คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #31 : [Finalเทอม2] ประวัติวรรณคดี ร.5 - ร.6 [แก้ไขเรียบร้อย]
สรุปประวัติวรรณคดี Final เทอม 2
ความเหมือน/แตกต่างของวรรณคดีใน ร.5 กับ ร.6 |
|
รัชกาลที่ 5 |
รัชกาลที่ 6 |
ตั้งโบราณคดีสโมสร |
ตั้งวรรณคดีสโมสร |
เริ่มต้นวงการ ละคร |
ละครเป็นที่นิยมแล้ว |
ยังแปลพงศาวดารจีนอยู่ |
เริ่มเมินของจีน หันมาแปลงานของฝั่งตะวันตก |
มีการเผยแพร่งานผ่านทาง หนังสือพิมพ์ |
|
นิยมสำนวนร้อยแก้ว |
|
ร้อยกรองยังมี โคลง ฉันท์ เป็นตัวนำ |
ร้อยกรองให้ กลอน เป็นตัวนำแทน |
วรรณคดีสมัยร.5
เอกลักษณ์
1.มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรก ทำให้สร้างกวีที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
2.ตั้งโบราณคดีสโมสร : ตรามังกรคาบแก้ว
ตามชื่อค่ะ ไว้ศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดี ภายใต้การควบคุมของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แต่สุดท้ายก็ยกเลิกไป
3.มีการพิมพ์หนังสือพิมพ์จำนวน 52 ฉบับ
โดยฉบับที่เน้นวรรณคดี ได้แก่
- วชิรญาณ
- ทวีปัญญา
- ลักวิทยา
- ถลกวิทยา
- นารีโฉม (อันนี้จะเน้นเนื้อเรื่องแบบผู้หญิ๊งงงงผู้หญิง ถ้าเทียบกับปัจจุบันก็การ์ตูนตาหวานอ่ะแหละ)
- ดรุโณวาท (เป็นลิขสิทธิ์ทางหนังสือพิมพ์ของคนไทยครั้งแรก)
4.จัดตั้งหอสมุด
- หอมนเทียรธรรม
- หอพุทธสังคหะ
- หอพระสมุดวชิรญาณ
5.มีงานด้านพจนานุกรม
หมอบรัดเลย์ พิมพ์พจนานุกรมเล่มแรกชื่อ ‘หนังสืออักขราภิธานศรัพท์’
6.แปลพงศาวดารจีนมากถึง 13 เรื่อง (ทำลายสถิติสมัยร.4 ที่ตอนนั้นมี 11 เรื่อง)
7.เกิดละครใหม่(แต่ยังไม่นิยมเท่าไหร่)หลายแบบ (เป็นยุคแรก คนยังไม่สนใจเยอะเพราะเพิ่งจะเริ่ม)
รูปแบบล่าสุด |
ต้นแบบ |
ละครดึกดำบรรพ์ |
ละครไทย+ละครฝรั่ง |
ละครร้อง |
ละครนอก |
ละครพันทาง |
|
ละครพูด |
ลำนำ |
8.นิยมร้อยแก้วไม่เสื่อมคลาย
ขณะที่สมาพันธ์โรงน้ำชาร้อยกรองพวกกาพย์ ฉันท์ ร่าย ถูกลดบทลง บางอันก็ย่อซะกลายเป็น เรื่องเบ็ดเตล็ดแทน
9.นิยมคำกลอนประโลมโลก (เน้นทางบันเทิง) คือ เอาพวกนิทานพื้นบ้านมาใส่เป็นกลอนสุภาพ เช่น ปลาบู่ทอง แก้วหน้าม้า
10.ยุคแห่ง ร้อยแก้ว นวนิยาย และเรื่องสั้น
ประเภทบันเทิงคดี ที่เน้นภาษาอังกฤษซะเหลือเกิน
มีเริ่มการเขียนเรื่องสั้นแบบตะวันตก
เรื่องแรก : สนุกนิ์นึก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
******หมายเหตุ******
ดาวแดง = ได้รับการยกย่อง ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร //แปะๆๆๆ
ดาวเขียว = ต้นตำรับ เริ่มการ.....(อะไรสักอย่าง).....เป็นเรื่องแรก
ดาวม่วง = เพื่อการศึกษา
ดาวน้ำเงิน = เรื่องสุดท้ายแห่ง.....(อะไรก็ว่าไป)........
ดาวทอง = มีอะไรแปลกแหวกแนวกว่าชาวบ้าน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
1. พระราชพิธีสิบสองเดือน
จุดมุ่งหมาย : ศึกษาวัฒนธรรมเทศกาลประจำประเทศ
ลักษณะการแต่ง : ความเรียงอธิบาย
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เล่าถึงประวัติของพวกเทศกาลประจำเดือน เป็นมาตั้งแต่อยุธยา พอตอนนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้าง ซึ่งในเนื้อหา ขาดไปเดือนเดียวคือ เดือน11
Key : การกวนข้าวทิพย์
ความเด่น :
- ยอดของวรรณคดีความเรียงเชิงอธิบาย
- ได้ความรู้พิธีทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู
2. พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน (จดหมาย#1 ของจริง one way)
จุดมุ่งหมาย : ส่งจดหมายจริงถึง พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานภดล (จำว่า แชทกับลูกนิภา แต่ลูกนิภาตอบกลับไม่ได้)
ลักษณะการแต่ง : จดหมายเหตุรายวัน และone way ลูกนิภาไม่ตอบกลับ แอบแทรกร้อยกรองไปบางจุด จำนวน 43 ฉบับ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เรื่องราวของการประพาสยุโรปครั้งที่2 จากค่ำคืนที่ 1 - 225
Key : แทนตัวว่า ‘พ่อ’ ลงท้ายชื่อด้วย ‘จุฬาลงกรณ์ ปร.’
