ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [CU] รีวิว(สปอยล์)บรรดาวิชาเลือก by. BPisces

    ลำดับตอนที่ #7 : [GenEd-SC] INNOV THINK : การคิดเชิงนวัตกรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.27K
      11
      16 ธ.ค. 60

    Innovative Thinking : การคิดเชิงนวัตกรรม
    INNOV THINK รหัส 2110191

    (Gen-Ed วิทยาศาสตร์ : หลักสูตรภาคไทยเท่านั้น)

    **ข้อมูลจาก เทอม1 ปีการศึกษา 2560**



    ชื่อเล่น: อินโนวติ๊ง / ต่อสู้กับ AI / วิชาของอ.ธงชัย (555555555)


    จำนวนเซค
    ที่มักเปิด

    1 - 2 เซค (ถ้าเทอม 1 จะเป็น 2 เซคแน่นอน)

    เซคละ 40 คนโดยประมาณ

    ความยากในการลง

    HELL OF ABYSS

    เพราะ 1 เซค จะลงทะเบียนติดได้แค่ 1 คน เท่านั้น !!

    **คนที่เหลือทั้งหมดจะต้อง Audition เพื่อเข้าเรียน**

    เทอมที่เปิด

    เทอม 1

    เทอม 2

    Summer

    เปิด

    เปิด

    -

    เวลาที่มักจะได้

    เช้า (09.00 - 12.00) หรือ บ่าย (13.00 - 16.00)

    สถานที่เรียน

    คณะวิศวกรรมศาสตร์

    อาจารย์ที่สอน

    .ธงชัย โรจน์กังสดาล
    (และวิทยากรในบางคาบ)

    เงื่อนไขวิชา
    ที่ต้องเรียนมาก่อน

    -

    เงื่อนไขคุณสมบัติผู้เรียน

    ต้องเป็นนิสิตภาคไทย

    ประเภทกลุ่มวิชา

    เมื่อลงทะเบียนวิชานี้แล้วจะนับเป็น

    GenEd - วิทยาศาสตร์ (SC/ เสรี” อย่างใดอย่างหนึ่งจ้ะ

    (ระวัง: ไม่ใช่ GenEd - สังคม นะคะ นั่นมัน SO อย่าเข้าใจผิดล่ะ)

    การตัดเกรด

    อิงเกณฑ์

    การสอบ

    Midterm

    Final

    งาน

    -

    -

    บานตะเกียง (เยอะอยู่นะ)

     

    ไม่มีสอบ!!! มันเริ่ดตรงนี้นี่แหละค่า!!!

     

    Q1 : เรียนอะไรบ้าง มีประโยชน์มั้ย

    A : “ความจริงผมอยากจะเปลี่ยนชื่อวิชานี้เป็น “ทักษะการต่อสู้กับ AIนะเอาจริง.ธงชัย กล่าวไว้ประมาณนี้

    ก็ตามคำพูดอาจารย์น่ะค่ะ เพราะเมนไอเดียหลักของวิชานี้ก็คือ การฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์แบบที่หุ่นยนต์หรือ AI ใดๆ ไม่มีทางบรรเจิดได้เท่ามนุษย์ เนื้อหาตลอดคอร์สนั้น นิสิตจะได้รับการฝึกฝนทักษะของนวัตกรรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การคิดวิเคราะห์ การนำเสนอ การมีปฏิสัมพันธ์ นอกจากนี้ บางคาบก็จะเชิญวิทยากรมาสอนเคล็ดลับต่างๆ เช่น เทคนิคปฏิสัมพันธ์ผู้คน เทคนิคการทำสไลด์ หรือบางคาบพีคหน่อย อาจารย์ธงชัยก็สอนโยนบอล jaggling ด้วยตัวเองเลย (อเมซิ่งจริงอะไรจริง)

