ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #99 : เจ้าหญิงไอรีนแห่งเฮสส์และไรน์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 144
      0
      26 พ.ค. 57



    เจ้าหญิงไอรีนแห่งเฮสส์และไรน์ (Princess Irene of Hesse and by Rhine พระนามเต็ม ไอรีน หลุยส์ มาเรีย แอนนา; ประสูติ 11 กรกฎาคมพ.ศ. 2409 สิ้นพระชนม์ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2496) ทรงเป็นพระธิดาในลำดับที่สามของเจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจักรและแกรนด์ดยุคลุดวิกที่ 4 แห่งเฮสส์และไรน์ และมีพระอัยกาและอัยยิกาฝ่ายพระชนนีคือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ส่วนพระอัยกาและอัยยิกาฝ่ายพระชนกคือ เจ้าชายคาร์ลแห่งเฮสส์และไรน์ และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งปรัสเซีย พระองค์ทรงเป็นพระชายาในเจ้าชายไฮน์ริชแห่งปรัสเซีย พระญาติชั้นที่หนึ่ง และนอกจากนี้ก็ทรงเป็นพาหะของโรคเฮโมฟีเลียเช่นเดียวกับพระกนิษฐาคือ เจ้าหญิงอลิกซ์ โดยพระโอรสสองในสามพระองค์ทรงประชวรเป็นโรคเฮโมฟีเลียด้วย

    เจ้าหญิงอลิกซ์ พระขนิษฐาทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย โดยทรงเปลี่ยนมาใช้พระนามใหม่ว่า อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา พระอัครมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย และเจ้าชายแอร์นส์ ลุดวิก พระอนุชาทรงเป็นแกรนด์ดยุคครองรัฐแห่งเฮสส์และไรน์ ส่วนเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระภคินีองค์โตได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าชายหลุยส์แห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก ซึ่งต่อมาทั้งสองทรงเป็นมาร์ควิสและมาร์ชเนสแห่งมิลฟอร์ดฮาเว็น และเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระภคินีอีกพระองค์หนึ่ง (ซึ่งต่อมาทรงได้รับการยกย่องจากศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียให้เป็นนักบุญเอลิซาเบธ ผู้เสียสละ) อภิเษกสมรสกับ แกรนด์ดยุคเซอร์เกย์ อเล็กซานโดรวิชแห่งรัสเซีย

    เนื้อหา

    ชีวิตในวัยเยาว์

    เจ้าหญิงประสูติในวันที่ 11 กรกฎาคมพ.ศ. 2409 ณ พระราชวังใหม่ เมืองดาร์มสตัดท์ โดยทรงได้รับพระนามแรก ที่มาจากภาษากรีก แปลว่า "สันติภาพ" เนื่องจากพระองค์ประสูติในช่วงของการสิ้นสุดสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย[1] เจ้าหญิงอลิซทรงเห็นว่าเจ้าหญิงไอรีนทรงเป็นเด็กที่ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดและครั้งหนึ่งทรงเขียนถึงเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระภคินีว่าไอรีนนั้น "ไม่สวยน่ารัก"[2] แม้ว่าจะไม่ทรงมีพระสิริโฉมงามเท่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่เจ้าหญิงทรงสุภาพเรียบร้อย ถึงแม้จะเป็นแค่ลักษณะนิสัย เจ้าหญิงอลิซทรงอบรมเลี้ยงดูพระธิดาแบบเรียบง่าย ทรงมีพระพี่เลี้ยงชาวอังกฤษควบคุมดูแลพระโอรสและธิดา และให้เสวยพระกระยาหารพวกข้าวบดเหลวกับแอ็ปเปิ้ลอบ และสวมใส่เสื้อผ้าธรรมดา ทรงสอนพระธิดาเรื่องการบ้านการเรือน เช่น การอบขนมเค้ก จัดปูเตียง จุดไฟในเตาผิง และปัดกวาดฝุ่นให้ห้องนอน เจ้าหญิงอลิซยังทรงเน้นถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือคนจนและพาพระธิดาไปในการ เยี่ยมเยียนโรงพยาบาลและงานการกุศลต่างๆ ด้วย[3]

