ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #17 : [Final] ม.4เทอม1 ไทย(หลัก) Part1/2 : ไวยากรณ์หลักภาษา

    • อัปเดตล่าสุด 4 ก.ย. 57


    [Final] ไทย(หลัก) Part1/2 : ไวยากรณ์หลักภาษา

    By.BiwTigerPisces

     การสื่อสาร

    ปัจจัยการสื่อสาร ได้แก่             1.ผู้ส่งสาร         2.สื่อ     3.เนื้อความ        4.ผู้รับสาร

    โดยที่จะหลอกเราบ่อยสุดคือ สื่อ ซึ่งสื่อในที่นี้หมายถึง ตัวอะไรก็ได้ที่ทำให้ คนถ่ายทอด กับ คนอ่านเกิดความเข้าใจกัน อย่างในรอบนี้ที่พวกเธออ่านบทความของอิชั้นอยู่ สื่อก็คือ ไอโฟน / คอม / เดสก์ท็อป /กระดาษ / หมึกพิมพ์ นั่นเอง หรือแม้กระทั่งเวลาพูดกัน เด็กวิทย์น่าจะรู้กันว่าเสียงเดินทางผ่านสสาร หนึ่งในสื่อของรอบนี้ก็จะมี อากาศ เกี่ยวข้องด้วย เพราะว่าอากาศทำให้เสียงเดินทางไปมาหาสู่กันได้

    วัจนภาษา คือ การสื่อสารแบบมีตัวอักษร มีสื่อ มีเสียง เช่น การเม้าท์นินทาชาวบ้านกัน , นักร้องร้องเพลง ,เราอ่านหนังสือ

    อวัจนภาษา คือ การสื่อสารแบบใช้ภาษาใบ้ ไม่ต้องมีเสียง ตัวอักษร เราก็รู้ เช่น
    ยกนิ้วก้อย
     = ดีกันนะ สัญญากันนะ
    ยกนิ้วชี้
        = เรียก สั่ง คนนี้ นั่น โน่น บอกทาง  
    ยกนิ้วโป้ง  
    = กดไลค์ เยี่ยมเลย เค้างอนละ(สำหรับเด็ก) 
    ยกนิ้วกลาง = ......(ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

    สำหรับข้อสอบที่เราจะเจอ มันจะถามตรงๆ แบบนี้แค่ไม่กี่ข้อ ที่พิฆาตเด็กมาหลายรายเห็นจะเป็นข้อสอบแนวมาเป็นกลอน แล้วถามว่าข้อไหนมี / ไม่มี วัจนภาษา / อวัจนภาษา

    Ex.              รุ่งเช้ากลางลานตลาดสด
                มีแม่มดหนึ่งนางเข้ามาหา
                พร้อมถามทางจำนรรจา
                ตัวแม่ค้าก็บอกไปตามจริงพลัน.
    ตอบ ข้อนี้ มีวัจนภาษาอย่างเดียวจากคำว่า
     ถาม / บอก

     

    Tips. จำไปเถอะ ครูเฉลยมา เข้าใจ๋

    *มนุษย์เท่านั้นที่สื่อสารได้

    *ภาษาที่ใช้ คือหัวใจของการสื่อสาร 

     

    การอ่าน

    จุดมุ่งหมายการอ่าน แบ่งได้ ดังนี้

    1. อ่านเอาเรื่อง : นิทาน ข่าวบันเทิง ข่าวเก็บตก ข่าวนอกลู่ อะไรก็ว่าไปที่ดูแก่นสารเบาๆ

    2. อ่านเก็บความรู้ : สารคดี บทความวิชาการ หนังสือเรียน สรุปสอบ

    3. อ่าน(แล้วจำเป็น)ตีความ : โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์ ร่าย หรือแม้แต่พวกนิยายภาษาอลังการแบบกามนิตที่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที....

