คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #26 : [Sumเทอม2] ประวัติวรรณคดี รัชกาลที่ 2 - รัชกาลที่ 3
วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 2
By. BiwTigerPisces
เอกลักษณ์
1.ยุคทองแห่งวรรณคดี ใครเป็นกวีก็สบายสุดๆ ในยุคนี้จ้ะ
2.มีการประยุกต์วรรณคดีให้เหมาะกับการเล่นละครมากขึ้น
3.รูปแบบการประพันธ์ยอดนิยม = กลอน
*เริ่มใช้ทริค ‘สัมผัสใน’ by.สุนทรภู่
4.จุดประสงค์วรรณคดี = ศาสนา วัฒนธรรม ยอพระเกียรติ และบันเทิง
******หมายเหตุ******
ดาวแดง = ได้รับการยกย่อง ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร //แปะๆๆๆ
ดาวเขียว = ต้นตำรับ เริ่มการ.....(อะไรสักอย่าง).....เป็นเรื่องแรก
ดาวม่วง = เพื่อการศึกษา
ดาวน้ำเงิน = เรื่องสุดท้ายแห่ง.....(อะไรก็ว่าไป)........
ดาวทอง = มีอะไรแปลกแหวกแนวกว่าชาวบ้าน
ตัวสีเทา = ระบุไว้เฉยๆ แต่ไม่ต้องไปหารายละเอียดมาจำ เกินเนื้อหา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่2)
1. เสภาขุนช้างขุนแผน
จุดมุ่งหมาย : เพื่อใช้ขับเสภา
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : เป็นเรื่องราวการชิงรักหักสวาท โดยใช้ฉากเป็นช่วงอยุธยาตอนต้น ณ จ.สุพรรณบุรี ศึกรักสามเศร้าระหว่าง พลายแก้ว(ขุนแผน) นางพิมพิลาไลย(วันทอง) และขุนช้าง ลักกันไปลักกันมา ยันรุ่นลูกนาม พลายงาม ก็มีเรื่องให้ปวดเฮ้ดกันไป จัดว่าเป็นเรื่องที่เด็ดยิ่งกว่าละครหลังข่าวจริงๆ
ความเด่น :
- ยอดของวรรณคดี สาขากลอนสุภาพ
- คนแต่งหลายคน หลายสมัย หลายเวอร์ชั่น แต่กลอนยังราบรื่นผสานกันลงตัว
วิวัฒนาการเรื่อง ขุนช้างขุนแผน |
- มีความสมจริงสูง เพราะฉากที่ใช้มีอยู่จริง อารมณ์ตัวละครใกล้คนจริงมากขึ้น
- ถ่ายทอดชีวิตคนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี รวมถึงประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ
- โยงถึงวรรณคดีเรื่องอื่นๆ เช่น รามเกียรติ์ ไตรภูมิพระร่วง อิเหนา คาวี
ซีรี่ส์บทละครใน 2 +1 เรื่อง
2. บทละครเรื่องอิเหนา
จุดมุ่งหมาย : เล่นละครใน
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เรื่องราวโดยหลัก : เหมือนเรื่องอิเหนาสมัยร.1
ความเด่น :
- ยอดของวรรณคดี สาขากลอนบทละคร
- ร.2 เป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตลอดทั้งเรื่อง เป็นฉบับสมบูรณ์นิยมใช้เล่นละครเป็นที่สุด
3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย : เล่นละครใน
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เรื่องราวโดยหลัก : หนุมานไปถวายแหวนนางสีดา ถึง สองกษัตริย์เสด็จกลับอโยธยา และอภิเษกสมรมอีกครั้งระหว่างระหว่างพระนาง
...มีตอนสีดาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่ายังบริสุทธิ์จริงนะฮะ หลังจากนั้นก็อยู่ด้วยกัน แต่วันดีคืนดี นางกำนัลแต่ละนางเกิดเปรี้ยวปาก ไปถามผู้เป็นนายว่า –ทูนหัวข๋า บ่าวอยากเห็นหน้าไอ้ยักษ์ทศกัณฐ์จังเลยคร่า สีดาทนตื๊อไม่ไหว เลยวาดสเก็ตซ์ภาพให้ดูด้วยฝีมือจิตรกรระดับ10 แต่เกิดมีวิญญาณอะไรสักอย่างมาสิงภาพ ทำให้ลบไม่ออก ทำลายไม่ได้ สีดาหวีดร้องได้ระยะหนึ่งก่อนจะตัดสินใจซ่อนใต้เตียง คืนนั้น พระรามจะโผล่มาปฏิบัติภารกิจวิ้บๆ กับภรรเมียที่เลิฟ แต่ดันเห็นอีรูปนั้นก็ตะโกนลั่นวังว่า |
ความเด่น : สำนวนเน้นรวดเร็ว ฉับไว มันส์ถึงใจ ได้กล่าวขานเบาๆ จาก ร.6 ว่า ‘อ่านไม่เบื่อ’
4.บทพากย์เรื่องรามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย : เล่นโขน (เป็นเหมือนภาคเสริมOVAสำหรับอวยฉากที่พรรณนาเยื้อๆ ยาวๆ เน้นอารมณ์กว่าเนื้อเรื่อง)
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ยานี 11 (นางลอย-นาคบาศ-พรหมาสตร์) + กาพย์ฉบัง 16 (หักคอช้างเอราวัณ)
เรื่องราวโดยหลัก : มีตอนย่อยถึง 4 ตอน
1.) ตอนนางลอย : นางเบญจกายแปลงร่างมาเป็นศพสีดา พระรามไปเจอก็เลยสุดแสนจะรำพันสุดแสนโศกาอาลัยอาวรณ์อ้อนวอนเธออย่าไป ทิ้งตัวลงคุกเข่ากอดศพ เอ้ย ร่างนางเอาไว้ ซึ่งจากการที่พระรามร่ำไห้ดุจสายโลหิต พร้อมพรรณนาว่า ‘Oh มายสีดา ฮืออๆๆๆๆ’ บทพรรณนาอารมณ์รุนแรงมากค่ะ จึงได้รับยกย่องว่า ไพเราะกินใจที่สุดในบรรดาบทพากย์
2.) ตอนนาคบาศ : เป็นตอนที่พระลักษมณ์ต้องศรของอินทรชิต (เพราะมัวแต่ดูนางระบำกำมะลอเพลินไปนิด....)