    ในปี พ.ศ. 2416 ทั้งครอบครัวรู้สึกโศกเศร้าเมื่อเจ้าชายฟรีดริช ซึ่งทรงมีพระนามเรียกเล่นว่า "ฟริตตี้" พระอนุชาที่ประชวรโรคเฮโมฟีเลียของเจ้าหญิงไอรีน พลัดตกจากหน้าต่างที่เปิดทิ้งไว้ พระเศียรติดอยู่กับราวระเบียง และได้สิ้นพระชนม์ในอีกหลายชั่วโมงต่อมาเนื่องจากพระโลหิตคั่งในสมอง[4] ต่อมาอีกหลายเดือนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสวัยเยาว์ เจ้าหญิงอลิซก็ทรงนำพระโอรสและธิดาไปยังหลุมฝังพระศพเพื่อสวดมนต์ต์และทรง หดหู่เมื่อถึงการฉลองครบรอบที่เกี่ยวกับพระองค์[5] ในฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. 2421 เจ้าหญิงไอรีน พระภคินี พระอนุชา พระกนิษฐาและพระชนกทรงประชวรด้วยโรคคอตีบเจ้าหญิงมารี ซึ่งทรงมีพระนามเรียกเล่นว่า "เมย์" ก็ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคนี้ ส่วนพระชนนีซึ่งทรงเหนื่อยล้าจากการพยาบาลพระโอรสและธิดา ทรงติดโรคนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อทรงทราบว่าประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงอลิซก็ทรงสั่งเสียความปรารถนาต่างๆ รวมถึงคำแนะนำในการเลี้ยงดูพระธิดาและดูแลการบ้านการเรือนกับพระสวามี เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคคอตีบเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2421[6]

    หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงอลิซ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรง ตกลงพระทัยจะเป็นเหมือนเป็นพระชนนีให้กับพระราชนัดดาในราชวงศ์เฮสส์ เจ้าหญิงไอรีน พระภคินี พระกนิษฐาและพระอนุชาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงประทับอยู่ในอังกฤษช่วงวันหยุดต่างๆ และพระอัยยิกาทรงก็ส่งคำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาและความเห็นเกี่ยวกับฉลองพระองค์ของพระราชนัดดามายังพระอาจารย์ด้วย[7]

    อภิเษกสมรส

    เจ้าหญิงไอรีนทรงอภิเษกสมรสวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2431 ณ ปราสาทชาร์ล็อตเต็นบูร์ก กรุงเบอร์ลิน กับ เจ้าชายไฮน์ริชแห่งปรัสเซีย พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี และ เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี พระจักรพรรดินีมเหสีแห่งเยอรมนี ในฐานะที่พระชนนีของทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพี่น้องกัน เจ้าหญิงไอรีนและเจ้าชายไฮน์ริชทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของกันและกัน[8] การอภิเษกสมรสสร้างความไม่พอพระทัยแก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เพราะพระองค์ไม่เคยทรงทราบถึงการขอความรักกันจนกระทั่งทั้งสองพระองค์ตกลง พระทัยที่จะอภิเษกสมรส[9] เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระจักรพรรดินีมเหสีทรงพอพระทัยในตัวเจ้าหญิงไอรีนมาก อย่างไรก็ดี จักรพรรดินีทรงตกพระทัยมากเนื่องจากเจ้าหญิงไอรีนมิทรงสวมผ้าคลุมไหล่หรือ ผ้าคุลมบ่าเพื่ออำพรางพระอุทรขณะทรงพระครรภ์พระโอรสพระองค์แรกคือ เจ้าชายวัลเดมาร์ ซึ่งประชวรด้วยโรคเฮโมฟีเลียในปี พ.ศ. 2432 จักรพรรดินีที่ทรงสนพระทัยในการเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันยังทรงไม่เข้า พระทัยอีกด้วยว่าทำไมเจ้าชายไฮน์ริชและเจ้าหญิงไอรีนไม่เคยทรงอ่านหนังสือ พิมพ์เลย[10] อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกันด้วยความสุขและทรงเป็นที่รู้จัก ว่า "The Very Amiables" (คู่ที่น่ารักมาก) ในหมู่พระประยูรญาติ เนื่องจากลักษณะท่าทางอันสุภาพเรียบร้อย ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระโอรสสามพระองค์คือ

