ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #27 : [Sumเทอม2] สังคม : ประวัติศาสตร์ทางการเมือง

    • อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 56


    [Sum เทอม2] สรุปสังคม : ประวัติศาสตร์

    บทที่3 สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

    By.BiwTigerPisces

    สมัยธนบุรี

    + เมืองธนบุรี มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง อายุราชธานีมีทั้งหมด 15 ปี
    + วันที่ 28 ธันวาคม พ.. 2310 เป็นวันปราบดาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    + มีป้อมขนาบสองข้างคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชยเยนทร์

    ความเป็นมาของกรุงธนบุรี

    เริ่มตั้งแต่กลุ่มทหารกล้ากลุ่มหนึ่งได้ตีฝ่าวงล้อมพม่าที่มาล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมา ซึ่งก็ต้องปล่อยให้พม่ายึดค่ายโพธิ์สามต้นตรงนั้นไป ผู้นำของกลุ่ม หรือ เจ้าตากจึงต้องทำการรวบรวมกำลังชาติให้เป็นปึกแผ่นพอจะกู้ชาติกลับคืนมา โดยไปตั้งตัวที่แรกที่ระยอง จากนั้นก็ทำการทดสอบฝีมือครั้งใหญ่ที่เมืองจันทบุรี

    เมื่อสามารถตีเมืองจันทบุรีแตก ทีนี้ก็ถึงคราวจะต้องยึดอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น นั่นคือชุมนุมแต่ละชุมนุม

    ชุมนุมแรกที่ไปตีคือ ชุมนุมพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (แต่ตีไม่แตก)

    ชุมนุมที่ไปตีแตกที่แรกคือ ชุมนุมเจ้าภิมาย อำเภอพิมาย

    ชุมนุมสุดท้ายที่ไปตีก็คือ ชุมนุมเจ้าพระฝาง สวางคบุรี

    พอรวบรวมกำลังได้ยิ่งใหญ่ ก็กลับมาตีค่าย ไล่พม่ากลับไป สามารถทำการกู้ชาติได้สำเร็จ แต่ทว่า เพราะกรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก ครั้นจะอยู่ต่อก็ไม่ไหว จึงมาตั้งธนบุรีให้เป็นราชธานีใหม่

    สาเหตุที่เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

    1.มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน
    2. ขนาดเมืองเล็กเหมาะกับจำนวนคนที่ยังมีอยู่
    3. มีป้อมปราการตั้งไว้อยู่แล้ว
    4. มีเมืองสำรองเป็น จันทบุรี

    ด้านการปกครอง

    ภูมิภาคเหมือนอยุธยาตอนปลายเป๊ะๆ คือ หัวเมืองชั้นใน นอก แล้วก็เมืองขึ้น
    หัวเมืองชั้นใน
    : คือเมืองจัตวา ผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง ตัวอย่างเช่น พระประแดง , สามโคก
    หัวเมืองชั้นนอก
    : มีเมืองชั้นเอก(จันทบุรี) โท(พิษณุโลก) ตรี
    หัวเมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้น
    : กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครราช

    ส่วนระบบการปกครองก็เหมือนอยุธยาตอนปลายเป๊ะๆ ที่ว่า

    อ้างอิง :

    พูดง่ายๆ คือ มีการแบ่งเขตได้ Inspiration มาจาก HungerGame หน่าก๊ะ (//อันนี้ไม่เกี่ยว)
    เป็นเขต
     เหนือกับใต้
    แล้วสมุหนายก สมุหกลาโหมอะไร แต่เดิมอยู่ที่เดียวกัน คนนึงก็เลยทำหน้าที่นึง แต่พอโดนจับแยกกัน ทั้งสองก็เลยต้องทำหน้าที่ควบสองอย่างในเวลาเดียวกันเพื่อทดแทน
    ก็คือ
     
    สมุหนายก(เหนือ) แต่เดิมเอาแค่การปกครองบริหารเศรษฐกิจภายใน ไปๆ มาๆ ก็ต้องมาดูแลทหารด้วย
    อีกทาง สมุหกลาโหม(ใต้) แต่เดิมเอาแค่ฝึกทหารฝึกช่าง ก็ต้องมาบริหารเศรษฐกิจควบไปด้วย
    ประมาณนั้นแล..

