คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #22 : [For1เทอม2] ประวัติวรรณคดี ธนบุรี - ร.1
วรรณคดีสมัยธนบุรี
รวม 7 เรื่อง
เอกลักษณ์ คือ
1.การนำวรรณคดีสมัยอยุธยามาชำระแต่งใหม่
2.การประพันธ์ ร้อยกรองทุกแบบ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย แต่นิยม กลอนและโคลง
3.ฟื้นฟูละคร เล่นละครหลวงอีกครั้ง คือ รามเกียรติ์
4.ค่านิยมประจำเนื้อเรื่องจะเน้น คติสอนใจ(และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี) ยอพระเกียรติ บันเทิง
กวี 5 คน
1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย : แสดงละครหลวง
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
ความเด่น :
- เป็นรามเกียรติ์เวอร์ชั่นใช้สำนวนรวบรัด ดำเนินเร็วดุจนักรบผู้โผงผางองอาจ
- มี 4 ตอน จำแค่ว่าจำนวนตอนน้อยสุด แค่นี้ พอ จบ
2. หลวงสรวิชิต (หน)
ลิลิตเพชรมงกุฎ
จุดมุ่งหมาย : ถวายพระโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ลักษณะการแต่ง : ร่ายสุภาพ + โคลงสี่สุภาพ = ลิลิตสุภาพ
ความเด่น :
- เอามาจากเรื่อง เวตาลปัญจวีสติ ยำกับเรื่อง ลิลิตพระลอ
- แบบอย่างแห่งลิลิต
อิเหนาคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : แสดงฤทธาแห่งการแต่งฉันท์ และอนุรักษ์อิเหนาไว้
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์ = คำฉันท์
ความเด่น :
- แบบอย่างแห่งฉันท์
- แสดงค่านิยมว่าสตรีเป็นช้างเท้าหลัง (ดูนังflower เอ้ย นางบุษบา สิ จะแต่งกับใครเลือกได้มั้ย ไม่ ใครจะมาลักพาตัวไปปฏิเสธกรี๊ดกรูไม่ไปได้มั้ย ไม่)
3. นายสวนมหาดเล็ก
โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
จุดมุ่งหมาย : ตามชื่อเรื่อง คือ ยอพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ
ความเด่น :
- บรรยายละเอียด
- มีคุณค่าทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพราะ ทำให้ทราบเกี่ยวกับประวัติ + อาณาบริเวณกรุงธนบุรี
4. พระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินอินท์
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
จุดมุ่งหมาย : เป็นแนวๆ สุภาษิตสอนหญิง
ลักษณะการแต่ง : กาพย์ + ฉันท์ = คำฉันท์
ความเด่น :
- เป็นเรื่องสอนขนบธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติที่สุดแสนจะแซ่บ ยำมาจากเรื่อง มหาภารตะ ดัดแปลงหน่อยๆ ก็ได้ละ
คือ ในมหาภารตะนางกฤษณา(แต่ในมหาภารตะใช้อีกชื่อ) เรื่องเกิดจากคำสั่งของแม่ผัวที่แสนจะดี๊ดี บอกกับลูกชายผู้เป็นซะมีของนางว่า เอ้อ พี่น้องกันน่ะ มีอะไรก็แบ่งกันใช้นะ แน่นอนว่าก็เลยต้องแบ่งภรรเมียให้พี่ๆ อีก 4 คน นางก็ควบซะมีเปิดฮาเร็มครบ 5 สิงห์จุฑาเมพเลยค่ะ
พอมาเวอร์ชั่นนี้ รีจักรวาลใหม่ ตัดช่วงที่มาของการมีซะมี 5 สิงห์จุฑาเมพออก แล้วเพิ่มตัวน้องสาวให้ ตัวน้องสาวเป็นตัวแทนของคนอ่าน ที่นางมีซะมีเพียงคนเดียวแต่คุมไม่อยู่ เลยมาขอคำแนะนำจากขุ่นพี่ นางก็เลยสอนกลยุทธ์มัดใจผัว เอ้ย การปฏิบัติตนเป็นภรรเมียที่ดีให้น่ะเอง
5. พระยามหานุภาพ (อ้น)
นิราศกวางตุ้ง / นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
