ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #30 : [Sumเทอม2] ภาษาไทยหลัก SpecialGuest : Sunny #666

    • อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 56


    [Sumเทอม2] สรุป : ภาษาไทย(หลัก)

    Special Guest. :  Sunny #666

    สวัสดีอีกรอบนะฮะ กับสรุปน่าจะอันสุดท้ายของเทอมนี้แล้ว (เพราะวิชาอื่นคนเขียนLet it go มันไปแล้ว)

    ภาษาไทยรอบนี้ เรื่องที่จะออกสอบมีมากมาย แต่มีสองเรื่องที่บอกตามตรงว่าช่วยกันไม่ได้แน่ๆ คือ

    การสะกดคำ + การอ่านออกเสียงคำ <<< พวกนี้นับว่าพึ่งบุญเก่าในวิชานี้กันล้วนๆ นะคะ

    แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่พอจะช่วยกันได้ แถมรอบนี้มีแขกรับเชิญกำลังเสริมพิเศษมาเสริมความปึ้กของเนื้อหาอีกด้วย มีอะไรมาดูกันเลยดีกว่า

     

    โคลงสี่สุภาพ + ข้อบังคับพาเพลิน

     

    *คำที่9น่ะ ย้ำว่า เสียง ค่ะ เสียง ไม่ใช่รูป ดังนั้น ถือว่ายังไม่แหกกฎคำสุภาพ

    5. คำสร้อย อย่าใส่ความหมายหนัก

    เช่น                           ขอเชิญท่านพี่น้อง พ่อแม่ (แลยาย)’ <<< ผิดค่ะผิด
    ถ้าจะให้รอดก็แบบ
       ขอเชิญท่านพี่น้อง พ่อแม่ (สู่แฮ) <<< อันนี้สิถูก

    6. สัมผัสนอก อย่าใช้คำเดียวกัน (อันนี้รู้ตั้งแต่แต่งกลอนแปดเป็นแล้วป้ะเธอ)

    7. แต่งเพราะแค่ไหน กรุณาสื่อความหมายให้คนอ่านรู้เรื่องด้วย...

     

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     

    โคลงนิราศนรินทร์

    ข้อมูลเบื้องต้น อ้างอิง :

    นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)

    14. โคลงนิราศนรินทร์
    จุดมุ่งหมาย : อาลัยถึงนางผู้เป็นที่รัก (พอๆ กัน)
    ลักษณะการแต่ง
    : ร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท (บทไหว้ครู) + โคลงสี่สุภาพ 143 บท
    เรื่องราวโดยหลัก
    : ยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวถึงความเจริญบ้านเมืองตลอดพระพุทธศาสนา แล้วก็อาลัยนางผู้เป็นที่รัก พรรณนาสถานที่
    Keyword : [โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน]
    ความเด่น :
    - ได้รับรางวัลยอดวรรณคดี สาขาโคลงนิราศ
    - ได้รับแนวคิดจาก โคลงกำสรวล ของศรีปราชญ์ในบทฝากนาง
    - แต่งพร้อมกับ โคลงนิราศถลางหรือโคลงนิราศพระยาตรัง ของพระยาตรังคภูมิบาล
    - เสี่ยวที่สุด เพิ่งเรียนในภาษาไทยหลักด้วย (อันนี้ไม่เกี่ยว)

     

     

    องค์ประกอบ

    บทที่1 : ร่ายสุภาพยอพระเกียรติ (หรือบทไหว้ครู)
    บทที่2 3 4 : บรรยายกรุงเทพ
    บทที่ 5 – 144 : บทพรรณนาความรัก

     

    ถอดความอย่างละเอียด : นิราศนรินทร์คำโคลง

    ผู้ทำPartนี้ By. สัน TU 76 ศิลป์-ฝรั่งเศสห้อง66

    *กรุณาเปิดหนังสือดูประกอบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น*

    ๒.อยุธยาล่มสลายไปแล้ว แต่กลับลอยลงมาตั้งใหม่อีกครั้ง = กรุงรัตนโกสินทร์ -----> เป็นปฏิพากย์ (paradox) สิงหาสน์และพระปรางค์นั้นงดงาม (บุญเพรง=บุญเก่า, เพรงเป็นภาษาเขมรแปลว่าเก่า) ด้วยพระบุญญาธิการของ k ที่สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน ช่วยส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง <------ หน้าที่ของ k ในการทำนุบำรุงศาสนา

