ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : **สรุปLW318**อ่านแล้วไม่มีตก
พรบ.ต่างๆเป็นกฎหมายปกครองเพราะ บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เจ้าหน้าที่ หมายถึง บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง ดำเนินกิจกรรมทางปกครอง เช่น เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง
หน่วยงานทางปกครอง หมายถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจปกครอง ดำเนินกิจกรรมทางปกครอง ได้แก่ หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรม ส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ ส่วนท้องถิ่น คือ อบต. อบจ. เทศบาล กรุงเทพ พัทยา
ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีทางปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐหรือรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย
กฎหมายปกครองบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ทางปกครอง แก่ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานทางปกครอง ในการดำเนินกิจกรรมทางปกครอง และเมื่อเกิดกรณีพิพาทจากการใช้อำนาจทางปกครอง ต้องให้ศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่ในการตัดสินคดีทางปกครองพิจารณาคดี
กรณีพิพาทที่ต้องนำไปฟ้องศาลปกครอง
พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง พ.ศ.2542
มาตรา9 บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ตัดสินคดีพิพาทดังนี้
(1) คดีพิพาทที่หน่วยงานทางปกครองของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำการโดยไม่มีอำนาจ
(2) คดีพิพาทที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(5) คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
(6) คดีพิพาทอื่นที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง
คำสั่งทางปกครอง หมายถึง การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่ก่อ ความเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของบุคคลไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่นการสั่งการ อนุญาต อนุมัติ จดทะเบียน รับรอง แต่ไม่รวมถึงการออกกฎ
กฎ หมายถึง พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลเป้นการบังคับโดยทั่วไป ไม่มุ่งหมายบังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดโดยเฉพาะ
หลักการบริหารราชการแผ่นดิน
หลักการการรวมอำนาจ เป็นการรวมอำนาจทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม เพื่อเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางปกครองในทุกเรื่อง
ลักษณะสำคัญ
1.มีการรวมอำนาจบังคับการไว้ที่ส่วนกลาง คือรวมอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานต่างๆไว้ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น
2.มีการรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้ตัดสินใจได้เด็ดขาด ทันต่อสถานการณ์
3.มีลำดับขั้นการบังคับบัญชาลดหลั่นลงไป
ข้อดี
1.ทำให้อำนาจของรัฐมั่นคงและแผ่ขยายไปทั่วอาณาจักร
2.ทำให้เกิดความเสมอภาค เพราะนโยบายต่างๆมาจากที่เดียวทำให้ไม่มุ่งเน้นประโยชน์เฉพาะท้องที่
3.ประหยัด เพราะสามารถหมุนเวียนเครื่องมือเครื่องใช้ไปในที่ต่างๆได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
4.ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ เพราะมีการสั่งการจากส่วนกลางทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบิตงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
- ความไม่ทั่วถึง เพราะมีอาณาเขตปกครองที่กว้างขวางเกินไป
- ความล่าช้า เพราะมีขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอน
หลักการแบ่งอำนาจ เป็นการที่ส่วนกลางแบ่งอำนาจทางปกครองบางส่วนให้กับเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปประจำการยังส่วนภูมิภาค
ลักษณะสำคัญ
1.มีการแบ่งอำนาจที่เป็นของส่วนกลางบางส่วนให้แก่ส่วนราชการท้องถิ่น
2. ส่วนราชการท้องถิ่นอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลาง
ข้อดี
แก้ไขข้อขัดข้องของการรวมอำนาจและเป็นการช่วยพื้นที่ที่ยังไม่พร้อมจะปกครองตนเองภายใต้หลักการกระจายอำนาจ
หลักการกระจายอำนาจ เป็นการที่ราชการบริหารส่วนกลางมอบอำนาจให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่บริหารราชการส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรมทางปกครองโดยอิสระตามสมควร โดยที่หน่วยงานนั้นไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แต่อยู่ในอำนาจกำกับดูแล
ลักษณะสำคัญ
1.มีการแยกหน่วยการปกครองเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริหารราชการส่วยกลาง โดยมีงบประมาณเป็นของตนเอง มีเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง
2.มีการเลือกตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่น
3.มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ราชการส่วนกลางไม่สามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาได้
ข้อดี
เป็นการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย และช่วยให้คนในท้องถิ่นหันมาสนใจการปกครองท้องถิ่น
ข้อเสีย
หากมีการกระจายอำนาจมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความเป็นเอกภาพของรัฐได้ เพราะ อาจจะเกิดการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนท้องถิ่นมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และเป็นการสิ้นเปลืองในการดำเนินการเพราะแต่ล่ะท้องถิ่นต่างต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นของตนเอง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
อำนาจบังคับบัญชา คือ อำนาจที่ผู้บังคับบัญชามีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา โดยจะสั่งการอะไรก็ได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจกำกับดูแล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ควบคุมกำกับ กับ องค์กรภายใต้ควบคุมกำกับ ไม่ใช่เรื่องของการบังคับบัญชา แต่เป็นเรื่องของการควบคุมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด องค์กรควบคุมกำกับจะไม่มีอำนาจสั่งการ จะทำได้เพียงควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น
อำนาจผูกพัน เป็นอำนาจหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติ ถ้ามีข้อเท็จจริงตามกฎหมายครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้ เช่นการรับสมัครเข้าเรียน มีหลักฐานครบเจ้าหน้าที่จะต้องรับสมัคร
อำนาจดุลพินิจ เป็นอำนาจหารตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้ตามเห็นสมควร ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงครบถ้วนตามกฎหมายก็ตาม เช่นการขอใบอนุญาต ถึงแม้เราจะมีเอกสารครบถ้วนแต่เจ้าหน้าที่มีสิทธิที่จะไม่ดำเนินการให้ถ้าเห็นว่าเป็นการไม่สมควร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่เอามาลงเป็นสรุปคร่าวๆ อ่านเพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือสอบอีกทีน่ะคับ เอาใจช่วยทุกคนที่สอบวิชานี้คับ
ที่เอามาลงเป็นสรุปคร่าวๆ อ่านเพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือสอบอีกทีน่ะคับ เอาใจช่วยทุกคนที่สอบวิชานี้คับ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น