     

    แน่นอนว่า ถ้ามีสมุหนายก ต้องมีจตุสดมภ์ ก็เหมือนเดิม

    กรมเวียง : ตำรวจ กึ่งศาลเตี้ย ตัดสินคดีประเภทอุกฉกรรจ์ได้ทันที

    ปัจจุบัน = กระทรวงมหาดไทย

    กรมวัง : ขุนนาง ศาล ผู้พิพากษา ตัดสินคดีทั่วไป

    ปัจจุบัน = กระทรวงยุติธรรม

    กรมคลัง : เสมียน ดูแลเรื่องงบประมาณบัญชี การค้าขาย

    ปัจจุบัน = กระทรวงการคลัง

    กรมนา : หัวหน้างานเกษตร เก็บภาษาที่นา(จ่ายเป็นข้าว)

    ปัจจุบัน = เกษตรและสหกรณ์

     

    ระบบการปกครอง

    มีการ สักเลก = ระบุตัวไพร่หลวง ที่จะเอามาเข้าเวรทหาร

     

    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    ด้านการปกครอง
    ระบบภูมิภาคเหมือนกับธนบุรีเด๊ะๆ แต่จะพิเศษตรงเพิ่มความอลังของการเรียก และตราประจำฝ่ายไป และฝ่ายเหนือจะมี กรมท่า มาช่วยดูแลเมืองท่าที่ติดทะเลมาช่วย
     

    กรมเวียง = เสนาบดีกรมเมือง

    ตราพระยมทรงสิงห์

    กรมวัง = เสนาบดีกรมวัง

    ตราเทพยดาทรงพระโค

    กรมคลัง = เสนบาดีกรมคลัง

    ตราบัวแก้ว*

    กรมนา = เสนาบดีกรมนา

    ตราพระพิรุณทรงนาค

    *ปัจจุบัน ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำ กระทรวงการต่างประเทศ

    ภูมิภาคเหมือนธนบุรีเป๊ะๆ คือ หัวเมืองชั้นใน นอก แล้วก็เมืองขึ้น
    หัวเมืองชั้นใน
    : คือเมืองจัตวา ผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง
    หัวเมืองชั้นนอก
    : มีเมืองชั้นเอก โท ตรี
    หัวเมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้น

    การปกครองท้องที่

    บ้าน = ผู้ใหญ่บ้าน
    ตำบล
    = กำนัน
    แขวง
    = หมื่นแขวง
    เมือง
    = เจ้าเมือง

    ส่วนในการอัพเลเวลก็เกิดจากการมีพวกเดียวกันเองรวมร่างกันถึงจะพัฒนาได้ เช่น บ้าน + บ้าน + บ้าน = ตำบล ประมาณนี้

     

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     

    บทที่4 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อก้าวสู่สมัยใหม่

    ถ้าถามว่า ประเทศไทยเริ่มรับอิทธิพลตะวันตกตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็เท้าความไปยันสมัยอยุธยา ยุคพระนารายณ์มหาราช ที่มีมิชชันนารีเข้ามาเผยแพ่ศาสนา และแชร์วัฒนธรรมด้วย แต่ครั้งนั้นเขาแค่ดูลาดเลา เลยไม่ได้จริงจังว่าไทยควรจะเปลี่ยนตามเขา จึงค้างนานมาถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลางที่ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาเป็นจริงเป็นจังอีกรอบ และนั่นคือ ยุคล่าอาณานิคมนั่นเอง

    และเนื่องจากในหนังสือได้ทำการเรียงแบบ เอาหัวข้อการเปลี่ยนแปลงนำหน้ารัชกาล ดังนั้น นักเรียนอย่างเราต้องอ่านแบบไขว้สลับว่า ร.3 4 5 6 7แล้วก็วน 3 4 5 6 7 ใหม่ เป็นที่งงมากมายว่า สรุปแล้วอะไรมันเกิดในรัชกาลไหนคะ..