    ๓.ศาสนานั้นเรืองรองยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ (พันแสง---->สหัสรังสี=ดวงอาทิตย์, ไตรรัตน์=พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) มีการแสดงธรรมเช้าค่ำ (ใช้คำว่ารินเพราะพระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนบัว ๔ เหล่า ความสามารถในการรับรู้เข้าถึงธรรมต่างกัน ดังนั้นจึงต้องค่อยๆสอนไปทีละนิดคล้ายกับการค่อยๆรินน้ำ) เจดีย์ก็สูงเบียดเสียดกัน มองดูมีแสงงามกว่าแสงรัตนะชาติ (แก้ว ๙ อย่าง = เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์) จนเป็นที่อัศจรรย์ของสวรรค์ (เหตุเพราะสวรรค์ไม่มีพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง)

    ***บทนี้มีความพิเศษตรงที่มีการใช้สัญลักษณ์คือ ๑.ดวงอาทิตย์=ความร้อนแรง  ๒.รินน้ำ=ความร่มเย็น ๓.เจดีย์=สัญลักษณ์แห่งศาสนาพุทธ

    ๔.บทนี้จะกล่าวถึงสาสนสถานภายในวัด ไพหาร=วิหาร ศาลาในที่นี้คือศาลาการเปรียญ

    ตีระฆังเพื่อบอกเวลา แสงสว่างจากเทียนจากโคมแก้วสว่างจนทำให้แสงจันทร์ดูหมองลงไป

    ๘.ใช้โวหารภาพพจน์แบบอธิพจน์เกินความจริง

    บาท1=การต้องจากน้องอันเป็นที่รักราวกับมีใครมาปลิดนางออกจากอก

    บาท2=(เยียว=หาก, แม้ว่า) หากดวงใจของพี่นี้สามารถแบ่งออกได้

    บาท3=(แล่ง=ผ่าออก) พี่จะขอผ่าออกเป็นสองส่วน

    บาท4=ส่วนแรกจะขอเก็บไว้กับตน อีกส่วนจะขอให้น้องเป็นผู้ถนอมไว้แนบเนื้อ = นอนกอด

    ๑๐.บทนี้ให้ความรู้สึกห่วงและหวง ไม่ไว้ใจเป็นกังวลของกวี มีการใช้อธิพจน์

    บาท1=จะฝากน้องไว้กับฟ้าหรือดินดี

    บาท2=จะฝากไว้ก็กลัวธรนินทร์ (พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่) จะมาลอบชมนาง

    บาท3=หากฝากไว้กับลม ก็กลัวลมจะพัดพานางไปในอากาศ

    บาท4=กลัวว่าลมจะทำให้เนื้อของน้องที่พี่เฝ้าถนอมนั้นชอกช้ำได้

    ***บทนี้ได้ inspiration จากโคลงบทที่ศรีปราชญ์ช่วยพระนารายณ์มหาราชแต่งไว้น้ะจ๊ะ***

    ๑๑.สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อทางเทพเจ้าของศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อการสร้างผลงานของกวี

    บาท1=จะฝากน้องไว้กับพระอุมา-เมียพระอิศวรหรือพระลักษมี-เมียพระนารายณ์

    บาท2=กลัวว่าสวยมภูว=พระอิศวรและจักรี=พระนารายณ์จะมาเข้าใกล้นางได้

    บาท3=(เรียม=ฉัน,พี่,ข้าพเจ้า) พี่คิดจนจบสามโลก (สวรรค์ มนุษย์ บาดาล) ก็แล้วพี่ก็ยังไม่ไว้ใจ

    บาท4=ในที่สุดพี่ไม่ขอฝากน้องไว้กับใคร พี่ขอฝากใจน้องไว้กับตัวของน้องเอง

    *ยิงด้วยใครครอง = จบบทด้วยคำถาม

    ๒๒.เป็นวรรคทอง สามารถใช้เป็นฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพได้

    บาท1=ล่องเรือมาเรื่อยๆจนถึงลำบาง = ลำธารเล็กๆ

    บาท2=มาถึงบางยี่เรือ (แถวๆจ.สมุทรปราการ) พี่ก็ร้องเรียก (เพรียก=ร้องหา)

