ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #43 : [ม.5 Sum1] ไทยหลัก : "ลิลิตตะเลงพ่าย"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 151.18K
      110
      26 ก.ค. 57

    [ม.5 Sum1] สรุป : ไทยหลัก “ลิลิตตะเลงพ่าย”

    BiwTigerPisces + ข้อมูลเอื้อเฟื้อจากที่อื่นๆ

    เนื่องด้วยเป็นพาร์ทที่แม้แต่เด็กศิลป์ยังหวีดร้อง เด็กวิทย์ยิ่งกรี๊ดหนัก เลยเลือกที่จะทำอันนี้โดยเฉพาะ (เพราะพวกไวยากรณ์การ เรื่องคำ การสื่อสาร อะไรพวกนี้ขึ้นอยู่กับบุญเก่าแต่ละนางอยู่แล้ว) พยายามใส่ข้อมูลอย่างเต็มที่ ทั้งตัวเนื้อเรื่อง และตัวข้อมูลเกร็ดความรู้ ลองอ่านดูนะจ๊ะ

    ลิลิตตะเลงพ่าย

    ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (กวีในสมัย .3)

    จุดมุ่งหมาย : เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แสดงเกียรติยศกษัตริย์ไทย และจารึกประวัติศาสตร์

    รูปแบบการแต่ง : โคลง + ร่าย = ลิลิต

    เนื้อเรื่องโดยรวม :

    //ส่วนนี้ดิชั้นไปเจอจากเว็บซักเว็บที่สรุปไว้แล้ว เห็นว่าอ่านง่ายดี เลยเอามาให้ย่อ เน้นสี ปรับสำนวนให้นิดหน่อย ลองอ่านกันนะคะ

    เครดิต : http://www.kroobannok.com/blog/17156

    ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
    (ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติ เกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
    (โคลงสี่สุภาพ) กล่าวถึงบุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

    ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
       ฝ่าย นันทบุเรง กษัตริย์แห่ง นครรามัญ(พม่า) คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต และตอนนี้บ้านเมืองก็เหลือพระราชโอรส คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ขึ้นครองบัลลงก์ และพระเอกาทศรถเป็นตำแหน่งอุปราชสามารถขึ้นแย่งบัลลังก์ได้ทุกเมื่อ จึงได้ปรึกษากันว่า บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะเปิดศึกชิงบัลลังก์กระจายแบบในซีรี่ส์เกาหลีพีเรียดก็ได้ (หารู้ไม่ว่ามโนไปเองทั้งนั้น)  

     

       เมื่อได้ความแล้ว ก็รับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชานั้นไม่อยากไป กราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า เจ้า อยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พ่อสั่งก็จะไปรบเอง เผลอๆ ฝ่ายพ่อเนี่ยแหละที่จะห้าม แล้วดูเจ้าสิ เฮ้อออออ ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก เวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้นจึงยกทัพไปตามคำสั่ง (แต่ก่อนจะไป ก็มีสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า)  พระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง)ก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยาม แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ
    1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
    2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)
    3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
    4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
    5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
    6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
    7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า
    (หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล
    อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
    8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
    ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

     

    ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
    พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมเป็นอารมณ์นิราศที่สุดเลยจ้ะ
     

    ฝ่ายม้าเร็วของเมืองกาญจนบุรี เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งเจ้าเมืองว่า ข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ ผลเป็นไง เผ่นกันทั้งเมือง อลหม่านอลวนหนีกันป่าราบเลยจ้ะ

     

    ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
    กองทัพพม่าเดินผ่านกาญจนบุรีชิลๆ เพราะตอนนี้เมืองร้างยิ่งกว่าแร็คคูนซิตี้ แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้
    พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่ เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก  จิตก็คิดอาลัยอาวรณ์ถึงพ่อถึงบ้านเมือง ถึงตัวเองว่าถ้าตายขึ้นมาจริงๆ จะทำยังไงดีหนอ
    อ้อ...ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ
    เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรค์บุรี(สองเมืองนี้เอาจริงคือ ไม่โดนอะไรเลยนะ) เมืองสุพรรณบุรี ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่าไม่ต่างจากเมืองกาญจบุรี แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

