คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #33 : [Finalเทอม2] หน้าที่พลเมืองกฎหมายทั้งหลาย (บทที่6-7-8) Feat.ตีโต้ & เบนนี่
บทที่6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
Special Thanks ผู้ช่วยทำบท6 : เบนนี่ (เบนนั่น เบนนู่น)
**มีฉบับแต่งสวยไฉไล โดยแม่นางแอนนาตามเคยนะก๊ะ
กฎหมายหน้าที่พลเมือง ver. สวยไฉไล by. Anna
กฎหมาย หมายถึง ข้อบังคับของรัฐที่ใช้บังคับความประพฤติของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม
*พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย คือ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
ลักษณะกฎหมาย
1.มาจากรัฏฐาธิปัตย์ = มาจากผู้มีอำนาจในรัฐ นั่นคือ รัฐสภา
2.ใช้ได้ทั่วไป = ใช้ได้กับทุกที่ทุกคน
3.ใช้ได้เสมอ = ใช้ได้ตลอดเวลาตั้งแต่โบราณยันปัจจุบันจนกว่าจะถูกยกเลิก
4.เป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม = ทุกคนต้องทำตามแม้จะไม่เห็นด้วยหรือขัดผลประโยชน์
5.มีสภาพบังคับ = มีบทลงโทษกำหนดไว้
ระบบกฎหมาย
ระบบ |
ประเทศต้นตำรับ |
วิธีตัดสิน |
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ |
Civil Law (กฎหมายลายลักษณ์อักษร) |
เริ่มมาจากโรมันโบราณ |
ตัดสินคดีตามตัวกฎหมาย |
ฝรั่งเศส ไทย ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี สเปน |
Common law (กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) |
เริ่มมาจากอังกฤษ |
ตัดสินคดีตามคำตัดสินคดีก่อนๆ จารีตประเพณี หรือ ความเห็นของนักกฎหมาย นักวิชาการ |
USA อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ |
กฎหมายสังคมนิยม |
มาจาก Karl Marx และ Lenin |
ทุกอย่างเป็นสมบัติของส่วนรวม ตามความเห็นชอบของผู้นำ only |
เวียดนาม เกาหลีเหนือ จีน คิวบา |
กฎหมายศาสนา |
มาจากคำสอนศาสนา |
ตามเนื้อความในคัมภีร์ของศาสนานั้นๆ |
แถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ |
กฎหมายศาสนาที่มี เช่น กฎหมายอิสลาม (4จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล ใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดก) กฎหมายฮินดู
สมัยอยุธยา ใช้กฎหมายจากคัมภีร์ธรรมศาสตร์ ร.1 มีกฎหมายตราสามดวง ร.5 มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (ตามแบบตะวันตก) |
การแบ่งกฎหมาย
1.แบ่งตามวิธีบัญญัติ
1.1 ลายลักษณ์อักษร : พวกพระราชบัญญัติทั้งหลายแหล่นั่นแหละหนา ซึ่งตัวพระราชบัญญัติ กับพระราชกำหนด โดยไม่ว่าใครจะร่างขึ้นมาจะต้องผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
รัฐสภาร่าง |
ฝ่ายบริหารร่าง |
คณะปฏิวัติร่าง |
ท้องถิ่นร่าง |
- รัฐธรรมนูญ - กฎมณเฑียรบาล |
- พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) |
- อะไรก็ตามที่นำด้วยคำว่า |
- เทศบัญญัติ |
1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร : พวกจารีตประเพณี ใครแหกก็รุมประชาทรีนเป็นของแถมก่อนเข้าตะรางเลยก็ง่ายดี (ถึงจะแบบนี้ก็ผ่านตัวรัฐธรรมนูญมาแล้วนะจะบอกให้) เรียกรวมกันว่า “กฎหมายจารีตประเพณี”
2.+ 3. แบ่งตามความสัมพันธ์
กฎหมาย |
ความสัมพันธ์ระหว่าง |
ตัวอย่าง |
เอกชน |
เอกชน VS เอกชน หรือ รัฐ VS เอกชน |
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มีอันเดียว) |
มหาชน |
รัฐ VS เอกชน โดยที่รัฐอยู่ในฐานะเหนือกว่าเอกชน |
กฎหมายอาญา การปกครอง (อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่แพ่งและพาณิชย์) |
ระหว่างประเทศ |
รัฐ VS รัฐ |
แบ่งเป็น3แผนก คือ (จำตัวอย่างพอ) แผนกคดีเมือง EX. อาณาเขตรัฐ สนธิสัญญา แผนกคดีบุคคล EX. การสมรส โอนสัญชาติ แผนกคดีอาญา EX. คดีส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน |
4.แบ่งตามการใช้
1.กฎหมายสารบัญญัติ (เนื้อหาบอกเกี่ยวกับ การกระทำอะไรถูกหรือผิดยังไง)