3.) ตอนพรหมาสตร์ : เป็นตอนอินทรชิตชุบศรพรหมาสตร์
4.) ตอนหักคอช้างเอราวัณ : เคยได้เรียนใช่มั้ยตอนม.3 ‘อินทรชิตบิดเบือนกายินนนนนน’ ใช่แล้ว บทนี้แหละบทแห่งช้างมอนสเตอร์แรร์บอสประจำดันเจี้ยนเลเวล 999999999 เป็นเอเลเฟ่นนินนี่แสนน่ารักกลอยใจของอินทรชิต คิดดูสิ กว่าจะบรรยายว่า มี33เศียร 1เศียร7งา 1งาสระเจ็ดบ่อ 1บ่อมีบัวเจ็ดกอ 1กอมีบัว7ดอก 1ดอกมีบัว7กลีบ 1กลีบมีนางฟ้าอัปสร7องค์ 1องค์มีนางรับใช้7คน @$%!!! บรรยายละเอียดขนาดนี้ก็เอาไปเลยค่ะ รางวัลยกย่อง บทพากย์พรรณาละเอียดยอดเยี่ยม
ความเด่น : ตามที่บอก มีบทพากย์กวาดรางวัลไป 2 สาขาเลยทีเดียว...
ซีรี่ส์บทละครนอก 5 เรื่อง
จุดมุ่งหมาย : เล่นละครนอก (ที่ผู้หญิงมาร่วมเล่นได้ครั้งแรก)
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร + เพลงหน้าพาทย์
เรื่องราวโดยหลัก :
6.ไชยเชษฐ์ – เรื่องราวยอดฮิตที่สนมกล่าวหามเหสีนางสุวิญชาว่าคลอดออกมาเป็นท่อนไม้ (อุต๊ะ เพิ่งรู้ว่ามีดีเอ็นเอธาตุไม้ผสมอยู่ด้วยนะหนิ) ไชยเชษฐ์จึงขับสุวิญชาออกตามสเต็ป แต่พอรู้ความจริงก็ตามไปง้อ คืนดีกัน จบ
7.สังข์ทอง – เรื่องยอดฮิตที่รู้กันดีว่า นางจันทาเทวีมเหสีรองกล่าวหาว่ามเหสีหลักคือจันเทวี คลอดลูกเป็นหอยสังข์ (อีนี่ก็ดีเอ็นเอไอโอดีนอีกคน) ท้าวยศวิมลจึงเนรเทศนางจันเทวี (สงสัยเป็นญาติกับไชยเชษฐ์) นางจันเทวีไปอยู่กับตายาย จากนั้นหอยสังข์ก็โผล่เป็นคน เลยโดนพวกของมเหสีรองรังควาน จึงส่งไปอยู่เมืองบาดาล จากนั้นก็ไปอยู่เมืองยักษ์ ได้ไอเทมรูปเงาะ ชุบตัวบ่อเงินบ่อทอง แล้วก็ไปพบรักกับรจนา พิสูจน์ใจกันได้ครองเมือง แล้วกลับไปรับแม่ไปหาพ่อ คืนดีกัน จบ
8.ไกรทอง – เรื่องราวคนกับจระเข้ ที่ลูกสาวเศรษฐีโดนชาละวันกุมภีลากลงไปสวิงกิ้งในน้ำถ้ำวิมานแก้ว ไกรทองจึงไปตามนางกลับคืน และได้เมียสองคนเป็นรางวัลในคราวเดียวกัน อ้อ บวกอีกหนึ่งคือเมียจระเข้ของชาละวันมาฟีทเจอริ่งกันเบเบ้อีกคน ก็เลยชิงรักหักสวาทกันไปเรื่อยๆ ที่พิเศษของเรื่องนี้คือ ตัวละครเป็นสามัญชนไม่ใช่ชนชั้นกษัตริย์ในบรรดา5เรื่อง
9.มณีพิชัย เรื่องราวของหญิงสาวลูกเทพที่โดนเอามาอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ พอพระเอกมาเจอก็ครองรักกันซะเลย แต่แม่ผัวดันมิปลื้ม เลยเกิดเหตุลูกสะใภ้ vs แม่ผัว แต่ด้วยความดีของนางยอพระกลิ่นจึงทำให้เรื่องจบได้ด้วยดี
10.คาวี – เรื่องราวของเสือและโค ที่มาเป็นพี่น้องกันและถูกชุบกลายเป็นคน เป็นเรื่องราวการผจญภัยความผูกพันของสองพี่น้อง(ยิ่งกว่าอันนาและเอลซ่า #เอ๊ะ ไม่เกี่ยว) ไปช่วยแก้ปัญหาของเมืองต่างๆ ทำให้ได้ทั้งภรรเมีย ได้ทั้งเป็นเจ้าเมืองทั้งคู่ ซึ่งได้รับยกย่องเป็น ยอดแห่งบทละครนอก
**ส่วนถ้าใครอยากติดตามเรื่องราวคาวีเต็มๆ นี่เลยจ้ะ >>>
ผลงาน by. อีคนทำสรุปแอนด์เดอะผองเพื่อน อิอิอิ
ความเด่น : คว้ารางวัลได้ 1 เรื่อง และเป็นนิทานที่อ่านง่าย แฝงข้อคิดมากมาย และผูกพันกับคนไทยมาตั้งแต่สมัยเด็ก
11. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
จุดมุ่งหมาย : สำหรับการเห่เรือประพาส + อวยสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระนางผู้ทรงมีเสน่ห์ปลายจวักมัดใจยิ่งนักแล
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ + กาพย์ยานี 11
เรื่องราวโดยหลัก : ‘มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง’ พอจะคุ้นปากมั้ยคะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชมอาหารสำหรับทั้งคาวหวานว่าอร่อยเลิศชนิดครัวคุณหลีดต้องถอย และแทรกบทพรรณนาถึงพระนางผู้เป็นที่รักด้วย
ความเด่น :
- ให้ความรู้เรื่องประเพณีการประพาสสมัยนั้น + ความรู้ด้านอาหารสมัยโบราณ
พระยาตรังคภูมิบาล
12. โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
จุดมุ่งหมาย : อาลัยถึงนางผู้เป็นที่รัก
ลักษณะการแต่ง : ร่ายดั้น 1 บท + โคลงดั้นบาทกุญชร 197 บท + ร่ายดั้นแทรกกลางเรื่อง 2 บท
เรื่องราวโดยหลัก : เป็นการเสด็จตามร.1ไปรบที่เมืองทวาย กาญจนบุรี กล่าวถึงการเดินทางระหกระเหิน และอาลัยนางที่รักไว้
ความเด่น :
- ได้แนวคิดบางโคลงจาก โคลงกำสรวญ ของศรีปราชญ์ + โคลงนิราศพระบาท ของพระมหาภาควัดท่าทราย ในบทเปรียบความงามนางดุจศร 3 เล่ม
13. โคลงนิราศถลาง (โคลงนิราศพระยาตรัง)
จุดมุ่งหมาย : อาลัยถึงนางผู้เป็นที่รัก
ลักษณะการแต่ง : ร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท + โคลงสี่สุภาพ 126 บท
เรื่องราวโดยหลัก : ยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน ก่อนจะตามเสด็จไปรบพม่าที่ถลาง ระหว่างการเดินทาง เห็นอะไรก็เปรียบเทียบกับนาง นาง นาง และนางตลอดเว
ความเด่น :
- เด่นด้านการเปรียบเทียบ ใช้อุปมาได้เด่นมาก
- ไทม์ไลน์การแต่งน่าจะแต่งคราวเดียวกันกับ โคลงนิราศนรินทร์
นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
14. โคลงนิราศนรินทร์
จุดมุ่งหมาย : อาลัยถึงนางผู้เป็นที่รัก (พอๆ กัน)
ลักษณะการแต่ง : ร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท + โคลงสี่สุภาพ 143 บท
เรื่องราวโดยหลัก : ยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวถึงความเจริญบ้านเมืองตลอดพระพุทธศาสนา แล้วก็อาลัยนางผู้เป็นที่รัก พรรณนาสถานที่
Keyword : [โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน]
ความเด่น :
- ได้รับรางวัลยอดวรรณคดี สาขาโคลงนิราศ
- ได้รับแนวคิดจาก โคลงกำสรวล ของศรีปราชญ์ในบทฝากนาง
- เสี่ยวที่สุด เพิ่งเรียนในภาษาไทยหลักด้วย (อันนี้ไม่เกี่ยว)
พระสุนทรโวหาร (ภู่)
หมวดนิราศ : แม้หลายเรื่องจะแต่งในสมัยร.3 แต่นับว่าท่านเป็นกวีในร.2 เลยเอามาใส่ตรงนี้
15. นิราศเมืองแกลง
จุดมุ่งหมาย : บันทึกการเดินทางที่ไปจะเยี่ยมผู้เป็นพ่อที่บ้านกร่ำ
ลักษณะการแต่ง : -
เรื่องราวโดยหลัก : -
Keyword : [โอ้ยามยากจากเมืองแล้วลืมมุ้ง]
ความเด่น : นิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่
ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยก่อน
16. นิราศภูเขาทอง
จุดมุ่งหมาย : บันทึกการเดินทาง และบรรยายความรู้สึกกวี
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิราศ 176 คำกลอน
เรื่องราวโดยหลัก : เป็นการเดินทางกับบุตรชื่อพัดไปยังสถานที่ต่างๆ ถึงปลายทางคือวัดภูเขาทอง และหวนถึงสมัยที่ได้เป็นกวีในร.2
Keyword : [เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ] / [ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง]
ความเด่น :
- แต่งในช่วงที่บวชเป็นพระ อยู่ที่วัดราชบูรณะ
- ยอดแห่งวรรณคดี สาขากลอนนิราศ
17. นิราศสุพรรณ
จุดมุ่งหมาย : -
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ 462 บท
เรื่องราวโดยหลัก : -
Keyword : [เคราะห์กรรมจำห่างน้อง ห้องนอน]
ความเด่น : เป็นนิราศเรื่องเดียวที่ใช้ โคลงสี่สุภาพ ในการแต่ง
18. นิราศเมืองเพชร
จุดมุ่งหมาย : การเดินทางเพื่อตามหาเหล็กไหลมาเป็นเครื่องรางของขลัง
ความเด่น :
- นิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่
- ความเชื่อทางไสยศาสตร์
- ชีววิทยาของแมงดา
เพิ่มเติม : นิราศอิเหนา เป็นนิราศนางมโนทั้งเรื่องนะจ๊ะ แต่ในแบบเรียนระบุไว้แค่นี้
หมวดสุภาษิต
19. สุภาษิตสอนหญิง
จุดมุ่งหมาย : เพื่อใช้สอนสตรี (ตามชื่อเรื่องเนอะคะ)
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : กล่าวถึงระเบียบการปฏิบัติตนของสตรี
