ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #53 : [Final ม.5 เทอม2] สรุปวรรณคดีมรดก ร่ายยาวพระมหาเวสสันดรชาดก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 19.17K
      14
      22 ก.พ. 58

    [.5 เทอม2 Final] สรุปวรรณคดีมรดก มหาเวสสันดรชาดก

    By.BiwTigerPisces

    อารัมภบทคนทำสรุป (ข้ามได้)

         จะเรียกว่าสรุปดีมั้ยหว่า เรียกว่า การเรียบเรียงส่วนที่อ่านยากในหนังสือให้อ่านง่ายขึ้นดีกว่า ซึ่งนั่นหมายความว่า อะไรที่อ่านง่าย ในหนังสือมีครบ ย่อไว้อยู่แล้ว ดิชั้นก็จะทำเพียงการบอกว่า (ศึกษาได้ในหน้า xxx ของหนังสือจริงนะคะ) ในส่วนนั้นๆ และเพราะเห็นว่า การที่จะพิมพ์ส่วนพวกนี้ มันจะไม่ต่างอะไรกับการก๊อปแปะ ไม่เกิดประโยชน์อันใด การรวมว่าควรไปอ่านตรงไหนๆ อาจจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายมากกว่า ยังไงก็มีหลายส่วนที่เรียบเรียงให้อ่านง่าย เอ้อ แถมให้สูตรในการจำด้วย แต่ แต่ แต่ รอบนี้ก็ยังคงใช้วิธีแบบรอบ SUM คือ การทำเนื้อหาแบบเหวี่ยงแหค่ะ อ่านให้หมดทุกเนื้อหาเท่าที่มี เพราะดิชั้นก็ไม่รู้เหมือนกันว่าข้อสอบจะออกมารูปแบบไหน แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม แม่งต้องติดแหตรูซักทางนึงล่ะค่ะ ซึ่งแน่นอนว่านี่จะช่วยได้แค่ ในPartที่ถามความรู้ทฤษฎีตรงๆ เท่านั้น ส่วน Partวิเคราะห์ตีความก็ต้องเอาตัวรอดกันเองตามเคยอ่ะนะ เอาล่ะ ลองอ่านกันนะคะทุกคน

     

    รอบFinalนี้ สอบหลักๆ คือ กัณฑ์ชูชก , กุมาร , มหาราช
    ส่วนพวกที่ไม่ออก หรืออาจจะออกบ้างนิดเดียวจะเป็น กัณฑ์ทศพร , มหาพน

     

    เคส1 : แยกความแตกต่าง

       อันนี้มันคงไม่ออกสอบหรอกค่ะ แต่ยังไงพื้นฐานก็ควรมาก่อน คือ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก , มหาชาติคำหลวง , กาพย์มหาชาติ , มหาชาติกลอนเทศน์ นี่เรื่องเดียวกันมั้ย?

    ตอบ : Based on เรื่องเดียวกัน แต่ที่เหลือเป็นคนละสำนวน คนละผู้แต่ง คนละสมัย คนละจุดประสงค์กันเลยค่ะ

    ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพอารมณ์ประมาณเรื่อง ราพันเซล(ver.ต้นฉบับ) ในนิทานกริมม์ ที่โดนเอามาทำเป็น Tangledของดิสนี่ย์ กับ ราพันเซลของบาร์บี้อ่ะค่ะ สำนวนคนละสำนวน คนแต่งก็คนละคน เพียงแค่ต้นแบบเนื้อเรื่องจะคล้ายๆ กัน

      สรุปความแตกต่างของมหาชาติในแต่ละเวอร์ชั่น

     

    มหาชาติคำหลวง

    กาพย์มหาชาติ

    ร่ายยาว
    มหาเวสสันดรชาดก

    มหาชาติ
    กลอนเทศน์

    คืออันเดียวกันค่ะ (แต่นิยมเรียกชื่อแรกมากกว่า)

    ผู้แต่ง

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่ง

    กวีคนหนึ่ง(ในสมัย
    สมเด็จพระเจ้า
    ทรงธรรม)

    กวีทั้ง 6 คน/ทีม

    สมัยที่แต่ง

    อยุธยา

    รัตนโกสินทร์

    รูปแบบคำประพันธ์

    คำหลวง

    (รวมมิตรฉันทลักษณ์)

    บาลีเป็นส่วนใหญ่

    เป็นร่ายโบราณ
    / ร่ายมหาชาติ
    แทรกบาลี
    เน้นภาษาไทยมากขึ้น

    ขึ้นคาถาบาลี
    ตามด้วยร่ายยาว
    และมีบาลีแทรกเป็นระยะ

    จุดประสงค์

    สำหรับใช้สวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังในงานนักขัตฤกษ์

    เพื่อใช้เทศน์มหาชาติ
    ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง

    อื่นๆ

    ต้องเป็นกษัตริย์แต่ง
    หรือ เป็นคำสั่งจากกษัตริย์เท่านั้น
    จึงจะแต่งได้

    รายละเอียดทุกอย่างตามมหาชาติคำหลวงเด๊ะๆ

     

    มีการคัดเลือกบทที่ไพเราะเด็ดๆ มาชำระรวมเป็นเล่มในภายหลัง

    ซึ่งที่เราเรียนอยู่และจะสอบรอบนี้คือ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ค่ะ

     

    เคส2 : จำรายละเอียดแมร่งทุกกัณฑ์เลยค่ะ

      เพลงประจำกัณฑ์ >>> ศึกษาได้ในหนังสือหน้า 144 ค่ะ

      ลำดับกัณฑ์ + ผู้แต่งในแต่ละกัณฑ์ >>> ศึกษาได้ในหนังสือหน้า 144 ค่ะ

     แต่ช้าก่อน อันนี้อิชั้นมีสูตรจำ อยู่บ้างนิดหน่อย มาดูกันค่ะว่าเป็นยังไง

    สูตรเรียงลำดับกัณฑ์

    ทศพรก่อนหิมพานต์ทานกัณฑ์วนปเวสนเฉดหัวชูชกตกไปจุลพนทนไปมหาพน
    ค้นหากุมารมารดาชื่อมัทรีดีกรีสักกบรรพริบทรัพย์มหาราช
    เรืองอำนาจอย่างฉกษัตริย์กินสลัดในนครกัณฑ์