เช่น กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ (เนื้อหาบอกเกี่ยวกับ ต้องลงโทษจัดการยังไง)
เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ลำดับศักดิ์กฎหมาย (ใหญ่ → เล็ก)
ขั้นที่1 |
รัฐธรรมนูญ |
||||||
ขั้นที่2 |
พระราชกำหนด |
พระราชบัญญัติ |
ประมวลกฎหมาย |
||||
ขั้นที่3 |
|
พระราชกฤษฎีกา |
|
||||
ขั้นที่4 |
|
กฎกระทรวง |
|
||||
ขั้นที่5 |
ข้อบัญญัติ |
เทศบัญญัติ |
ข้อบังคับตำบล |
ข้อบัญญัติกทม. |
ข้อบัญญัติพัทยา |
|
|
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทที่7 กระบวนการยุติธรรมของไทย (ศาลไทย)
Special Thanks ที่ปรึกษา : ทั่นประธานศิลป์ญี่ ตีโต้ Thanathorn
เป็นบทที่คนเขียนแทบจะรีไรท์ทั้งหมด เพราะในหนังสือใช้ศัพท์แบบที่ใช้ในศาลเด๊ะๆ ไม่เหมาะแก่การทำความเข้าใจอย่างรุนแรง ดังนั้น มาดูกันเลยดีกว่า
|
ศาลยุติธรรม |
ศาลปกครอง |
ศาลทหาร |
ศาลรัฐธรรมนูญ |
||
รูปแบบคดี |
คดีทุกประการที่เป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่ |
ปัญหาของกฎหมายสูงสุด |
||||
คนที่ไฝ้ว์กัน |
คนปกติ vs คนปกติ |
เอกชนระดับบิ๊ก vs รัฐบาล |
ทหาร vs ทหาร |
วาระยิ่งใหญ่ของชาติ |
||
ระดับความรุนแรง |
1. ชั้นต้น *เกิดจากพวกที่ไฝ้ว์กันแล้วไม่ยอมผลกันซะที |
1. ศาลปกครองชั้นต้น
|
ต้น *เกิดจากพวกที่ไฝ้ว์กันแล้วไม่ยอมผลกันซะที |
ศาลเดียวเอาอยู่ |
||
อำนาจ |
ตัดสินปัญหาคดี |
• แก้กฎทั่วไปที่มันHereๆ |
ตัดสินคดีทหาร |
• จัดการพวกอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้วสะเออะมีปัญหา |
||
ชื่อของศาลในแต่ละสถานที่ |
เรียก ศาลยุติธรรม ทุกแห่งหน |
ศาลปกครองชั้นต้นถ้าอยู่ในแต่ละสถานที่ก็จะมีชื่อแตกต่างกันออกไป คือ |
เรียก ศาลทหาร |
ตั้งอยู่ใน กทม. ที่เดียวก็เรียกว่า |
||
2. ศาลปกครองภูมิภาค |
||||||
รูปแบบคดี |
แพ่ง และอาญา |
คดีด้านข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ หรือที่เรียกว่า |
|
|
||
คณะผู้พิพากษา |
• ตำรวจ / พนักงานฝ่ายปกครอง (อาญาonly) |
• ประธานศาล 1 ea |
||||
คดีเกิดแล้วโว้ย ทำไงดี!!
1. พิจารณาตัวเองว่ามีคุณสมบัติพอที่จะบากหน้าไปดำเนินคดีได้มั้ย (พูดง่ายๆ เอ็งเดือดร้อนจริงป่าว)
2. รีบไปฟ้องภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ
3. ทำเอกสาร+แนบหลักฐาน เตรียมพร้อม
4. ถ้าหากเป็นคดีที่อยากได้รับการแก้ไขปัญหา ก็รีบไปแจ้งพวกแก้ปัญหาให้แก้ให้เสร็จ แล้วค่อยไปฟ้อง (เพราะหลักฐานตอนมันเสีย อยู่ในมือเราแล้ว)
5. จะแจ้นไปที่ ศาลปกครองชั้นต้นในถิ่นตัวเอง หรือ ศาลปกครองสูงสุดในถิ่นตัวเอง หรือ ศาลปกครองกลาง(อันนี้ของคนกรุงเทพฯ) แล้วยื่นฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ของศาลสดๆ ได้เลย
6. หรือถ้ายังไม่สะดวกไปศาลทันที จะส่งทางไปรษณีย์ไปจองคิวไว้ก่อนก็ได้
รูปแบบคดี คืออะไร
แพ่ง |
อาญา |
|
คดีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน หรือการทำสัญญา เน้นรูปแบบต้มตุ๋น สิบแปดมงกุฎ หลอกเนียนๆ ให้เหยื่อตายใจเป็นหลัก |
คดีชนิดผู้เสียหาย เสียหายแมร่งตรงนั้นเลย ฆ่า ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย หรือชิงทรัพย์ เลือดตกยางออก หรือโดนเอาทรัพย์ไปซึ่งๆ หน้า ไม่ต้องโดนต้มเปื่อยอะไรใดๆ |
|
คดีมีข้อพิพาท
|
คดีไม่มีข้อพิพาท
|
|
ภาษาแบบแพ่ง |
ภาษาแบบอาญา |
หน้าที่ / นิยาม |
โจทก์ |
ผู้เสียหาย |
เจ้าของเรื่อง ผู้หวีดร้องผู้มาฟ้องดำเนินเรื่อง |
จำเลย |
ผู้ต้องหา(ตอนอยู่โรงพัก) |
ผู้ที่โดนสงสัยว่าก่อเรื่อง |
|
ตำรวจ / พนักงานฝ่ายปกครอง |
ควบคุมคนร้ายให้มานั่งโดนตัดสินในศาล |
|
พนักงานอัยการ |
พิจารณาสำนวน แล้วทำเรื่องยื่นฟ้องช่วยผู้เสียหายในศาล (เป็นคนฟ้องให้นั่นเอง) |
ศาล |
ผู้พิพากษาตัดสินคดีความ |
|
ทนาย |