ความเด่น : ทราบถึงข้อมูลบ้านเมืองประวัติศาสตร์ของยุโรปสมัยนั้น
3. ลิลิตนิทราชาคริต
จุดมุ่งหมาย : พระราชทานให้พระบรมศานุวงศ์เครือญาติในวันขึ้นปีใหม่
ลักษณะการแต่ง : ลิลิตสุภาพ
เนื้อเรื่องโดยย่อ :
เรื่องราวของชาวอาหรับ นามอาบูหะซันลูกบ้านค้าขาย แต่ฮีไม่เอาอ่าววันๆ เอาแต่แร่ด วันหนึ่งพระเจ้ากาหลิบที่ชอบปลอมตัวเป็นชีวิตจิตพระทัย ก็ปลอมตัวไปประพาสต้นเจอขุ่นซัน ขุ่นซันก็โชว์ภูมิว่า ถ้าตัวเองเป็นราชามีคดีอะไร จะตัดสินงั้นงี้ พระเจ้ากาหลิบจึงร้องว่า ได้…YouรีเควสIจัดให้ จึงให้คนวางยาขุ่นซันให้สลีปปิ้งหลับปุ๋ยนับแกะในฝัน |
Key : เวลามีสุขล้น เหลือเหลิง
ปล่อยจิตคิดละเลิง โล่งแล้ว
ความเด่น :
- สอนเรื่องการคบเพื่อน ความรักของแม่ การรักษาทรัพย์ การปฏิบัติราชการ และความซื่อสัตย์
- ผู้ช่วยรีไรท์คือ ท่านพิชิต+น้อย
1. กรมหลวงพิชิตปรีชากร
2. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
4. พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำ
ลักษณะการแต่ง : ความเรียงอธิบาย
เนื้อเรื่องโดยย่อ : พิจารณาสันนิษฐานคนแต่ง แล้ววิจารณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสมัยอยุธยาตอนปลายตามเนื้อหาต้นฉบับ
ความเด่น :
- เน้นเรื่องทางประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลาย
- จดหมายต้นฉบับได้รับจากตรงวังหน้า อยุธยาตอนปลาย – ร.2 และหอสมุดวชิรญาณเป็นคนเก็บมาได้
- ผู้แต่งจดหมายต้นฉบับน่าจะชื่อ
ยศแรก สมัยร.1 >> พระองค์เจ้ากุ หรือ เจ้าครอกวัดโพธิ์
ยศที่สอง สมัยร.4 >> กรมหลวงนริทรเทวี
5. กาพย์เห่เรือ
จุดมุ่งหมาย : ใช้เมื่อเห่เรือหลวง เมื่อเสด็จลอยพระทีป
ลักษณะการแต่ง : กาพย์เห่เรือ (โคลงสี่สุภาพ 1 บท + กาพย์ยานี ยาวไปเรื่อยๆ)
เนื้อเรื่องโดยย่อ : ช่วงเห่เรือก็ ชมสวน ชมไม้ ชมนก และชมโฉม
Key : ยลพักตร์ผิวผ่องเพี้ยง ศศิธร , ยลพักตร์ผิวผ่องผุด งามบริสุทธิ์เล่ห์จันทร
ความเด่น :
เป็นทายาทแห่งกาพย์เห่เรือ ซึ่งเรียงไทม์ไลน์ตามที่เราเคยเรียนจะเป็นแบบนี้
ฉบับที่1 |
เจ้าฟ้ากุ้ง |
ฉบับที่2 |
ร.2 |
ฉบับที่3 |
ร.5 |
ฉบับที่4 |
ร.6 |
6. ประชุมโคลงสุภาษิต
จุดมุ่งหมาย : พระราชทานบุคคลต่างๆ / พิมพ์ลงหนังสือพิมพ์
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ
Key : ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
ทำดีไป่เลือกเว้น ผู้ใด ใดเฮย
ความเด่น : หอพระสมุดวชิรญาณนำมาจัดรวมตีพิมพ์เป็นเล่ม
- ใช้สำหรับเป็นคติสอนใจ
7. โคลงเรื่องรามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย : ฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : รามเกียริต์ 8 ตอน เริ่มแต่ท้าวชนกพบนางสีดา ยันพระรามกลับมาครองเมือง
ความเด่น :
- ถอดแบบจากฉบับของ ร.1
- ได้จารึกลงวัดพระแก้ว กวีที่ช่วยกันแต่งจึงไม่มีใครยอมใคร แข่งขันฝีปากทางกวีเลยก็ว่าได้
- แปลกตรงที่ 1.ใช้โคลงแต่งแทนกลอน
2. ไว้ใช้อ่านอย่างเดียว ละครอะไรหามีไม่
3. ได้แปลเป็นฉบับภาษาอังกฤษในภายหลัง
คุณสมบัติ |
รามเกียรติ์ ver. ร.1 – ร.2 – ร.3 |
รามเกียรติ์ ver. ร.5 |
สำนวน |
กลอนบทละคร |
โคลงสี่สุภาพ |
การนำไปใช้ |
เล่นละคร |
ได้อยู่บนจารึกของวัดพระแก้วเพื่อใช้อ่าน |
8. บทละครเรื่องเงาะป่า
จุดมุ่งหมาย : แต่งแก้เบื่อระหว่างนอนพักฟื้น
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องโดยย่อ : รักสามเส้าระหว่าง ซมพลา ลำหับ ฮเนา แย่งชิงนางลำหับกัน แต่สุดท้ายนางลำหับกับซมพลารักกัน จึงตายตามกันเยี่ยงโรมิโอกะจูเลียต ฮเนาที่สำนึกว่าตนเป็นต้นเหตุจึงปลิดชีพตัวตายตาม
ความเด่น :
- ได้พล็อตและโคลงเรื่องมาจากชาวเงาะที่รับมาอุปถัมภ์ ชื่อ คนัง
- แต่งจบภายใน 8 วัน
- ทราบความเป็นอยู่ของชาวเงาะ ด้านมานุษยวิทยา
- ได้ใช้ขับร้องเป็นบทมโหรี เช่น บทร้องเพลงไทย เพลงหงส์ทอง
----------
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ครูน้อย อาจารยางกูร)
ข้อมูลโดยสังเขป : เป็นครูผู้เชี่ยวชาญ ไทย บาลีสันสกฤต
เข้ารับราชการในตำแหน่ง กรมพระอาลักษณ์
ยศแรก >> ขุนประสิทธิ์อักษรศาสตร์
ยศที่สอง >> ขุนสารประเสริฐ
ยศที่สาม >> พระศรีภูริปรีชา
ยศที่สี่ >> พระยาศรีสุนทรโวหาร
9. แบบเรียนภาษาไทย
จุดมุ่งหมาย : สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึงกัน (ขั้นประมาณประถม-มัธยมแถวนี้)
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้วปนร้อยกรอง
เนื้อเรื่องโดยย่อ :
ชื่อเล่ม |
เนื้อหา |
สูตรจำ |
มูลบทบรรพกิจ |
พื้นฐานไวยากรณ์ พวกสระ พยัญชนะ มาตราตัวสะกด มีกาพย์พระไชยสุริยา(สุนทรภู่)แทรก และได้เค้ามาจากจินดามณี(พระโหราธิบดี) |
มูล = พื้นฐาน |
วาหนิติ์กร |
อักษรนำ |
หนิ = นำ |
อักษรประโยค |
คำควบกล้ำ คำสันธาน |
ในประโยคเวลาจะต่อกัน ก็ต้องใช้คำ สันธาน และคำว่าประโยคมันควบกล้ำมั้ยล่ะ? |
สังโยคพิธาน |
เน้นเรื่องมาตราตัวสะกดอีกครั้ง |
|
ไวพจน์พิจารณ์ |
คำพ้อง |
พจน์ = พ้อง |
พิศาลการันต์ |
ใช้ตัวการันต์ และไม้ไต่คู้ |
การันต์ = การันต์ |
นิติสารสาธก |
ประโยชน์ของการศึกษา |
นิติ มีควาหมายเท่ากับ การศึกษา |
ความเด่น : เป็นต้นแบบของการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ ใช้เป็นหลักภาษาไทยมาถึงปัจจุบัน
10. พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน
จุดมุ่งหมาย : เป็นแบบเรียนในวิชาภาษาไทย
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ โคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ และร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : ไล่ชื่อพันธุ์ไม้ตามมาตราตัวสะกด และมีพาร์ทอธิบายเรื่องสิงห์สาราสัตว์
ความเด่น : เป็นแบบเรียนที่ให้ความรู้ภาษาไทย และชีววิทยาไปพร้อมกัน
11. คำฉันท์กล่อมช้าง
จุดมุ่งหมาย : ใช้ในพระราชพิธีขึ้นระวางช้าง ที่มีชื่อ เช่น
1. พระเศวตสุวภาพพรรณ
2. พระเทพคชรัตนกรินี
3. พระเศวตสุนทรสวัสดิ์
ลักษณะการแต่ง : คำฉันท์ (กาพย์ + ฉันท์)
key : บุญแล้วพ่อสร้างสม ให้มาชมมาเชยเมือง
12. คำนมัสการคุณานุคุณ
//จำได้มั้ยคะ ที่ท่องๆ สวดๆ กันทุกวันศุกร์
จุดมุ่งหมาย : เป็นบทสรรเสริญพุทธศาสนา
ลักษณะการแต่ง : อินทรวิเชียรฉันท์ และกาพย์ฉบัง16
Key : ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาทร.....