    บาท3=ร้องเรียกให้เรือแผง (เรือที่นั่งของฝ่ายใน) ช่วยพาน้องแอบมาในม่านมาหาพี่ที (ถ้าใครดูรูปที่ครูวาดบนกระดานจะเห็นว่าเรือแผงจะมีม่านอยู่ข้างๆ)

    บาท4=แต่บางยี่เรือก็ไม่รับคำร้องขอ ทำเอาพี่น้ำตาคลอ (คล่าว=ไหล) -----> เป็นบุคคลวัต/บุคลาธิษฐาน ตรงที่เรือไม่รับคำขาน

    ๓๗.บาท1=มาถึงบ้านบ่อ พี่ไม่เห็นมีน้ำในบ่อเลย

    บาท2=แต่บ่อในดวงตาของพี่กลับมีน้ำขังอยู่เต็ม จนพี่ร้องไห้เป็นสายเลือด ----> อุปลักษณ์

    บาท3=น้องผู้พร้อมไปด้วยความงามห้าประการของพี่ (ความงาม๕ประการของสตรี---->เบญจกัลยาณี = ผมงาม + เนื้องาม (เหงือกและริมฝีปากแดงสด) + ผิวงาม + ฟันงาม + วัยงาม (งามสมวัย)

    บาท4=ให้น้องมาช่วยซับน้ำตาให้พี่ที

    ๔๑.บทนี้แสดงให้เห็นว่ากวีมีความรู้ด้านนิเวศวิทยา

    บาท1=เห็นต้นจากมีกิ่งก้านแทรกกับต้นระกำ แจกก้านแกมระกำ <---- มีการเล่นเสียงคำ

    บาท2=เห็นระกำก็นึกเปรยว่าเหมือนเวรกรรมทำให้เราต้องจากกัน = เล่นคำพ้องเสียง ระกำ เวรกรรม

    บาท3=บาปใดที่เราทั้งสอง (โท=ทั้งคู่) ได้ทำไว้ บัดนี้มันได้สนองเราเท่าๆกันแล้ว ----> สนองโดยการต้องพรากจากกัน

    บาท4=ขอให้จากกันแต่เพียงชาตินี้ ชาติหน้าขอให้ได้อยู่ร่วมกัน ----> แสดงถึงความหวังของกวี

    ๔๕.ใช้ขนบวรรณคดีที่แปลกออกไปจากของเดิมกล่าวคือ ปกติจะเปรียบความงามของหญิงเหมือนพระจันทร์ แต่บทนี้พูดแปลกออกไปว่าพระจันทร์ยังไม่อาจเท่าใบหน้าของหญิงอันเป็นที่รัก

    บาท1=มองดูพระจันทร์แล้วไม่งามเหมือนหน้าอันเปล่งปลั่งของน้อง

    บาท2=เพราะพระจันทร์มีตำหนิตรงกลางเป็นรูปกระต่าย <---- ความเชื่อ

    บาท3=ใบหน้าของน้องมีแก้มอันเปล่งปลั่งหาที่ได้มาเปรียบไม่ได้

    บาท4=มองแล้วงามยิ่งนัก (ขำ=งาม) ยามยิ้มสวยกว่านางฟ้า

    *มีการใช้คำไวพจน์ = แข เดือน ----> พระจันทร์

    ๑๑๘.บาท1=เดินทางมาถึงตระนาวศรี รู้สึกสงสารน้องมากยิ่งขึ้น (ตระหน่ำ=กระหน่ำซ้ำเติม)

    บาท2=เดินทางมาทำศึกด้วยความเศร้าโศกมาเป็นเวลาช้านาน ----> ศัลลาปังคพิสัย

    บาท3=เดินทางผ่านทุ่งลำธาร (ลำหาร=ห้วงน้ำ) ป่าใหญ่

    บาท4=(สาร=ข้อความ) ฝากความรักความรักความอาลัยเป็นข้อความผ่านต้นไม่ใบหญ้าทุกต้นในไปถึงน้อง----> อธิพจน์

    ๑๒๒.เคยออกo-net ถามว่าในบทนี้ไม่มีเทพเจ้าองค์ใด + บทนี้แสดงถึงการตัดพ้อความน้อยใจของกวี