จุดมุ่งหมาย : บันทึกการเดินทางที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิราศ (ทำนองจดหมายเหตุ)
ความเด่น :
- เป็นนิราศเรื่องแรก ที่ใช้ฉากต่างประเทศ
- เป็นนิราศที่ไม่พร่ำถึงนางเป็นที่เลิฟ แต่พร่ำถึงบ้านเมืองและผองเพื่อนที่เลิฟแทน
- เผยการทูตสมัยโบราณ และวัฒนธรรมจีน
เพลงยาวของพระยามหานุภาพ (อ้น)
จุดมุ่งหมาย : เป็นแนวๆ สุภาษิตสอนหญิง
ลักษณะการแต่ง : เพลงยาว 3 บท
วรรณคดี ร.1
รวม 18 เรื่อง
เอกลักษณ์
1. ฟื้นฟูละครแบบเดียวกับธนบุรี มีซีรี่ส์ละคร (ได้แก่ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ อุณรุท)
2. รวบรวมวรรณคดีไว้ไม่ให้สูญหาย
3. ซีรี่ส์งานแปลเป็นร้อยแก้ว (ได้แก่ ไซ่ฮั่น ราชาธิราช สามก๊ก)
4. มีการชำระหนังสือ กฎหมาย และสังคายนาพระไตรปิฎก
5. ค่านิยมคือ ศาสนา บ้านเมือง(จะยอกษัตริย์ ยอนักรบ ไว้ในนี้ด้วย) บันเทิง
6. เนื้อเรื่องเน้นความสมจริงมากขึ้น
7. นิราศ เพิ่มอารมณ์ ไม่ได้แค่ครวญถึงนางที่เลิฟ แต่มียัน เพื่อน บ้านเมือง ชาติ
กวี 6 คน
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง / นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง
จุดมุ่งหมาย : บันทึกไว้แก้เบื่อระหว่างเดินทางไปรบ
ลักษณะการแต่ง : เพลงยาวนิราศ
ความเด่น :
- ถ้อยคำกะทัดรัดมากๆ
- แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทยที่รบชนะภายในเวลา 3 วันเท่านั้น
ซีรี่ส์ละคร 4 เรื่อง
จุดมุ่งหมาย :
1.แต่งใหม่เพื่ออนุรักษ์เรื่องราวไว้
2.เล่นละครใน
3.ให้ความบันเทิง
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร
เรื่องที่ 1 บทละครรามเกียรติ์
จุดมุ่งหมาย(ที่พิเศษกว่าชาวบ้าน) : ปลุกใจประชาชนให้รักชาติบ้านเมือง
ลักษณะการแต่ง : กลอนบทละคร ร่ายดั้น 1 บท จบด้วยโคลงสี่สุภาพ
ความเด่น :
- เป็นรามเกียรติ์ฉบับที่สมบูรณ์ เริ่ดที่สุดเท่าที่เคยมีมา
- เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลรุนแรงต่อทุกยุคทุกสมัย (เช่น กำแพงวัดก็วาดรามเกียรติ์ ชื่อถนนก็พระราม บลาๆๆๆ)
เรื่องที่ 2 บทละครเรื่องอุณรุท
ความเด่น :
- เอามาจากเรื่องสมัยอยุธยาชื่อ อนิรุทธคำฉันท์ (ศรีปราชญ์ แต่ง)
- บูชาเทพคือ พระนารายณ์
เรื่องที่ 3 บทละครเรื่องดาหลัง
เรื่องที่ 4 บทละครเรื่องอิเหนา
ความเด่น :
-อิทธิพลต่อกวีรุ่นหลัง เช่น ปุณโณวาทคำฉันท์ อิเหนึคำฉันท์
นิทานอิหร่านราชธรรม / นิทานอิหร่านราชธรรมสิบสองเรื่อง
จุดมุ่งหมาย : หลักธรรมการปกครองของกษัตริย์
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
ความเด่น :
- โครงเรื่องเอามาจากนิทานแขกเปอร์เซีย
- แสดงให้เห็นว่าศาสนาอิสลามเข้ามาในไทยแล้ว
- เป็นวรรณคดีเรื่องแรก ที่ โปรดฯ ให้ เขียน
กฎหมายตราสามดวง
จุดมุ่งหมาย : รวบรวมชำระแล้วเอามาใช้เป็นกฎหมายที่ถูกต้อง
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว
ความเด่น :
- มีถึง 28 เรื่อง
- อิงจาก คัมภีร์พระธรรมศาสตร์
- ให้ความรู้ด้านกฎหมายโดยตรง
2. กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
นิราศเสด็จไปรบพม่าที่นครศรีธรรมราช
จุดมุ่งหมาย : บันทึกเหตุการณ์ที่ไปรบ