Keyword : [เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก]
ความเด่น : แสดงถึงค่านิยมหญิงไทยที่ควรทำ ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
20. สวัสดิรักษา
จุดมุ่งหมาย : ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในร.2 ซึ่งเป็นศิษย์ของสุนทรภู่อีกที
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : กล่าวถึงจริยวัตรการเป็นราชวงศ์ที่ดี
ความเด่น : เห็นถึงประเพณีของชาววัง
21. เพลงยาวถวายโอวาท
จุดมุ่งหมาย : ถวายเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระราชโอรสในร.2 ซึ่งเป็นศิษย์
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
เรื่องราวโดยหลัก : คำสั่งสอนขณะสถานภาพเป็นพระที่วัดราชบูรณะ แต่สอนได้ปีเดียวก็ต้องลากัน จึงมีเนื้อหาอาลัยแทรกอยู่ด้วย
Keyword : [อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูมิรู้หาย]
ความเด่น :
- ใช้คำง่าย คำคมติดปาก มีคติสอนใจ
หมวดบทเห่กล่อม
22. บทเห่กล่อม 4 เรื่อง
จุดมุ่งหมาย : เพื่อเห่กล่อมคนทั้งวัง ตั้งแต่ร.2 – ร.4
ลักษณะการแต่ง : กาพย์คล้ายกาพย์ยานี
เรื่องราวโดยหลัก : มี 4 เรื่อง คือ บทเห่กล่อมกากี จับระบำ พระอภัยมณี และโคบุตร
ความเด่น : เป็นตัวอย่างการเห่กล่อม ถือเป็นคติชาวบ้านอีกอย่าง
หมวดนิทาน
23. พระอภัยมณี
จุดมุ่งหมาย : ขายเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ ตอนหลังแต่งถวายผู้มีพระคุณ
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : มหากาพย์แฟนตาซีฉบับไทยแท้ไม่รู้จบ ที่คนได้ผจญภัยแล้วได้ภรรเมียเป็นยักษ์ เป็นนางเงือก มีรุ่นลูกมาสร้างเรื่องราวมากมายให้อัศจรรย์ใจ พาร์ทที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นพาร์ทสุดสาครนั่นแหละเธอ
ความเด่น :
- รางวัลยอดวรรณคดี สาขากลอนนิทาน นิทานอมตะ
- แต่งในขณะที่ถูกจำคุกอยู่
24. โคบุตร
จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายนายหวังหลังสักคนนี่แหละ
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : การผจญภัยของโคบุตรไปในที่ต่างๆ
ความเด่น :
- เป็นนิทานคำกลอนเรื่องแรกในสมัยรัตนโกสินทร์
- มีวิถีการ อัญเชิยเทพยดา การอภิเษก
- ได้แสดงละคร และหุ่นกระบอก
25. ลักษณวงศ์
จุดมุ่งหมาย : แต่งหาเงินเลี้ยงชีพ + แต่งมิให้สูญหาย
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : -
Keyword : [จะริเริ่มเรื่องร้างปางประถม สุดเสียดายด้วยนิยายจะจ่อมจม]
ความเด่น : นำมาแสดงนาฏศิลป์ ไม่ว่าจะ ละคร ลิเก หุ่นกระบอก
26. กาพย์พระไชยสุริยา
จุดมุ่งหมาย : เพื่อเป็นแบบเรียนสอนอ่าน
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ (ใส่กาพย์เข้าไปเยอะๆ)
เรื่องราวโดยหลัก : เริ่มด้วยบทไหว้ครูและบอกจุดมุ่งหมาย เป็นเรื่องของเจ้าไชยสุริยาและพระมเหสีหนีออกจากเมืองที่เป็นกลียุค มาพบทางสว่างบำเพ็ญพรตในป่าตลอดพระชนม์ชีพ
ความเด่น :
- เป็นหนึ่งในแบบเรียน สอนอ่านในสมัยรัตนโกสินทร์
- เป็นกาพย์แบบนิทาน
- แต่งขณะตำพรรษาอยู่ ณ วัดเทพธิดาราม
- พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้นำไปทำแบบเรียนหลวง
27. สิงหไตรภพ
จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : -
Keyword : [ใครเป็นปราชญ์ก็เป็นปราชญ์ในสัณฐาน]
ความเด่น : นาฏศิลป์ได้นำมาเล่นหุ่นกระบอก
หมวดบทละคร
28. บทละครอภัยนุราช
บทละครเรื่องเดียวของสุนทรภู่
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
Keyword : [นุ่งแดงห่มชมพูพิศดูกาย ออกจากเรือนเดือนหงายกรีดกรายมา]