     

    ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
    ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
    แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไป ตีเขมร ระหว่างนี้ก็ฝากบ้านเมืองไว้กับพระยาจักรี แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

     

    ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
    สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า ให้พักเรื่องตีเขมร แล้วเราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะพม่าให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่ชาวเมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน  ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ เป็นการปิดทางไม่ให้พวกพม่ากลับลำหนีกลับไปได้
    พอรับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขต
    เมืองวิเศษไชยชาญแล้ว
    สมเด็จพระนเรศวรมิได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ และพระองค์ก็รับฟัง (เป็นคุณสมบัติที่ดีมากของพระองค์) แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น

    *จะเห็นได้ว่าการรบครั้งนี้รบกันที่ สุพรรณบุรี ไม่ย่างกรายมาถึงอยุธยาเลยแม้แต่น้อย
    ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ (เซ็ตนี้คือทัพแรกที่ส่งไป) ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

     

    ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
          ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป
    ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนครใน มหุติฤกษ์ ณ วันรวิวารมหันต์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนบุษยมาสยี่ ย่ำเช้า เวลา 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท (วันอาทิตย์ ขึ้น11ค่ำ เดือนมกราคม 8โมงเช้า 30นาที)
    เมื่อได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จ เข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ
        

        เรื่องราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมี ว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรณ์ให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุทธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วย พระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเดชานุภาพได้ และนั่นยิ่งทำให้ฝั่งไทยเรามีกำลังใจฮึกเหิมมากขึ้น


         พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก
    แล้วสมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ
    เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

     

    ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย
    ฝ่ายกองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำ ข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่าย แล้วกลับมาทูลว่า ฝ่ายไทยคนน้อยมากเมื่อเทียบกับพม่า งานนี้มีหวังแล้วท่าน
    พระมหาอุปราชาก็เห็นว่า เราจะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้ เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา  พอถึงตอนเช้าจะได้เข้าโจมตี

    ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ (ทัพหน้าทัพแรก) เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนาเก้ากอง (ย้ำว่าอันนี้ของไทยนะ)
    แล้วทัพไทย ก็เคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา เริ่มปะทะกับพม่าเป็นครั้งแรก เป็นศึกระหว่างทัพหน้าไทยกับพม่า

    ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียง เตรียมดำเนินตามแผน ตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

     

    ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน
    ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกโขลนทวารและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว พบว่าทัพหน้าไทยเริ่มจะต้านไม่ไหว สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไข บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควร ที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย

    (พูดง่ายๆ ก็คือ ยังไม่ต้องส่งคนไปเติม ให้กำลังทั้งหมดรอดักอยู่ตรงนี้แหละ ส่วนตรงทัพหน้าก็ค่อยๆ ถอยมาเรื่อยๆ ให้พม่ามันตายใจว่าจะชนะแล้ว จังหวะนั้น ก็ให้ทัพไทยทั้งหมดที่ตั้งรอไว้ บุกตีล้อมปิดหน้าหลังเลย จัดเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีมากๆ)

     

    ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก
    ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม ไปถึงที่ตำบลตระพังตรุ จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง ก็ตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ วิ่งไปไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน กลายเป็นการต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน
    สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสขอพรเทวดาทั้งหลาย พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน

     

      ปัญหายังมีอยู่อีก ทัพพม่าคราวนี้ลงทุน ใช้ทริคคาถาแยกเงาพันร่าง โดยการจัดให้มีช้างทรงหลายช้าง แต่ละช้างก็มีฉัตรนับรวมกันแล้วได้ถึง 16 ทำให้แยกไม่ออกว่า หนึ่งใน 16 นี้ คนไหนคือพระมหาอุปราชาตัวจริง

    แต่สิ่งที่ยังไม่เนียนก็คือ เครื่องราชูปภกค์ ที่หรูหราเจิดจรัสของพระมหาอุปราชา ทำให้พระนเรศวรทรงสังเกตเห็น และเข้าประชิดตัวจริงได้ในที่สุด
     

     

    ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
    สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสเชิญชวนให้ทำ ยุทธหัตถี อันเป็นการรบที่มีเกียรติที่สุดในวิถีกษัตริย์
    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณนาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะ(อีโก้กษัตริย์)ขึ้น ตกลงแล้วควบช้างเข้าปะทะ ช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่  สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ก็งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งต่อสู้กับศัตรู ในเวลานั้น ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงน สูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์
     

    กระนั้น ช้างทรงของพระนเรศวรก็กำลังจะเสียหลัก หากโชคดี ด้านหลังมีต้นพุทราขนาดใหญ่ เท้าของช้างทรงจึงยันต้นพุทราไว้ได้ ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้จังหวะนั้นทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวา ขาดสะพายแล่ง  สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์  

     

    ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียร นั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย
    ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระ บรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง
    กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอ ช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

     

    ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
    สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป  ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ (กลางช้างของพระนเรศวร) และ ขุนศรีคชคง (ควาญช้างของพระเอกาทศรถ) ผู้ที่ร่วมต่อสู้กับพระองค์และรอดชีวิตมาได้อย่างสมเกียรติ โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้

    แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ
    นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่สละซึ่งชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์
     

       ต่อมาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จ กลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง ถึงแม้ได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะก็ตามที ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี = วันที่ควรจะทำแต่สิ่งมงคล) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท = วันชำระ) จึงให้ลงโทษประหาร

     

    ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
    ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ
    สมเด็จพระวันรัต สมณะแห่งวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์ สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง พระวันรัตหลังจากฟังเรื่องทั้งหมดก็กราบทูลว่า ศึกครั้งนี้ก็ชนะ ไม่เห็นต้องทำโทษกันเลย

        สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า พวกนั้นรักตัวกลัวตายยิ่งกว่ารักแผ่นดิน ทำให้ตอนทำศึกเดือดร้อนเกือบจะพลาดท่าแล้ว ทั้งนี้ที่ชนะมาได้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรม เดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสีย เกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยง อย่างสืบไป
    สมเด็จพระวันรัตจึงให้เหตุผล(ขอแปลแบบภาษชาวบ้าน)ว่า ที่ชนะมาได้ ก็เพราะตัวพระองค์เอง ทหารอะไรมันแค่ปัจจัยเสริมใช่มั้ยล่ะ ดูสิ อย่างพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ก็ชนะกิเลสในใจเพียงลำพัง พระองค์ก็เหมือนกัน เพราะความเก่งกาจของท่านทั้งสองทำให้เราชนะได้ ไม่เห็นจะต้องแคร์พวกนั้นให้รำคาญใจเลยนี่ บ้านเมืองตอนนี้ก็สงบแล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องเข้มงวดอย่างสมัยสงคราม เพราะฉะนั้น เรื่องจบไปแล้วก็แล้วกันไปเถอะนะ

    การที่สมเด็จพระวันรัตใช้การอุปมาพิสดาร นั่นทำให้พระนเรศวรคลายกริ้วได้มาก และเมื่อเห็นว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วใช้โอกาสนี้กราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง ควรได้รับโทษทั้งโคตรก็จริง แต่ลองคิดดูให้ดี พวกคนเหล่านี้ก็ยังพอจะมีความดีในหนหลัง เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง ราษฎรต้องชมชอบในความมีพระเมตตาของพระองค์เป็นแน่


    สมเด็จพระนเรศวรตัดสินใจใหม่อีกครั้ง เลือกที่จะพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยความผิด แล้วจะไม่ถือโทษใดๆ อีก

    แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงหัวเมือง ฝ่ายเหนือว่า ไทยได้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามาจำนวนมากแต่ยังไม่หมด ทรงมีพระราชดำริว่าถึงศึก พม่า มอญ ว่าคงจะลดลงถึงจะยกมาก็คงไม่น่ากลัว ควรจะได้ทะนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้รุ่งเรืองปรากฏเป็นเกียรติยศสืบ ต่อไปชั่วกัลปาวสาน

     

    DATA BASE

    สรุปตัวละคร

       ฝั่งไทย

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    สมเด็จพระเอกาทศรถ

    สมเด็จพระมหาธรรมราชา (พระบิดา)                  

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระอัยกา/ปู่)