ความเด่น : ได้ใช้เป็นบทสวดในโรงเรียนมาถึงปัจจุบัน
-------------
ก.ศ.ร. กุหลาบ
13. หนังสือพิมพ์สยามประเภท
จุดมุ่งหมาย : เพื่อแสดงความคิดเห็นหลายๆ ประเด็น ทางประวัติศาสตร์ ย้ำ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี อัตชีวประวัติ เท่านั้น
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว (คงไม่พิมพ์เป็นกลอนลงหนังสือพิมพ์หรอกมั้งคะ..)
ความเด่น : ได้ความรู้ด้านโบราณคดี ประวัติของบุคคลสำคัญคนนั้นคนนี้ แต่เสียที่ว่า ชอบดัดแปลงใส่ไข่เสริมเรื่องตามใจชอบไปนิด..
เทียนวรรณ (ต.ว.ส. วัณณาโก)
เป็นผู้ที่ริเริ่มเขียนบทความทางการเมืองแบบจิกกัดจริงๆ ตรงๆ ครั้งแรก
(ผลสุดท้ายทำให้คนนี้ติดตะรางทันที...)
14. หนังสือพิมพ์ศิริพจนภาคและตุลวิภาคพจนกิจ
จุดมุ่งหมาย : แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ จิก เชิด ในหลายๆ ประเด็น
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว แทรกกลอนสุภาพ (แต่อันนี้มีกลอนด้วยอ่ะ…)
ความเด่น : เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่กล้าตีแผ่สะท้อนสังคม ให้เกิดความตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการดำเนินกรณียกิจหลายอย่าง ผลงานเด็ดๆ ก็มีเยอะ เช่น
1.ร่วมจัดตั้งหอสมุดวชิรญาณ
2.ร่วมจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ที่นันทอุทยาน
3.ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระรทรวงยุติธรรม
4.บัญญัติชื่อของตัวยาในตำรับแผนไทย เช่น วิสรรพยา : แก้ท้องเดิน (คล้ายๆ ฝรั่งตั้งชื่อ พาราเซตามอล : แก้ปวด )
16. ลิลิตสรรเสริญพระบารมี
จุดมุ่งหมาย : เฉลิมพระเกียรติและถวายร.5
ลักษณะการแต่ง : ลิลิตสุภาพ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง พรรณนาสดุดีกษัตริย์พร้อมชมบ้านเมือง วัง คลัง นา ทหารไปพลาง และยอพระเกียรติ รัชกาลที่ 5
ความเด่น : ได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เห็นถึงสภาพบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น
17. สนุกนิ์นึก
จุดมุ่งหมาย : ทดลองนิพนธ์แบบตะวันตก และตีพิมพ์ลงในหนังสือวชิรญาณ
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : วงสนทนาของสี่พระภิกษุที่เม้าท์กันว่า ถ้าสึกแล้วจะไปทำอะไร ซึ่งพระภิกษุตัวเอกก็โดนตื๊อให้สึกอยู่ด้วยที่มีหญิงมาชอบ แล้วก็โดนตัดจบไป…(เพราะทางศาสนา คือ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ มาโวยเบาๆ)
ความเด่น :
- งานเขียนแบบเรื่องสั้นครั้งแรกของไทย และแต่งแนวตะวันตกครั้งแรกด้วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
เป็นผู้ให้กำเนิดละครร้อง โดยใช้นามแฝงในงานนี้ว่า ‘ประเสริฐอักษร’
พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร
มีคณะละครนามว่า ‘ละครกรีฎาลัย’
18. นิทานคำกลอนเรื่องอาหรับราตรี
จุดมุ่งหมาย : อยากให้คนไทยได้อ่านของนอกของอาหรับบ้าง
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เรื่องของพระเจ้าซาเซแซนผู้เกลียดชะนีที่บังอาจทำให้พระองค์ช้ำรักในอดีต จึงทำตัวเป็นพ่อมดประจำเมืองว่า จะต้องส่งหญิงมาสังเวยทุกคืน คืนละ1คน พอถึงคราวของนางเชเฮอเรแซดผู้ชาญฉลาด นางใช้อุบายเล่านิทานอันแสนยาวยืด 1 คืนไม่จบ พอพระเจ้าซาเซแมนเห็นว่าฆ่าตอนกลางวันเดี๋ยวผิดกฎตัวเอง เลยยอมปล่อยไปค่อยจัดการคืนหน้า แต่พอตกดึกนางก็เล่านิทานยาวยืดต่อ ทำแบบนี้อยู่ 1,001 ราตรี พระเจ้าซาเซแมนก็หมดความอาฆาตในตัวสตรี ยกย่องให้นางคนนี้เป็นพระมเหสีครองบัลลังก์สืบไป
ความเด่น : เป็นงานเขียนซ้อนงานเขียน(ประเภทเดียวกับเวตาล) มีเนื้อเรื่องนิทานแยกย่อยอีกมากมาย
19. สาวเครือฟ้า
จุดมุ่งหมาย : เล่นละครถวายร.5 (เพราะพระองค์ไปเจอเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ของบุชชินี ในช่วงประทับอยู่ยุโรปแล้วยังฟินอยู่)
ลักษณะการแต่ง : บทละครร้องสลับพูด (แบบว่า ตอนร้องเพลงก็ร้องเปิดคอนเสิร์ตไปเลย ตอนพูดก็พูดปกติ)
เนื้อเรื่องโดยย่อ : ร้อยตรีพร้อม พบกับเครือฟ้า รักกันมีลูกด้วยกัน แต่พอฝ่ายชายกลับเมืองกรุงก็โดนคลุมถุงชนแต่งงานกับสาวอีกนาง เครือฟ้าเฮิร์ท เสียใจ แทงตัวเองตายในอ้อมกอดของร้อยตรีพร้อม
ความเด่น : เป็นบทละครร้องครั้งแรก และได้รับความนิยมสูงมาก เนื้อเรื่องดราม่ากินใจยิ่งนัก
20. ตำนานพระแท่นมนังคศิลาบาตร
ลักษณะการแต่ง : ลิลิต + โคลงดั้น
เนื้อเรื่องโดยย่อ : อิงตามหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ความเด่น : ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี
21. โคลงลิลิตมกุฎราชคุณานุสรณ์
จุดมุ่งหมาย : ถ่ายทอดประวัติของร.5
ลักษณะการแต่ง : โคลงแบบสมัยใหม่แปลกแหวกแนว คือ ไม่มีร้อยโคลง(สัมผัสระหว่างบท)
Key : การเวกหรือวิเวกร้อง ระงมสวรรค์
ความเด่น : สำหรับศึกษาราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
22. คำเริงสดุดีสตรีไทยนักรบ
จุดมุ่งหมาย : ยกย่องท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร (วีรสตรีเมืองถลาง)