    รวมๆ แล้วก็เป็นวิชาพัฒนาทักษะชีวิตรอบด้าน ทุกคาบไม่ใช่การนั่งเรียนจดๆ เบื่อๆ เลย ให้ความรู้สึกเหมือนมา Work-shop มากกว่า โคตรของความบันเทิงผสมกับสาระที่สามารถเอาไปใช้ต่อในชีวิตจริงได้แน่นอน 100% ค่ะพ่อแม่พี่น้อง (ประโยชน์จากการเรียนวิชานี้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับดิชั้นคือ ทริคการทำสไลด์ ทริคการวางแผน start-up ทริคการพูดให้คนฟังสนใจ << อันนี้ครูพักลักจำจากอาจารย์เองค่ะ)

     

    Q2 : Audition ที่ว่านี่คือยังไงเหรอ ต้องทำอะไรบ้างถึงจะได้เรียน

    A : ให้ลงทะเบียนไปก่อน ติดไม่ติดช่างมัน จากนั้นก็เข้าไปนั่งในคาบแรกของคอร์ส อาจารย์จะแจกโจทย์สำหรับออดิชั่น ปีดิชั้นเป็นให้อัดคลิปวิดีโอแนะนำตัว + เหตุผลที่อยากเรียนวิชานี้ + รีวิวหนังสือสั้นๆ ภายในเวลาไม่กี่นาที ส่งเมล แล้วอีกไม่กี่วัน อาจารย์จะส่งเมลตอบกลับมาว่าได้เรียนหรือไม่ได้เรียน ถ้าได้เรียน คาบต่อไปก็เข้าคลาสไปรับใบลงทะเบียนเพิ่มแล้วจัดการไปยื่นทางห้องทะเบียนวิศวะให้เรียบร้อยได้เลยจ้า

    อนึ่ง สิ่งที่อาจารย์คาดหวังจากการออดิชั่นโดยหลัก ๆ ก็คือ

    1.       ทำถูกเงื่อนไขทุกประการ เช่น รายละเอียดครบ บรรลุตามโจทย์ ไม่มั่วนิ่ม ส่งภายในกำหนด

    2.       มีความมั่นใจ แสดงให้เห็นถึงแพชชั่นที่เราอยากจะเรียน (แต่ต้องไม่ประดิษฐ์เกินไปจนดูฝืน อย่างข้อที่ต้องบอกเหตุผลที่อยากเรียน ดิชั้นก็บอกตรงๆ เลยว่า “วิชานี้ไม่ดูวิทย์จ๋าที่ต้องมานั่งท่องฟิสิกส์เคมีชีวะ เรียนแล้วน่าจะได้อะไรมากกว่าความรู้วิทย์หนักๆ พวกนั้น ก็เลยมาสมัคร” ตรงโคตรๆ ไม่ได้ประดิษฐ์อะไรเลยค่ะ 555555)

    3.       สะกดคำให้ถูก อันนี้สำคัญ อาจารย์ค่อนข้างไม่สบอารมณ์กับประเภทที่เขียนภาษาไทยผิดๆ ถูกๆ ตกๆ หล่นๆ เพราะมันแสดงถึงความไม่ใส่ใจ ไม่น่าเอ็นดู ไม่น่าให้มาเรียนด้วย ระวังจุดนี้ไว้ด้วยเน้อ

    ไม่ยากหรอกค่ะ เล่นใหญ่เข้าไว้ เดี๋ยวอาจารย์ก็ต้องเห็นแววและจับเราเข้าไปเรียนเองแหละ 

     

    Q3 : วิชานี้เหมาะกับคนแบบไหน

    A : อืม เอาจริงก็คือควรจะเป็นคนที่ Active อารมณ์เด็กกิจกรรม มีความกระตือรือร้น ขยันทำงานส่งงานไรงี้ (แต่ถ้าเป็นเด็กที่กิจกรรมล้นอยู่แล้วมาเรียนอาจจะซัฟเฟอร์ก็ได้นะ เพราะมันจะตีกับเวลาทำกิจกรรมหลัก) แล้วก็ต้องเป็นคนที่กล้า “เล่นใหญ่” ซึ่งในที่นี้ไม่ได้แปลว่าจะเอาแต่คนที่กล้าแสดงออกร้องเล่นเต้นรำแหกปากอย่างเดียวนะคะ ขอแค่เป็นคนที่มีความทุ่มเทในการทำงานก็ถือว่า เล่นใหญ่ได้เหมือนกัน เช่น แต่งสไลด์ให้สวย ถ่ายงานออกมาให้สวย ชอบที่จะแสดงความคิดเห็นในคลาสบ่อยๆ นำเสนอแบบเสียงเรียบๆ ผู้ดีๆ แต่จังหวะเป๊ะ ฯลฯ