คนซัพพอร์ท เป็นผู้ดวลวิวาทะของแต่ละฝ่าย (แต่ถ้าตัวคนยื่นเรื่องมีความสามารถก็ดวลวาทะเองได้ ไม่ต้องพึ่งทนายเลยก็ยังได้) |
|
เจ้าพนักงานบังคับคดี |
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ |
ผู้ลงโทษ |
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทที่8 กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
Special Thanks ที่ปรึกษา : ทั่นประธานศิลป์ญี่ ตีโต้ Thanathorn
บุคคล
1. บุคคลธรรมดา = คนทั่วไป
ส่วนประกอบของบุคคล |
เริ่มมีสิทธิบุคคลเมื่อปฏิสนธิในครรภ์มารดา
เช่น ภรรยากำลังตั้งท้อง แล้วสามีตายตอนนั้น(ดราม่าไปแล้ว..) มรดกของสามีที่จะถูกแบ่ง เด็กในครรภ์ก็คือลูก ก็จะได้รับเงินมรดกนั่นด้วย
เริ่มต้นสภาพ(พวกสถานะ บทบาทอะไรพวกนี้)เมื่อคลอดออกมาแล้วมีชีวิตรอด
สิ้นสภาพเมื่อ
1.ตาย
2.สาบสูญ = เกิดจาก หายไป 5ปี สภาพบ้านเมืองปกติ / 2ปี ยามสงครามหรือหายไปพร้อมกับอุบัติเหตุทางพาหนะ
2. นิติบุคคล = บุคคลสมมติ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
***นิติบุคคล มีสัญชาตินะจ๊ะ โดยดูจาก สถานที่ที่จดทะเบียน***
เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม เริ่มสภาพเมื่อจดทะเบียน ยกเว้น มูลนิธิ วัด ทบวง กรม ที่เป็นนิติบุคคลแบบตั้งแต่ก่อตั้ง
สิ้นสภาพเมื่อปิดกิจการ/ล้มละลาย/ศาลให้ยกเลิก/สมาชิกให้สิ้นสุด
แต่ กรม/สำนักสงฆ์ ไม่เป็นนิติบุคคล
ข้อจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิของบุคคลธรรมดา
บุคคล |
ความหมาย |
ผู้ดูแล |
ผู้เยาว์ |
ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ |
ผู้แทนโดยชอบธรรม(ผู้ปกครอง) |
ผู้ไร้ความสามารถ |
บุคคลวิกลจริต |
ผู้อนุบาล |
ผู้เสมือนไร้ความสามารถ |
บุคคลที่ไม่สามารถบริหารจัดการตนได้ EX. คนมีจิตฟั่นเฟือน ติดเหล้า ติดพนัน ใช้เงินฟุ่มเฟือย (อิลำยอง) |
ผู้พิทักษ์ |
หมายเหตุ
1.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปี หรือ แต่งงานตอนอายุ 17 ปี โดยขุ่นพ่อขุ่นแม่ยินยอม
2.ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้ ดังนี้
2.1.ทำพินัยกรรม (15ปี)
2.2.ทำเองเฉพาะตัว EX. รับรองบุตร
2.3.รับทรัพย์โดยเสน่หา (เป็นประโยชน์แก่ตนเอง)
2.4.เรื่องเล็กๆน้อยๆที่เด็กทำได้ เช่น เปิดบัญชีธนาคาร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 2 : ว่าด้วย ทรัพย์สิน
ทรัพย์ คือ อะไรก็ได้ที่มีค่าจับต้อง เห็นชัดๆ จะๆ กับมือ
ทรัพย์สิน คือ สิ่งที่มีค่าแต่จะมีรูปร่างเสมือน หรือไม่มีให้เห็นด้วยตาเปล่าก็ยังได้ เช่น ลิขสิทธิ์(เสมือน เพราะความจริงมันคือกระดาษ) Wi-fi (เห็นตาเปล่ามั้ย ไม่ และไม่เกี่ยวกับสายเน็ตนะจ๊ะ)
*เงินตรา แบงค์ ธนบัตร เหรียญ ไม่ได้อยู่ในสังหาริมทรัพย์นะจะบอกให้
|
อสังหาริมทรัพย์ |
สังหาริมทรัพย์ |
ความหมาย |
ทรัพย์สินประเภทขนาดใหญ่ติดอยู่กับเขตการครอบครองนั้นๆ |
ทรัพย์สินขนาดทั่วไป เคลื่อนย้ายได้ |
การซื้อขาย / เช่า |
ต้องทำ ‘หนังสือ/จดทะเบียน’ = สัญญาซื้อขาย |
อยากทำหลักฐานก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ |
สิทธิคนต่างด้าว |
มีสิทธิ์ก็จริง แต่เวลาจะทำอะไร จะยุ่งยากกว่า หลายขั้นตอนกว่ามีขอบกั้นด้วยกฎหมายที่ดิน |
I’m Freeeeee (จะทำอะไรก็ทำเหอะ) |
การครอบครองปรปักษ์ |
ครอบครองแทนเจ้าของที่หายไปเกิน 10 ปี |
ครอบครองแทนเจ้าของที่หายไปเกิน 5 ปี |
ผู้ที่เป็นเจ้าของ |
ต้องมีคนมารับไม้ผลัดเสมอ ระหว่าง รัฐกับเอกชน |
ไม่มีใครเอาก็ไม่ว่ากัน |
การก้าวก่ายกัน |
จะทำอะไร เจ้าของที่ต้องยินยอม แม้แต่จะเวนที่คืน ก็ต้องมีข้อเสนอแลกเปลี่ยน จะไปยึดที่ดื้อๆ เลยก็ไม่ได้ (ถึงจะแฟร์หรือไม่แฟร์ก็ตามทีเหอะ) |
ถ้าเขาไม่รู้ เอ้ย ถ้าเขายอม จะมอบให้กันเลยก็แล้วแต่ up to you |
|
*สังหาริมทรัพย์แบบพิเศษ (ใช้หลักเดียวกับอสังหาริมทรัพย์ทุกประการ) ได้แก่ |
|
นิติกรรม กับ สัญญา ต่างกันยังไงฟะ!?