    Cr.สูตรอีกที : อิชั้น กับ Benny Bennyz

     

    สูตรจำว่าผู้แต่งคนไหนแต่งกัณฑ์อะไร(เน้นเป็นStoryมากกว่าคำคล้องจอง)

    1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (ชื่อยาวสุด ก็แต่งมากสุด แต่งตั้ง 5 กัณฑ์)
       ทศพรก่อนหิมพานต์ พักงานเว้นช่วงไว้นานกลับมาอีกทีต้องแต่งตอนชั้นสูงอย่างมหาราชชาติฉกษัตริย์ตัดจบที่นครกัณฑ์    
     

    2. สำนักวัดถนน
       อยู่ใกล้ชิดกับคนจนจึงตั้งโรงทาน ทานกัณฑ์

     

    3. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
       
    เป็นผู้ปกครองประเทศจึงแต่งวนปเวศน แถมท่านยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเซลล์ซากดวงดาว
    ดึกดำบรรพ์ จึงแต่ง
    จุลพน และ สักกบรรพ

     

    4. สำนักวัดสังข์กระจาย
       แต่งเกี่ยวกับชูชกที่ท้องแตกกระจาย

     

    5. พระเทพโมลี (กลิ่น)
       เป็นผอ.เราต้องอดทนดุจดั่งต้องบุกป่าอันแสนกว้างใหญ่ มหาพน (อ้างอิงจากสูตรจำลำดับกัณฑ์)(อุ๊บส์)

     

    6. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
       เป็นถึงยศเจ้าพระยาลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง จึงแต่ง กุมาร และ มัทรี

     

    เคส3 : โคตรแห่งระเบียบแบบแผนการแต่ง

    เรียงลำดับแหล่งอ้างอิง จากใหญ่ไปเล็ก

       พระสุตตันตปิฎก >>> นิบาตชาดก >>> มหานิบาตชาดก >>> ทศชาติชาดก  >>>  มหาเวสสันดรชาดก

    Timeline การแต่ง

       ปัจจุบันวัตถุ(Sceneที่มีพระสงฆ์ถามเกี่ยวกับฝนโบกขรพรรษ) >>> กัณฑ์ 13 กัณฑ์ >>> ประชุมชาดก/สโมทาน (End Creditแถมท้ายว่าใครไปเกิดเป็นอะไร)

    = ถ้าให้เทียบกับเรียงความก็เหมือน บทนำ >>> เนื้อหา >>> สรุป ตามนี้เลยอ่ะนะ=_=

    รูปแบบการเขียนในแต่ละกัณฑ์

       ทุกตอนจะเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า จุณณียบท(ความเดินตอนที่แล้ว) เผื่อใครไม่ได้ฟังตอนก่อนหน้าก็จะได้เข้าใจเรื่องได้ แล้วค่อยเข้าเนื้อหา  ซึ่งจะเริ่มด้วย คำบาลี แล้วค่อยภาษาไทย จากนั้นก็แทรกบาลีเป็นระยะไปเรื่อยๆ

    โดยใน 13 กัณฑ์ จุณณียบท ใช้ภาษาไทยปกติเขียนเป็นความเรียง
       ยกเว้น
    กัณฑ์มหาพน และ กัณฑ์นครกัณฑ์ ที่จะใช้ฉันท์แต่ง

      

    ฉันทลักษณ์

       ภาษาไทย = ร่ายยาว

          ร่ายยาว  เป็นฉันทลักษณ์ที่แต่งง่ายมากๆ (แต่ไม่คุ้นชินเท่ากลอนแปด) หนึ่งวรรคแค่มี 6 คำขึ้นไป แล้วคำสุดท้ายของวรรค ต้องไปสัมผัสกับคำของวรรคถัดไป ซึ่งจะเป็นคำลำดับที่เท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งในมหาเวสสันดรชาดก จะมีบาลีคั่นเป็นระยะ แต่ถึงจะมีบาลีคั่น การสัมผัสก็ต้องทำต่อไปให้ตลอดนะจ๊ะ

         คาถาบาลี(ที่แต่งยาวๆ ไม่ใช่ใช้แทรกระหว่างบท) = ปัฐยาวัตฉันท์

         ปัฐยาวัตฉันท์ ใช้สำหรับแต่งคาถาบาลี ที่จะโผล่เป็นบางSceneในเรื่อง คล้ายๆ Sceneที่เจ้าหญิงดิสนี่ย์แหกคอร้องเพลง เพื่อให้ดูแกรนด์อลังการ ปรากฏเยอะมากๆ ในกัณฑ์มหาราช แต่กัณฑ์อื่นก็มีอยู่บ้างประปราย เช่น ฉากพระมหาเวสสันดรตรัสเรียกลูกทั้งสองให้ขึ้นจากสระบัว เป็นต้น

         (รายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 112)

     

     

    เคส4 : คุณสมบัติที่โดดเด่นของตัวละคร

    ประมาณว่า ข้อนี้ บทใดแสดงถึงคุณสมบัติxxxxของตัวxxxx มากที่สุด ก็เลือกกันไป

    พระมหาเวสสันดร

    1.) กัณฑ์กุมาร

      - บ้ายอ โดนชักแม่น้ำทั้งห้าไปที แล้วตบท้ายประโยคที่ว่า พระองค์นี่สุดยอดยิ่งนักให้ทั้งทานภายนอก และทานภายในปัญจมหาบริจาค เป็นยอดแห่งการให้ทาน อู๊ยยยย ที่พระองค์ตั้งใจไว้ว่าจะเข้าพระสร้อยสรรเพชญญาณ(การหลุดพ้น)นี่คงทำได้เป็นแน่แท้ บริจาคเลยจ้ะ!!!