           เจ้าพระยาไชยานุภาพ / ก้านกล้วย (ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)

             เจ้าพระยาปราบไตรจักร (ช้างทรงสมเด็จพระเอกาทศรถ)

    • พระยารามราฆพ (กลางช้างของพระนเรศวร ผู้รอดชีวิตอย่างสง่างาม)          

    • ขุนศรีคชคง (ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ผู้รอดชีวิตอย่างสง่างาม)

    • นายมหานุภาพ (ความช้างของพระนเรศวรมหาราช สละชีพในสนามรบ)

    • หมื่นภักดีศวร (กลางช้างของพระเอกทศรถ สละชีพในสนามรบ)

            พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพของทัพหน้าที่ไปตีกับพม่าเป็นเซ็ตแรก ที่โคกเผาข้าว)

            พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพของพระยาศรีไสยณรงค์)

    หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีป (พระภิกษุที่ได้ทำนาย มหุติฤกษ์ หรือ เวลาดีที่ไทยควรไปรบนั่นเอง)
    หลวงมหาวิชัย (พระภิกษุผู้ทำพิธีตัดไม้ข่มนามให้ทัพหลักของไทย)

    ขุนแผน (นายด่าน) (นายด่านม้าเร็วที่นำข่าวว่า พม่าบุกมาถึงกาญจนบุรี มาแจ้งให้ทางหลวงทราบเป็นครั้งแรก)

    หมื่นทิพเสนา (ฝ่ายสืบข่าว ได้ไปสังเกตการณ์ตอนที่ทัพหน้าไทยยังรบกับพม่าที่โคกเผาข้าว)

    ชาวเมืองราชบุรี (กลุ่มที่ได้รับสั่งให้ไปทำลายสะพานไม้ไผ่ที่พม่าสร้างตรงแม่น้ำลำกระเพิน)

    พระยาจักรี (ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เป็นรักษาการณ์ปกครองเมือง ตอนที่จะไปรบกับเขมร แต่เพราะพม่ามาบุกก่อน หน้าที่ส่วนนี้เลยถูกพับเก็บไว้)

    สมเด็จพระวันรัต (พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ ที่ขอชีวิตเหล่าทหารที่ไม่ช่วยพระนเรศวรตีพม่า โดยแนะนำให้ลดโทษลงก็เพียงพอ)

       ฝั่งพม่า

    นันทบุเรง (พระเจ้าหงสาวดีองค์ปัจจุบัน เป็นพระบิดาของพระมหาอุปราชา)

    พระมหาอุปราชา / มังกะยอชวา / มังสามเกียด (คู่ต่อสู้ของพระนเรศวรมหาราช)

    มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา)

    พลายพัทธกอ (ช้างทรงของพระมหาอุปราชา)
    พลายพัชเนียร (ช้างของมางจาชโร)

    พระยาจิตตอง (วิศวกรประจำกองทัพ คนสร้างสะพานไม้ไผ่ข้ามแม่น้ำลำกระเพิน)

     

    สรุปสถานที่

     

    สรุปพิธี+ความเชื่อ

    พิธี : เบิกโขลนทวาร + ตัดไม้ข่มนาม + เซ่นไก่ละว้า = พิธีที่ให้กำลังใจทหารได้อย่างดีเยี่ยม
    ความเชื่อ : • จตุรงคโชค
                  1.) ชะตาแม่ทัพดี
                  2.) วันเดือนปีดี
                  3.) กองทัพมีความพร้อมเข้มแข็งดี
                  4.) เสบียงดี
                  • เทพสังหรณ์ (หนึ่งในรูปแบบการฝัน ที่สามารถนำมาทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เพราะเทพมาทัก)
                  • การเดินตามเกล็ดนาค (เกล็ดนาคอยู่ทางไหนให้เคลื่อนทัพไปทางนั้นจะเป็นการดี
    )

                    

    ทริคการนับเวลาแบบสมัยอยุธยา

     การแบ่งช่วงเวลา แบบ ทุติยภูมิ ปฐมภูมิ จะแบ่งช่วง AM กะ PM ดังนั้น เดี๋ยวจะแยกให้ดูชัดๆ กันเลยนะคะ

     

