิกโรงต่างๆ
13.เสือโคคำฉันท์ – นำเค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดก เรื่อง พหลคาวีชาดก ใช้สอนคติธรรมเกี่ยวกับการรักษาสัตย์ มีอิทธิพลต่อบทละครนอก : คาวี
สู้ๆพะยะค่ะ ถ้าอ่านจบจนถึงตรงนี้แปลว่าสอบได้แน่ๆเลย!!><
ความคิดเห็น