    เชื้อสายของเจ้าชายไฮน์ริชและเจ้าหญิงไอรีนประกอบด้วยพระนัดดาสององค์ พระปนัดดาสององค์ และโอรสธิดาของพระปนัดดาอีกหกคน[12]

    สัมพันธ์ในครอบครัว

    เจ้าหญิงได้ทรงถ่ายทอดพันธุกรรมเฮโมฟีเลียไปยังเจ้าชายวัลเดมาร์และเจ้า ชายไฮน์ริช พระโอรสองค์โตและองค์เล็ก พระพลานามัยของเจ้าชายวัลเดมาร์น่าเป็นห่วงมากสำหรับพระองค์เมื่อทรงพระ เยาว์[13] ต่อมาก็ยังทรงโทมนัสเป็นอันมากเมื่อเจ้าชายไฮน์ริช พระโอรสองค์เล็กชนมายุ 4 ชันษา สิ้นพระชนม์หลังจากหกล้มและพระเศียรกระแทกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447[14] หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายไฮน์ริช เจ้าหญิงอลิกซ์ ซึ่งทรงเป็นพระขนิษฐาที่ขณะนี้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย ทรงมีประสูติกาลพระโอรสที่ประชวรด้วยโรคเฮโมฟีเลีย พระนามว่า มกุฎราชกุมารอเล็กซิส ส่วนสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน พระญาติชั้นที่หนึ่งก็ทรงมีพระโอรสที่ประชวรด้วยโรคเฮโมฟีเลียสองพระองค์เช่นกัน

    เจ้าหญิงไอรีนที่ทรงได้รับการเลี้ยงดูมาให้เชื่อวิถีความพฤติสมัย วิกตอเรียอย่างแท้จริง ทรงตกพระทัยอย่างง่ายดายกับสิ่งที่เห็นว่าเป็นความไร้ศีลธรรม [15] เมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระภคินีทรงเลิกนับถือนิกายลูเธอรันเยอรมัน ที่ทั้งสองพระองค์ทรงเติบโตมาและเข้ารีตในศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในปี พ.ศ. 2434 เจ้าหญิงทรงรู้สึกเศร้าพระทัยมาก พระองค์ทรงเขียนถึงพระชนกว่าทรง"ร้องไห้อย่างหนัก"กับการตัดสินใจของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ[16] ต่อมาเจ้าหญิงอลิกซ์ได้ทรงเข้ารีตในศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียด้วยเช่นกันเมื่อทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย แม้ว่าจะทรงผิดหวังกับการเลือกนับถือศาสนา พระองค์ยังคงใกล้ชิดสนิทสนมกับพระภคินีและขนิษฐาทั้งสอง ในปี พ.ศ. 2450 เจ้าหญิงไอรีนทรงช่วยเหลือจัดแจงการอภิเษกสมรสที่ต่อมาเป็นเสมือนหายนะระหว่างแกรนด์ดัชเชสมาเรีย ปาฟลอฟนาแห่งรัสเซียกับเจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน ดยุคแห่งโซเดอร์มันลานด์[17]สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน พระชนนีในเจ้าชายวิลเฮล์มทรงเป็นสหายเก่าของทั้งเจ้าหญิงเอลิซาเบธและเจ้าหญิงไอรีน [18] แกรนด์ดัชเชสมาเรียทรงเขียนเล่าต่อมาว่าเจ้าหญิงไอรีนทรงกดดันพระองค์ให้ทำ พิธีอภิเษกสมรสให้ลุล่วงเมื่อทรงสงสัย พระองค์ตรัสกับแกรนด์ดัชเชสว่าการล้มเลิกงานพิธีจะทำให้เจ้าหญิงเอลิซา เบธ"เสียใจอย่างมาก"[19] ในปี พ.ศ. 2455 เจ้าหญิงไอรีนทรงเป็นหนึ่งในแรงสนับสนุนต่อเจ้าหญิงอลิกซ์ พระขนิษฐา เมื่อมกุฎราชกุมารอเล็กซิสใกล้สิ้นพระชนม์จากความซับซ้อนของโรคเฮโมฟีเลีย ที่เรือนล่าสัตว์ของราชวงศ์ในประเทศโปแลนด์[20]