      - ชอบแชร์ประสบการณ์ อีจุดที่บอกว่า รอให้นางมัทรีกลับมาก่อนแล้วค่อยพาลูกไป อันนี้ไม่ใช่อุบายที่แบบว่า ให้เมียมาตามลูกคืน ลูกจะได้ไม่ไปไหน แต่กลับเป็น อยากให้เมียมาร่วมอนุโมทนาสาธุแบบLive Concertต่างหาก อืมมม ดีจริงๆ (แล้วก็โดนชูชกปฏิเสธ)

     - แม้กระนั้นก็ยังอยากให้ลูกอยู่อย่างสุขสบาย ด้วยการแนะนำให้ชูชกพาลูกของตนไปส่งให้พระเจ้ากรุงสญชัย ปู่เจอหลานอย่างนี้ ต้องดีใจ และให้รางวัลชูชกแน่ๆ มีวิน-วินทั้งสองฝ่าย (แล้วก็โดนชูชกปฏิเสธอีกรอบ)

      - อีโก้แห่งการให้ทาน+วาทศิลป์ พระเวสสันดรยอมได้ทุกอย่าง ยกเว้นให้คนมาดูถูกว่า เป็นคนสับปลับ ไม่ซื่อสัตย์ บอกว่าจะให้ทานแต่ถึงเวลาจริงก็ไม่ให้ พอโดนชูชกแซะนิดหน่อยก็ทำการพูดด้วยวาจาแยบคาย ยกสิ่งที่เรียกว่า *แหล่สำเภาทอง* ให้ลูกตัวเองเห็นคุณค่าของตน ยอมขึ้นมารักษาเกียรติพ่อ ด้วยการให้ทานนี้เถิด (จ้า)

      - แม้กระนั้น ก็เผื่ออนาคตให้ลูก ด้วยการตั้งค่าไถ่ตัวไว้สูงลิบลิ่ว

    ชาลี

    กัณหา

    ทองพันตำลึง

    สวิญญาณกทรัพย์

    อวิญญาณกทรัพย์

    คชสาร (ช้าง)

    พาชี (ม้า)

    โคคาวี (โคนม)

    โคอุสุภราช (โคเนื้อ ตัวผู้)

    ทาสชาย

    ทาสหญิง

    ราชรถ + สารถี

    ทองพันตำลึง

    อย่างละ 100

           

    เพราะมันเป็นหลักค้ำประกันว่า คนที่จะมาไถ่ตัวลูกตนเองจะต้องเป็นวรรณะกษัตริย์เท่านั้น

    เหตุผลที่ให้ค่าไถ่ตัวของชาลีน้อยกว่า : เพราะมั่นใจว่า ลูกชายจะหาเงินมาไถ่ตัวตัวเองได้ แล้วเมื่อนั้นก็จะไปต่อได้สองทาง คือ หนึ่ง ไปหาเงินมาไถ่ตัวน้องเอง(ชาลีคงต้องเล่นหุ้น SMEตีแตกกันสนุกสนาน) หรือสอง ไปหาพระเจ้ากรุงสญชัยให้มาไถ่ตัวน้องต่อ (เอ่อ)

      - อุเบกขาแรงกล้า แม้ว่าจะเห็นลูกตัวเองกลายเป็นทาส โดนด่า โดนตีต่อหน้า จนแทบอยากจะถอดมาดผู้ดี เอาสายบัวในสระมารัดคอชูชกให้ตายไปข้าง (ความจริงตามท้องเรื่องคือ หยิบคันศรขึ้นมาง้าง เตรียมตัวเป็นแคตนิส เอฟเวอร์ดีนแล้ว) หรือแม้แต่กัณหาจะวิ่งกลับมาหาอีกรอบด้วยสภาพน้ำตาเจิ่งนอง ตัดพ้อต่อว่าใส่ป๊ะป๋า แต่สุดท้ายก็วางอุเบกขา เพราะต้องการเข้าสู่การบำเพ็ญเพียรต่อไป

    1.5) กัณฑ์มัทรี (ของไทยหลัก)

    *บรรทัดต่อไปนี้คือกัดฟันพูด

    - ยินดีกับการให้ทาน แม้ว่าจะรู้ว่าฝันของนางมัทรีเป็นลางบอกเหตุว่าจะต้องให้ทานลูกตนไป พระองค์ก็ไม่กระวนกระวายและยินดีให้ทานด้วยความเต็มใจ

    - มีทักษะการประยุกต์ใช้จิตวิทยา ตอนที่นางมัทรีกลับมาถามหาลูกด้วยความเศร้าโศก ถ้าหากพระเวสสันดรตอบไปว่า อ๋ออออ ให้ไปเป็นทาสเขาแล้วล่ะ นางมัทรีคงอกแตกตายเป็นศพกลางป่า เลยเลือกจะใช้อุบายยั่วให้โกรธจนมีแรง Fury up เดินตามหารอบป่าได้อีกรอบแทนที่จะมามัวนั่งเศร้า

     

    นางมัทรี

    1.) กัณฑ์กุมาร

      - ความเป็นแม่ รักลูก ห่วงลูก ยิ่งกว่าสิ่งใด ตั้งแต่ต้นยันจบ

    1.5) กัณฑ์มัทรี (ไทยหลัก)

      - ความนอบน้อม ในตอนที่เจอ ราชสีห์ พยัคฆ์ และเสือเหลือง ขวางทาง ในตอนที่กำลังรีบสุดๆ นางไม่สบถด่าสักคำ แต่พยายามไหว้วาน ต่อรอง ให้สัตว์ใหญ่ทั้งสามหลีกทางให้ด้วยความนอบน้อม

      - ยึดหลักภรรยาที่ดี นอกจากที่จะต้องคอยไปเก็บผลหมากรากไม้มาประทานแก่สวามีทุกวันมิได้ขาด แต่มันมีจุดพีคที่สุดคือ แม้จะโดนพระเวสสันดร(แกล้ง)ด่าว่า ที่หายไป นี่ไปแร่ดมาล่ะสิ นางก็ไม่ตอบโต้ด้วยการเปิดฉากแรงเงาใส่สวามีตนเอง หากชี้แจงแก้ไขกลับด้วยน้ำเสียงราบเรียบผู้ดีสิบแปดสาแหรกStyleแทน(อาจมีตัดพ้อแฝงเล็กน้อย)