คืองี้ นิติกรรม คือ การกระทำอะไรใดๆ ก็ตามที่เป็นการ โอน จ่าย ขาย ซื้อ ลด แลก แจก แถม เกิดการ deal แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งในนิติกรรมมี 2 แบบ ได้แก่
1. แบบฝ่ายเดียว (อยากทำก็ทำเลย ไม่มีใครคอยขวาง) เช่น การเขียนพินัยกรรม(อยากเขียนก็เขียนเองเด่ะ) ยอมผัดหนี้ให้ลูกหนี้(อยากทำก็ทำเลยเด่ะ)
2. แบบสองฝ่าย เช่น การทำสัญญา ซื้อ ขาย โอน จำนอง จำนำ
เห็นชัดรึเปล่า ว่า สัญญา คือ ส่วนหนึ่งนิติกรรมค่ะ!! ให้วาดเป็นตารางก็จะเป็นยังงี้
อ้างอิง คำกล่าวของ ศาสตราจารย์อักขราทร จุฬารัตน อธิบายว่า “สัญญานั้นเป็นเรื่องของนิติกรรมนั่นเอง”
โมฆะ / โมฆียะ
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา ตัวโมฆะและโมฆียะจะตามติดหลอกหลอนไปทุกหัวข้อในบทนี้ ดังนั้นขอเริ่มตรงนี้ก่อน
โมฆียะ (เรียกว่า สถานะ Now Loading….) |
โมฆะ (เรียกว่า สถานะ Yes / Cancel) |
เป็นนิติกรรมประเภทผิดแบบไม่รุนแรงมาก มีผลบังคับใช้ได้เรื่อยๆ แต่ก็ยังอยู่ระหว่างการตัดสินของกฎหมาย จุดจบของโมฆียะมีสองทาง คือ 1. ได้รับคำสัตยาบัน ด้วยการอนุญาต / ทำหนังสือทะเบียน 2. โดนบอกล้าง กลายร่างเป็น โมฆะในที่สุด |
เป็นนิติกรรมประเภทผิดแบบรุนแรง ใครได้ยินก็ อู้หู มรึงกล้าทำเนอะ จะกลายเป็นสิ่งที่กฎหมายไม่อนุมัติ ไร้ผลไปเลยตั้งแต่ต้น หนทางการเกิดโมฆะมีสองทาง คือ
1. ทำนิติกรรมชนิด มรึงกล้าทำเนอะ ขึ้นมา |
ตัวอย่าง : ผู้เยาว์แอบไปซื้อที่ดิน ก็เข้าไปอยู่ในที่นั้นได้ จนกว่าผู้ปกครองจะมาตัดสินว่า ขายคืนนนนน...!! หรือ โอเค อยู่ก็ได้ (ได้สัตยาบัน) |
ตัวอย่าง : - ทำสัญญาว่าจ้างคน |
หนี้
ประเภทของหนี้ ได้แก่
1. สัญญาซื้อขาย
- ต้องทำสำหรับพวกอสังหาริมทรัพย์ / สังหาริมทรัพย์พิเศษ ที่มีมูลค่ามากกว่า 2,000 บาท
- การละเมิดสัญญากัน จะเจอในเคสแบบ คนขายบอกจะขาย สุดท้ายเปลี่ยนใจไม่ยอมขาย สามารถฟ้องบังคับขายได้
- จะขายฝากก็ได้ เช่น เอาไปขายแล้วมั่นสัญญาไว้ว่า อีก...ปีจะกลับมาซื้อ
- ผู้เยาว์ถ้าจะทำสัญญาอะไร ต้องขออนุญาตผู้ปกครองก่อน ไม่งั้นจะกลายเป็นโมฆียะที่จะโดนบอกล้างเมื่อไหร่ก็ได้
2. สัญญาเช่าทรัพย์ (นึกถึงเช่าดีวีดี การ์ตูน ชุดเสื้อผ้า)
- เหมือนสัญญาซื้อขาย คือ อสังหาริมทรัพย์ / สังหาริมทรัพย์พิเศษ ถ้าเช่ายาวเกิน 3 ปี ต้องทำสัญญา
3. สัญญาเช่าซื้อ (การผ่อนเป็นงวดๆ เช่น ผ่อนรถ ผ่อนคอนโด)
4. กู้เงิน
- ต้องทำสัญญากู้ยืมเงิน ถ้ายืมมากกว่า 2,000 บาท
- ดอกเบี้ย คิดได้ปีละไม่เกิน 15% หรือไม่เกินเดือนละ 1.25%
เช่น นาย B ยืมนาย A ไป 2,000 ครบ1ปี นายB จะต้องคืนเงินต้น 2,000 บาท + ดอกเบี้ยอย่างมาก 300 บาท
5. จำนอง
(ขอเงินมาทำมาหากินในที่ดินนี้ก่อน ถ้าจ่ายไม่ได้ก็ค่อยยึดที่ดินที่ใช้ทำมาหากินที่ว่าแทนการจ่ายเงินคืนในตอนจบ)
6. จำนำ
(ขอเงินมา โดยเอาของเป็นตัวประกันไว้ ถ้าไม่จ่าย ของที่เอามาจำนำก็เตรียมตัวโดนขายแทนการจ่ายเงินคืนได้เลย)
การระงับแห่งหนี้ (เวลาอ่านพยายามนึกถึงพล็อตเรื่องพวกละครหลังข่าว)
1. การชำระหนี้
เอาเงินมาจ่ายต้นดอกหมดเกลี้ยง เลิกแล้วต่อกัน
2. ปลดหนี้
อยู่ๆ เจ้าหนี้โดนทำเสน่ห์ใส่ พิศวาสลูกหนี้ขึ้นมา หนี้อะไรไม่ต้องเอามาคืนละ เอาไปเลย (กลายเป็นให้เงินฟรีแทนซะงั้น)
3. หักลบกลบหนี้
กรณีนี้คือแบบ เจ้าหนี้ก็มีหนี้กับลูกหนี้ อย่างเช่น นายA ขายข้าว แต่หมุนเงินไม่ทันเลยไปยืมเงินนายB 10,000 บาท ระหว่างที่กำลังหาเงินมาใช้ มีพยากรณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ นายBที่ช็อตเหมือนกันเพราะเพิ่งก่อบังเกอร์กระสอบทราย แต่ดันลืมซื้อของตุน เลยมาขอข้าวนายA นายAก็ให้ข้าวนายBไปเป็นมูลค่า 10,000 บาท ถือว่าหนี้หายกัน
4. แปลงหนี้ (ขัดดอก)