ลักษณะการแต่ง : โคลง + กลอน
ความเด่น : ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรชนไทย
23. รุไบยาต
จุดมุ่งหมาย : แปลเป็นภาษาไทยให้คนไทยได้อ่าน
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + โคลงสี่สุภาพ + อื่นๆ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : แสดงปรัชญาชีวิต และแนะนำให้มนุษย์หาความสุขในทางโลกบ้างก็ดี
Key : ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว → โลกคือละคร (เพลงสุทราภรณ์มาเองก็งานนี้)
ความเด่น :
- เป็นงานแปล ซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาเปอร์เซีย แต่งโดยฮะกิม โอมาร์ ฮัยยัม
- ให้ข้อคิดและปรัชญาในการดำนเนินชีวิต
24. นิราศไทรโยค
จุดมุ่งหมาย : แสดงความคิดเห็นต่อสภาพสังคม โดยให้พิมพ์ได้หลังจากเจ้าตัวไม่อยู่ในโลกนี้แล้วเท่านั้น (เพราะในเนื้อหาแอบกระทบอยู่หลายคน)
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เมื่อไปที่น้ำตกไทรโยค เกิดอยากจะบรรยายความรู้สึกที่มีต่อสังคมในตอนนี้ออกมา จึงถ่ายทอดเล่าเรื่องราวและความคิดเห็นลงไป
ความเด่น : เป็นเรื่องราวทางการเมือง
---------
สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เป็นผู้ที่ให้ นาฏกรรม กลายเป็น ละครดึกดำบรรพ์ = The Musical มีสูจิบัตรแจกผู้ชม ครั้งแรก
ได้ฉายาว่า ‘การช่างศิลปะ (ช่างศิลป์) แบบไทยอย่างหาผู้เสมือนได้ยาก’
เป็นคนแต่งเพลง : เขมรไทรโยค (โฮกป๊ก โฮปกป๊ก) และ เพลงสรรเสริญพระบารมี
25. บทละครดึกดำบรรพ์
จุดมุ่งหมาย : เล่นละครเวที ที่มีทั้งฟ้อนรำ การขับร้อง โอเปรา (อารมณ์แบบดิสนีย์ออนไอซ์ คุยกันเป็นเพลงประมาณนั้น)
ลักษณะการแต่ง : บทละครร้อยกรอง + บทเจรจาร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : 5 เรื่องซีรี่ส์จุฑาเมพอีกแล้วค่ะ เพียงแต่คราวนี้เป็นการFeatของละคร นอก และ ใน ได้แก่
1. สังข์ทอง
2. คาวี
3. อิเหนา
4. สังข์ศิลป์ชัย
5. กรุงภาณชมทวีป
ถอดแบบตามเนื้อเรื่องของสมัยร.2
ความเด่น : เป็นบทละครดึกดำบรรพ์ครั้งแรก ที่ผสานศิลปกรรมหลายแขนงไว้ด้วยกัน
26. สาส์นสมเด็จ (จดหมาย#2 ของจริง two ways ตอบไปตอบกลับ)
จุดมุ่งหมาย : แลกเปลี่ยนความรู้กันในยามชรา
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว (เขียนจดหมายตอบไปตอบกลับปกติอ่ะนะ)
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เป็นการตอบโต้จดหมายกับกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์รำลึกวันวาน
ความเด่น : เป็นแหล่งอ้างอิงทฤษฎีหลายๆ ข้อได้ เพราะในจดหมาย ทั้งสองที่เป็นปราชญ์ตอบทฤษฎีกัน ย่อมมีความน่าเชื่อถือสูง เพราะ ท่านนริศราก็เลิศทางศิลปะ ท่านดำรงราชานุภาพก็เลิศทางประวัติศาสตร์
หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรถึก)
27. ประชุมลำนำ
จุดมุ่งหมาย : เป็นตำราอักษรศาสตร์ สนองตามคำสั่งของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ลักษณะการแต่ง : คละกัน คือ พาร์ทสอนกลอนแปดก็ใช้กลอนแปด พาร์ทสอนกาพย์ก็ใช้กาพย์ ตามแต่ละส่วนไป
Key : กลอนแปดปันบัญญติพิกัดไว้ กำหนดในบ่อนบาทไม่ขาดเขิน
ความเด่น :
- เป็นตำราชั้นดีด้านอักษรศาสตร์ภาษาไทย
- รวมถึงเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านกวีด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วรรณคดีรัชกาลที่6
เอกลักษณ์
1. เป็นรัชกาลที่มีกวีและนักเขียนจำนวนมาก เพราะกษัตริย์เป็นผู้นำในการประพันธ์งาน (ไม่ต้องสงสัยเลยนะข้อนี้)
2. จัดตั้งวรรณคดีสโมสร (ที่ทำให้เราต้องมานั่งจำ ยอดของxxxxx เนี่ยแหละ)
ตราพระราชลัญจกร : รูปพระพิฆเนศวร
วรรณคดี Best Award ดุจประกาศในงานออสการ์ มีดังนี้
สาขา |
ชื่อเรื่อง |
ผู้แต่ง |
ลิลิต |
ลิลิตพระลอ |
N/A |
คำฉันท์ |
สมุทรโฆษคำฉันท์ |
พระมหาราชครู + พระนารายณ์มหาราช + |
กาพย์ |
มหาชาติกลอนเทศน์ |
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
กลอนบทละคร |
บทละครเรื่องอิเหนา ver. ละครรำ |
พระบาทสมเด็จพระพทุธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) |
บทละครพูด |
หัวใจนักรบ |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) |
นิทาน |
สามก๊ก |
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
อธิบาย |
พระราชพิธีสืบสองเดือน |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) |
นิทานคำกลอน |
พระอภัยมณี |
สุนทรภู่ |
3. แปลวรรณคดีตะวันตก เขียนแบบตะวันตกนิยมมากมาย
ลักษณะงานเขียนสมัยนี้
1. มีทั้งร้อยแก้วร้อยกรอง พวกท่านลองทำทุกแนวไม่มีพลาด แต่ถ้าร้อยกรองจะชอบใช้ กลอนปกติเป็นพิเศษ
2. เริ่มเมินจีน นิยมของฝั่งยุโรป
3. ยังแปลวรรณคดีจากสันสกฤตอยู่
4. ละครพูด (นิยมสุด) ตามมาด้วย ละครร้อง และละครพูดสลับคำ (เริ่มมาแต่ร.5 ในตอนนี้ก็นิยมแล้วนั่นเอง)
5. มีการเผยแพร่งานเขียนผ่านทางหนังสือพิมพ์
6. เนื้อหาถ้าจะสอดแทรกคติธรรม จะเน้นปลุกใจรักชาติ สยามแผ่นดิน เฮ้!!