      - ความเป็นแม่(อีกรอบ) จากการวิ่งวอล์คแรลลี่รอบป่า ไม่รักลูกก็ไม่รู้จะพูดว่ายังไง

      - รู้จักปล่อยวาง ในทันทีที่รู้ความจริงว่าลูกกลายเป็นทาส นางก็มีสติ ไม่ด่าพระเวสสันดร หรือตีอกชกหัวตัวเอง เลือกจะอนุโมทนาไปกับพระเวสสันดรแทน (//มอบมงแปป)

     

    ชูชก

    1.) กัณฑ์ชูชก

      - รัก(และหลงและกลัว)เมียมากกกกกกกกกกก จากการที่ยอมไปหาทาสชายหญิงให้นางอมิตตดา

      – ฉลาดแกมโกง : ลวงพรานเจตบุตรให้ไม่ทำร้ายตนได้สำเร็จ แถมยังช่วยให้คำแนะนำให้ไปหาพระอัจจุตฤๅษีอีก ด้วยคำว่า ข้าเป็นคนนำสาส์นจากเมืองมาทูลแก่พระเวสสันดร ด้วยความมุ่งมั่นชนิดที่แบบ อาสาเจ้าจนตัวตาย ต่างหากเล่า ถ้าท่านช่วยข้านะ ข้าจะทูลขอพระราชทานรางวัลให้ท่านด้วยเลยเอ้า

    2.) กัณฑ์มหาพน

    ฉลาดแกมโกง : ลวงพระอัจจุตฤๅษีให้บอกทางเข้าไปยังอาศรมของพระเวสสันดรได้สำเร็จ ด้วยคำว่า ข้าไม่ใช่พราหมณ์ขี้ขอที่จะมาเบียดเบียนใครจริงๆ นะตัว ข้าเป็นเพื่อนทางธรรม(ทัสสนานุตตริยธรรม)กับพระเวสสันดร อยากจะเข้าไปแวะพบสนทนาธรรมเสียหน่อย

    3.) กัณฑ์กุมาร

       - ชูชกใช้หลัก ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ไม่รีบบุ่มบ่ามเข้าไปขอในตอนนางมัทรีอยู่ รอเข้าไปตอนที่เหลือแต่พระเวสสันดรคนเดียว

       - ปราบพยศเด็กฉลาดเป็นกรดอย่างชาลีได้แต่แรกเห็นด้วยการวางมาดแต่ตน ประมาณว่า เห้ยไอ้หนู อย่ามาเกะกะขวางทาง เสือดุคนนี้จะเดินทางนี้โว้ย เอ๊า ยังมองหน้าๆ เดี๊ยวปั๊ดเปิดอัลติตบหัวหลุดด้วยไม้เท้าซะนี่

       - ชูชกใช้หลัก ชักแม่น้ำทั้งห้า ในการหว่านล้อม ให้พระเวสสันดรตัวลอยกับคำยอ เวลาให้ก็ให้ง่ายสุดๆ

       - ชูชกก็เป็นประเภทหูผีจมูกมด ตอนที่พระเวสสันดรให้ลูกเสร็จแล้ว และตรัสว่าอย่าเพิ่งไป รอให้นางมัทรีกลับมา รู้อยู่แก่ใจว่าแม่คนอย่างนางมัทรีต้องหวีดร้อง เอาผลไม้ปาใส่เป็นฟรุ๊ตนินจาแน่ๆ จึงอ้างว่า ผู้หญิงน่ะมัจฉริยะสูง ขี้เหนียว จะเป็นการขัดขวางต่อการทำทานของท่านเอานะ

       - ชูชกเรียนเศรษฐศาสตร์มาอย่างดี รู้ว่าอะไรคุ้มไม่คุ้มเสีย เห็นได้จาก พอพระเวสสันดรบอกว่า เอาสองกุมารไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัยสิ จะได้ได้เงินรางวัลมากมายเลยนะ ชูชกก็รีบปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า เขาจะบอกว่าข้าลักเอาหลานเขามาเรียกค่าไถ่สิไม่ว่า ไม่เอาล่ะ เดี๋ยวเสียทั้งลาภ เสียทั้งเมีย

      - ชูชกรู้จักใช้คนเป็นเครื่องมือ ตอนกัณหาชาลีซ่อนในสระบัว แทนที่จะด่าเด็กสองคนด้วยตัวเองให้เหนื่อยปาก ก็หันไปด่าแซะกระแนะกระแหนพ่อมันแทน แล้วเดี๋ยวพ่อมันก็หว่านล้อมลูกมาให้เอง สบายสุดๆ

    4.) กัณฑ์มหาราช

      - ตะกละ ก็อย่างที่ทุกคนทราบกันนะคะ ท้องแตกตาย โถ่ๆๆ อุตส่าห์จะได้เป็นสำนวน ฉลาดแกมโกงแบบชูชก ดันกลายเป็น ตะกละแบบชูชก ซะอย่างนั้นไป เรียกได้ว่า วีรกรรมความฉลาดแกมโกงที่อุตส่าห์ทำสถิติไว้ตั้งแต่กัณฑ์ก่อนๆ นี่หมดความหมายไปในทันทีเลยค่ะ

     

    นางอมิตดา

      - กตัญญู แน่สิ ยอมไปเป็นเมียชูชกทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวอะไรด้วยเลยก็เพื่อพ่อแม่ทั้งนั้น

      - ศรีภรรยาที่ดีเลิศ + ผู้มีค่านิยมตามแบบแผนประเพณี แม้จะต้องแต่งกับชูชก แต่ก็ทำงานบ้านปฏิบัติตนมิได้ขาด ขนาดถึงจุดแตกหักว่า ไม่อยากทำงานแล้ว ขนาดผัวอย่างชูชกจะอาสาทำแทน ก็ยังยึดมั่นในระเบียบประเพณีว่าจะใช้งานสามีมิได้ เลยแนะนำให้ไปทาสมาแทนเป็นอันจบ

     

    พระเจ้ากรุงสญชัย

     กัณฑ์มหาราช
    ในมุมเนื้อเรื่อง - ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
    ในฉากที่พระเจ้ากรุงสญชัยเจอหน้าหลานอีกครั้ง ก็อุทานออกมาว่า ทำไมคนเป็นพ่ออย่างพระเวสสันดรช่างใจจืดใจดำไล่ให้ลูกเป็นทาสได้ลงคอ โดยที่พระองค์ก็ไม่ได้คิดย้อนหลังไปว่า นี่ก็คือสิ่งที่ตัวเองเคยทำกับพระเวสสันดรด้วยการเนรเทศ จึงโดนชาลีแซะกลับใจความว่า ถ้าปู่ไม่รักพ่อ แล้วจะมารักหลานได้อย่างไร

