ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #50 : เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 162
      0
      24 พ.ค. 57




    เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต หรือพระนามเต็ม วิกตอเรีย แพทริเซีย เฮเลนา เอลิซาเบธ (อังกฤษPrincess Patricia of Connaught; ภายหลังจากการอภิเษกสมรสคือเลดี้ แพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay); 17 มีนาคม พ.ศ. 2429 - 12 มกราคม พ.ศ. 2517) ทรงเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่สละฐานันดรศักดิ์เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรและพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ

    ชีวิตในวัยเยาว์[แก้]

    เจ้าหญิงแพทริเซีย หรือ "แพ็ตซี่" ที่รู้จักในหมู่พระประยูรญาติ ประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2429 ณ พระราชวังบัคกิ้งแฮม กรุงลอนดอน พระชนกคือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายอาร์เธอร์ ดยุคแห่งคอนน็อต พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียกับเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ส่วนพระชนนีคือ เจ้าหญิงหลุยส์ มาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย พระองค์มีพระภคินีและพระเชษฐา 2 พระองค์คือ เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต ซึ่งภายหลังทรงเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน และ เจ้าฟ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต เจ้าหญิงทรงได้รับการขนานพระนามเต็มว่า วิกตอเรีย แพทริเซีย เฮเลนา เอลิซาเบธ ณ ตำหนักแบ็กช็อตพาร์ค เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 โดยมีพ่อและแม่ทูนหัว คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์ แกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งโอลเด็นบูร์ก เจ้าฟ้าชายวิลเฮล์มแห่งเยอรมนี ดยุคครองนครรัฐแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา และ เจ้าฟ้าชายอัลเบร็คต์แห่งปรัสเซีย พระนามวิกตอเรียมาจากสมเด็จพระอัยยิกา แพทริเซียมาจากนักบุญแพทริค ซึ่งเป็นนักบุญประจำวันประสูติ เฮเลนามาจากพระนามของเจ้าหญิงเฮเลนา พระภคินีในเจ้าชายอาร์เธอร์ พระชนกของพระองค์ และเอลิซาเบธมาจากพระนามของแกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งโอลเด็นบูร์ก

    ประเทศแคนาดา[แก้]

    เจ้าหญิงแพทริเซียทรงเดินทางอยู่บ่อยครั้งขณะยังทรงพระเยาว์ ดยุคแห่งคอนน็อต พระชนกทรงได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่กองทัพในประเทศอินเดีย เจ้าหญิงจึงได้ประทับอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสองปี Connaught Place ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเดลี ได้ตั้งชื่อตามดยุคด้วย ในปี พ.ศ. 2454 ดยุคแห่งค็อนน็อตได้ทรงรับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่แห่งแคนาดา เจ้าหญิงจึงได้โดยเสด็จพระชนกและพระชนนีไปยังแคนาดา และที่แห่งนี้เองทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพทหารแคนาดาในเจ้าหญิงแพทริเซีย (Princess Patricia's Canadian Light Infantry) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 โดยทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ กองทัพนี้ได้ตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าหญิง พระองค์ทรงออกแบบตราสัญลักษณ์และสีให้สำหรับกองทัพเพื่อนำไปยังประเทศฝรั่งเศส ในฐานะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการกองทัพ พระองค์ทรงได้แสดงบทบาทสำคัญต่างๆ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2517 เลดี้ แพทริเซีย เม้านท์แบ็ตเติน (ต่อมาคือ เลดี้บราเบิร์น) ซึ่งเป็นพระญาติและลูกทูนหัวของเจ้าหญิง และต่อมาดำรงพระยศเป็น เค้านท์เตสแห่งพม่า ได้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพต่อไป และให้คนในกองทัพลดพระยศและเรียกท่านเป็น เลดี้ แพทริเซีย เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าหญิง

    อภิเษกสมรส[แก้]

    คำถามเรื่องการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงแพทริเซียเป็นประเด็นร้อนแรงในหัวข้อสนทนาช่วงสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระองค์ทรงถูกจับคู่กับเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศอยู่หลายพระองค์ ทั้งนี้ยังได้รวมถึงอนาคตกษัตริย์แห่งโปรตุเกสและสเปน แกรนด์ดยุคไมเคิลแห่งรัสเซีย ที่เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย

    ในตอนสุดท้าย เจ้าหญิงทรงเลือกคู่ครองเป็นบุรุษสามัญชนแทนเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาโท (ภายหลังเป็นนายพลเรือ) เซอร์ อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์ (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2515) ทหารราชองครักษ์ในพระชนกของพระองค์ และบุตรชายของเอิร์ลแห่งดัลฮูซี เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรส ณ มหาวิหารเวสต์มินส์เตอร์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 โดยในวันนี้พระองค์ได้ทรงสมัครใจที่จะสละฐานันดรศักดิ์เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า แล้วทรงเปลี่ยนมาใช้พระอิสริยยศ เลดี้ แพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay) โดยมีลำดับโปเจียมก่อนหน้ามาร์ชเนสต่างๆ ของประเทศอังกฤษ

    ปลายพระชนม์ชีพ[แก้]

    แม้ว่าจะทรงสละฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว แต่เจ้าหญิงก็ยังคงทรงเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์อังกฤษ อยู่ในลำดับการสืบราชสมบัติ และเข้าร่วมพิธีสำคัญๆ อาทิ พิธีราชาภิเษกสมรส พิธีฝังพระศพและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2496 ตามลำดับ

    เจ้าหญิงแพทริเซียทรงเป็นอัครศิลปินที่สามารถโดยทรงเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพเขียนสีน้ำ ผลงานส่วนมากได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเดินทางท่องไปในประเทศเขตร้อน รูปแบบการเขียนภาพได้รับการอิทธิพลมาจากโกแก็งและแวนโก๊ะ เพราะพระองค์ทรงร่ำเรียนมาจาก เอ เอส ฮาร์ทริค ซึ่งรู้จักศิลปินเหล่านี้ด้วย เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักริบส์เด็นโฮลต์ เมืองวินเดิลแชม มณฑลเซอร์เรย์ ก่อนถึงวันประสูติครบรอบ 88 พรรษาและหลังจากพระสวามีเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสองพระราชนัดดาสตรีที่ยังทรงพระชนม์อยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในระยะเวลานั้น เลดี้ แพทริเซีย แรมเซย์และนายพลเรือเซอร์ อเล็กซานเดอร์ แรมเซย์ ได้ถูกฝังเคียงคู่กันที่สุสานหลวงฟร็อกมอร์ เมืองวินด์เซอร์

    พระอิสริยยศ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

    พระอิสริยยศ[แก้]

    • พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2462: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต (Her Royal Highness Princess Patricia of Connaught)
    • พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2517: เลดี้ แพทริเซีย แรมเซย์ (Lady Patricia Ramsay)

    เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

    • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งอินเดีย ชั้นที่ 1 (Companion of the Order of the Crown of India)
    • เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอห์นแห่งเยรูซาเล็ม ชั้นที่ 1 (Dame Grand Cross of the Order of St. John of Jerusalem)

    พระโอรส[แก้]

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×