     

    Q4 : งานบานตะเกียงที่ว่า นี่เยอะมากขนาดไหน แล้วงานมันน่าเบื่อมั้ยอะ

    A : ก็เยอะจริงๆ แหละค่ะ แต่ภายใต้ปริมาณที่เยอะเว่อร์ งานทุกงานล้วนเอนจอย ไม่น่าเบื่อ เพราะมัน “ประหลาด” ค่ะ (555555555555) เดี๋ยวจะไล่ให้ฟังนะคะว่างานของรอบนี้มีอะไรบ้าง

    1.       สมุดบันทึกนวัตกร : ในเวลาเรียนให้จดเรื่องที่อ.พูด ส่วนนอกเวลาเรียนก็ต้องจด แต่เป็นเวอร์ชั่นฟรีสไตล์ อยากจดไร จด คิดพล็อตนิยายได้ จด เจอร้านอาหารเด็ดๆ น่าไปโดน จด เจอข่าวอปป้าจะปล่อยลิสต์เพลง จด เต็มที่เลยค่า (จะเรียกตรวจ 2 ครั้งต่อเทอม จดเยอะๆ เข้าไว้ก็จะได้เต็ม 10 เองค่า)

    2.       โครงงานเดี่ยว : ปีนี้เป็นภารกิจ 4 ภารกิจ ได้แก่ เข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่เคยเข้าร่วมมาก่อน / อัดคลิปแสดงความสามารถพิเศษ หรือสอนทักษะให้คนอื่น (ดิชั้นอัดคลิปตัวเองเต้นค่ะ อุ๊ย เขิล) / กิจกรรมที่ตัวเองเป็นผู้สร้าง 2 อย่าง เช่น อ่านหนังสือให้คนตาบอดผ่านแอพ เขียนบทความ รีวิว ฯลฯ จะสั่งตั้งแต่ต้นเทอม เดดไลน์ปลายเทอม (จะบอกให้ เมื่อก่อนเป็น 7 ภารกิจนะคะ บางภารกิจคือให้ไปเรียนวิชา 0 หน่วยกิตของ CUVIP พวกวิชาดูดวง จีบ ปลูกสวน ฯลฯ ด้วยก็มี แต่รุ่นนี้ไม่มีละ สบายใจได้ (เอ๊ะ หรือว่ารุ่นต่อไปจะเอากลับมาก็ไม่รู้เนอะ))

    3.       21 day Challenge : ให้กำหนดนิสัยใหม่ง่ายๆ ที่จะทำ เช่น จะท่องศัพท์วันละอย่างน้อย 5 คำทุกวัน และต้องทำติดต่อกัน 21 วัน บันทึกผล ลืมทำไม่เป็นไร แต่ต้องรายงานผลว่าทำไมถึงทำครบหรือไม่ครบ

    4.       โครงงานกลุ่มเล็ก : ให้ไปเที่ยวและสำรวจสถานที่ที่ให้บริการด้วยกันเป็นกลุ่ม เช่น Co-working space ห้องสมุด ร้านอาหาร ร้านบอร์ดเกม พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ และบันทึกแนวทางการให้บริการของเขาส่ง

    5.       Ultra Presentation : พรีเซนท์เรื่องอะไรก็ได้ด้วย Power Point 10 สไลด์ แต่ทุกสไลด์จะต้องตั้งค่าให้เลื่อนอัตโนมัติทุกๆ 15 วินาที…. (#ระทึกเชี่ยๆ)

    6.       โครงงานกลุ่มใหญ่ : วางแผนทำแบบจำลองแอพ ถ่ายพรีวิวการใช้งานแอพ และนำเสนอ 

    หมายเหตุ 1 : พวกงานกลุ่มนั้น สมาชิกในกลุ่มจะคละคณะกันทุกงานค่ะ ไม่มีทางที่คณะเดียวกันจะได้อยู่กลุ่มเดียวกันแน่นอน (เพื่อให้ตอบโจทย์ทักษะด้านปฏิสัมพันธ์ของนวัตกร)

