ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #256 : สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 117
      0
      30 พ.ค. 55

     

    พระเจ้าจอร์จที่ 3[2] แห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายนค.ศ. 173829 มกราคมค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 และหลังจากนั้นเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์จนสวรรคตเมื่อวันที่ 29 มกราคมค.ศ. 1820 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์กเชอร์ สหราชอาณาจักร พระบรมศพอยู่ที่เซนต์จอร์จส์แชเปลที่พระราชวังวินด์เซอร์

    พระเจ้าจอร์จที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนค.ศ. 1738[1] ที่ตำหนักนอร์โฟล์คกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์และเจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา ต่อมาทรงได้อภิเษกสมรสกับดัชเชสชาร์ลอตต์แห่งเมคเลนบูร์ก-ชเตรลิทซ์และ มีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 15 พระองค์ นอกจะเป็นพระมหากษัตริย์บริเตนใหญ่แล้ว พระองค์ยังมีพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์กและผู้คัดเลือก แห่งฮันโนเวอร์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์ฮันโนเวอร์เพราะรัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์กได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรฮันโนเวอร์เมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814 พระเจ้าจอร์จที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่สามในราชวงศ์แฮโนเวอร์ และเป็นพระมหากษัตริย์ฮันโนเวอร์องค์แรกของอังกฤษที่พระราชสมภพในราช อาณาจักรบริเตนใหญ่และตรัสภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่[3] และไม่เคยเสด็จไปเยอรมนี

    รัชสมัยอันยาวนานของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางทหารหลายครั้งระหว่างราชอาณาจักรของพระองค์และ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเกือบทั้งหมด เมื่อต้นรัชสมัยบริเตนใหญ่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปีซึ่งทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปผู้มีอิทธิพลในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดีย แต่ต่อมาอังกฤษก็สูญเสียอาณานิคมอเมริกาไปกับสงครามปฏิวัติอเมริกัน (American Revolutionary War) ซึ่งเป็นสงครามที่ทำให้เกิดการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา ต่อมาราชอาณาจักรก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่สิ้นสุดลงด้วยการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1815 นอกจากนั้นระหว่างรัชสมัยของพระองค์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ได้รวมตัวกันเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์อีกด้วย

    แต่ต่อมาพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงเสียพระสติเป็นครั้งคราวและในที่สุดก็เป็นการถาวร พระอาการของพระองค์เป็นปัญหาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยนั้นงงงวย เพราะไม่ทราบสาเหตุและไม่ทราบวิธีถวายการรักษา แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระอาการต่าง ๆ ตรงกับอาการของโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นโรคที่อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารพิษ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีสารพิษระดับสูงในพระเกษาของพระเจ้าจอร์จที่ 3 หลังจากเมื่อพระอาการทรุดลงเป็นครั้งสุดท้ายจนไม่ทรงสามารถปกครองประเทศได้ เมื่อปี ค.ศ. 1810เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์จึงทรงปกครองราชอาณาจักรในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 สวรรคต เจ้าชายแห่งเวลส์จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร การวิจัยทางพระราชประวัติพระเจ้าจอร์จที่ 3 เปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของพระองค์ตลอดมา ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุมาจากการศึกษาจากเอกสารอ้างอิงที่ไม่เป็นธรรมต่อพระองค์[4]