    #บัลลังก์ไฟมากค่ะตระกูลนี้

    ในมุมคนอ่าน - รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี + เป็นผู้มีหลักประชาธิปไตยในหัวใจ
    เมื่อลูกทำผิด พระเจ้ากรุงสญชัยก็ลงโทษเนรเทศพระมหาเวสสันดร ซึ่งบทลงโทษนี้ไม่ใช่ด้วยอารมณ์กริ้วของพระองค์เอง แต่เป็นเสียงโหวตจากประชาชนต่างหาก จึงเห็นว่าเป็นการทำโทษที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ( ไม่ใช่พระเวสสันดรที่ลูกอยู่ของมันดีๆ ก็ปล่อยให้ตกเป็นทาส=__= )

     

    ชาลี

    1.) กัณฑ์กุมาร
      - หูไวตาไว พาน้องหนีลงไปในสระบัวได้อย่างคล่องแคล่วยิ่งกว่าอะไรดี

      - ขัตติยมานะแรงกล้า ฉากที่ยอมขึ้นจากสระบัว  ด้วยเหตุผลว่า เป็นถึงลูกกษัตริย์ จะให้พ่อตัวเองเสียหน้า ต้องเรียกซ้ำสองสามหนทำไม

    2.) กัณฑ์มหาราช

      - ฉลาด : เจียมตน(เพื่อเป็นการลงทุน) ตอนที่พระเจ้ากรุงสญชัยจะขออุ้ม แต่ชาลีไม่ยอมให้อุ้ม และกล่าวว่า ตนยังเป็นทาสอยู่ จะให้ท่านอุ้มได้อย่างไร ต่อให้ขึ้นไปนั่งบนอาสน์ ก็คงจะร้อนรุ่มดั่งไฟลน ซึ่งนั่นทำให้เด็จปู่ของตน ตัดสินใจขอไถ่ตัวหลานทั้งสองได้ในทันที

      - ฉลาด : เจ้าสำบัดสำนวน เมื่อพระเจ้ากรุงสญชัยถามถึงพ่อกับแม่ของชาลี ฮีไม่พูดเปล่าๆ ฮีร่ายมาเป็นอุปมาโวหารว่า เหมือนดอกบัวที่โดนเอามือขยำย่ำขยี้ อิมแพค right to heart of พระเจ้ากรุงสญชัยดีนักแล

      - รักพ่อไม่เสื่อมคลาย
        ตอนกลับมาในเมืองสภาพเป็นทาส โดนชาวเมืองติเตียนว่า พ่ออะไรวะ ทำบุตรทาน เอาลูกตัวเองให้คนอื่น ชาลีก็โต้วาทีกลับผ่านทางพระเจ้ากรุงสญชัยได้อย่างแยบคาย

        รวมถึงที่พระเจ้ากรุงสญชัยตัดพ้อว่าลูกตัวเองมันบ้า ทำไมไม่รักหลานบ้างเลย ชาลีก็ยังคงปกป้องพ่อตัวเองตลอดเช่นกัน

      - ฉลาด : รู้จักหลักเด็กหลักผู้ใหญ่ พระเจ้ากรุงสญชัยยอมให้ชาลีนำกองทัพไปเชิญพ่อแม่กลับมา แต่ชาลีก็เล่นสำนวนว่า เด็กไปใครจะเชื่อ ปู่ไปเองจะดีกว่านะ

     

    เคส5 : อิทธิพลต่างๆ

    ด้านวรรณศิลป์

      มีสำนวนการแต่งที่หลากหลาย เพราะ มีผู้แต่งหลายคน ส่งต่อกันหลายผลัด แต่ก็ยังคงความสมูทไว้ได้

      มีการใช้อุปมา/อุปลักษณ์/ภาพพจน์ทั้งหลาย ในการเน้นอารมณ์เยอะมากๆ เช่น เสือเฒ่าแกล้งจำศีล / นกยางกรอก = เจ้าเล่ห์ สตรอว์เบอร์รี่ (พรานเจตบุตรด่าชูชก)

      มีการใช้สำนวนสุภาษิตคำพังเพยประกอบกับบทพูดของตัวละคร เช่น

        พราหมณีด่าอมิตดา : กระสือเสียพงศ์ = ทำตัวเป็นที่อับอายแก่วงศ์ตระกูล
                                  รักเหากว่าผม รักลมกว่าน้ำ รักถ้ำกว่าเรือน รักเดือนกว่าตะวัน = รักในสิ่งที่ด้อยค่ากว่า
                                  อีสุกก่อนห่าม = ชิงสุกก่อนห่าม

       มารดานางอมิตดา :  มีเงินนั่นหรือจะไร้ของ มีทองนั้นหรือจะไร้แหวน = คนมีกะตังค์ซะอย่าง อยากได้อะไรก็ต้องได้อยู่แล้ววว

                                 มีเงินมีทองนั้นพูดได้ มีไม้มีไล่ปลูกเรือนงาม = เงิน / สิ่งของที่มีค่า ทำให้คนมีสิทธิ์มีเสียงขึ้นมาได้เสมอ

                                       เสียกำไปก่อนจึงจะได้กอบ = เสียเงินเล็กน้อย ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสุดๆ

                                       เกวียนหักลงกับที่/เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน = สมบัติของสามีเหมือนของภรรยา ไม่รั่วไหล

            

    มีลูกเล่นกลบทถึงสามแบบ คือ กลบทยัติภังค์ , กลบทกบเต้นต่อยหอย และ กลบทนาคบริพันธ์
    (รายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 164 - 165)

    ด้านความเชื่อ

      เชื่อในอำนาจเทวดาช่วยดลบันดาลหลายสิ่ง

       ฉากแรก : นางอมิตดาอยู่ๆ ก็นึกออกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไปหาทาสมาใช้ซะสิ ขอจากพระเวสสันดรไงล่ะ! ก็เพราะเทวดาดลใจให้นึกออก