    1 บาท    =  6 นาที

    5 บาท    =  30 นาที (มักจะมีคำว่า เศษสังขยา นำหน้า ตอนที่บอกเวลา)

    10 บาท  =  1 ชั่วโมง

    วันเวลา และฤกษ์ต่างๆ
    วันรวิวารมหันต์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนบุษยมาสยี่ ย่ำเช้า เวลา 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท
    (วันอาทิตย์ ขึ้น11ค่ำ เดือนมกราคม 8โมงเช้า 30นาที) "มหุติฤกษ์" = ฤกษ์เข้าสมรภูมิ


    15 ค่ำ "บัณรสี" = วันที่ควรจะทำแต่สิ่งมงคล


    1 ค่ำ "ปาฏิบท" = วันชำระ

     

    รูปแบบสัมผัสของลิลิต

    การแต่งลิลิตคือการฟิวชั่นจาก ร่าย และ โคลง ซึ่งมีรูปแบบการแต่งที่มหัศจรรย์เกินจะคาดคิดมากค่ะ ..เอาเป็นว่า ถ้าจำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ใช้เซนส์เอานะคะ

     

    เพิ่มเติม
    ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ส่วนโคลงทั้งหลาย นอกจากโคลงสี่สุภาพ โคลงสองสุภาพ หรือโคลงสามสุภาพ ก็จะมีบทนึงที่ผ่าเหล่าผ่ากอกว่าชาวบ้าน เพราะว่าใช้
    โคลงจัตวาทัณฑี ซึ่งต่างจากโคลงสี่สุภาพอย่างไร ดูตามภาพเลยค่ะ 

    รูปแบบการใช้คำ

    ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายมีการใช้คำประหลาด เอ้ย สวยสดงดงาม(มากเกินไป) คำที่มีย่อมไม่ใช่คำที่เกิดขึ้นธรรมดา มีทั้งเพิ่มคำ แผลงคำ คำ ศ มาดูกันว่าใช้ยังไง

     

       1.) การเข้า ศ ในลิลิต

    การเข้า ศ ในลิลิต ประดุจดั่งแฟชั่น V-Shape ที่พวกคำหน้าตาดาษๆ นิยมไปศัลกรรมให้มี ศ เหมือนกัน (*จำไว้ว่า มี ศ เหมือนเอาคำไป ศัล)

    มีจุดสังเกตง่ายๆ ว่า พยายามหาตัวที่ลงท้ายด้วย ศ.ศาลา แต่นั่นก็ตื้นไป อาจจะโดนหลอกได้ เพราะจะมีตัวประเภทเกิดก็สะกดด้วย ศ แต่เกิดเหมือนกัน

    ดังนั้น ให้สังเกตอีกว่า ไอ้คำที่ลงท้ายด้วย ศ แท้จริงแล้วก่อนขึ้นเขียงมาสะกดด้วย ศ หนังหน้าแรกเกิดที่แท้จริงของมันคืออะไร

    อย่างเช่น        คำ ศ                                                     คำที่แท้จริง

    อยุธเยศ / ชเยศ    <<<<<<<<<<<<<<<<<      อยุธยา

                            กาเยศ                <<<<<<<<<<<<<<<<<      กาย

                            นริศ,นเรศ           <<<<<<<<<<<<<<<<<      นร

                            ปิตุเรศ               <<<<<<<<<<<<<<<<<      ปุติ

                            เกศ                   <<<<<<<<<<<<<<<<<      เกศา

    สวามิศ               <<<<<<<<<<<<<<<<<      สวามี    

    ราวิศ                 <<<<<<<<<<<<<<<<<       ราวี

    บารเมศ              <<<<<<<<<<<<<<<<<      บารมี    

    บุเรศ                 <<<<<<<<<<<<<<<<<      บุร       

    นฤเบศ               <<<<<<<<<<<<<<<<<      นฤป

    รมเยศ                <<<<<<<<<<<<<<<<<      รมยา    

    ขัตติเยศ              <<<<<<<<<<<<<<<<<      ขัตติย

    ทวาเรศ              <<<<<<<<<<<<<<<<<      ทวาร

                            นัคเรศ               <<<<<<<<<<<<<<<<<      นัคร

                            นิเวศ                 <<<<<<<<<<<<<<<<<      ไม่ใช่ ศ เข้าลิลิตย่ะ อินี่สวยธรรมชาติ ไม่ต้องขึ้นเขียง

