คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : For1 : ประวัติวรรณคดี
1. องค์ความรู้ืทั่วไปของวรรณคดี
4 รสแห่งวรรณคดี
1. เสาวรจนีย์
คือ ชมแม่มทุกอย่างเจ้าค่ะ อะไรงามก็ชม ป่าไม้สวยก็ชม เดือนแรมสวยก็ชมมมมมๆๆๆๆ
2. นารีปราโมทย์
คือ บทเกี้ยวพาราสี จีบผู้สาวน่ะเอง
3. พิโรธวาทัง
คือ Angry Bird…
4. สัลลาปังคพิไสย
คือ บทโศกเศร้า บีบน้ำตา พร่ำพรูถึงความดราม่าความเฮิร์ทในจิตใจของตัวละคร
ท่องซะ [ชม จีบ ยัวะ ดราม่า] นี่แหละ 4 รสวรรณคดีที่พวกเจ้าตามหา
2.วรรณคดีสมัยสุโขทัย
นับเป็นการดีที่ยังมีแค่สี่เรื่อง ซึ่งส่วนนี้แนะนำให้เมนหลักของเรื่อง For 1 ไม่จำเป็นต้องจำว่า แต่งปีไหน ใครแต่ง มันจะไม่ถามตรงขนาดนั้น
ชื่อเรื่อง |
ปีแต่ง (พ.ศ.) |
ผู้แต่ง |
ลักษณะการแต่ง |
เน้นเรื่อง... |
หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง |
(น่าจะ) 1826 |
พ่อขุนรามคำแหง |
ร้อยแก้ว |
ชีวประวัติ + เหตุการณ์บ้านเมือง + ยอพระเกียรติกษัตริย์ |
สุภาษิตพระร่วง / บัญญัติพระร่วง |
- |
(อาจเป็นพ่อขุนรามคำแหง / นักปราชญ์ในวัง) |
ร่ายสุภาพ |
สอนสั่งมารยาทการปฏิบัติให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติชน |
ไตรภูมิพระร่วง / เตภูมิกถา / ไตรภูมิกถา |
1896 |
พระยาลิไท |
ร้อยแก้ว |
สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ภูมิทั้งสามจากการกระทำของมนุษย์ |
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ / นางนพมาศ / เรวดีนพมาศ |
- |
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ |
ร้อยแก้ว + |
การปฏิบัติตนตามวิถีสตรี + |
บอกไว้ก่อนว่านี่คือเทคนิคส่วนตัวของอิชั้น หลักนี้จะใช้ได้ในกรณีที่ข้อสอบเขาถามแบบแนววิเคราะห์ วลีพวกนี้จะช่วยเมคให้เหล่าคุณเทอว์ดูดีเก๋ไก๋สไลเดอร์เป็นที่สุด ว่าไงว่าตามนั้นละกันนะ //ความมั่วมีมาก โปรดฟังหูไว้หูเป็นพอ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ส่วนใหญ่จะถามว่า มีคุณค่ายังไงงงงงง เราก็จัดไปให้จำพวก ‘ในน้ำมีนา ในนามีข้าว’ ก็ทำให้รู้มากขึ้นเลยคร่ะ ว่าในสมัยสุโขทัยอุดมสมบูรณ์ก็สังเกตได้จากวลีนี้ (จากนั้นก็พายเรือในอ่างไปเรื่อยๆ) โดยสรุปท้ายว่า เป็นที่มาของภาษาไทย เพราะถ้าหากไม่ประดิษฐ์ตัวอักษรไทย กวีรุ่นหลังคงไม่มีตัวอักษรที่มีคุณค่าในการประพันธ์ผลงานต่างๆเป็นแน่ (เหยดดดด กิ๊บเก๋ที่ฝุด) อันที่จริงเรื่องนี้ สรุปได้หลายแบบ เพราะมีคุณค่ามาก ทั้งด้านภาษา ประวัติศาสตร์ ประวัติการปกครอง แล้วแต่จะเลือกใส่ หรือจะใส่หมดเท่าที่คิดได้ก็ตามแต่ สุภาษิตพระร่วง ข้อสอบอาจจะถามเราว่า จะเอาไปใช้ยังไง เราควรยกตัวอย่างดังนี้ “เมื่อน้อยให้เร่งวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่” จะกล่าวถึงว่า