7. มีเนื้อเรื่องของนางในวรรณคดี3-4เรื่องแน่ะ แซ่บเว่อร์!! <<อันนี้ไม่เกี่ยว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)
ลักษณะงานพระราชนิพนธ์
1. เขียนเป็นบทความลงหนังสือพิมพ์จำนวนมากสุด แต่งเป็นบทละครจำนวนน้อยสุด
2. เขียนทุกแนว กาพย์ โคลง ฉันท์ ร่าย ฯลฯ ไม่มีพลาด
3. ไวยากรณ์เป๊ะ กะทัดรัด ได้ใจความ
4. ใช้นามแฝงมากมาย
นามแฝง |
ลักษณะงาน |
รามจิตติ |
บันเทิง และสารคดี |
ศรีอยุธยา |
บทละคร |
อัศวพาหุ |
บทความการเมือง ปลุกใจรักชาติ |
พันแหลม |
พล็อตเรื่องเกี่ยวกับทหารเรือ |
สุครีพ |
นิทาน และชวนหัว |
ชามภูวราช / ไก่เขียว / หนานแก้ว / เมืองบูรณ์ / สุริยงส่องฟ้า / นักเรียนอีกคนหนึ่ง |
อื่นๆ จิปาถะ |
1. บทความพระราชนิพนธ์ : เมืองไทยจงตื่นเถิด
จุดมุ่งหมาย : ปลุกใจให้เห็นถึงสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้น
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : ยกของตอนเมืองไทยจงตื่นเถิดมา พูดเกี่ยวกับ ประชาธิปไตย และสงครามโลกครั้งที่1
ความเด่น :
- แนวคิดดี ตีแผ่ความจริง
- ใช้โวหารหลากหลาย ทำให้เป็นประเภทร้อยแก้วที่ดีมาก
- เรื่องการเมืองเช่นเคย
2. บทละครพูด เรื่อง หัวใจนักรบ
จุดมุ่งหมาย : ให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญของ กองเสือป่า + กองลูกเสือ
ลักษณะการแต่ง : บทละครพูด
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เรื่องราวของ พระภิรมย์วรากรถูกเป่าหูหลายอย่างโดนเขี่ยตกจากตำแหน่งงาน จึงแอนตี้ทุกอย่างที่เป็นราชการ แต่พอบ้านเมืองวิกฤติจึงได้เห็นกองเสือป่าเข้ารบอย่างกล้าหาญ ก็กลับใจกลับมาปฏิบัติตามกองเสือป่าเพื่อกู้ชาติบ้านเมืองดังเดิม
ความเด่น : ยอดของบทละครพูด
3. บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
จุดมุ่งหมาย : บันเทิง
ลักษณะการแต่ง : บทละครพูดคำฉันท์
เนื้อเรื่องโดยย่อ :
เรื่องราวของนางฟ้านามมัทนา ผู้โดนเทวดารูปงามตามม่อ หากเมื่อนางไม่ยอม เทวดาก็เกรี้ยวกราดว่า ‘เล่นตัวนักเหรออิดอก!’ มัทนาจึงโดนส่งมาบนโลกเป็นต้นกุหลาบสมคำสร้อย ที่มีสิทธิคืนร่างเป็นคนได้ทุกๆ คืนวันเพ็ญเท่านั้น (กุหลาบเป็นญาติกับแวร์วูฟเหรอวะ..) พอนางไปปิ๊งกับท้าวชัยเสนบนโลกมนุษย์ ก็เกิดเหตุการณ์ละครน้ำเน่าทำให้ทั้งสองพลัดพรากจากกัน นางมัทนากลุ้ม อยากแต่งงานใจจะขาดรอนรอน จึงไปขอร้องอิเทวดาคนเดิม เทวดาเลยกล่าวว่า ‘..งั้นมาเป็นเมียพี่ก่อน หมอนั่นใช้ของมือสองSecondHandคงไม่เดือดร้อนซักเท่าไหร่’ |
ความเด่น :
- บทละครพูดแบบคำฉันท์ เป็นแนวที่ไม่เคยมีใครกล้าแต่งมาก่อน นับว่าเป็นเรื่องแรกที่แต่งได้สำเร็จ
- มีการใช้ศัพท์แปลกๆ มากมาย และทดลองระบบ โคตรวิสรรชนีย์ ก็เช่น มัทนา ก็ มะทะนา เป็นต้น
- ผู้ช่วยตรวจสอบเนื้อหา คือ นาคะประทีป
- แม้จะไม่ได้เข้าชิงออสการ์สุดยอดวรรณคดีประทับตรา แต่วรรณคดีสโมสรก็ยกย่องและมอบประกาศนียบัตรให้นะจ๊ะ
4. พระนลคำหลวง
จุดมุ่งหมาย : เป็นหนังสืออ่าน พร้อมเป็นตัวอย่างสำนวนการประพันธ์ไปถึงรุ่นหลัง
ลักษณะการแต่ง : รวมมิตรทุกชนิด ยกเว้นกลอนดอกสร้อย และสักวา(จำไว้ว่า ดอก ใช้ไปกับมัทนะพาธาไปแล้ว)
สำนวนที่มีก็แบบ กาพย์ครบ ฉันท์มากมาย (อินทรวิเชียรฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์
(ถ้าออกสอบจริง แค่หาตัวที่หน้าตาแปลกๆ หน่อยละกัน)
เนื้อเรื่องโดยย่อ : << ไม่เกี่ยวเล้ยยยยยย
เรื่องราวของพระนล ผู้ถูกผีกลี(ไม่ใช่ Glee ซีรี่ส์ฝรั่ง) เข้าออกร่างราวกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ ไปลงพนันมากมาย ภรรเมียนามว่า นางทมยันตี (อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี) ก็ไม่รู้จะช่วยสามียังไง สุดท้ายเลยเหลือแต่ตัวระเหเร่ร่อนแบบเจ้าตัวยังงงๆ |
Key : - นำเค้าเรื่องมาจากสันสกฤต ‘นโลปาขยานัม’
- อ้าดูอโศกนี้ ศรีไสววิไลตา (ฉากที่นางทมยันตีไปตามหาสามี โดยถามทางกับต้นอโศก)
ความเด่น :
- เป็นคำหลวงฉบับสุดท้ายในวงการวรรณคดี แถมด้วยความแสนจะสมบูรณ์แบบ ฉันทลักษณ์เป๊ะ สำนวนไพเราะ
- สอนให้เห็นถึงความมั่นคงในการใช้ชีวิตคู่ (คิดดู ขนาดโดนผัวทิ้งไว้กลางป่านางยังกลับมารักกันได้เลย)
- แหวกแนวตรงที่ ถึงแม้จะมีคุณสมบัติตามคำหลวงเกือบจะทุกประการ (คือ ใช้คำประพันธ์หลายชนิด , แต่งเพื่ออ่าน/สวด , คนแต่งเรื่องต้องเป็นกษัตริย์) ยกเว้น ไม่มีเรื่องราวทางศาสนา
- ชี้ให้เห็นโทษของการพนัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
“พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
อีกทั้งยังได้รับเป็นคนสำคัญ โดย UNESCO
อนุสรณ์ของท่านคือ : หอสมุดดำรงราชานุภาพ
5.พงศาวดาร เรื่อง ไทยรบพม่า
จุดมุ่งหมาย : ตีแผ่ประวัติศาสตร์ให้บรรพชน
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เรื่องราวสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ตบจูบกันมานาน สิริรรวมทำสงครามกัน 44 ครั้งด้วยกัน
ความเด่น : ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทย-พม่าอย่างมาก
6. เสด็จประพาสต้น (จดหมายของนายทรงอานุภาพ 8 ฉบับ (จดหมาย#3 มโน one way)
จุดมุ่งหมาย : เล่าเรื่องการตามเสด็จ ร.5