    บาท1=พันเนตร---->สหัสนัยน์=พระอินทร์ มัวแต่ไปตั้งตามองอะไรอยู่หรือ

    บาท2=พักตร์สี่แปดโสต=พระพรหม (มีแปดหูสี่หน้า) มัวแต่ไปมองไปฟังอะไรอย่างอื่นอยู่หรือ

    บาท3=กฤษณนิทรเลอหลังนาคหลับ= พระนารายณ์มัวแต่นอนอยู่บนหลังพระยานาคหรือ

    บาท4=เราทั้งสองร้องเรียกท่าน แต่ท่านกลับทำเมินเฉยไม่สนใจ

    ๑๓๔.บทนี้ได้รับอิทธิพลมากจากไตรภูมิพระร่วง

    บาท1=ต่อให้มหาสมทุรทั้งสี่แห้งขอดลง

    (มหาสมุทรทั้งสี่-ขีรสาคร =สีขาวสะท้อนรัศมีเงินเขาพระสุเมร------->ออก

    -นีลสาคร=น้ำเงินอมม่วงสะท้อนรัศมีอินทนิลที่เขาพระสุเมรุ----->ใต้

    -ผลิกสาคร=ขาวใสสะท้อนรัศมีแก้วผลึก----->ตก

    -ปีตสาคร=สีเหลืองสะท้อนรัศมีทอง----->เหนือ)

    บาท2=จนปลาติมิงคล์ มังกร นาคต้องหาที่หลบซ่อน *ส้อน=ซ่อน

    บาท3=ฝนก็ไม่ตกลงมา ทำให้พื้นโลกแห้งแล้ง

    บาท4=ถึงกระนั้นความรักที่แสนเร่าร้อนที่พี่มีต่อน้องจะคงอยู่เดิมไม่เสื่อมคลาย *เถ้า=เท่า

    ###ข้อสังเกต###                 ...ม้วย ---------------- หมด

                                                    ...ผาย------------------ผาด

                                                    ...หาย------------------เหือด

                                                    ...ร้อน-----------------

    ๑๓๘.บาท1=ลมพัดมาต้องกายเหมือนโดนพิษ

    บาท2=กายพี่นั้นหนาวแต่ในใจพี่นั้นร้อนด้วยความทุกข์และชอกช้ำ

    บาท3=น้องผู้มีความงามเหมือนพวงมาลัย (สะอาด ขาว บริสุทธิ์ หอม)

    บาท4=ขอให้น้องได้มาพัดพี่ (วี=พัด) เพียงแค่ครั้งเดียวความเย็นนั้นเย็นกว่ากว่าลมพัด----->อธิพจน์

    ๑๓๙.บทนี้มีอิทธิพลต่อเพลงใครหนอ**

    บาท1=เอียงอกเทความรู้สึกออกมาให้น้องเห็นว่าความรักของพี่ที่มีต่อน้องมากเพียงไหน (อวดองค์ อรเอย=เล่นอักษร)

    บาท2=เอาเขาพระสุเมรุไปจุ่มน้ำหมึกที่ทำมาจากดินละลายน้ำทะเล เอามาเขียนข้อความ

    บาท3=(จาร=เขียน) ใช้อากาศเป็นกระดาษก็เขียนไม่พอ

    บาท4=น้องผู้มีความงามราวกับหยาดลงมาจากท้องฟ้า ถ้าไม่ได้เห็นหน้าน้องพี่คงอยู่ไม่เป็นสุข ร้อนด้วยความทุกข์

    ๑๔๐.ใช้โวหารภาพพจน์แบบอธิพจน์ ได้รับอิทธิพลจากไตรภูมิพระร่วง

    บาท1=ต่อให้ภูเขาทลายลง

    บาท2=ต่อให้สวรรค์ทั้งหกสลายหายไป (สวรรค์ทั้งหก = ฉกามาพจร มี จาตุมาหาราชิกา ดาวดึงส์(พระอินทร์อยู่) ยามะ ดุสิต(พระโพธิสัตว์อยู่ก่อนลงมาบนโลกมนุษย์) นิมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี)