     

    ปลายพระชนม์ชีพ

     

    ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหญิงไอรีนกับพระภคินีและพระขนิษฐาต้องแตกแยกออกจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้ต้องทรงอยู่กันคนละฝ่าย เมื่อสงครามสิ้นสุดลง พระองค์ทรงได้ข่าวว่าเจ้าหญิงอลิกซ์ พระสวามี พระโอสธิดาและเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระภคินีทรงถูกปลงพระชนม์โดยพวกบอลเชวิค หลังจากสงครามและการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ประเทศเยอรมนีไม่ได้ปกครองด้วยราชวงศ์ปรัสเซียอีกต่อไป แต่เจ้าหญิงไอรีนกับพระสวามียังคงประทับในตำหนักเฮมเมลมาร์ค ทางตอนเหนือของประเทศอยู่

    เมื่อแอนนา แอนเดอร์สันปรากฏตัวขึ้นที่กรุงเบอร์ลินในปี พ.ศ. 2464 โดยอ้างว่าเป็นแกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย นิโคไลเยฟนาแห่งรัสเซีย ผู้รอดชีวิตจากการปลงพระชนม์พระราชวงศ์ เจ้าหญิงไอรีนเสด็จไปพบกับหญิงสาวคนนั้นแต่ตัดสินว่านางแอนเดอร์สันไม่ใช่ พระนัดดาที่ทรงพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2456[21] เจ้าชายไฮน์ริช พระสวามีทรงกล่าวว่าการพูดถึงนางแอนเดอร์สันรบกวนพระทัยเจ้าหญิงไอรีนมาก เกินไปและทรงสั่งว่าห้ามมิให้ใครพูดถึงหญิงคนนั้นเมื่อพระองค์ทรงอยู่ด้วย เจ้าชายไฮน์ริชสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 เมษายนพ.ศ. 2472 และอีกหลายปีต่อมา เจ้าชายซิกิสมุนด์ พระโอรสทรงตั้งคำถามกับนางแอนเดอร์สันผ่านสื่อกลางเกี่ยวกับวัยเยาว์ที่มี ร่วมกันและกล่าวว่าคำตอบถูกหมดทุกขัอ[22] เจ้าหญิงไอรีนทรงรับอุปการะเจ้าหญิงบาร์บารา พระธิดาในเจ้าชายซิกิสมุนด์ ที่ประสูติในปี พ.ศ. 2463 ไว้เป็นทายาทหลังจากที่เจ้าชายได้เสด็จออกจากเยอรมนีเพื่อไปประทับยังประเทศคอสตาริกาในช่วงทศวรรษที่ 1930 เจ้าชายซิกิสมุนด์ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จกลับมาประทับในเยอรมนีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2[23] เจ้าหญิงไอรีนทรงโทมนัสอย่างแสนสาหัสเมื่อเจ้าชายวัลเดมาร์ พระโอรสองค์โตทรงประชวรด้วยโรคเฮโมฟีเลียในปี พ.ศ. 2488 และสิ้นพระชนม์เนื่องจากการขาดเลือดสำหรับการถ่ายโลหิต ส่วนเจ้าหญิงก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2496 สิริพระชนมายุได้ 87 พรรษา 4 เดือน โดยได้ทรงทิ้งพระตำหนักเฮมเมลมาร์คไว้ให้เป็นมรดกแก่พระนัดดา

    พระอิสริยยศ

    • พ.ศ. 2409 - พ.ศ. 2431: สมเด็จพระองค์เจ้าหญิงไอรีนแห่งเฮสส์และไรน์ (Her Grand Ducal Highness Princess Irene of Hesse and by Rhine)
    • พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2496: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงไอรีนแห่งปรัสเซีย (Her Royal Highness Princess Irene of Prussia)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×