เช่น นายยุทธพงษ์ติดหนี้หลินหลานเซ่อจำนวน 20 ล้านเหรียญดอลลาร์ฮ่องกง นายยุทธพงษ์ สัญญากับมาเฟียหนุ่มว่าหากหาเงินมาใช้หนี้ไม่ได้จะส่ง ลูกสาวคนโตมาขัดดอกเพื่อใช้หนี้ *จะต่างกับหักลบกลบหนี้คือ ให้แบบไม่เต็มใจให้ มูลค่าของเงินที่กู้มากับของที่คืนไปก็ไม่เท่ากัน
//ไม่ติ่งเลย
5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน
เกิดในกรณี พ่อแม่ลูกเป็นส่วนใหญ่
คืองี้ สมมติว่า พ่ออยู่ๆ มายืมเงินลูกไป (ย้ำว่าพ่อยืมเงินลูก) แล้วพ่อก็ตายทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ใช้หนี้ ตามหลักกฎหมาย คนที่จะใช้หนี้ต่อคือ ลูก แต่ลองนึกอีกทีในคราวนี้ ลูกดันเป็นเจ้าหนี้นี่หว่า... ลูกก็ได้แต่หวีดร้องว่า “ตรูกลายเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้กับตัวเองเหรอเนี่ย” ดังนั้นก็ ไม่ต้องทำอะไรละ (เพราะคงไม่มีใครบ้าพอจะเล่นสองบทในเวลาเดียวกัน) ถือว่า หนี้จบแล้วละกัน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 3 : ว่าด้วย เรื่องเกี่ยวกับตนเอง
เรื่องทั่วไป เกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องแจ้งทั้งหลาย
แจ้งเกิด |
15-30 วันหลังจากเด็กคลอด |
แจ้งตาย |
24 ชั่วโมงตั้งแต่พบศพ ในบ้าน |
แจ้งย้ายเข้าออก |
15 วันทั้งเข้าทั้งออก |
ทำบัตรประชาชน |
ไม่เกิน 60 วัน |
แจ้งตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ |
ไม่เกิน 6 เดือน |
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 4 : ว่าด้วย ครอบครัว
1. การหมั้น
จะหมั้นกันได้นั้น ไม่มีใครว่าอะไร ไม่มีใครห้ามได้ เพราะยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ โดยผู้ชายต้องเอาของไปให้ผู้หญิงก่อน (ที่ฮิตๆ ก็แหวนไง) และต่อให้เกิดเรื่องเลิกกันทั้งๆ ที่หมั้นไปแล้ว ผู้ชายเกิดอยากได้แหวนคืน หากแหวนที่นิ้วนางก็เป็นของนางต่อไป (อ้อยเข้าปากช้างอ่ะนะ)
2. การสมรส
เงื่อนไข : อายุต้อง 17 ปี ในเงื่อนไขที่พ่อแม่ก็ต้องอนุญาต แต่ถ้าจะไม่ต้องรออนุญาตใคร ก็ต้องอายุ 20 ปี+ แต่งเองได้
, เป็นคนปกติ , ไม่ใช่คนตระกูลเดียวกัน , พ่อเลี้ยงแต่งกับลูกเลี้ยงได้แล้วจ้ะ , อย่าสมรสซ้อน ,หญิงหม้ายต้องรอเกิน 310 วันถึงจะแต่งใหม่ได้ (ไม่อย่างนั้นลูกที่ออกมาจะถือว่าเป็นลูกของสามีเก่า ขุ่นพระ..)
จะแต่งงานกันได้ ผู้ชายต้องเอาสินสอดทองหมั้นไปให้พ่อตาแม่ยาย แต่ถ้าเกิดเหตุทำให้ไม่ได้แต่งงานโดยฝ่ายหญิงเป็นคนผิด ฝ่ายชายสามารถเรียกคืนสินสอดนั้นได้ทันที
3. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
- สินส่วนตัว : ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ก่อนแต่งงาน รวมถึงของหมั้น(เพราะถือว่าให้สาวเจ้าไปแล้ว) เวลาหย่ากัน กรรมสิทธิ์ก็ของใครของมัน ไม่ต้องแชร์
- สินสมรส : ทรัพย์สินรายได้ที่เกิดจากหลังแต่งงาน เวลาหย่าจะต้องหาร2 ซึ่งของที่จะถูกหารจะมี รายได้ที่หาได้หลังแต่ง ไม่ว่าจะเกิดจากช่วยกันหา หรือมาจากดอกผลของกรรมสิทธิ์ส่วนตัวใครก็แล้วแต่
ตัวอย่างเหตุการณ์
ฝ่ายชายมีบ้านอยู่หนึ่งหลัง มาขอหมั้นกับสาวเจ้าด้วนแหวนเพชรเนื้อดี พอหลังแต่งงานไปแล้ว ทั้งสองก็หาเงินตามปกติ รวมระยะเวลาที่อยู่ด้วยกันไม่กี่เดือนเป็นเงิน 500,000 บาท และมีรายได้เสริมจากการที่ฝ่ายชายเอาบ้านตัวเองเปิดให้เช่ากินดอกผล รวมตลอดการอยู่ร่วมกัน 10,000 บาท
เมื่อหย่ากันสิ่งที่แต่ละฝ่ายจะได้มี ดังนี้
ฝ่ายชาย : บ้าน + เงิน 255,000 บาท
ฝ่ายหญิง : แหวนเพชร + เงิน 255,000 บาท
4. บิดามารดา กับบุตร
อย่างที่บอก ถ้าหญิงหม้ายดันแต่งงานใหม่ทั้งๆ ที่ยังไม่เลย 310 วัน ลูกที่ออกมาจะถือว่าเป็นลูกของสามีเก่า
ส่วนกรณีที่แบบ ไม่ว่าพ่อแม่จะแต่งงานกันด้วยความทุลักทุเลขนาดไหน ทะเบียนซ้อนอะไรต่อมิอะไรก็จะเป็นลูกถูกต้องตามกฎหมาย
**คดีอุทลุม = คดีที่ลูกฟ้องพ่อแม่ ซึ่งลูกจะฟ้องพ่อแม่เองไม่ได้ ต้องให้อัยการฟ้องแทน
5. บุตรบุญธรรม
เงื่อนไขสำคัญ :
- คนรับเลี้ยงต้องมีอายุมากกว่า 25 ปี