    บาท3=พระอาทิตย์ พระจันทร์จะมลายหายไปจากโลก

    บาท4=ไฟบรรลัยกัลป์จะล้างโลกทั้งสี่ (ทวีปทั้งสี = อุตตรกุรุทวีป--->เหนือ บุพพวิเทหทวีป--->ออก ชมพูทวีป---->ใต้ อมรโคยานทวีป---->ตก) แต่ความรักของพี่จะคงอยู่ไปเสื่อมคลาย

    ๑๔๑.บาท1=รำพันถึงความรักและการต้องจากน้องไปด้วยความโศกเศร้า

    บาท2=ไพเราะไปทั่วฟ้า ---->อธิพจน์

    บาท3=เป็นข้อความที่พี่รำพันแสดงถึงความโศกเศร้าของพี่ถึงน้องรัก

    บาท4=ควรที่น้องจะเก็บไว้ดูต่างหน้าในภายหลัง (พู้น=โน้น,ภายหลัง)

    #ข้อสังเกต จากหลายๆบทที่เราได้ศึกษาพบว่ากวีผู้แต่งไม่เข้าใจหลักไตรลักษณ์-----> กฎธรรมดาของทุกๆอย่างบนโลกที่ไม่มีอะไรยั่งยืน แต่กวีแบบอารมณ์ประมาณว่าจะรักชั่วนิรันดร ซึ่งมันเป็นไม่ได้ ขัดหลักพุทธศาสนา

    ***โชคดีกับการสอบครับ***

    ศัพท์โหดๆ


    ไตรรัตน์ : แก้วรัตนตรัย

    พันแสง : ดวงอาทิตย์

    ระดะ : เรียงราย

    แด : ใจ

    สยมภูว : พระอิศวร

    จักรี / กฤษณนิทรเลอหลัง : พระนารายณ์

    พันเนตร : พระอินทร์

    พักตร์สี่แปดโสต : พระพรหม

    ขำ : งาม

    บก : น้อย

    ไป่ / ห่อน : ไม่

    ตระนาว : (สถานที่) ตะนาวศรี

    ทุ่ง : ทุ่ง

    ละหาน : ทางน้ำ

    หิมเวศ : ทางป่า

    พิโยค : พลัดพราก

    วี / พาน : พัด

    ข้น : โค่น


     

    *นทีสี่สมุทร

    ปีตสาคร

     

    ผลิกสาคร                        เขาพระสุเมรุ                       ขีรสาคร

     

                                            นีลสาคร

     

     

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ

    ผู้แต่ง : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

    สมัย : รัชกาลที่ 5

    สำนวนการแต่ง : อินทรวิเชียรฉันท์ 11 บาลี จำนวน 5 บท

    *บทที่พวกเราสวดทุกๆ วันศุกร์ไงเธอ

    ศัพท์โหดๆ

    แกล้ง : จงใจ ตั้งใจ

    แดนไตร : สวรรค์ มนุษย์ บาดาล

    นิราไกล : ไม่จากไปไกล

    นุกูล : เกื้อกูล

    อนุสาสน์ : สอน

     

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    มหาชาติ หรือมหาเวสสันดรชาดก

    ผู้แต่ง :
    1. พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตโนรส

    2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4)

    3. กวีสำนักวัดถนน

    4. กวีวัดสังขจาย

    5. พระเทพโมลี (กลิ่น)

    6. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

    เหตุผลที่เกิดเรื่องนี้ : ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ แต่เหล่าลุง ป้า น้า อา ที่ยังเห็นว่าตัวเองเป็นฝ่ายผู้ใหญ่กว่าพระพุทธเจ้าก็เกิดความทิฐิประมาณว่า เรื่องอะไรยะไปกราบหลานล่ะ พระพุทธเจ้าจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ลอยขึ้นไปนั่งบนเมฆ และเกิดฝนโบกขรพรรษ ฝนสีแดงใส อยากเปียกก็เปียก ไม่อยากเปียกก็ไม่เปียก ทีนี้เหล่าประยูรญาติก็เกรงในบารมีในบัดดล หลังจากตอนนั้น มีพระสาวกมาถามว่า ท่านพระศาสดา ฝนโบกขรพรรษที่เห็นนี่เป็นครั้งแรกใช่รึไม่ ทรงตอบว่า ไม่ใช่ครั้งแรก อันที่จริงเกิดขึ้นมาก่อนในชาติที่แล้ว ในเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก จึงเริ่มเล่าเรื่องไป...