    ดังนั้น ผู้ทำสรุปจึงทำการเรียงใหม่ ให้รัชกาลนำหน้า และรู้ไปเลยว่าในแต่ละรัชกาล มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

     

    รัชกาลที่ 3

    1. สร้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคราราม(วัดโพธิ์)

    2. ทำสนธิสัญญาเบอร์นี  20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  ซึ่งเป็นสนธิสัญญากับตะวันตกฉบับแรก ว่าด้วยการค้าขาย แต่ก็ยังแฟร์ๆ

    3. เริ่มเก็บออม เงินถุงแดง

     

     .................................................

    รัชกาลที่ 4

    1.ทำสนธิสัญญาเบาว์ริง วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398
    เป็นสนธิสัญญาที่เราถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่เอาไว้ใช้ตัดสินโทษชาวต่างชาติ และคลังหลวงก็แทบจะหวีดร้อง เพราะทำให้ไม่มีการผูกขาดการค้า ส่งผลให้พระคลังสินค้ายกเลิก สินค้าอะไรก็ขายกันเองทันที ไม่ต้องผ่านช่องภาษีอะไรอีกต่อไป

    2. เริ่มการเข้าเฝ้าได้
    แต่ก่อนจะมีผ้าม่านมาบังราชวงศ์ตลอด เพื่อไม่ให้คนได้ยลผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน แต่ก็โละทิ้ง

    3. เริ่มการเสด็จประพาสต้น (คือทำได้นิดๆ หน่อยๆ ไม่กี่ครั้ง ก็จบสมัยซะก่อน)

    4. เพิ่มค่านิยม เปิดสิทธิให้สตรี

    5. ปรับปรุงพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
    เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ร่วมทรงดื่มกับราชการด้วย

    6. ยกเลิกพระคลังสินค้า (อิงตามสนธิสัญญาเบาว์ริง)

    7. เริ่มหารือถึงปัญหาระบบมูลนายไพร่ทาส

    8. สร้างถนน เจริญกรุง

    9. เงินถุงแดง ใส่ชื่อใหม่เป็น เงินพระคลังข้างที่

     

     ...................................................

    รัชกาลที่ 5
    *ผู้สำเร็จราชการแทนในตอนแรก คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

    1. เสด็จประพาสต้นอย่างจริงจัง

    2. ยกเลิกการหมอบคลานเข้าเฝ้า ให้ใส่เสื้อเข้าเฝ้าด้วย

    3. ยกเลิกระบบไพร่ ทำให้เกิดระบบเกณฑ์ทหารขึ้นมาแทน

    4. การเลิกทาส พ.. 2417 – 2448 รวม 31 ปี
    ผู้มีส่วนร่วม
    : สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

    5.จัดตั้ง 2 สภาในการช่วยเหลือราชการ แล้วยกเลิกในภายหลัง
       
       1.) สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หน้าที่ก็คือ ถวายคำปรึกษาการบริหาร ช่วยพิจารณากฎหมายนโยบาย (แต่ไม่ใช่คนออกกฎเองนะ) ช่วยเรื่องเลิกทาส จัดเก็บภาษีอากร
        
       2.) สภาองคมนตรี เป็นมือเท้าคอยรับคำสั่งแล้วนำไปปฏิบัติ
    จากนั้นก็ถูกยกเลิกในภายหลัง เพราะว่าไม่กล้าออกความเห็นอะไร มีไปไม่ช่วยอะไร

    6. จัดตั้งโรงเรียนชาววังครั้งแรก = โรงเรียนตำหนักสวนกุหลาบ
        จัดตั้งโรงเรียนสามัญชนครั้งแรก = โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
        จัดตั้งโรงเรียนนายร้อย จ...