    4. อ่านวิเคราะห์ : วรรณคดี หรือพวกที่แนวๆ บันเทิงที่หลักสูตรบังคับให้เรียน พวกงานซีไรต์อะไรงี้ อย่างกามนิตอีกนั่นแหละ เพราะเราต้องวิเคราะห์ว่าทำไมตัวละครต้องคิดอะไรลึกซึ้ง (ความจริง คือ ติสต์แตกของเรา)ขนาดนี้ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น แล้วจุดนี้ถ้าฉันอ่านแล้วมันเกิดประโยชน์อะไรกับชีวิตหว่า ยังงี้เป็นต้น

     

    อ่านแล้วพัฒนาด้านใด

    1. ด้านความรู้ : ข่าว สารคดี บทความเคล็ดลับ

    2. ด้านอารมณ์ : วรรณคดี(แบบแฟนตาซีสุดๆ) นิทาน นิยาย ข่าวบันเทิง

    3. ด้านคุณธรรม : วรรณคดี(แบบพวกสุภาษิตสอนหญิง) ชาดก พระบรมราโชวาท คำสอน พระอภิธรรม ฯลฯที่อ่านแล้วคิดว่าทำให้ตัวเองโลกสวย เอ้ย เป็นคนดีขึ้น(?)

    ย้ำ ถ้ามีคำว่า ด้าน นำหน้า จะมีแค่ 3 อย่างนี้ ถ้ามีด้านอย่างอื่น อย่างเช่น ด้านสังคม อะไรแบบนี้ตามมา คอนเฟิร์มได้ว่าข้อนั้นเป็นข้อหลอกนะจ๊ะ

     

    ประเภทข้อความ

    1. ข้อเท็จจริง : ข่าว สารคดี บทความทั่วไป

    2. ข้อคิดเห็น : บทกวี บทสรรเสริญทุกประการ(ที่สวดกันทุกๆวันศุกร์)

    *จะพบคำว่า คาดว่า เห็นว่า คิดว่า น่าจะ โดยส่วนใหญ่

    3. ข้อความแสดงอารมณ์ : บทละคร ดราม่าในพันติ๊ป สเตตัสเพื่อนที่กำลังเก็บกด ฯลฯ

    4. ข้อความจรรโลงใจ : บทความกลอนให้กำลังใจ เรื่องราวที่อ่านแล้วให้ข้อคิด เนื้อเพลงที่สื่อความหมายได้

            Tips. จำไปเถอะ ครูเฉลยมา : หนังสือพิมพ์ ถ้าไม่มีเวลาอ่าน ให้อ่าน : หัวข่าว และวรรคนำของข่าว

     

    โวหารร้อยแก้ว

    เรื่องนี้ไม่เน้นเท่าไหร่ เจอกันแต่เล็กยันม.ปลาย แต่ก็ใส่ๆ ไปกันลืมนะจ๊ะ

    1. บรรยายโวหาร : ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ด้วยภาษาปกติ

    2. พรรณนาโวหาร : ภาษาวิลิสสมาหลา อ่านที่กูไม่เข้าใจว่ามรึงจะสื่อว่าตัวละครกำลังทำอะไรกันแน่

    3. เทศนาโวหาร : ส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมราโชวาท คำคมสอนใจ คติสอนใจ

    4. อุปมาโวหาร : เจอคำว่า เหมือน พ่าง คล้าย ครุวณา เช่น ประดุจ ฯลฯ ที่เอามาเปรียบน่ะ นั่นแหละอุปมา

    5. สาธกโวหาร : อ่านไปแป๊บๆ แล้วจะมีตัวอย่างแทรกเข้ามา ซึ่งในพระพุทธศาสนาจะมีบ่อยมาก อย่างเช่นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ แต่เกิดความขัดแย้งกัน พระพุทธเจ้าก็แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เทศนาเบาๆ ก่อนจะยกเรื่องพระเวสดันชาดกมาเล่า นี่แหละคือสาธกโวหาร

    พิเศษ 6.อธิบายโวหาร
    ตัวหลอกที่น่าตบยิ่งกว่านางร้ายในละคร เพราะจะทำให้เราสับสนไปกับบรรยายโวหาร ดังนั้นทริคการสังเกตคือ ตัวอธิบาย จะเหมือนการแทรกเชิงอรรถที่ ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง อย่างเช่น
    ....เธอเดินไปยังป่าแห่งหนึ่งนามว่าหิมพานต์ โดยชื่อของป่านี้ ได้สังเคราะห์จากภาษารูมนุษย์ต่างดาว ผสมกับรากศัพท์อักษรพิมพ์โบราณฝั่งทะเลแคริบเบียน.....