- อายุคนรับเลี้ยง กับเด็กที่รับมาเป็นลูก ต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 15 ปี
เช่น นายสมประดี อายุ 26 ปี จะรับน้องรอว์เลนเซียส มาเลี้ยง อายุของน้องรอว์เลนเซียส จะต้องอยู่ที่ แรกเกิด - 11 ปี..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 4 : ว่าด้วย มรดก
มรดก : ทรัพย์สินที่จะให้เมื่อเจ้าของตายลง ซึ่งถ้าผู้สิ้นชีวามิได้เขียนพินัยกรรมไว้ จะต้องมีการจัดการแบ่งสมบัติที่เหลือตามกฎ ดังนี้
ผู้มีสิทธิรับมรดกตามลำดับ
1. ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน ลูกบุญธรรม)
2. บิดามารดาที่แท้จริง
3. พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน
4. พี่น้องต่างพ่อต่างแม่
5. ปู่ย่า ตายาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรส
ลูกพี่ลูกน้อง / พ่อแม่บุญธรรม << อันนี้ไม่ให้
ขั้นตอนการแบ่งมรดก *จะเกิดกรณีนี้ได้ถ้าไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้
1. นำเงินมรดกมาหาร2 เอาครึ่งหนึ่งให้สามี/ภรรยาเป็นมรดกส่วน → สินสมรส
2. นำเงินอีกครึ่งที่เหลือ หารแจกให้ผู้มีสิทธิมรดกลำดับตามกำหนดทุกคนเป็นมรดกส่วน → สิทธิมรดก
* ถ้าเป็นพระภิกษุ โดยไม่เขียนพินัยกรรมไว้ ให้นำมรดกทั้งหมดไปให้วัดตามภูมิลำเนา
ตัวอย่าง1 : คุณAทิ้งมรดกไว้ 1,000,000 บาท แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ซึ่งคุณAมีภรรยา 1 คน พ่อ แม่ บุตรจริง 1 คน บุตรบุญธรรม 1 คน ยาย 1 คน ป้า 1 คน อา 1 คน พ่อบุญธรรม 1 คน ลูกพี่ลูกน้อง 1 คน คนใช้คนสนิท 2 คน ถามว่าแต่ละคนจะได้เงินคนละเท่าไหร่
ตอบ ภรรยา = 500,000 บาท (สินสมรส) + 100,000 บาท (สิทธิมรดก)
พ่อ , แม่ , บุตรจริง , บุตรบุญธรรม = 100,000 บาท (สิทธิมรดกonly)
ป้า , ยาย , อา , พ่อบุญธรรม , ลูกพี่ลูกน้อง , คนใช้คนสนิท = อดไป อย่าได้เสนอตัว..
ภรรยาsay : กูวินค่ะ ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลยวุ้ย
Q : ทำไม ป้า ยาย อา ทั้งๆ ที่อยู่ในลำดับสิทธิมรดกแต่กลับไม่ได้มรดก ตัวอย่างตารางการรับมรดกตามลำดับ เขียว = ได้รับ / แดง = อด / .......... = ลำดับถัดจากนั้นลงไป
|
ตัวอย่าง2 : หลวงตาCบวชเป็นพระภิกษุไม่สึกตลอดชีพ ช่วงแรกบวชในวัดป่าเหลือง แล้วจึงย้ายมาที่วัดป่าเขียวของอีกจังหวัดกระทั่งมรณภาพ มีมรดกจากการได้ทานของเหล่าลูกศิษย์ลูกหา 500,000 บาท พบว่าไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้ ถามว่า มรดกนี้จะตกทอดให้ใคร
ตอบ ให้วัดป่าเขียว (เพราะเป็นวัดตามภูมิลำเนา = วัดสุดท้ายที่บวชอยู่)
พินัยกรรม
คือ สิ่งที่จะทำให้มรดกไม่ต้องมานั่งคำนวณหาแบบข้อข้างต้น เพราะจะระบุคนที่ได้สืบทอดทรัพย์สินต่อเลย
บุคคลที่ทำพินัยกรรมได้
- บุคคลทั่วไปที่มีสมบัติ
- ผู้เยาว์อายุ 15 ปีที่มีสมบัติ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง
รูปแบบพินัยกรรม *ตัวแดง = ต้องมีพยาน (บรรลุนิติภาวะ , เป็นคนปกติ , ตา/หูปกติ , เป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิรับมรดก) อย่างน้อย 2 คน
1. แบบเขียนเองทั้งฉบับ
2. แบบไม่ได้เขียนเอง ให้ผู้อื่นเขียน (เช่น เออ แล้วแต่เอ็งเลย อยากเขียนอะไรเขียนไป)
3. แบบเอกสารลับ เขียนเสร็จรีบส่งไปปิดผนึกโดยนายอำเภอ
4. แบบเอกสารฝ่ายเมือง
5. แบบทำด้วยวาจา ให้ผู้อื่นเขียนตามคำบอกเด๊ะๆ แล้วเอาไปส่งนายอำเภอ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 5 : กฎหมายอาญา
อาญา เป็นกฎหมายที่เอาไว้ลงโทษผู้ก่อเรื่องที่ทำให้เจ็บ ตาย แค้น อะไรก็ตามที่ทำให้ชีวิตปกติมลายหายไป สดๆ ตรงนั้น
1. ประเภทการกระทำผิดด้าน ร่างกาย-ชีวิต
- การกระทำโดยเจตนา : จงใจทำ หวังผลให้อินั่นเจ็บ อินี่ตาย อะไรงี้
เช่น ฮานส์ใช้ดาบแทงโดนเอลซ่าถึงแก่ความตาย เพราะอยากฮุบบัลลังก์เมืองแอเรนเดล