ความเด่น : ให้ความเชื่อเรื่องเทพารักษ์ประจำต้นไม้ การทำหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าบ้านเมืองที่ดี
หมวดคำกลอน
29. รำพันพิลาป
จุดมุ่งหมาย : บันทึกชีวประวัติของกวี
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิทาน
เรื่องราวโดยหลัก : ชีวประวัติของสุนทรภู่เองตั้งแต่เกิดถึงปัจจุบันที่แต่งให้เห็นว่าผ่านเรื่องราวมามากมาย
ความเด่น : ถ้าจะศึกษาประวัติสุนทรภู่ต้องใช้เรื่องนี้
หมวดบทเสภา
30.เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
จุดมุ่งหมาย : เพื่อสนองพระราชประสงค์ในการทำ ขุนช้างขุนแผนฉบับหลวง ของร.2
ลักษณะการแต่ง : กลอนเสภา
เรื่องราวโดยหลัก : เป็นภาคต่อของขุนช้างขุนแผนให้มีเรื่องต่อในรุ่นลูกนั่นคือ พลายงาม นั่นเอง
ความเด่น : โวหารเลิศ ทั้งด้านสัมผัสสระ เล่นคำ
31. เสภาพระราชพงศาวดาร
จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายร.4 เพื่อใช้เล่นมโหรีหลวง
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
เรื่องราวโดยหลัก : ตอนที่ 1 มหากาพย์การก่อร่างสร้างกรุงศรีอยุธยา และปราบกบฏเขมร
ตอนที่ 2 สงครามช้างเผือกระหว่างอยุธยาและหงสาวดี
ความเด่น :
- เป็นพระราชพงศาวดารคำกลอน ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
- วรรณกรรมผลงานชิ้นสุดท้ายของสุนทรภู่
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 3
เอกลักษณ์
- ลักษณะคำประพันธ์ตามเดิม แต่เน้นกลอน ver.กลบทมากขึ้น
- ค่านิยมยึดตามก่อนหน้า คือ พุทธศาสนา ประเพณี ยอเกียรติ บันเทิง
- เน้นการสร้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคราราม ผลงานชิ้นโบว์แดงของร.3 ดังนั้น ใครที่แต่งอะไรก็ตามเพื่อวัดก็เป็นคนโปรด กระทั่งมีคำกล่าวว่า ‘ใครสร้างวัดก็เป็นคนโปรด’
(แต่ถ้าแต่งเพื่ออย่างอื่นทั่วๆ ไป ก็ไม่ต้องมาเออออขอโบนัสอะไรกับกษัตริย์นะจ๊ะ)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
1. โคลงปราบดาภิเษก
จุดมุ่งหมาย : สดุดีพระเกียรติของรัชกาลที่ 2 (ที่ปราบกบฏเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตได้สำเร็จ)
ลักษณะการแต่ง : ร่ายสุภาพ + โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ยอเกียรติร.2 กล่าวถึงการสวรรคตของร.1 ทำให้เกิดกบฏ และร.2ก็ไปปราบได้
ความเด่น : มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณราชประเพณี
2. เสภาขุนช้างขุนแผน (ตอนขุนช้างขอนางพิม + ขุนช้างตามนางวันทอง)
แต่งเพื่อสานต่อพระราชประสงค์ในการทำ 'ขุนช้างขุนแผนฉบับหลวง' ที่ร.2 ตั้งไว้
3. เพลงยาวกลบทและกลอักษร
จุดมุ่งหมาย : เพื่อจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ กลอนกลบท และกลอักษร
ความเด่น : เป็นตัวอย่างตำราแห่งกลอนกลบทและกลอักษร
4. บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย (ตอน ตกเหว)
จุดมุ่งหมาย : ชำระบทละครมิให้สูญหาย
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เป็นตอนที่สังข์ศิลป์ชัยตกเหว ถึงท้าวเสนากถฎเข้าเมือง
ความเด่น : เป็นพระราชนิพนธ์ที่ยาวที่สุดของร.3
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส #สมาชิกprojectวัดโพธิ์ หมายเลข1
5. ปฐมสมโพธิกถา
จุดมุ่งหมาย : แต่งตามพระราชประสงค์ร.3 (ยังไม่เกี่ยวกับสร้างวัดนะ)
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้วสัมผัสแบบร่ายยาว แทรกคาถาบาลี
เนื้อเรื่องโดยหลัก : พุทธประวัติพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 29 ปริเฉท
ความเด่น :
- วรรณคดีพุทธศาสนา รางวัลความเรียงบรรยายดีเด่น
- วรรณคดีศาสนาโดยหลักของสมัยรัชกาลที่ 3
6. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ (upgrade ver.)