    เวสสันดรชาดก เป็นนิบาตชาดก ซึ่งนิบาตชาดก แปลว่า 500ชาติของพระพุทธเจ้า

    โดย 10 ชาติสุดท้ายรวมกันเรียกว่า ทศชาติ และชาติสุดท้ายก่อนมาเป็นพระพุทธเจ้าอลังการสุดจึงเรียกว่า มหาชาติ

    *เขาว่ากันว่าคนที่มาฟังเทศน์เรื่องมหาชาติ จะได้กุศลแรงกล้าเลยทีเดียวจึงเกิดเป็น ประเพณีเทศน์มหาชาติขึ้นมา
    ภาคกลาง
    = ฟังเทศน์มหาชาติ (มีความไพเราะที่สุด)
    ภาคเหนือ
    = ตั้งธรรมหลวง
    ภาคอีสาน
    = งานบุญพระเวส
    ภาคใต้
    = ฟังเทศน์มหาชาติ
    (ประหลาดที่แต่งด้วย กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ และมาลินีคำฉันท์)

    ทานพิเศษที่ให้ในเนื้อเรื่อง
    1. ปัจจัยนาเคนทร์ (ให้ช้างเผือกคู่บ้านคู่เมือง)
    2. สัตตดกมหาทาน (ให้7อย่าง อย่างละ700)
    3. ปิยบุตรทาน และทารทาน เรียกรวมกันว่า
    บุตรทารทาน(ให้ลูกให้เมีย)

    13 กัณฑ์

    กัณฑ์ที่1 กัณฑ์ทศพร : ช่วงที่นางผุสดีกำลังจะมาเกิดเป็นแม่ของพระเวสสันดร ได้ขอพร10ประการก่อนมาเกิด

    กัณฑ์ที่2 กัณฑ์หิมพานต์ : ปัจจัยนาเคนทร์ คือ ใช้ช้างคู่บ้านคู่เมืองไป ทำให้ชาวเมืองเชตุดรขับไล่ แสดงความเป็นมวลมหาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

    กัณฑ์ที่3 ทานกัณฑ์ : ก่อนจะออกจากเมืองไปทั้งครอบครัวพ่อแม่ลูก ได้ทำ สัตตดกมหาทาน แล้วค่อยออกไป (เรียกว่า ไม่เข็ด)

    กัณฑ์ที่4 กัณฑ์วนประเวศน์ : เจอกษัตริย์เจตราช และพรานเจตบุตร โดยพวกฮีทูลขอให้มาช่วยครองเมือง แต่พระเวสสันดรเซย์โนไม่เอา จึงให้พรานเจตบุตรนำทางไปในป่าเขาวงกต พอถึงที่ก็ได้บวชเป็นดาบสทั้งครอบครัว

    กัณฑ์ที่5 กัณฑ์ชูชก : กล่าวถึงพราหมณ์ชูชกขอทานเฒ่า ที่มีเมียชื่อนาง อมิตตดา แต่เพราะนางปรนนิบัติสามีดีไป พราหมณ์คนอื่นเห็นว่าภรรเมียตัวเองไม่เริ่ดเท่านางอมิตตดา จึงเปรียบเทียบค่อนขอด พวกเมียสู้ผัวไม่ได้ เลยไปหาต้นเหตุคือ อมิตตดาให้ประชาพันธ์แม่บ้านรุมสกรรม นางอมิตตดาจะไม่ทน บอกว่าถ้าเป็นแบบนี้ไปหาทาสมาดีกว่า กัณหาชาลีที่เป็นลูกพระเวสสันดรสิ ไปขอเขาน่าจะให้ ว่าแล้วชูชกก็เริ่มเดินทางไปเอาตัวทาสมา โดยหลอกพรานเจตบุตรให้พาไปที่ป่าหิมพานต์

    กัณฑ์ที่6 กัณฑ์จุลพน : บทพรรณนาพรรณไม้ในป่า บอกเส้นทาง ไปเจอกับพระฤๅษีก่อนจะเข้าเขาวงกต

    กัณฑ์ที่7 กัณฑ์มหาพน : คราวนี้ถึงคราวเข้าไปในป่าใหญ่ จึงลวงพระฤๅษีอีกตามเคย ก็บรรยายรูปแบบป่าอีกรอบ บอกเส้นทาง จากนั้นชูชก็เริ่มเดินทางต่อเข้าใกล้ครอบครัวดาบสพระเวสสันดรเข้าไปทุกที