    แต่ถ้าเจอแบนนี้ จะกลายเป็น สาธกโวหาร ทันที

    ....เธอเดินไปยังป่าแห่งหนึ่งนามว่าหิมพานต์ โดยชื่อของป่านี้ มีที่มาจากตำนานเรื่องหมีน้อยกู้โลก เรื่องราวได้กล่าวไว้ว่า หมีน้อยกู้โลกได้ไปเก็บต้นอ่อนประหลาดชื่อว่า หิมพานต์ ที่งอกอยู่บนหุบเขาเอเวอร์เรส แล้วเอามาปลูกในบริเวณลานโล่งแถวนี้ เวลาผ่านไปหลายพันปี ต้นอ่อนก็กระจายสายพันธุ์งอกแมร่งเป็นบริเวณ กลายเป็นป่า ดังนั้น ชื่อป่าจึงนับตามชื่อต้นกล้าที่ได้เอามาปลูกเป็นครั้งแรก


     

    เสียงในภาษา

    เสียงสั้น-ยาว

    ย้ำว่านี่คือ เสียง ไม่ใช่รูปสระ นั่นคือ ต่อให้คำนั้นมีสระอยู่ในรูปสั้น ก็อาจจะออกเสียงยาวสลับกันก็ได้ อย่างคำว่า เช้า ออกเสียงกันจริงๆคือ ช้าว โดยมิรู้ตัวกันเลยใช่มั้ยล่ะ ซึ่งจะดูได้ดังนี้

    1. อยู่เป็นคำประสม           เช่น น้ำใจ น้ำดื่ม น้ำหวาน น้ำส้ม     >>> น้ำ ออกเสียงสั้น

    2. อยู่เป็นคำเดี่ยวๆ             เช่น ขอน้ำหน่อย                          >>> น้ำ ออกเสียงยาว

    3. คำที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลาง เช่น ตัวต่อตัว ตาต่อตา เขากับเธอ ฉันและนาง >>> ออกเสียงสั้น

    ...ที่เหลือก็แล้วแต่เวรกรรมว่าแอ็คเซนท์คุณจะตรงกับที่ผู้ออกข้อสอบต้องการเท่าไหร่ละกันนะ

     

    เสียงหนัก-เบา

      สิ่งที่ควรรู้กันก่อนก็คือ คำครุ-ลหุ

    ครุ คือ คำที่มีสระเสียงยาว / มีตัวสะกด ทั้งสองอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    ลหุ คือ คำที่เป็นสระเสียงสั้นและห้ามมีตัวสะกด เท่านั้น

    โดยมีตัวอันตรายเป็นลหุพิเศษ คือ บ่ ธ ณ ก็ เช่น มันแน่นอก ก็ยกออก ให้แบกเอาไว้นานไปเดี๋ยวใจลอก

     

    ทีนี้ก็มาดูการสังเกตเสียงหนัก-เบากันได้ ก่อนอื่นต้องสังเกตก่อนว่า คำนี้มาเป็นประเภทแบบไหน

      1.มาเป็นคำประสม(ที่ทำหน้าที่กิริยา) หรือ คำซ้อน >> เสียงหนักตลอดกาล

    ไม่ว่าจะเป็นครุหรือลหุ ถ้าเจอกรณีนี้ก็มั่นใจไปเลยว่าอันนี้แหละ เสียงหนัก เช่น

    ชื่นชอบ(ซ้อน) หวีดร้อง(ซ้อน) ขัดคอ(ประสมที่ทำหน้าที่กิริยา)

      2.คำทั่วไป(นอกเหนือจากข้อ1) ที่มี 2-4 พยางค์

    พยางค์ที่ 1 2 ... (แต่ไม่ได้อยู่ท้ายสุด) = ต้องสังเกตว่าเป็น ครุ หรือ ลหุ

    พยางค์สุด = จัดเป็นเสียงหนักตลอดกาล

     

    ตัวอย่าง  ลักณะ

     ลัก อยู่เป็นพยางค์ที่1 ไม่ได้อยู่ท้าย แถมเป็นครุ = เสียงหนัก

                   อยู่เป็นพยางค์ที่2 ไม่ได้อยู่ท้าย แถมเป็นลหุ = เสียงเบา

                 ณะ ถึงจะเป็นลหุ แต่เพราะเป็นพยางค์ท้ายสุด = เสียงหนัก

    เห็นมั้ยล่ะ แค่รู้หลักครุลหุ เท่านี้การแยกว่าอันไหนหนักเบาก็ไม่ยากอีกต่อไป


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×