    7. ยกเลิกระบบหัวเมือง จตุสดมภ์ สมุหนายก สมุหกลาโหม

    8. ให้หัวเมืองรวมกันเป็น มณฑล แทน ** โดยใช้ระบบ เทศาภิบาลปกครอง

    9. จัดตั้ง 12 กระทรวง **

    1. กระทรวงมหาดไทย
    2. กระทรวงกลาโหม
    3. กระทรวงการต่างประเทศ
    4. กระทรวงวัง
    5. กระทรวงเมือง
    = กระทรวงนครบาล
    6. กระทรวงเกษตราธิการ
    7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
    8. กระทรวงยุติธรรม (มีไว้เพื่อรวมศาล ที่กระจัดกระจายอยู่)
    9. กระทรวงยุทธนาการ
    10. กระทรวงธรรมการ
    11. กระทรวงโยธาธิการ
    12. กระทรวงมุรธาธิการ

    *ตัวสีเขียว = ที่ยังมีอยู่มายันปัจจุบัน

     

    ** ผู้มีส่วนช่วยในข้อ 8 และ 9 คือ

    1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ฉายา บิดาแห่งประวัติศาสตร์ การเมือง และ การปกครองไทย

    2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

    3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม คนที่2 ฉายา บิดาแห่งกฎหมายไทย และการศาล

     

    10. โดนจักรวรรดิคุกคามล่าอาณานิคมแบบจริงจัง

    11. ยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริงได้สำเร็จ ผู้มีส่วนช่วยสำคัญ คือ ดร.ฟรานซิส บี แซร์

    12.เริ่มมีกลุ่ม สยามหนุ่ม หวีดร้องหาประชาธิปไตย คือเหตุการณ์ รศ.103 แต่สามารถผัดผ่อนเลี่ยงไปก่อนได้
     คนหลักๆ ที่เห็นกัน คือ เทียนวรรณ หรือ ก.ศ.ร. กุหลาบ

    13. จัดตั้งสุขาภิบาล ที่แรกคือ ตำบล ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร

    14. จัดตั้ง หอรัษฎาพรณ์พิพัฒน์ กรมธนบัตร และ ทำการใช้เงินพระคลังข้างที่ (เพื่อแก้วิกฤติโดยการจ่ายค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส)

    15. ยกเลิกตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กลายเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร

    16. สร้างรถไฟขึ้นครั้งแรก โดยเส้นทางสายแรกคือ กรุงเทพฯ นครราชสีมา

     ............................................

    รัชกาลที่ 6 (พระนามเดิม : เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ)

    1. พระราชทาน พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
      เก็บเงินศึกษาพลี เพื่อตั้งโรงเรียนประชาบาล เรียนฟรี

    2. ปรับเปลี่ยนกระทรวง

    1. กระทรวงมหาดไทย
    2. กระทรวงกลาโหม
    3. กระทรวงการต่างประเทศ
    4. กระทรวงวัง
    -ตัดออก กระทรวงเมือง
    = กระทรวงนครบาล
    5. กระทรวงเกษตราธิการ
    6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
    7. กระทรวงยุติธรรม
    8. กระทรวงยุทธนาการ
    9. กระทรวงธรรมการ
    >>>>>เปลี่ยนชื่อ>>>>> กระทรวงศึกษาธิการ
    10. กระทรวงโยธาธิการ
    >>>>เปลี่ยนชื่อ>>>>> กระทรวงคมนาคม
    11. กระทรวงมุรธาธิการ
    +เพิ่มขึ้นมาอีก 3 กระทรวง
      +12. กระทรวงทหารเรือ
      +13. กระทรวงมุรธาธร
      +14. กระทรวงพาณิชย์


    3. กระทรวงยุติธรรม ให้แบ่งเป็นหน่วยย่อย 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้ศาลทำงานหนักไป คือ
      1.) ฝ่ายตุลากร คือ ศาลปกติ มีหน้าที่พิจารณา และตัดสินคดี
      2.) ฝ่ายธุรการ คือ ทำสำนวนคดี จัดการเอกสารให้
     และให้ สภานิตินักศึกษา เป็นผู้วางระบบโรงเรียนสอนกฎหมาย

    4. เริ่มใช้ ธงไตรรงค์ + เปลี่ยนชื่อสยามเป็น ไทย

    5. เริ่มใช้กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ต่างประเทศ โดยกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย

    6. นิยมพิมพ์หนังสือพิมพ์มาก ได้แก่ ดุสิต สมิต หรือ ดุสิตสมัย หรือ ดุสิต รีคอร์เดอร์

    7. ช่วงเวลาตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
      และ มีกบฏ ร.ศ.130 คือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์

    8. มีการตั้ง ดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)
     ผู้แต่งตั้ง เรียกว่า คณะนคราภิบาล
     และสมาชิกสภาที่ได้รับการแต่ง เรียกว่า เชษฐบุรุษ
    มี 2 พรรค คือ โบว์แดง และโบว์น้ำเงิน โดยฝ่ายน้ำเงินมีแกนนำเป็น ร.6 เองใช้นามแฝงว่า นายงาม ณ กรุงเทพฯ

    9. มณฑล กลายเป็น ภาค
     เมือง กลายเป็น จังหวัด
     แขวง กลายเป็น อำเภอ

    10. จัดตั้งกองเสือป่า หรือลูกเสือ นั่นเอง

     

    รัชกาลที่ 7

    1. ทำการ ดุลยภาค คือ ปลดราชการขุนนางที่ไม่จำเป็นออก เพราะ ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่1 เต็มๆ เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจมากมาย ทำให้แปรพักตร์เข้าไปฝ่ายคณะราษฎรเยอะมาก

    2. จัดตั้งผู้ช่วย คือ
      1.) อภิรัฐมนตรีสภา งานหลักคือ ให้ความเห็นด้านการบริหารราชการ และแก้ไขสุขาภิบาล เข้าสู่เทศบาล
      2.) องคมนตรีสภา งานหลัก ประดุจรัฐสภา คือให้ความคิดเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย
      3.) เสนาบดีสภา งานหลัก ประดุจรัฐมนตรี คือทำตามพระราชประสงค์ที่ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์

    3. *แก้ไข* เริ่มยกระดับเปลี่ยนสุขาภิบาลเป็นเทศบาล( ได้ไม่กี่ที่ และยังไม่ได้ลบออกทั้งหมด) โดยการจัดตั้งเทศบาล ที่หัวหิน แต่ได้แค่ที่เดียว
     รวมถึงออก พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2473
    แต่ไม่ทันจะได้ใช้อะไร ก็เจอการปฏิรูปการปกครอง 2475 ซะก่อน...

    4. เกิดการปฏิรูปการปกครอง ประเทศเข้าสู่การใช้ ระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร

     

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     

    บทที่5 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

    //เป็นบทที่อิฉันสงสัยว่า ทำไมไม่รวมไปกับบทที่4 เพราะเนื้อหาเป็นภาคต่อของรัชกาลที่ 7 และทำไมไม่เรียงตามไทม์ไลน์ ดังนั้น เราจะมาสรุปเป็นเรื่องราวเป็นสเต็ปเหมือนอ่านนิยายกัน น่าจะง่ายกว่านะจ๊ะ

    ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จากสงครามโลกครั้งที่1 จึงตัดสินใจทำการดุลยภาค แน่นอนว่าเหล่าขุนนางต่างหวีดร้อง ไม่พอใจกันอย่างรุนแรงถึงขีดสุด  นั่นคือ ชนวนที่สำคัญ ที่ทำให้คำทูลขอในตอน  ร.ศ.103 ที่ถวิลหาซึ่งประชาธิปไตยย ถูก(จงใจ)ขุดมาเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง  

    ปี2474..
    สยามหนุ่มกลับมาในเจนใหม่ไฉไลกว่าเดิม นามว่า คณะราษฎร นำโดยสี่ทหารเสือ คือ
    1. พันเอกพระยาพหลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
    2. พันเอกพระยาสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
    3. พันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
    4. พันโทพระประสาทพิทยยุทธ (วัน ชูลื่น)

    *หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
    สโลนแกน
    : เอกราชการเมืองการศาล – สามัคคี – เศรษฐกิจดีอยู่ดีกินดี – เสมอภาค – มีเสรีภาพ – มีการศึกษา

    และทำการยื่นคำขาดว่า ยังไงก็จะต้องมีการปฏิรูปการปกครองโว้ยครับ!