    หมายเหตุ 2 : พวกงานกลุ่มนั้น อาจารย์มักจะให้เวลาช่วยกันทำตั้งแต่ในคาบเลยค่ะ (ยกเว้นส่วนที่ต้องออกไปปฏิบัตินอกสถานที่จริงๆ เช่น สำรวจสถานที่ ถ่ายทำ) อยากประชุมวางแผน แบ่งงานอะไร ก็จะได้ทำตั้งแต่ในคาบเลย ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องมานัดประชุมนอกเวลาให้ปวดกะโหลกกัน 

    หมายเหตุ 2 : ที่สำคัญคือ ทุกงานสามารถส่งไฟล์ทางอีเมลได้ = ไม่มีเครื่องปริ้นท์ก็ไม่ตาย เออ อิด้อล มันเริ่ดตรงนี้ !!


    อนึ่ง ด้วยความที่อาจารย์เป็นผู้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง คาดว่ารูปแบบงานต่างๆ น่าจะเปลี่ยนทุกเทอม เตรียมตัวเตรียมใจไว้ได้เลย แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่ว่าจะวิวัฒนาการกลายร่างเป็นงานแบบไหน ก็น่าจะคงคอนเซปต์ประหลาดและสนุกบันเทิงไว้เหมือนเดิมอยู่ดี ไม่ต้องกลัวไปนะคะ

     

    Q5 : ส่งงานทางอีเมลตลอดแบบนี้ จะมีกรณีงานตกหล่นมั้ย

    A : ดิชั้นเองก็เคยถามคำถามนี้กับอาจารย์เหมือนกัน แต่ไม่ต้องห่วง ไม่ว่างานไหนๆ เมื่ออาจารย์ได้รับอีเมลแล้ว ตรวจแล้ว (ใช้เวลาตรวจไม่เกินวีคหรอก) อาจารย์จะตอบเมลกลับมาตลอดว่า “ได้รับแล้วนะครับ” (ถ้าไม่ตอบมา สามารถอีเมลไปถามได้ว่า ได้รับหรือยัง) ประทับใจมากๆ หายกังวล สบายใจได้

     

    Q6 : เข้าสายได้มั้ย

    A : วิชานี้อาจารย์จะเริ่มคลาสเมื่อผ่านไป 9 นาทีจากที่กำหนด อย่างเซคดิชั้นเรียน 9.00 คลาสก็จะเริ่มตอน 9.09 ใครที่มาหลังจากเวลาที่กำหนดจะโดนลงโทษด้วยการให้ไปยืนสำนึกผิดหน้าห้องก่อนประเดี๋ยวนึง แล้วค่อยให้เข้ามา โอ๋เอ๋ๆ แต่ถ้าสายหลายๆ ครั้งติดต่อกัน อาจจะโดนเรียกคุยเป็นการส่วนตัวนะคะ

     

    Q7 : ขาดได้มั้ย

    A : อนุญาตให้ขาดเรียนได้ 1 ครั้งเท่านั้น นั่นหมายความว่า การขาดเรียนตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไปย่อมมีผลต่อคะแนนการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนแน่นอน แต่ส่วนตัวแล้ว ดิชั้นแนะนำว่าไม่ควรจะขาดเลยแม้แต่คาบเดียวนะคะ ไม่งั้นมาคาบต่อมาจะคุยกับเพื่อนในคลาสไม่รู้เรื่องแน่ๆ ว่าเขาเคยขำหรือสนุกอะไรกันไปบ้าง

     

    ...และนี่จะเป็นวิชาแรกที่เราจะทำตัวแบบเพจรีวิวหนังทั้งหลาย...


    10 / 10 คะแนนเต็มค่ะ

     

    ใครเป็นเด็กกิจกรรม

    ใครที่มองหาวิชา GenED วิทย์ดีๆ อยู่

    วิชา INNOV THINK นี่แหละตอบโจทย์ที่สุดแล้ว!!!

    ไปเรียน !!!

    สนุก !!

    คอนเฟิร์มค่ะ !!

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×