       ฉากสอง : ฉากที่แปลงร่างมาเป็นสัตว์ใหญ่สามอย่าง ราชสีห์ พยัคฆ์ เสือเหลือง เพื่อไม่ให้นางมัทรีขัดขวางการให้ทาน

       ฉากสาม : ตอนที่กัณหาชาลีกลายเป็นทาสแล้ว ต้องรอนแรมในป่า ทั้งสองที่ทนต่อความโหดร้ายของชูชกไม่ไหวจึงลั่นวาจาขอบูชาเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยทั้งสอง ด้วยการให้แม่ตนรู้ว่าโดนพาตัวไป (ซึ่งนางมัทรีก็ได้รู้ในที่สุด)
       พอภายหลัง ด้วยกลัวกุมารทั้งสองจะลำบาก ก็คอยแปลงกายมาเป็นพระเวสสันดร กับนางมัทรี มาคอยปรนนิบัติดูแลตลอด
    15 คืนในป่า

       ฉากสี่ : เทวดาดลใจให้ชูชกเดินหลงไปกรุงเชตุดร เพื่อสองกุมารจะได้ไปเจอพระเจ้ากรุงสญชัย

       ฉากห้า : เทวดาดลใจให้ชูชกเดินผ่านหน้าพระที่นั่งของพระเจ้ากรุงสญชัยอีกที

      เชื่อในลางบอกเหตุ ลางสังหรณ์ ไม่ว่าจะสุบินนมิตเอย ต้นไม้พากันเหี่ยวแห้งตอนที่นางมัทรีไปเก็บผลไม้เอย

      ทำไมคนถึงนิยมนับถือเรื่องมหาชาติ?? >>> ศึกษาได้ในหนังสือหน้า 143-144 ค่ะ

      เพิ่มเติม : อานิสงส์ ๑๓ กัณฑ์

    - ผู้ไดบูชากัณฑ์ทศพร (กัณฑ์ที่ ๑) ชาติหน้าได้เกิดเป็นคนรูปงาม เจอแต่สิ่งงามๆ

    - ผู้บูชากัณฑ์หิมพานต์ (กัณฑ์ที่๒) ชาติหน้าจะอยู่สบาย ตายไปก็ได้ขึ้นสวรรค์เสวยสุขอยูในปราสาทแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ

    - ผู้บูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๓) ชาติหน้าจะร่ำรวย พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ

    - ผู้บุชากัณฑ์วนประเวสน์ (กัณฑ์ ที่ ๔) ชาติหน้าจะได้เป็นเจ้าของสิ่งสมบูรณ์ แบบที่นาเป็นพันเอเคอร์

    - ผู้บูชากัณฑ์ชูชก (กัณฑ์ ที่ ๕) ชาติหน้าจะสุขภาพแข็งแรง อายุยืน ปวง และสิ่งใดที่หายไปก็จะได้กลับคืนดังเก่า

    - ผู้บูชากัณฑ์จุลพน (กัณฑ์ที่ ๖) ชาติหน้าได้เป็นเจ้าคนนายคน มีแต่คนคอยอุปถัมภ์ค้ำชู

    - ผู้บูชากัณฑ์มหาพน (กัณฑ์ ที่ ๗) ชาติหน้าจะพรั่งพร้อมด้วยสติปัญญา เฉลียวฉลาดเป็นที่สุด

    - ผู้บูชากัณฑ์กุมาร (กัณฑ์ที่๘) ชาติหน้าจะได้พบความสุขทางธรรม หลุดพ้นจากกิเลส

    - ผู้บูชากัณฑ์มัทรี (กัณฑ์ ที่ ๙) ชาติหน้าจะได้ครอบครัวที่ดี ได้สามี/ภรรยา/ลูกที่ดีดั่งใจ

    - ผู้บูชากัณฑ์มหาราช (กัณฑ์ที่๑๐) ชาติหน้าจะเกิดในตระกูลสูงศักดิ์

    - ผู้บูชากัณฑ์สกบรรพ (กัณฑ์ที่ ๑๑) ชาติหน้าจะมีบริวารมากมาย

    - ผู้บูชากัณฑ์ ฉกษัตริย์ (กัณฑ์ ที่๑๒) ชาติหน้าจะบริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติบุตร ธิดา สามี หรือภรรยา บิดา มารดา เป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก จะได้อยู่พร้อมหน้ากันอย่างมีความสุข จะทำกิจกรรมการงานใดก็ประสบความสำเร็จ จะทำการใดๆ ก็พร้อมเพรียงกันยังการงานนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    - ผู้บูชากัณฑ์นครกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๑๓) ชาติหน้าจะได้เกิดในยุคพระศรีอริยเมตตรัยมาอุบัติและจะได้พบกับพระองค์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์

    เครดิต : http://th.wikipedia.org/wiki/มหาชาติคำหลวง

    ด้านสังคม วัฒนธรรม

        ค่านิยมเกี่ยวกับสตรี ที่อยู่ในสถานะเป็นสมบัติ สมบัติของพ่อแม่ สมบัติของสามี ต้องปรนนิบัติให้ดีอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีเสมอ อย่างเช่น นางอมิตดา และ นางมัทรี

       และจากคำว่า ผิดก็ไปเป็นเมียตระลาการ แปลว่า สมัยก่อนถ้าติดคดีความ แต่ไม่มีเงิน หญิงสาวก็ต้องขายตัวเป็นเมียให้กับผู้พิพากษา ตุลาการ

    แต่ในด้านแย่ๆ จากตัวพวกนางเองก็มี ในเรื่องนี้จะตีแผ่สิ่งที่เรียกว่า Girlish’s style ตามที่เห็นได้จากแก๊งพราหมณี ที่ไม่สามารถด่าผัวตัวเองได้ ก็เลยมาลงกับนางอมิตดา จับกลุ่มนินทา แซะ ด่า กันเป็นกิจวัตร