    กัณฑ์ที่8 กัณฑ์กุมาร : ไปทูลขอกุมารจากพระเวสสันดร เกิดสำนวน ชักแม่น้ำทั้งห้าเด็กสองคนจึงรีบพากันไปซ่อนใต้สระน้ำคูบัว(?) แล้วพ่อก็ให้ จึงจำยอมกลายเป็นทาส โดกัณหามีค่าไถ่ตัวสูงกว่า ปิยบุตรทาน

    กัณฑ์ที่9 กัณฑ์มัทรี : พอผู้เป็นแม่กลับมาไม่เห็นลูก จึงตามหา แต่ไม่พบก็โศกเศร้า จึงโดนจิตวิทยาของพระเวสสันดรแกล้งว่าให้โกรธ พอโกรธก็กลายเป็นพลังแบบเดอะฮัค ตามหาลูกต่อทั้งคืน พอกลับมาอีกรอบในสภาพ หมดทั้งแรงกายแรงใจ ไวตามิลค์ช่วยไม่ได้ พระเวสสันดรเห็นว่าไม่มีแรงหวีดร้องอะไรก็ถึงเวลาบอกไปว่า อ๋อ ให้ลูกไปละ อนุโมทนาบุญกันสิ

    นางมัทรีที่เพลียจัดก็แบบ เออ อนุโมทนาก็อนุโมทนาค่ะ

    กัณฑ์ที่10 กัณฑ์สักรบรรพ : พระอินทร์ผู้มีส่วนร่วมในวรรณคดีทุกเรื่องเห็นว่า เดี๋ยวต้องมีคนมาขอนางมัทรี แล้วพระเวสสันดรก็ต้องเอนอ่อนให้อีกแน่ๆ ก็เลยแปลงลงมาเป็นพราหมณ์มาขอเมีย เป็นทารทาน พอได้แล้วก็คืนร่าง และคืนนางมัทรีให้พร้อมกำชับว่า อย่า เอา ไป ให้ ใคร เข้าใจ๋?

    กัณฑ์ที่11 กัณฑ์มหาราช : ชูชกที่ลากเด็กสองคนจะกลับบ้าน แต่ดันเดินผิดทางไปโผล่แถวนครเชตุดร พระเจ้าสญชัยเห็นหลานตัวเอง จึงเรียกชูชกมาขอไถ่ตัวหลาน และพระราชทานรางวัลให้ ด้วยอาหารรสเลิศต่างๆ มากมาย ชูชกก็เลยออลอีทติ้งสวิงกิ้งจนท้องระเบิดบู้มเป็นโกโก้ครันช์ตาย

    กัณฑ์ที่12 กัณฑ์ฉกษัตริย์ : มีคนไปตามตัวพระเวสสันดรกับนางมัทรีกลับมา ราชวงศ์ทั้งหก ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูกสองคน เจอกันเลย โอวววววว มายยยยเดียยยยยร์ แล้วสลบไป เกิดฝนโบกขรพรรษ ที่พระอินทร์บันดาลให้ทั้งหมดฟื้นขึ้นมา (ยิ่งกว่ายาดมตราโป๊ยเซียน)

    กัณฑ์ที่13 นครกัณฑ์ : พระเวสสันดร และพระนางมัทรีได้ไปแคว้นสีพี ครองเมืองอย่างมีความสุขตลอดกาล

    การกลับชาติมาเกิดก็ตามพุทธประวัติ
    พระเจ้าสญชัย เป็นพระสุทโธทนะ
    พระนางผุสดี เป็นพระนางสิริมหามายา
    พระเวสสันดร เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
    พระนางมัทรี เป็นพระนางพิมพา หรือพระนางยโสธรา
    ชาลี เป็นราหุล
    แต่ กัณหา ที่แค้นเคืองขุ่นพ่อเป็นอย่างมาก เรื่องอะไรอยู่ๆ ลากหนูไปลำบากในป่า แล้วยังโดนขายเป็นทาสอีก ไม่ต้องมายุ่งนับญาติกันอีก
    !! เลยได้เกิดเป็น นางอุบลวรรณาเถรี ที่บวชเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนา

     

    จบแล้วจ้ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×