ลักษณะการแต่ง : กลอนนิราศ
ความเด่น :
- ห้วน กะทัดรัดมาก ตามฉบับนักรบ
- แสดงถึงหลักความเชื่อในการออกรบ เช่น การสวมเสื้อผ้าต้องสวมสีดำเพื่อไปรบนะ
เพลงยาวเสด็จไปตีเมืองพม่า
จุดมุ่งหมาย : บันทึกเหตุการณ์ที่ไปตีเมืองพม่า (รอบนี้เยือนถึงฐานเขาเลย)
ลักษณะการแต่ง : กลอนเพลงยาว
ความเด่น :
- ถ้อยคำ กะทัดรัด รุนแรง เพราะถ่ายทอดความแค้นที่พม่ามารุกรานบ้านเมือง
- แสดงยุทธวิธีการรบ
3. กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (ทองอิน)
ไซ่ฮั่น
จุดมุ่งหมาย : เป็นแบบอย่างกลยุทธ์ทางทหารการศึก
ลักษณะการแต่ง : งานแปล แบบถอดความ
ความเด่น :
- 1 ในซีรี่ส์งานแปล = จีน
- กล่าวถึงราชวงศ์ฮั่น ของจีน และการศึกสงครามสมัยนั้น
4. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ราชาธิราช
จุดมุ่งหมาย : เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย
ลักษณะการแต่ง : งานแปล
ความเด่น :
- 1 ในซีรี่ส์งานแปล = มอญ
- ปลูกฝังความจงรักภักดีต่อสถาบันราชวงศ์
- เป็นแบบอย่างการเขียนเรียงความที่ดี
สามก๊ก
ลักษณะการแต่ง : แปล ถอดความ
ความเด่น :
- 1 ในซีรี่ส์งานแปล = จีน
- ได้รับการยกย่องว่า เป็นยอดร้อยแก้วประเภทนิทาน
- สำนวนภาษาเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ละเอียด
- อภิมหาแห่งตำราพิชัยสงคราม ปรัชญา คติธรรมชาติของมนุษย์
ลิลิตพระยุหยาตราเพชรพวง
จุดมุ่งหมาย : เป็นแบบแผนการจัดกระบวนทางชลมารค (เรือ) + สถลมารค (ช้าง)
ลักษณะการแต่ง : ร่ายสุภาพ 1 บท + โคลงสี่สุภาพ 198 บท = ลิลิตสุภาพ
ความเด่น :
- ประเภทขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รู้ข้อมูลการจัดขบวน
กากีคำกลอน / บทมโหรีเรื่องกากี
จุดมุ่งหมาย : บันเทิงแฝงคติสอนใจ
ลักษณะการแต่ง : กลอนสุภาพ
ความเด่น :
- ใช้ขับร้องวงมโหรี
- มีเค้าเรื่องจากชาดก คือ กากาติชาดก
- ให้แง่คิด และสะท้อนสังคมว่า หญิงไทยต้องรักเดียวใจเดียวนะจ๊ะ
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี
(ตอนไล่จับเด็ก)
จุดมุ่งหมาย : ให้พระสงฆ์ใช้เทศน์
ลักษณะการแต่ง : ร่ายยาว (บาลี)
ความเด่น :
- ได้รับยกย่องว่า สำนวนไพเราะ ลึกซึ้งที่สุดในบรรดาร่ายยาว
- อบรมสั่งสอนประชาชนให้นิยมการฟังเทศน์นั้นได้อานิสงส์
5. พระยาธรรมปรีชา (แก้ว)
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
จุดมุ่งหมาย : ให้เป็นไตรภูมิที่ถูกต้องที่สุดตามฉบับ รัชกาลที่ 1
ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้ว คล้ายร่าย เทศนาโวหาร
ความเด่น :
- ให้ความรู้ทางพุทธศาสนาดีที่สุด
6. พระเทพโมลี (กลิ่น)
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มหาพน
(ตอน ลวงฤๅษีให้บอกทางไปป่า)
จุดมุ่งหมาย : เป็นหนังสือเทศน์มหาชาติ
ลักษณะการแต่ง : ร่ายยาว (บาลี)
ความเด่น :
- ได้รับยกย่องว่า พรรณนาได้ละเอียดที่สุด
- เด่นทางพฤกษศาสตร์ เพราะ มีบทบรรยายป่าไม้ สมุนไพร เยอะมาก
มหาชาติคำหลวงกัณฑ์ทานกัณฑ์
*เป็นเรื่องที่เกิดในรัชกาลที่2 แต่จัดหมวดหมู่ให้อยู่ที่รัชกาลที่1
จุดมุ่งหมาย : แต่งอุดรอยโหว่ให้มีจำนวนตอนครบ
ลักษณะการแต่ง : โคลง กาพย์ ร่าย
ความคิดเห็น