ตอนเด็กเราควรเรียนเยอะๆนะ เพราะมีปัญญาดั่งมีทรัพย์อยู่นับแสนไม่ว่าจะไปที่ไหนย่อมมีงานการทำ บลาๆๆๆๆๆ “อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่” จะกล่าวถึงว่า เราเป็นเด็ก ผู้ใหญ่เขาอาบน้ำร้อนมาก่อนควรเชื่อฟัง และใครที่ปฏิบัติในโอวาทผู้ใหญ่ ย่อมเจริญยิ่งๆขึ้นไป บลาๆๆๆๆ และไม่ว่าจะใช้อะไร ให้ตบท้ายด้วย ....ซึ่งเห็นเป็นจริงตามวรรณคดีเรื่องนี้เป็นแน่แท้
ไตรภูมิพระร่วง ส่วนใหญ่จะถามว่า มีผลต่อสังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอย่างไร ‘หิริโอตัปปะ’ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป จงใช้หลักธรรมนี้อิงยิ่งกว่าเขียนกระทู้ธรรม ก็แพล่มไปโดยภาษาอลังๆๆๆๆๆๆ ว่า ในวรรณคดีมีการพรรณนาให้เกิดจินตภาพนรกสวรรค์ โดยเฉพาะนรก ที่ทำให้คนหวาดกลัวว่าเมื่อทำความชั่วจะต้องตกลงไปใช้กรรมในนั้น ก็จะไม่กล้าอาจหาญประพฤติความชั่ว และยามที่บุคคลนั้นละจากการทำความชั่วแล้ว บุคคลย่อมมีจิตใจที่ผ่องใสพอที่จะประพฤติความดี สร้างบุญสร้างกุศลไปเกิดบนสวรรค์ เป็นกุศโลบายที่เยี่ยมยอด และเมื่อเป็นเช่นนี้สังคมก็จะสงบสุข บลาๆๆ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ข้อควรจำ เป็นบุตรีของ ท้าวศรีมโหสถ + นางเรวดี ถวายตัวรับใช้ในวังแต่เยาว์วัย และด้วยความที่พ่อเป็นนักปราชญ์จึงสอนวิชาอ่านเขียนให้ ทำให้ท่านได้เป็นกวีหญิงคนแรกในประเทศไทย (ประมาณนี้) เนื้อเรื่องของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ค่อนข้างเป็นไดอารี่ ซึ่งแบ่งเป็นสามส่วน 1. มีอิทธิพลต่อเรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน เพราะเป็นต้นแบบการแต่งร้อยกรองเล่าถึงพิธีที่สะท้อนสังคมในสมัยนั้น 2. แนะนำวิถีปฏิบัติที่ดีของสตรี 3. ยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า(พระยาลิไท) ก็ให้เขียนแพล่มไปว่ามีประโยชน์มีคุณค่ามาก ทั้งด้านสังคม พิธี แล้วแต่จะคิดนะ
แนวข้อสอบ
ช่วงที่ 1
จง เปิดหนังสือเหลืองที่พวกเจ้ากรีดเงินตัวเองซื้อมาเพิ่ม(เพราะหนังสือกระทรวง ช่างมีค่าเกินกว่าจะเป็นอย่างอื่นนอกจากโบราณวัตถุประดับใต้โต๊ะ) หน้าที่ 99-100
ช่วงที่2 อย่างที่บอก โจทย์จะไม่ถามเราตรงๆ แต่ให้เราวิเคราะห์เหมือนถามความคิดอ่านของเรามากกว่าว่าเรามีทัศนคติอย่างไร โจทย์จะประมาณว่า นร.คิดว่าวรรณคดีเรื่อง____นักเรียนจะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร จงนำสิ่งที่ชั้นบอกไว้บรรทัดบนนั้นมาใส่ แล้วพายเรือในอ่าง แถ ตอแห_เก่งเท่าไหร่ยิ่งดี เอาให้ยาวๆ เยอะๆ
ที่สำคัญ เขียน ลายมือ สวยๆ + เรียบร้อย นะจ๊ะ
หวังว่าสรุปนี้จะช่วยเพื่อนๆ ให้สอบผ่านได้ ไม่มากก็น้อย สู้ๆ จ้ะ แค่เนี้ยแหละ
|
ความคิดเห็น