    รัชกาลที่7 ทรงปฏิบัติตามสิ่งที่รัชกาลที่ 5 และ 6 ปูมาไว้ ด้วยการเห็นด้วยว่าคงถึงเวลาที่ประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จึงได้มอบหมาย คนสนิททั้งสองคนในการ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก ขึ้นมา สองคนนั้นคือ
    1.นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (อดีตสส.อเมริกา)
    2.พระยาศรีวิสาลวาจา
    แต่พอร่างเสร็จ คณะราษฎรก็หวีดร้องเอ็ดตะโรขึ้นมาว่า ไม่เอา
    !!
    เรื่องก็เลยถูกพับเก็บไป ไม่นับเป็นฉบับแรกเลยซะงั้น... โดยหารู้ไม่ว่ามันจะกลับมาแดงอีกครั้งในวันข้างหน้า

    ปี2475

    เช้าวันหนึ่ง ตรงกับวันที่ 24 มิ.ย.
    ขณะที่รัชกาลที่7 กำลังประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อยู่ๆ ก็มีทหารมาเยือนถึงหน้าวัง ฝีมือคณะราษฎรนั่นเอง โดยอ้างว่า ซ้อมรบน่ะฮ่ะ
    ! ทางราชสำนักจึงประกาศว่า เกิดการปฏิวัติแล้วแน่ๆ  จากนั้นเหล่ากองกำลังที่มาซ้อมรบเฉยๆ ก็ไปฝึกซ้อมจับตัวประกันเหล่าราชวงศ์มา... ฝ่ายกษัตริย์ที่เห็นว่าหากตอบโต้จะมีการนองเลือดแน่ๆ  จึงตัดสินใจยอมทำตามข้อเสนอของคณะราษฎร ที่จะยื่นอำนาจอธิปไตย สู่การเป็นประชาธิปไตยแบบจริงๆ จังๆ เสียที

    ดังนั้น ในวันต่อมา... 25 มิ.ย. - 27 มิ.ย.

    รัชกาลที่7 ทรงได้รับ ร่างรัฐธรรมนูญ by. หลวงประดิษฐมนูธรรม มาที่วังตรงกรุงเทพฯ จังๆ
    พระองค์ทรงตัดสินใจว่า ถ้าโยกโย้ต่อไป คงไม่เป็นการดี จึงได้ลงพระปรมาภิไธย อนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋านี้ เท่ากับเป็นการพระราชทานพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ขึ้นมา

    และนี่คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทยเราในวันที่ 25 มิ.ย. 2475 นั่นเอง!
    *เป็นฉบับเดียวด้วยที่มีคำว่า พระราชบัญญัติ นำหน้า

    ในวันนั้นเอง สส.ชั่วคราว ก็ผุดขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 70 คน
    และใน 70 คน จะมี
    1.) 14 คน ทำหน้าที่ บริหารราชการแผ่นดิน
    2.) 9 คน ทำหน้าที่ ร่างรัฐธรรมนูญของจริง

    28 มิ.ย.

    เริ่มการประชุมสภาครั้งแรก
    ได้คัดเลือก สส. เสร็จครั้งแรก โดยหัวหน้าของสส. คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
    *สมัยนั้น คณะรัฐมนตรี เรียกว่า คณะกรรมการราษฎร
    จากนั้น เหล่าสส.รุ่นแรก ก็เริ่มดำเนินการจัดการงานของตัวเองเต็มที่กับคำว่า
    ประชาธิปไตย

    10 ธ.ค.

    พระรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475
    เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ได้บังคับใช้ขึ้นในวันนี้ (วันที่ 10 ธ.ค. ของทุกปีจึงเป็นวันรัฐธรรมนูญ)
    *เป็นฉบับที่ใช้นานที่สุดในการเมืองไทย คือ 14 ปี



     

     ขอขอบคุณผู้ชี้แจงจุดผิดพลาดให้เราแก้ไขทัน : Tae Peerawid และอื่นๆ อีกมากมาย
    ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม :  Monos(:007

    //ปรบมือค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×