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว รูปแบบจดหมายมโน
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการตามเสด็จประพาสต้น
Key : ส่งจดหมายหา พ่อประดิษฐ์
ใช้นามแฝงว่า ‘นายทรงอานุภาพ หุ้มแพร’
ความเด่น : เรียนรู้ประวัติศาสตร์พระราชกรณียกิจ สภาพบ้านเมืองสมัยนั้น
7. นิทานโบราณคดี
จุดมุ่งหมาย : บันทึกเก็บเรื่องที่ชอบเล่าให้ลูกๆ ฟัง ตามคำรีเควสของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เรื่องเล่าทั้งหมด 21 เรื่อง เล่าประสบการณ์ชีวิตให้ลูกฟังโดยล้วนๆ
ความเด่น : ให้ความรู้ตำนานเก่าๆ ที่ฟังจากปากของผู้อาวุโสเท่านั้นถึงจะรู้
- เขียนจากประสบการณ์จริงของกวีรวม 21 เรื่อง
8. นิราศนครวัด (@กัมพูชา)
จุดมุ่งหมาย : ‘แล้วพิมพ์แจก ทำนองเป็นของฝาก’
ลักษณะการแต่ง : คำกลอน 26 คำกลอนขึ้นต้น + ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เล่าเรื่องทริปการเดินทางไปถึงนครวัด ประเทศกัมพูชา แล้วเดินทางกลับผ่านเมืองต่างๆ แต่เมนหลักคือ นครวัดในพนมเปญ
ความเด่น :
- เป็นนิราศแบบร้อยแก้วเรื่องแรก
- ศึกษาถึงวัฒนธรรมแบบเขมร
9. ความทรงจำ
จุดมุ่งหมาย : ไดอารี่ส่วนตัว
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว ความเรียง(แบบสารคดี)
เนื้อเรื่องโดยย่อ : อัตชีวประวัติของตัวท่าน แต่ยังแต่งไม่จบ
ความเด่น : สำนวนง่ายๆ เหมือนฟังเขาเล่าเรื่อง
-------------
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
นามแฝง : น.ม.ส.
10. จดหมายจางวางหร่ำ (จดหมาย#4 มโน one way)
จุดมุ่งหมาย : ตีพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญา เพื่อความบันเทิงแฝงข้อคิด
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ : เป็นเรื่องสมมติ การเขียนจดหมายจากบิดาไปหาลูกที่เรียนอยู่เมืองนอก (แน่นอนว่า ลูกไม่เคยตอบกลับ ไม่งั้นอาจมีภาคพิเศษการศึกสายเลือดดวลวาทะผุดขึ้นมาอีก)สอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทั้งการอย่าใช้เงินเปิบ การหาคู่ โดยใช้สำนวนแบบคุณพ่อผู้จู้จี้จุกจิก ถ้อยคำจิกบ้างในบางหน ทำให้คนอ่านไม่เบื่อที่จะอ่าน
ความเด่น :
- สอนเรื่อง การทำงาน การเล่าเรียน การใช้เงิน การหาคู่ครอง
- ความจริงเป็นงานแปล มาจากเรื่อง 'Letter to son' ต้นฉบับคนแต่ง คือ ลอร์ด เชสเตอร์ฟริลล์ ไม่ใช่เชสเตอร์กริลล์
(แต่เน้นดัดแปลงซะมากกว่า เลยยังไม่ถือเป็นนิยายแปลตรงๆ อย่างเช่น ต้นฉบับบอกว่า ร้านขายไปป์ข้างบ้านพ่อยังราคาถูกกว่าของแกหลายขุม ก็เปลี่ยนเป็น ร้านหมากพลูข้างบ้านพ่อยังราคาถูกกว่าไปป์ของแกหลายขุม เป็นต้น)
- เป็นต้นแบบของ ‘โวหาร น.ม.ส.’ คือใช้สำนวนแทรกความแซ่บเข้าไป มีนักเขียนทำตามเป็นจำนวนมาก
11. พระนลคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : บันเทิง
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์ = คำฉันท์
เนื้อเรื่องโดยย่อ : ตามแบบพระนลคำหลวง
Key : นำเค้าเรื่องมาจากสันสกฤต ‘นโลปาขยานัม’
ความเด่น :
- ได้ขึ้นชื่อว่า เปรียบเสมือนเพชร
- มีการพิมพ์แบบเทส และพิมพ์แบบรีไรท์
- คนเขียนเขียนเอง ใส่วิจารณ์เอง
12. นิทานเวตาล
จุดมุ่งหมาย : บันเทิงประเทืองปัญญา
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องโดยย่อ :
เรื่องราวของพระวิกรมาทิตย์ ที่ต้องตามเช็ดตามใช้วีรกรรมวัยใสของพ่อตัวเองด้วยการโดนโยคีพยาบาทไว้ ในวันที่จะโดนโยคีลวงไปฆ่า เริ่มที่โดนสั่งไปเก็บศพมา แต่ในศพดันมีเวตาลสิงอยู่ เวตาลออฟเดอะเกรียนอยากเล่นสนุก ว่าจะถามคำถามมาเรื่อยๆ ถ้าเผลอตอบ จะบินกลับไปที่เดิม แน่นอนว่าพระวิกรมาทิตย์ก็เผลอตอบทุกรอบ ในขณะที่พระราชบุตรที่ต้องเดินตามได้แต่เงียบและมองหน้าพ่อพร้อมคิดในใจว่า ‘พ่อครัช เงียบซักแป๊บก็ไม่มีใครว่านะครัช’ ย้อนไปย้อนมาสิบรอบครบสิบเรื่อง สุดท้ายก็สามารถสังหารโยคีได้เรียบร้อย |
Key : ลิ้นคนนั้นตัดคอคนมาเสียมากแล้ว / ชายใดเข้าเดินในทางแห่งความรัก…………. / วิธีของโลกนี้ ถ้าไม่มีงัวตัวเมีย ก็ต้องรัดนมงัวตัวผู้แทน
ความเด่น : อยู่มาตลอดกาลนานเทอญตามคำลงท้าย ให้เราเรียนในวิชาภาษาไทยหลักไงล่ะ
- สุดยอดใน ประพันธศาสตร์
13. กนกนคร
จุดมุ่งหมาย : บันเทิง / เวิร์คชอฟของคนเขียนในด้านกลอนหก
ลักษณะการแต่ง : กลอนหก + กาพย์สุรางคนางค์
เนื้อเรื่องย่อ : ความอลหม่านของพญากลมิตร ที่อยู่ดีไม่ว่าดี ยกเมียตัวเองขึ้นข่มว่า สวยจนทำให้ฤๅษีตบะแตก ฤๅษีที่โดนกล่าวถึงมีน้ำโหรุนแรง สาปให้ลงไปเกิดบนโลกมนุษย์ แล้วถ้าอยากกลับมาอยู่สวรรค์ ต้องให้ฆ่าแกงกันซะก่อน เรื่องราวภาคโลกมนุษย์ที่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยฝ่ายชายจัดการฝ่ายนาง ถึงได้กลับมาอยู่ด้วยกันบนสวรรค์อีกครั้ง
Key : ได้เค้าเรื่องมาจาก ‘เมืองทอง’ ในกถาสริตสาคร + ‘ตฺริวิกฺรมาโธคาศีระ’
ความเด่น :
- แปลกตรงที่ใช้คำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ทั้งๆ ที่ไม่ใช่บทละคร
- แปลกอีก ตรงที่เป็นเรื่องที่ใช้ กลอน แต่งเพียงเรื่องเดียวในสมัยนี้
- บัญญัติใช้คำแปลกๆ มากกมาย เพื่อไม่ให้ฉันทลักษณ์เสีย เช่น ดรณี(เรือ)
- มีแหล่งที่มาจาก เมืองทอง กถาสริตสาคร
14. สามกรุง