จุดมุ่งหมาย : แต่งตามพระราชประสงค์ของร.3 (ก็ยังไม่เกี่ยวกับวัดอีก)
ลักษณะการแต่ง : คำฉันท์ คือกาพย์ + ฉันท์
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ตามฉบับเดิมที่เรียนไปก่อนหน้า แต่ปรับสำนวนให้สละสลวยไพเราะขึ้น
ความเด่น :
- เป็นตัวอย่างแห่งคำฉันท์
- มีอิทธิพลชนิดมีคนเปรียบว่า กำหนดบรรทัดฐานระเบียบสังคมได้
7. ลิลิตตะเลงพ่าย
จุดมุ่งหมาย : ยอเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเพื่อการฉลองตึกวัดโพธิ์ (ในที่สุดก็มาถึงโปรเจควัดซะที)
ลักษณะการแต่ง : ลิลิตสุภาพ (โคลงสุภาพ + ร่ายสุภาพ)
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ชมเมืองอยุธยา >> ยอบารมีกษัตริย์ >> บทสดุดี >> กล่าวถึงทศพิธราชธรรม
ความเด่น :
- เป็นเลิศในการประพันธ์ลิลิต
- เทียบได้กับ ลิลิตพระลอ (สำนวนเป็นลิลิตเหมือนกัน แต่พระลอเขาบันเทิง อันนี้เขายอเกียรติ)
ลิลิตยวนพ่าย (สำนวนลิลิตเหมือนกัน ประเภทยอเกียรติเหมือนกัน เพื่อยอเกียรติเหมือนกัน /เป๊ะเกิ๊น)
8. สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย
จุดมุ่งหมาย : สนองการรีเควส และสานต่อให้เรื่องนี้จบหลังจากค้างเติ่งมาเนิ่นนาน (นี่คือครั้งแรก ที่รอมาเนิ่นนานนนนนน…)
ลักษณะการแต่ง : คำฉันท์ (กาพย์ + ฉันท์)
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เป็นpart3 สุดท้ายที่พิทยาธรกำลังบาดเจ็บ แล้วพระสมุทรโฆษมาช่วย จึงตอบแทนด้วยการมอบพระขรรค์ให้ จบเรื่อง
ความเด่น :
- รางวัลสุดยอดวรรณคดี สาขาคำฉันท์ (ยิ่งกว่าเรื่องที่ผ่านๆ มา)
- แต่งมาหลายคน หลายช่วงเวลา แต่สำนวนผสานกันได้ราบรื่น
- ‘โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูกษัย กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม’
วิวัฒนาการเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ |
9. สรรพสิทธิ์คำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : แต่งถวายร.3 และฝากผลงานไว้ให้คนรุ่นหลัง
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เรื่องราวของพระสรรพสิทธิ์ที่อยากให้นางสุวรรณโสภา เจ้าหญิงผู้เล่นตัว มิย่อมเซย์เม้าท์มอยแอนี่ติงอินเดอะเวิรลด์จนชาวเมืองพากันกลุ้ม จึงใช้สกิลแห่งสำนักใหม่ เจริญปุระ ที่เป็นวิชาประจำตัว ถอดดวงใจออกมา แล้วไปสถิตตาม ผ้าม่าน เทียนไข บลาๆๆๆ แล้วดักถามคำถามยั่วให้นางสุวรรณโสภาตอบ นางที่คันปากอยากโชว์ภูมิกูรู้นะคะแหม่ พร้อมเห็นว่าแถวนี้ไม่มีใครอยู่ ไม่ต้องแอ๊บเล่นตัว เลยยอมปริปากพูด แบบว่า เอาซะหน่อยล่ะวะ! ชาวเมืองที่แอบดูอยู่ก็ร้องเฮ ทำลายฟอร์มของเจ้าหญิงได้ และอภิเษกกันในที่สุด
ความเด่น :
- เป็น ปัญญาสชาดก
- ใช้อุบายเดียวกับเวตาล (ยั่วให้พูด)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร #สมาชิกprojectวัดโพธิ์ หมายเลข2
10. โคลงโลกนิติ
จุดมุ่งหมาย : เพื่อจารึกลงบนศิลาวัดโพธิ์
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ + โคลงกระทู้
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ยอเกียรติร.3 แล้วรวมเป็นสุภาษิตที่สอนใจคนให้เป็นคนดี
Keyword : [ปลาร้าพันห่อใบคาว]
ความเด่น : เป็นเรื่องที่เอาไว้สอนคติธรรมในการดำเนินชีวิตที่ดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชาธิราชสนิท #สมาชิกprojectวัดโพธิ์ หมายเลข3
(ความจริงมีผลงานที่จารึกลงวัดโพธิ์ แต่เราไม่ได้เจาะลึกเรียนเรื่องนั้น คือ เพลงยาวบทสิงโตเล่นหาง)
11. โคลงจินดามณี (เล่ม2)
*เพราะเล่มแรกเป็นของ พระโหราธิบดี