- การกระทำโดยประมาท : ไม่ได้ตั้งใจทำ ไม่ได้ประสงค์ร้ายตั้งแต่ต้น
เช่น คริสตอฟขับรถเลื่อนหิมะไปชนอันนาที่กำลังเดินข้ามธารน้ำแข็งตายคาที่
- การกระทำโดยไม่เจตนา : มีมูลเหตุที่จะกระทำแบบเบาๆ แต่ผลออกมารุนแรงอย่างกับตั้งใจ
เช่น เอลซ่าชี้หน้าไล่อันนาให้กลับไป แต่เผลอปล่อยพลังน้ำแข็งที่ควบคุมไม่อยู่ใส่ขั้วหัวใจอันนา จนอันนาแข็งตายในที่สุด
(มีมูลเหตุตรงที่ เอลซ่ากะจะแค่ชี้หน้าด่าอันนา แต่ผลกลับออกมารุนแรงกว่าที่คาด)
- การกระทำแบบพยายาม : จงใจทำ แต่ไม่บรรลุผลความชั่ว
เช่น ฮานส์จะใช้ดาบแทงเอลซ่า แต่อันนาเอาตัวมาป้องกันไว้ได้สำเร็จ ซึ่งเอลซ่าก็ปลอดภัย
ไฮไลท์แบบนี้***สามารถไปรวมร่างกับประเภทการกระทำผิดทาง ทรัพย์สินอาญา / ทางเพศ ได้ (นอกจากนั้นเป็นด้านร่างกายชีวิตอย่างเดียว) ตัวอย่างออกมาก็จะเป็น พยายามข่มขืน / พยายามลักทรัพย์ / ข่มขืนโดยเจตนา / ชิงทรัพย์โดยเจตนา เป็นต้น
2. ประเภทการกระทำผิดด้าน ทรัพย์สิน
1. ลักทรัพย์ : แอบไปหยิบตอนเขาไม่รู้ตัว
2. วิ่งราวทรัพย์ : ฉกไปซึ่งๆ หน้า
3. ชิงทรัพย์ : ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่จะทำร้ายถ้าไม่ส่งของมา
4. ปล้นทรัพย์ : ทำแบบชิงทรัพย์ แต่คราวนี้มาเป็นทีม คือ 3 คนขึ้นไป
5. กรรโชกทรัพย์ : ขู่เอาชีวิต หรือขู่ทำร้ายตัวประกัน เพื่อเอาทรัพย์ (เช่น ถ้าไม่เอาของมาให้ แกตาย / ลูกเมียแกเสร็จฉัน!!)
6. รีดเอาทรัพย์ : ขู่เอาความลับไปเผย เพื่อเอาทรัพย์ (เช่น ถ้าไม่เอาของมาให้ คลิปแกมีชู้กับยามหน้าประตูดังทั่วเน็ตแน่!!)
7. ยักยอกทรัพย์ : การคอรัปชั่นน่ะเอง
8. ฉ้อโกง : หลอกลวงให้ความเท็จ โน้มน้าว ต้มตุ๋นเพื่อให้ได้ทรัพย์มา
9. รับของโจร : ช่วยจำหน่าย ซื้อ จำนำ เคลื่อนย้ายทรัพย์ร้อนที่เกิดจากคดีในข้อ 1-8
10. ทำให้เสียทรัพย์ : ทำให้สิ่งของมีค่าของเขาเสียหาย (เช่น ต่อยเพื่อนจนแว่นราคาแพงเว่อร์ของเพื่อนแตก)
3. ประเภทการกระทำด้านเพศ : ข่มขืน กระทำชำเรา = จำคุก 4 – 20 ปี ปรับ 8,000 – 40,000 บาท
ลวนลาม อณาจาร = จำคุก 1 – 10 ปี ปรับ 1 – 20,000 บาท
//ไม่อยากจะเม้นท์นะคะ แต่แบบ เบาไปป้ะ?
ผลทางกฎหมายอาญา
1. ยกเว้นความผิด เช่น โจรเข้ามาจะข่มขืนแล้วยิงสวนไปที่ขาเพื่อสกัดการจู่โจม
2. ยกเว้นโทษ เช่น สามีลักทรัพย์ภรรยา เด็กอายุไม่เกิน7ปีทำความผิด
3. ยอมความได้ เช่น ลูกลักทรัพย์พ่อแม่ พี่ลักทรัพย์น้อง
4. รอการลงโทษ
5. ***ลดโทษ เช่น ทำร้ายร่างกายด้วยบันดาลโทสะ
6. เพิ่มโทษ เช่น กระทำความผิดซ้ำ
7. ผิดตามอาญาแผ่นดิน เช่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน ฆ่าคน ชิงทรัพย์
8. ผิดลหุโทษ เช่น ปล่อยข่าวเท็จทำให้ประชาชนแตกตื่น ทิ้งซากเน่าเหม็นลงในที่สาธารณะ
ถ้าโดนข้อ5-8 โทษที่ได้รับจะมีตามนี้(ไล่จากเบาไปหนัก) : ริบทรัพย์→ ปรับ → กักขัง → จำคุก → ประหารชีวิต
***Stepปริมาณลดหย่อนโทษที่ได้รับ*** ย้ำว่า ลดหย่อนให้ (ไม่ใช่ โทษเหลือเท่าไหร่)
ลดให้ 1 ใน 3 |
• พยายามกระทำความผิด (ผู้เสียหายรอดปลอดภัย) |
|
ลดให้ครึ่งหนึ่ง |
• เด็กอายุ 15(1เดือน)-17(0เดือน) ปี กระทำความผิด |
|
ลดให้ 2ใน 3 |
• ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย เช่น คนต่างด้าวทำความผิด |
|
ลดให้ชนิดไม่โดนโทษ |
เป็นความผิดอยู่ แต่ไม่มีโทษ |
ไม่เป็นความผิดตั้งแต่ต้น |
• การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น / ถูกใช้แต่กลับใจทัน ไม่มีการลงมือทำอันตรายใดๆ |
• การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย • ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ • มีกฎหมายประเพณี
• มีกฎหมายอื่นให้อำนาจกระทำได้ |
|
ลดให้แน่ |
การกระทำโดยบันดาลโทสะ |
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://www.kodmhai.com/m2/m2-2/thailaw2-2.html#S1
ตัวอย่างโจทย์เบาๆ...