จุดมุ่งหมาย : เวิร์คชอฟการแต่งโคลง (โดยมีพล็อตเป็นเรื่องพงศาวดารเท่านั้น แต่ไม่เขียนสำนวนแบบพงศาวดารนะจ๊ะ)
ลักษณะการแต่ง : แปลกตรงที่ใช้สำนวนแบบ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย = กวีวัจนะไทย แต่ไม่มีร้อยโคลง(สัมผัสระหว่างบท)
เนื้อเรื่องย่อ : พงศาวดารตามประวัติศาสตร์ไทยไตรภาค
ภาค1 >>> เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2
ภาค2 >>> กรุงธนบุรี
ภาค3 >>> กรุงรัตนโกสินทร์
ความเด่น : โวหารคมคาย เป็นภูมิความรู้การประพันธ์เรียกว่า กวีวัจนะ
- ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เต็มๆ
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์)
15. อิลราชคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : บันเทิง
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์ = คำฉันท์
เนื้อเรื่องย่อ :
เรื่องราวสุดแซ่บสะท้านทรวงของท้าวอิลราช ที่หลงเข้าไปในสวนของพระศิวะและพระอุมาที่เขากำลังฮันนีมูนชื่นใจ พระศิวะจึงร่ายคาถาสาปให้ท้าวอิลราชกลายร่างเป็นผู้หญิงชื่อ นางอิลา แต่พระอุมาหวังดีประสงค์….ช่วยให้เขาสลับกลับเป็นผู้ชายได้เมื่อถึงเดือนถัดไป โดยสลับกันไปเรื่อยๆ แล้วต่อมานางอิลาก็มีสามีตั้งท้องเรียบร้อย…! ลูกที่คลอดออกมาก็ไม่รู้จะเรียกพ่อหรือแม่ดี สุดท้ายสามีที่ว่าทำพิธีปล่อยม้าอุปการบูชาพระศิวะ พระศิวะจึงยอมถอนคำสาปให้กลับเป็นชายดังเดิม ท้าวอิลราชจึงกลับเมืองพร้อมโอรสที่คลอดเอง…ให้ลูกคนนี้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป |
Key : เอาโครงเรื่องมาจาก อุตตรกัณฑ์ แห่งรามายณะ
ความเด่น : - เป็นแบบอย่างของคำฉันท์ที่ดี
- เป็นเรื่องที่ทำให้กวีได้ยศถาบรรดาศักดิ์แบบทันที แสดงถึงการสนับสนุนวงการวรรณคดีของท่านรัชกาลที่ 6
นายชิต บุรทัต
นามแฝง : เอกชน
16. สามัคคีเภทคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายร.6 เพราะได้รับแรงบันดาลใจจาก อิลราชคำฉันท์ (เห็นว่าแต่งแล้วได้ยศดีเลยแต่งมั่ง) แต่ไม่ทัน ท่านสวรรคตเสียก่อน
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์ = คำฉันท์
เนื้อเรื่องย่อ : แคว้นลิจฉวีเป็นแคว้นที่เก่งฉกาจตีเท่าไหร่ก็ไม่แตกสักที เพราะเจ้าเมืองในแถบนั้นสามัคคีกัน ฝ่ายศัตรูจึงส่งหนอนบ่อนไส้ไปสร้างความแตกแยก พอแตกกันเอง จะตีฮุบก็เป็นงานสบายขยี้ที่เดียวคราบสลายหายไป
Key : เค้าเรื่องมาจาก สุมังคลวิสาลินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค
สำนวนทำตาม อิลราชคำฉันท์
ความเด่น : เป็นวรรณคดีชั้นครู ได้อยู่ในเนื้อหาการเรียนการสอนมาถึงปัจจุบัน
มีแหล่งที่มาจาก สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิยาย
เจ้าพระยาเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)
ประจำอยู่ที่ กระทรวงธรรมการ งานนิพนธ์เน้นการขัดเกลาสังคมให้เกิดเป็นในทางที่ดี
17. หนังสือพลเมืองดี
จุดมุ่งหมาย : สำหรับการอบรมปลูกฝัง
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องย่อ : สมมติเรื่องให้มีนายเถื่อน เถื่อนสมชื่อ แต่พอมาในเมืองก็ได้รับการอบรมที่ดีต่างๆ ทำให้นายเถื่อนปรับตัวเป็นนายเมือง เป็นพลเมืองที่ดี
Key : ความรู้วิชาเป็นทุนสำหรับการทำมาหากิน
ความเด่น : เป็นแบบเรียนสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต้องเรื่องนี้ล่ะ
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
นามแฝง : ครูเทพ / เขียวหวาน / จิงโจ้
เจ้าของเพลงฮิต เช่น ‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ ฮ่าไฮ่ ’
18. โคลงกลอนของครูเทพ
จุดมุ่งหมาย : แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองในตอนนั้น
ลักษณะการแต่ง : คำประพันธ์ทุกชนิด
Key : บทเพลงกราวกีฬา
ความเด่น : ใช้ถ้อยคำง่าย เข้าใจง่าย เห็นภาพสถานการณ์บ้านเมืองสมัยนั้นชัดเจน
พระยาอุปกิตศิลปสาร
เป็นผู้เสนอคำว่า ‘สวัสดี’ ในการทักทายกัน
นามแฝง : อ.น.ก. / อนึก คำชูชีพ / อุนิกา / สามเณรนิ่ม / พระมหานิ่ม
19. สยามไวยากรณ์
จุดมุ่งหมาย : สร้างเป็นตำราทฤษฎีขั้นสูงทางอักษรศาสตร์ (ระดับมหาวิทยาลัยน่ะเอง)
ลักษณะการแต่ง : ความเรียงเชิงอธิบาย
เนื้อเรื่องย่อ : มี 4 เล่ม
อักขรวิธี |
การอ่านเขียนตัว อักขระ อักษร |
วจีวิภาค |
การใช้คำยืม รวมถึงคำราชาศัพท์ |
วากยสัมพันธ์ |
ประโยค โวหารทั้งหลาย |
ฉันทลักษณ์ |
หลักการแต่งคำประพันธ์ |
ความเด่น : มีผลต่อวงการอักษรศาสตร์ไทยเป็นอย่างมาก เป็นตำราอ้างอิงชั้นดีในการตรวจสอบเนื้อหาทางด้านอักษรขั้นสูง
20. สงครามภารตคำกลอน
จุดมุ่งหมาย : เชิดชูและแสดงความศรัทธาใน ร.7 และฉลองกรุงเทพฯ ครบรอบ 150 ปี
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ : สงครามระหว่างเจเนอเรชั่นกษัตริย์รุ่นเหลน คือ รุ่นหลานเป็นสองพี่น้อง พอมีลูกก็เป็นญาติกัน แต่ดันจะแย่งบัลลังก์ลูกเดียว จึงเป็นศึกสายเลือดครั้งยิ่งใหญ่สร้างความโกลาหลไปทั่วนั่นเอง
Key : เค้าเรื่องมาจาก มหาภารตยุทธ์
ความเด่น :
- ให้ความรู้เกี่ยวกับสมัยอินเดียโบราณ
- มีการอ้างวรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ >> ‘ตามถ้อยคำสำนวนในยวนพ่าย....’
ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ)
นามแฝง : เสถียรโกเศศ
บัดดี้ : พระสารประเสริฐ (นาคะประทีป)
ลองแต่งด้วยสำนวนแทบทุกแนว ยกเว้น กาพย์และกลอน (เพราะที่เคยแต่งโดยกาพย์กลอน เป็นผู้ช่วยแต่งเรื่องรำพึงในป่าช้า ซึ่งเป็นกลอนดอกสร้อยของ พระยาอุปกิตศิลปสาร)
21. กามนิต
จุดมุ่งหมาย : ฉลองอายุครบ 3 รอบของหลวงสรรสากิจ
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องย่อ :
กามนิตยอดชายจะไปค้าขายที่โกสัมพี โชคบุญหนุนนำไปเจอสาวงามชื่อวาสิฏฐี กามนิตดีใจกระโดดเข้าไปถามชื่อทันที ใช่แล้ว วาสิฏฐีผู้แสนจะมองโลกโรแมนติกนั่นเอง แต่ระหว่างที่กามนิตถูกจับตัวไปในกองโจร ประจวบเหมาะกับที่นางวาสิฎฐีก็โดนจับคลุมถุงชนพอดี กามนิตที่เพิ่งจะกลับมาได้ก็ไม่ทันเสียแล้ว จึงประชดรักด้วยการหาความสุขทางโลกเต็มขั้น แต่สุดท้ายก็ออกแสวงบุญ ได้คุยกับพระศาสดา แต่เป็นบัวใต้โคลนตม วิ่งร่าออกไปหาพระศาสดา(ทั้งๆ ที่จริงๆ ได้คุยไปแล้วแต่ไม่ยังไม่ทราบ) จึงถูกวัวกระทิง Import จากสเปนขวิดคริติคอลสิ้นใจขึ้นสวรรค์ไป |
ความเด่น : สำนวนกินใจ ซาบซึ้ง (//กัดฟันพูด) เห็นถึงหลักธรรมการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์ อริยสัจสี่ นั่นเอง
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)
นามแฝง : นาคะประทีป
บัดดี้ : เสถียรโกเศศ
ผลงานเสริม : ช่วยตรวจสอบเนื้อหาเรื่อง มัทนะพาธา
ได้รับยกย่องเป็น อนุศาสนาจารย์ ประจำ กรมตำรา (แก้ไขแล้ว)
22. สมญาภิธานรามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย : เรียบเรียงถวายร.6 ครั้งไปพระราชวังสนามจันทร์
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว แบบอภิธาน
เนื้อเรื่องย่อ : เหมือนเป็นแกเลอรี่ตัวละครในรามเกียรติ์ 478 ตัว โดยไล่ตามลำดับตัวอักษร
ความเด่น : เป็นคู่มือเสริมสำหรับอ่านเรื่องรามเกียรติ์ ช่วยให้มิมีการมึนตัวละครอีกต่อไป
พระยาสุรินทราชา (แม่วัน)
23. ความพยาบาท
จุดมุ่งหมาย : เผยแพร่นวนิยายตะวันตก
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
เนื้อเรื่องย่อ : (ไม่เกี่ยวเลยซักรูป...)
ฟาบีโอโรมานี |
ความเด่น : เป็นนวนิยายแปลเรื่องแรกของวงการวรรณคดี สำนวนการแปลดีเด่น เป็นที่แพร่หลาย
- แปลแล้วพิมพ์ลงในนิตยสารนามว่า ลักวิทยา
- ต้นฉบับชื่อเรื่อง เวนเดตตา คนแต่งคือ แมรี่ แฮดอะลิตเติ้ลแลมป์ คอเรลลี
สรุปอีกที
จดหมายพาเพลิน
ชื่อเรื่อง (ผู้แต่ง) |
การเขียน |
|
ลักษณะ |
พระราชนิพนธ์ เรื่อง ไกลบ้าน |
ของจริง |
|
One-Way |
สาส์นสมเด็จ (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) |
ของจริง |
|
Two Ways |
เสด็จประพาสต้น |
มโน |
|
One-Way |
จดหมายจางหว่างหร่ำ |
มโน |
|
One-Way |
ของจริง = เนื้อความในจดหมาย บุคคลในนั้นมีตัวตนจริง เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง
มโน = เนื้อความในนั้นแต่งขึ้น แต่ใช้สำนวนจดหมายก็เท่านั้นเอง
ศาสตร์แห่งความเด่น
ก่อนอื่นบอกไว้ก่อนว่า ศาสตร์แห่งความเด่นเป็นการสรุปแค่ว่า เรื่องไหน เนื้อหาเด่นยังไง ซึ่งไม่ได้แยกหมวดหมู่ให้ทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องก็เป็นแบบบันเทิงรู้กันอยู่แล้ว ยิ่งใส่เยอะจะยิ่งมึน เลยเอาเท่านี้ง่ายต่อการจำ ฉบับพกพานะจ๊ะ
ของขวัญวันเกิด กรุงเทพฯ :
100 ปี ได้รับ โคลงเรื่องรามเกียรติ์ (รัชกาลที่5)
150 ปี ได้รับ สงครามภารตคำกลอน (พระยาอุปกิตศิลปสาร สมัย ร.7 (แต่เป็นกวีในร.6))
รวมพลคนมีนามปากกา (กวีสามัญ)
นามปากกา |
ชื่อจริง |
ก.ศ.ร. กุหลาบ |
กุหลาบ รถกิจ (ฉายาตอนบวชคือ เกสโร) |
เทียนวรรณ |
ต.ว.ส.วัณณาโภ / เทียน / วรรณ |
ประเสริฐอักษร |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ |
น.ม.ส. |
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ |
ครูเทพ / เขียวหวาน / จิงโจ้ |
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
เอกชน |
ชิต บุรทัต |
อ.น.ก. / |
พระยาอุปกิตศิลปสาร |
เสถียรโกเศศ |
ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (ยง) |
นาคะประทีป |
พระสารประเสริฐ (ตรี) |
แม่วัน |
พระยาสุรินทราชา |
จบแล้วจ้าาาาาาาา เย้
ความคิดเห็น