    รวมถึงเรื่องที่ชูชกกล่าวว่า เพศหญิงนั้นมีมัจฉริยะในตัวสูง คือ เพศหญิงจะมีกิเลสความตระหนี่ หรือ บ่วงความหวงรุนแรงกว่าผู้ชายมาก ถ้าอิงตามในเรื่องจะเห็นได้ถึงสองครั้ง รอบแรกเป็น พระเจ้ากรุงสญชัย-พระนางผุสดี ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัยสามารถตัดสินใจเนรเทศลูกตัวเองออกไปได้ ในขณะที่นางผุสดีแทบจะขาดใจ และรอบสองคือ พระมหาเวสสันดร-พระนางมัทรี อืม อันนี้คงไม่ต้องอธิบายล่ะเนอะ

        การแต่งงานและสินสอด : จากบทที่พราหมณ์หนุ่มด่าเมียตัวเอง ประมาณว่า กูอุตส่าห์ทุ่มทุนให้สินสอดกว่าจะได้ตัวเอ็งมา ทำไมไม่ทำงานให้ได้เรื่องอย่างนางอมิตดาบ้าง นั่นหมายความว่า การจะแต่งงาน สู่ขอสาวเจ้ามาเป็นภรรยา ต้องมีการให้สินสอดมาแต่โบราณแล้ว

        เกี่ยวกับอาหารคาวหวาน จากกัณฑ์ชูชก ในฉากที่นางมัทรีจัดเสบียงกรังให้ชูชกก่อนออกเดินทาง จะเห็นอาหารคาวหวานเยะแยะมาก รวมถึง ฉากที่ลวงพรานเจตบุตรได้สำเร็จ พรานเจตบุตรก็(โดนหลอก)เอาอกเอาใจชูชก ชนิดที่ว่า ถ้าท่านค้างนานกว่านี้สักหน่อยข้าจะหา ขาทรายย่าง กับ น้ำผึ้ง มาให้ท่านรับประทานเลยทีเดียว
    // สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน หน้า 151 นะคะ

         เกี่ยวกับบ้านเรือนในสมัยโบราณ อันนี้เป็นที่น่าสงสัยคือ เรื่องทั้งหมดน่าจะเกิดแถบๆ อินเดีย (มีวรรณพราหมณ์ไรงี้) แต่บ้านชูชกดันเป็นเรือนทรงไทย=___=” เอาเถอะค่ะ แฟนตาซีหน่อย
    // สามารถศึกษารายละเอียดบ้านชูชกได้ใน หน้า 69 และ 150 นะคะ

         มารดา is better than บิดา อันนี้เป็นค่านิยมที่ชาลีกล่าวกับกัณหานะคะ ในฉากที่เพิ่งจะถูกชูชกล่ามออกมา ใจความว่า ถ้ามีแค่แม่คนเดียว แม่จะเป็นได้ทั้งพ่อและแม่ จะดูแลเราอย่างดี แต่ถ้ามีพ่อแค่คนเดียว พ่อก็เหมือนไม่มีทั้งพ่อและแม่ ทำอะไรไม่ได้เลยยยยยย (ไม่แปลกใจที่ฮีจะคิดแบบนี้ ดูพ่อฮีสิคะ)

     

    ด้านศาสตร์ความรู้ทั่วไป

        - ให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และ พฤกษศาสตร์ เช่น สัตว์ป่า ต้นไม้ใบหญ้า ในป่าหิมพานต์
        (รายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 155)

     

    เคส6 : โคตรแห่งภาคผนวก (ข้อมูลทั่วไปมีรายละเอียดยิบย่อยเพิ่มเติมไว้)

    สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า แหล่สำเภาทอง

          แหล่สำเภาทอง เป็นบทอุปมานิทัศน์ซึ่งเป็นกลวิธีของพระมหาเวสสันดรที่ใช้โน้มน้าวลูกๆ ของตนให้ยอมขึ้นจากสระบัว โดยเปรียบว่า ชีวิตก็เหมือนนั่งอยู่บนเรือลำหนึ่งกลางทะเล จะมีกี่คนนั้นที่ข้ามไปถึงอีกฝั่งได้ ซึ่งอะไรหมายความว่าไงมาดูกัน

    สถานะ

    เปรียบเทียบเป็น

    คุณสมบัติ

    เป้าหมาย

    โลกิยนาวา
    (ทางโลก)

    เรือพาณิช/วาณิช

    ต่อให้สร้างมาดีขนาดไหน
    ก็โคลงเคลง มีวันจม
    = อนิจจัง

    จับปลา ทำมาหากินไปวันๆ เท่านั้น

    โลกุตรนาวา
    (ทางธรรม)

    เรือมหาสำเภาทองธรรมชาติ

    ไม่มีวันจม มั่นคง คงกระพัน
    = จีรัง

    ข้ามห้วงมหรรณพไปสู่
    พระอมตมหานครนฤพาน
    (เมืองแก้ว)
    = นิพพาน

    ยิ่งพระมหาเวสสันดรตบท้ายว่า เรามาเป็นทีมแรกที่สามารถไปถึ่งเมืองแก้ว(นิพพาน)เป็นแบบอย่างแก่มวลมนุษย์เถิด เหล่าลูกๆ ก็เชื่อตามที่ผู้เป็นพ่อพูด และยอมขึ้นจากสระ (โอเครรร้)

    Reincarnation การกลับชาติมาเกิด

    พระเวสสันดร           กลับชาติมาเกิดเป็น      เจ้าชายสิทธัตถะ (สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)                
    เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

    พระนางมัทรี              กลับชาติมาเกิดเป็น      พระนางยโสธรา(พิมพา)    
    เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี

    พระชาลี                    กลับชาติมาเกิดเป็น      พระราหุล                   
    เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่

    พระกัณหา                 กลับชาติมาเกิดเป็น      นางอุบลวรรณา            
    เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่

    พระเจ้ากรุงสนชัย      กลับชาติมาเกิดเป็น      พระเจ้าสุทโธทนะ         
    เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวกพ้อง

    พระนางผุสดี             กลับชาติมาเกิดเป็น      พระนางสิริมหามายา     
    เป็นแบบอย่างของนักปกครองที่เห็นแก่พวกพ้อง แม้เสียงส่วนมากจะต้านทาน

    ชูชก                         กลับชาติมาเกิดเป็น      พระเทวทัต                
    เป็นแบบอย่างของคนที่ติดอยู่ในกาม