จุดมุ่งหมาย : แบบเรียนภาษาไทย สำหรับชาววัง สมัยร.3 (มาแทนที่กาพย์พระไชยสุริยา)
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ โคลงกระทู้ และกาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ความรู้ด้านภาษาไทย และจริยวัตรที่ควรปฏิบัติของราชวงศ์
ความเด่น : เป็นแบบอย่างด้านการศึกษา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
12. เพลงยาวกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
จุดมุ่งหมาย : โชว์สกิลปฏิภานกวี
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
เนื้อเรื่องโดยหลัก : พรรณนาถึงความรัก ความอาลัยถึงนางสตรี
ความเด่น : เป็นเพลงยาวที่ดี สัมผัสเพราะ ถ้อยคำคมคาย
13. บทละครนอกเรื่องมณีพิชัยตอนต้น
จุดมุ่งหมาย : สานต่อบทละครของร.2 ให้มีความสมบูรณ์ขึ้น
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
ความเด่น : แสดงด้านความเชื่อทางสิ่งลี้ลับ อาทิ กระสือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต #สมาชิกprojectวัดโพธิ์ หมายเลข 4
ฉายา ‘กรมหมื่นไกรสรวิชิตชำนิกิจกลกลอน’
เพราะว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งกลบทที่สุด จึงได้มาเป็นสมาชิกทำจารึกวัดโพธิ์ตำแหน่ง ‘แม่กองตรวจชำระกลอนกลบท’
แต่ในหนังสือที่เราเรียนไม่มีลงรายละเอียดลึกของแต่ละเรื่องที่แต่ง เอาเท่านี้พอ
คุณพุ่ม – บุษบาท่าเรือจ้าง
14. เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ
จุดมุ่งหมาย : สนองพระประสงค์ของ พระองค์เจ้านารีรัตนา เจ้าจอมมารดา (ผู้มีบุญคุณที่ให้อาศัย)
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
เนื้อเรื่องโดยหลัก : แบ่งเป็น 3 ตอน
- ยอเกียรติ และกล่าวถึงการสวรรคตของ ร.4
- ย้อนไปยอเกียรติ ร.3
- ยอเกียรติร.3 ต่อ + แทรกประวัติคุณพุ่มไวด้วยนิดนึง
ความเด่น : มีค่าทางประวัติสาสตร์ ถึงพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ และความเชื่อเรื่องลี้ลับ ลางบอกเหตุต่างๆ พร้อมเป็นประวัติของคุณพุ่มอีกด้วย
15. บทบอกสักวา
จุดมุ่งหมาย : เล่นถวายหน้าพระที่นั่ง
ลักษณะการแต่ง : กลอนสักวา
Keyword : [สักวาอุณากรรณเทวัญแปลง..]
คุณสุวรรณ
//มาถึงแล้วกับกวีแสนแซ่บที่สุดในช่วงที่เราเรียน เป็นกวีที่ได้รับขนานนามจากผู้เรียนว่า แปลก แหวกแนว อินดี้ ที่สุดจริงๆ ค่ะ
16. เพลงยาวจดหมายเหตุ เรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร
จุดมุ่งหมาย : บันทึกเหตุการณ์ช่วงที่ไปรับใช้เฝ้าไข้ ดูแลอาการ ถวายพยาบาลเจ้านาย
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เริ่มด้วยบทไหว้ครู เล่าถึงอาการประชวรของเจ้านายตน รวมถึงเหตุการณ์ในวังช่วงนั้น ลงท้ายลงประวัติส่วนตัวของผู้แต่งเอง
ความเด่น :
- ถูกเปลี่ยนชื่อเรื่อง ด้วยตอนแรกคุณสุวรรณบอกว่า ‘เรื่องนี้น่ะ ชื่อว่า เพลงยาวนิราศ………’ แต่พอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาอ่านแล้วตีความ เลยตัดสินว่า ไม่ใช่ ต้องชื่อว่า ‘เพลงยาวจดหมายเหตุ’ สิ เพราะมันมีแต่บันทึกแบบไดอารี่มากกว่า
17. บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ
จุดมุ่งหมาย : เอาไว้เล่าให้แขกที่แวะมาฟัง
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เนื้อเรื่องสุดขอบฟ้า ที่พระมะเหลฯ ไปประพาสป่าแล้วได้อุ้มสมกับนางตะแลงแกงธิดา แล้วโดนยักษ์ชิงไป จึงใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามมิติจัดการยักษ์แล้วชิงนางกลับมาครองรักกัน
ความเด่น : แปลกที่ เป็นกลอนบทละคร แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อเล่นละครซะหนิ