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Part 6 : กฎหมายลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ เป็นหลักฐานการยืนยันว่า ความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางปัญญาพวกนี้สงวน ไม่อนุญาตให้ก๊อปไปทำได้ชิลล์ๆ
ยกเว้น ข่าวประจำวัน กฎหมาย คำสั่งราชการ รายงานของทางราชการ เป็นต้น
จุดน่าจำของตรงนี้เห็นจะเป็น อายุการบังคับคุ้มครองลิขสิทธิ์ อ่ะนะ
1. ยืนยาวเท่าอายุขัยของคนสร้างสรรค์ และบวก 50 สิบปีหลังจากเขาตายลง
2. ยืนยาวจนกว่าคนในทีมสร้างสรรค์จะตายลงครบองค์ประชุม และบวกอีก 50 ปีหลังจากคนสุดท้ายตายลง
3. ต่อให้ยังไม่ได้ประกาศลิขสิทธิ์แล้วผู้สร้างสรรค์ตายก่อน ถ้ามีคนไปยื่นทำลิขสิทธิ์ให้ จะได้ลิขสิทธิ์มา 50 ปี
4. แต่ถ้าเป็นแบบ ศิลปะประยุกต์ จะมีอายุลิขสิทธิ์อยู่ 25 ปี
Part 7 : กฎหมายอื่นๆ
เกณฑ์ทหาร
ชายชาติบุรุษที่ไม่ได้เรียน ร.ด. แล้วยังไม่ทำอะไรใต้โต๊ะ จะโดนข้อบังคับตามนี้
1. อายุ 18 ปี ลงชื่อยืนยันว่าจะเข้าเป็น ‘ทหารกองเกิน’ ในอนาคต
2. อายุ 20 ปี หรือ ย่างเข้า 21 ปี ให้ไปแสดงตนรับหมายเรียกเกณฑ์ทหารตามที่ได้ยืนยันไว้เมื่อสองปีก่อน
3. เมื่อได้หมายเรียกแล้ว ให้ไปรับการตรวจ จับสลาก ได้ใบดำก็รอด ได้ใบแดงก็บ๊ายบาย2ปีแห่งความศิวิไลไปได้เลย
ฝ่าฝืนขั้นตอนใด ปรับขั้นตอนละ 300 บาท และ จำคุก 1 - 3 เดือน
ส่วนเหล่าคนจบร.ด. ถ้าหากบ้านเมืองเกิดมีสงครามก็จะโดนเรียกไปเป็น ทหารกองหนุน นั่นเอง
ภาษีอากร
ภาษีทางตรง |
ภาษีทางอ้อม |
ภาษีเงินได้ |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ภาษีมรดก |
ภาษีศุลกากร |
ภาษีทรัพย์สิน |
ภาษีสรรพสามิต |
ภาษีธุรกิจเฉพาะ |
|
หน้าที่ผู้บริโภค – คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
สรุปสั้นๆ คือ ผู้บริโภคควรไตร่ตรองอ่านสัญญา/ฉลากรายละเอียดก่อนจะตัดสินใจซื้อ และพยายามเก็บหลักฐานไว้ตลอดเวลา เมื่อเกิดเรื่องอย่าเงียบ ให้หวีดร้องแจ้งไปเลยที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โทรเล้ย 1166
ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เวลาตกลงกันทำพันธะระหว่างประเทศ ในพวกนี้จะมีสถานะเป็น สนธิสัญญา
แต่เวลาตั้งชื่อ จะได้ชื่อประมาณ : ข้อตกลงระหว่าง.... / ปฏิญญาสากลของ... / พิธีสารประเทศ.... / กฎบัตร... / อนุสัญญา... / กติกา... / กรรมสาร... / บันทึกแลกเปลี่ยน... / ธรรมนูญ
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
ผู้ริเริ่ม : อังรี ดูนังต์
เกิดเป็นอนุสัญญาฉบับแรกของโลก ชื่อว่า ‘อนุสัญญาเจนีวา’ เป็นกฎหมายที่ทุกประเทศที่มีอารยธรรมแล้วต้องปฏิบัติตามและได้รับการคุ้มครองโดยทั่วกัน
ซึ่งในส่วนประเทศไทย ได้ใช้อนุสัญญานี้ครั้งแรกเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ.2497
ประเด็นในกฎหมายนี้มี 6 ประเด็น ถ้าให้พูดกันแบบภาษาปกติไม่ต้องแต่งเติมก็จะเป็น
1.) อย่าตบทหารกับประชาชนตาดำๆ
2.) เคารพสัญลักษณ์กาชาด ห้ามทำร้ายเจ้าหน้าที่พยาบาล (แม้เวลารบตามจริง ควรจะตัดเส้นเลือดใหญ่ซึ่งก็คือฝ่ายพยาบาลของอีกฝ่ายก็ตามที)
3.) อย่าตบคนที่ไม่ได้ถืออาวุธ เพราะถือเป็นผู้บริสุทธิ์
4.) ช่วยเหลือคนเจ็บทุกเมื่อ
5.) ทหารกับพลเรือนอย่าปะปนกัน (แบบทหารต้องอยู่แนวหน้า ประชาชนก็อย่าทะเล่อทะล่าวิ่งเข้าไป)
6.) ทำสงครามอย่างแฟร์ๆ (เช่น ใช้แค่ปืน รถถังนะ อย่าถึงกับอาวุธนิวเคลียร์)
ขอขอบคุณ : ทั่นประธานสายศิลป์ญี่ ฏรีโฏร้ว(ตีโต้) สุดยอดAdviser และผู้ตรวจสอบ //โค้งงามๆ
หนังสือ ‘เจาะใจสังคมเข้าเตรียมอุดม’ (อ.ชัย)
หนังสือ ‘คมศาสตร์’ (พี่วิทย์ญี่ TU75)
คอมเม้นท์ของคุณ ว ในกระทู้ “อยากทราบว่า หักกลบลบหนี้ กับ หนี้เกลื่อนกลืนกัน ต่างกันอย่างไรครับ”
หนังสือประกอบการเรียนวิชาสังคมทั้ง2เล่ม
http://tnacharoen.wordpress.com/การรับโทษทางอาญา
และ เพื่อนๆ ที่มาช่วยกันตรวจสอบเนื้อหาพร้อมแจ้งกลับมาทุกท่านเลยนะก๊ะ
ความคิดเห็น