    พรานเจตบุตร            กลับชาติมาเกิดเป็น      นายฉันนะ                  
     เป็นแบบอย่างของคนดีแต่ขาดความเฉลียวฉลาด

    พระเจ้ากรุงมัทราช      กลับชาติมาเกิดเป็น      พระมหานาม

    นางอมิตตดา              กลับชาติมาเกิดเป็น      นางจิญจมานวิกา          

    เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทพ่อแม่ตามคติของคนยุคนั้น

    อัจจุตฤาษี                  กลับชาติมาเกิดเป็น      พระสารีบุตร             
    เป็นแบบอย่างของนักธรรมผู้ฉลาด  แต่ขาดเฉลียว  หูเบา  เชื่อคนง่าย

    พระเวสสุกรรม            กลับชาติมาเกิดเป็น      พระโมคคัลลานะ

    พระอินทร์                   กลับชาติมาเกิดเป็น      พระอนุรุท

    เทวดาที่เนรมิตเป็น
    พระยาราชสีห์              กลับชาติมาเกิดเป็น      พระอุบาลี

    เทวดาที่เนรมิตเป็น
    พระยาเสือโคร่ง               กลับชาติมาเกิดเป็น      พระสิมพลี

    เทวดาที่เนรมิตเป็น
    พระยาเสือเหลือง           กลับชาติมาเกิดเป็น      พระจุลนาค

    เทวดาที่เนรมิตเป็น
    พระเวสสันดร                กลับชาติมาเกิดเป็น      พระมหากัจจายนะ

    เทพธิดาที่เนรมิตเป็น
    พระนางมัทรี                     กลับชาติมาเกิดเป็น      นางวิสาขา

    ช้างปัจจัยนาเคนทร์        กลับชาติมาเกิดเป็น      พระมหากัสสปป

    นางช้างมารดาช้างปัจจยนาเคนทร์                     กลับชาติมาเกิดเป็น      นางกีสาโคตมี

    นายนักการที่เอาข่าวไปทูลพระเวสสันดร             กลับชาติมาเกิดเป็น      พระอานนท์

    มหาทาน                     กลับชาติมาเกิดเป็น      อนาถบิณทกเศรษฐี

    สหชาติโยธา                กลับชาติมาเกิดเป็น      พุทธเวไนย

    เครดิต : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-6/no39/theme_8.html

     

    อื่นๆ

       อันนี้ไม่รู้จะช่วยยังไงคะ + พิมพ์แล้วคงไม่ต่างจากกก๊อปจากหนังสือ เอาเป็นว่า จะเรียบเรียงให้ละกันนะ ว่าอะไรอยู่หน้าอะไร อยากรู้อะไรต้องไปอ่านหน้าไหน

      พระโพธิญาณ

    หน้า 113

    ค่านิยมทั้ง 2 ในโลก

    หน้า 120
    (กลางหน้ากระดาษ)

      อัสมิมานะ (ความถือตัว)

    หน้า 121
    (บรรทัดที่ 7 – 16)

     ♥ ขัตติยนิติจรรยา (ระเบียบแห่งกษัตริย์)

    หน้า 121
    (บรรทัดที่ 26)

      ทศชาติ

      อุดมอัฏฐวรวโรวาท
         (พร
    8 ประการของพระอินทร์)

    หน้า 139 - 140

      ฝนโบกขรพรรษ
       (รวมถึงรายละเอียด
    part จุณณียบท)

    หน้า 145

      เบญจบุรพนิมิต 5 ประการ
     
    ทศพร 10 ประการ

      มรรค 4 ผล 4 สู่การเป็นพระอรหันต์

    หน้า 146

      ยมกปาฏิหาริย์

      ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
     
    จตุตถฌาน 5 ขั้น

      อภิญญาณ 6 ประการ

      ฉัพพรรณรังสิโยภาส 6 ประการ

    หน้า 147

      ภัทรกัป 6 ชื่อ

      ทศพลญาณ 10 ประการ

      6 ชั้นย่อยของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    หน้า 148

      ภรรยา 7 จำพวก

    หน้า 153

      ปรมัตถบารมี 3 ชั้น

    หน้า 154

      สุคนธชาติ 10 ประการ

    หน้า 155 – 156

      สาร(ช้าง) 10 ตระกูล

    หน้า 156

      สุบินนิมิต 4 แบบ

    หน้า 159 – 160

      บุรุษโทษ 18 ประการ

      ปัญจมหาบริจาค 5 อย่าง

      ปฏิคคาหก 3 ประเภท

    หน้า 160

      เบญจราชกกุธภัณฑ์

    หน้า 165


     

    เคส7 : โคตรแห่งศัพท์

    รอบSUMเห็นว่าออกไปจังๆ ข้อสองข้ออืม มีหนังสืออยู่กับตัวใช่มั้ยคะ

    งั้นรอบนี้ก็..

    ตัวใครตัวมันแล้วค่ะอันนี้!!

    แต่จะดูใจร้ายไปหน่อยเนอะ งั้นเอางี้ ไปรวมมาให้ละว่า ถ้าอยากจะท่องศัพท์ต้องไปหน้าไหนบ้าง ดูได้ตามนี้เลย

      ศัพท์กัณฑ์ชูชก

    หน้า 61 – 75

      ศัพท์กัณฑ์มหาพน
        (ถ้าเอามาออก น่าจะออกน้อยกว่าชาวบ้าน)

    หน้า 82 – 85

      ศัพท์กัณฑ์กุมาร

    หน้า 113 – 118

      ศัพท์กัณฑ์มหาราช

    หน้า 140 – 142

      อื่นๆ ไม่ระบุกัณฑ์ชัดเจน

    หน้า 155 – 156

    หน้า 161

    หน้า 166

     

    หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์ทุกท่านจะยึดมั่นในทานบารมี ประทานข้อง่ายๆ ตรงๆ มาให้นักเรียนเยอะๆ นะคะ


    ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง

    https://jirawanjane.wordpress.com/
    http://psm.myreadyweb.com/article/topic-41999.html
    http://pspreaw.wix.com/thailandliterature#!untitled/cjnn
    http://th.wikipedia.org/wiki/กาพย์มหาชาติ
    http://guru.sanook.com/7538/มหาชาติคำหลวง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×