18. บทละครเรื่อง อุณรุทร้อยเรื่อง
จุดมุ่งหมาย : เอาไว้เล่าให้แขกที่แวะมาฟัง
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องโดยหลัก : จับฉ่ายสตูแห่งวรรณคดี ที่นำวรรณคดีเกือบสิบเรื่องมาหุงอุ่นตุ๋นต้มนึ่งยำรวมกันได้มันส์มาก แต่ยังสามารถสื่อความออกมาอ่านรู้เรื่องได้ใจความอยู่
ความเด่น : แปลกที่ เป็นกลอนบทะละคร แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อเล่นละคร (อีกเรื่อง)
พระมหามนตรี (ทรัพย์) #สมาชิกprojectวัดโพธิ์ หมายเลข5
คือ แต่งโคลงฤๅษีดัดตน แต่เราไม่ได้ลงรายละเอียดลึกในเรื่องนี้น่ะ
19. บทละครเรื่อง ระเด่นลันได
จุดมุ่งหมาย : ล้อเลียนวรรณคดี อิเหนา
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เรื่องราวของขอทาน ผู้ไปแย่งภรรเมียด้วยถ้อยคำรีเวิร์สตรงกันข้าม เหมือนจะด่าความจริงคือชม ได้ใจสาวเต็มๆ เลยเกิดเรื่องวิวาทกับผ.สระอัวของนาง
ความเด่น :
- เป็นวรรณกรรมเชิงล้อเลียน แบบเป็นจริงเป็นจังครั้งแรก
- แปลกที่ เป็นกลอนบทะละคร แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อเล่นละคร (อีกแล้ว)
- แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาในการแต่ง เป็นยุคที่แขกเข้ามาในไทย แล้วมีชนชั้นจัณฑาลมาทำให้การขอทานเริ่มขึ้น จึงได้แรงบันดาลใจมาสร้างคาแร็กเตอร์ที่เป็นขอทานในเรื่องนี้
พระเทพโมลี (ผึ้ง)
20. แบบเรียนปฐมมาลา
จุดมุ่งหมาย : เป็นแบบเรียน สำหรับสามัญชนทั่วไป (ของจิณดามณีนั่นของชาววัง)
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ยานี และกาพย์สุรางคนางค์
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ไวยากรณ์ภาษาไทย คำอธิษฐานผู้แต่ง และวิธีแต่งโคลง
ความเด่น : เป็นแบบเรียนในสมัย ร.3 อีกเรื่อง ขนาบเวลาเดียวกับจิณดามณี (แค่กลุ่มเป้าหมายคนละแบบ)
หมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี)
คาดว่าเป็นศิษย์เอกของสุนทรภู่ เพราะถนัดแต่งกลอน และนิราศมาก แถมมีนิราศสุพรรณจ๊ะกันอีกต่างหาก
21. นิราศเดือน
จุดมุ่งหมาย : บรรยายประเพณีในแต่ละเดือนของสมัยนั้น
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิราศ
เนื้อเรื่องโดยหลัก : กล่าวถึงประเพณีความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยนั้น
ความเด่น : เหมือนโคลงทวาทศมาส ที่เน้นเรี่องประเพณีเทศกาลในแต่ละเดือน
22. นิราศสุพรรณ
จุดมุ่งหมาย : เพื่อบันทึกการเดินทาง
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิราศ
เนื้อเรื่องโดยหลัก : เป็นการเดินทางล้วนๆ แต่แปลกตรงที่ไม่อาลัยรัก แต่ดันสอนคติ สอนหลักค้าขายต่างประเทศ และเล่าชีวิตความเป็นอยู่แทน
ความเด่น :
- แปลกตรงที่ เป็นนิราศ แต่ดันไม่อาลัยถึงคนรัก แล้วยังใส่เนื้อหาแบบอื่นแถมมาอีก
- เทียบเคียงกับนิราศสุพรรณสุนทรภู่
Ver. สุนทรภู่ |
Ver.นายมี |
สำนวน : โคลงนิราศ //WIN |
สำนวน : กลอนนิราศ |
เนื้อเรื่อง : เดินทาง บรรยายสถานที่ อาลัยรัก |
เนื้อเรื่อง : เดินทาง คติ ค้าขายต่างประเทศ ความเป็นอยู่ //WIN |
23. เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จุดมุ่งหมาย : ให้ได้ย้ายที่ทำงาน… (มีจุดประสงค์แอบแฝง)
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
เนื้อเรื่องโดยหลัก : ยอเกียรติร.3 กล่าวถึงพระราชกรณียกิจ
ความเด่น : มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบพระราชกรณียกิจของร.3
//แต่ถามว่าสุดท้าย ท่านโปรดมั้ย…. : อ๋อ ไม่ใช่เพื่อวัดหนิ งั้นก็ Let เอ็ง stay ที่เดิมนะ
จบแล้วจ้ะ
ความคิดเห็น