    เนื้อหา

    ชีวิตเบื้องต้น

    พระเจ้าจอร์จเสด็จพระราชสมภพที่พระตำหนักนอร์โฟล์กในกรุงลอนดอน เป็นพระนัดดาในพระเจ้าจอร์จที่ 2 และพระโอรสของเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์และเจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา ทรงประสูติก่อนกำหนดถึงสองเดือนและไม่ทราบกันในขณะนั้นว่าจะทรงรอดหรือไม่ ทรงได้รับบัพติศมาในวันเดียวกันโดยศาสนาจารย์ทอมัส เซกเกอร์บิชอปแห่งอ๊อกซฟอร์ด[5] เดือนหนึ่งต่อมาก็ทรงรับบัพติศมาอีกครั้งหนึ่งอย่างเป็นทางการที่พระตำหนักนอร์โฟล์กโดยเซกเกอร์เช่นกัน โดยมีพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดนเป็นพระราชอัยกาทูนหัว (ผู้ทรงมอบฉันทะให้ชาลส์ คาลเวิร์ต บารอนบัลติมอร์ที่ 5 เป็นผู้แทนพระองค์) ฟรีดริชที่ 3 ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนแบร์ก พระปิตุลา (ผู้มอบฉันทะให้เฮนรี บริดเจส ดยุกที่ 2 แห่งแชนดอสเป็นผู้แทน) และพระนางโซฟี โดโรเทอาแห่งปรัสเซีย พระอัยกี (ผู้ทรงมอบฉันทะให้เลดีชาร์ลอต เอ็ดวินเป็นผู้แทนพระองค์) ).[6]

    เจ้าชายจอร์จทรงเจริญพระชันษาขึ้นมาเป็นเด็กที่พระสุขภาพพลานามัยดีแต่ ทรงไว้องค์และขี้อาย ครอบครัวของพระองค์ย้ายจากจตุรัสเลสเตอร์ไปยังที่ประทับใหม่ที่พระองค์และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี พระอนุชา ทรงได้รับการศึกษาจากพระอาจารย์ส่วนพระองค์ จดหมายจากครอบครัวแสดงว่าทรงเขียนและอ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษและเยอรมัน และทรงมีความคิดเห็นทางการเมืองตั้งแต่มีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา[7] เจ้าชายจอร์จทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษองค์แรกที่ทรงศึกษาวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการ นอกจากเคมีศาสตร์และฟิสิกส์แล้วพระองค์ก็ยังทรงศึกษาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาละติน ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภูมิศาสตร์ การพาณิชย์ การเกษตรกรรม และกฎหมายรัฐธรรมนูญนอกไปจากการกีฬาและการสังคมเช่นการเต้นรำ การดวลดาบ และการขี่ม้า การศึกษาทางศาสนาเป็นการศึกษาภายใต้คริสตจักรแห่งอังกฤษ[8]

    ภาพเขียนจากราวปี ค.ศ. 1749 ที่เจ้าชายจอร์จ (กลาง) และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี พระอนุชา และพระอาจารย์ฟรานซิส อายคอฟผู้ต่อมาเป็นอธิการบดีของมหาวิหารบริสตอล
    เจ้าชายจอร์จ ในพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งเวลส์ ใน ค.ศ. 1751

    พระเจ้าจอร์จที่ 2ไม่ทรงสนพระทัยในพระนัดดาเท่าใดนัก แต่ในปี ค.ศ. 1751 เมื่อเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ พระโอรสสิ้นพระชนม์โดยกระทันหันจากการบาดเจ็บที่ปอด เจ้าชายจอร์จก็กลายเป็นรัชทายาท และทรงได้รับตำแหน่งของพระราชบิดาและทรงดำรงตำแหน่งเป็นดยุกแห่งเอดินบะระ พระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงหันมาสนพระทัยในตัวพระนัดดา สามอาทิตย์หลังจากนั้นก็พระราชทานตำแหน่งให้เจ้าชายจอร์จเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์[9] ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1756 เมื่อทรงใกล้จะมีพระชนมายุ 18 พรรษาพระเจ้าจอร์จที่ 2 ก็พระราชทานพระราชวังเซนต์เจมส์ให้แก่เจ้าชายจอร์จ แต่เจ้าชายจอร์จไม่ทรงยอมรับโดยคำแนะนำของพระมารดาและจอห์น สจวต เอิร์ลที่ 3 แห่งบิวต์ พระสหายของพระมารดา ผู้ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี[10] พระมารดาของเจ้าชายจอร์จทรงพอพระทัยที่จะให้เจ้าชายจอร์จประทับอยู่กับ พระองค์เพื่อที่จะได้อบรมเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดทางจริยธรรมด้วยพระองค์เอง[11][12]


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×