     

      2.) การแผลงคำ

    เครดิต : แบบฝึกหัดภาษาไทยโรงเรียนสาธิตปทุมวัน

    หลักการของการแผลงคำ จะแผลงก็ต่อเมื่อ เวลาที่จะเอาคำในต่างประเทศยืมมาใช้พูด(พวกคำยืมจากภาษาต่างประเทศ) ตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ฝรั่งจะขอยืมคำว่า บางกอก ของไทยไปใช้พูด แต่กว่าจะปรับให้เข้ากับลิ้นของเขามันเลยแผลงเป็น แบงก์ค็อค นี่ก็เหมือนกัน ในภาษาบาลีสันสกฤต หลายคำไม่เหมาะกะลิ้นคนไทย จึงมีการแผลงอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง (แต่สุดท้ายส่วนนี้ขึ้นอยู่กับบุญเก่าว่าท่องมามากแค่ไหนอยู่ดี)
    ต้องขอบอกไว้ก่อนว่า การแผลงคำ ส่วนใหญ่จะทำให้คำนั้น ประหลาดพิสดารมากขึ้น เพื่อความอลังการในการขับทำนองเสนาะนั่นเอง

    *ฝั่งซ้าย คือ คำที่ไทยชอบใช้ในตอนนั้น

     ๑. เอารส            มาจาก               โอรส

    ๒. มเหาฬาร        มาจาก               มโหฬาร

    ๓. ท               มาจาก               ทุ

    ๔. เศิก               มาจาก               ศึก

    ๕. เท              มาจาก               ทิ้ง

    ๖. มลาง             มาจาก               าง

    ๗. อนุช             มาจาก               นุช

    ๘. มหิมา            มาจาก               มหึมา

    ๙. ราญ               มาจาก               รําบาญ

    ๑๐. พิริยะ           มาจาก               วิริยะ

    ๑๑. ธาษตรี         มาจาก               ธาตรี

    ๑๒. อํานวย        มาจาก               อวย

    ๑๓. บรรทม         มาจาก               ผทม 

    ๑๔. ขู                มาจาก               โข

    ๑๕. สระเทินสระทก          มาจาก               สะเทินสะทก

    ๑๖. สระพราศสระพรั่ง        มาจาก               สะพราศสะพรั่ง

    ๑๗. กระลึงกระลอก           มาจาก               กะลึงกะลอก

    ๑๘. ตรลอด         มาจาก               ตลอด

    ๑๙. สรเสริญ        มาจาก               สรรเสริญ

    ๒๐. สรวาง          มาจาก               สวาง

     

      3.) คําศัพทที่มีการตัดพยางค

    เครดิต : แบบฝึกหัดภาษาไทยโรงเรียนสาธิตปทุมวัน

    หลักการของตรงนี้คงไม่ต่างจากสมัยเราที่ชอบย่อ เช่น อะไร >>> ไร , ตัวเอง >>> เตง มาดูกันดีกว่ามีคำอะไรบ้าง

    *ฝั่งซ้ายคือ คำที่ไทยชอบใช้ในตอนนั้น

    ๑. ศวรรย            มาจาก               ไอศวรรย

    ๒. ภิยโย             มาจาก               ภิญโญ

    ๓. รณ                มาจาก               รณรงค

    ๔. นาศ               มาจาก               พินาศ

    ๕. อักโข             มาจาก               อักโขภิณ

      

      4.) คำไวพจน์  ถ้าอยากได้ก็จิ้มอ่านเอานะคะ หน้า4-8ของ >>> http://thai.satitpatumwan.ac.th/lilidtalangpai.pdf

     

     

    • ขอขอบคุณ •

    กระทู้ "สังขยา" เป็นหน่วยนับของเวลา ในสมัยก่อนใช่ไหมครับ

    กระทู้ ศ เข้าลิลิต???

    http://thai.satitpatumwan.ac.th/lilidtalangpai.pdf

    ที่ปรึกษา : NichaHiba

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×