ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #192 : เจ้าหญิงออกัสตาแห่งเคมบริดจ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 60
      0
      6 มิ.ย. 57

     

    เจ้าหญิงออกัสตาแห่งแคมบริดจ์ (อังกฤษ: Princess Augusta of Cambridge) (ออกัสตา แคโรไลน์ ชาร์ล็อต เอลิซาเบธ แมรี โซเฟีย หลุยส์; 19 กรกฎาคมพ.ศ. 2365 - 5 ธันวาคมพ.ศ. 2459) ทรงเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งในพระราชวงศ์อังกฤษ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเข้าไปอยู่ในพระราชวงศ์เม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ และได้ทรงเป็นแกรนด์ดัชเชสแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (HRH The Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz)

    เนื้อหา

    พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

    เจ้าหญิงออกัสตาประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมพ.ศ. 2365 ณ พระราชวังมองต์บริลแลนต์ เมืองฮาโนเวอร์ พระชนกของพระองค์คือ เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์ พระราชโอรสองค์ที่เจ็ดในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 และ เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ ส่วนพระราชชนนี คือ เจ้าหญิงออกัสตา ดัชเชสแห่งแคมบริดจ์ (พระอิสริยยศเดิม เจ้าหญิงออกัสตาแห่งเฮสส์-คาสเซิล)

    เจ้าหญิงทรงเจริญพระชนม์ชีพช่วงวัยเยาว์ในเมืองฮาโนเวอร์ ซึ่งพระชนกของพระองค์ทรงเป็นพระอุปราชในนามของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 พระบรมเชษฐา

    เจ้าหญิงออกัสตาทรงมีพระเชษฐาพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายจอร์จ ดยุคแห่งแคมบริดจ์ และพระกนิษฐาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์ ซึ่งต่อมาคือ ดัชเชสแห่งเท็ค ดังนั้นเจ้าหญิงจึงทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระมาตุจฉาในเจ้าหญิงแมรีแห่งเท็ค ซึ่งต่อมาคือ พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5

    อภิเษกสมรส

    เจ้าหญิงอภิเษกสมรสในวันที่ 28 มิถุนายนพ.ศ. 2386 ณ พระราชวังบัคกิงแฮม กรุงลอนดอน กับ แกรนด์ดยุคฟรีดริช วิลเฮล์มแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (ฟรีดริช วิลเฮล์ม คาร์ล จอร์จ แอร์นส์ อดอล์ฟ กุสตาฟ; 17 ตุลาคมพ.ศ. 2362 - 30 พฤษภาคมพ.ศ. 2447) ซึ่งทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่ง เจ้าหญิงออกัสตาจึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น แกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (HRH The Hereditary Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz) และในวันที่ 6 กันยายนพ.ศ. 2403 จึงได้ทรงเป็น แกรนด์ดัชเชสพระมเหสีแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (HRH The Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระสัสสุระ (พระชนกในพระสวามี)

    แกรนด์ดยุคและแกรนด์ดัชเชสแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ ทรงมีพระโอรสพระองค์เดียว คือ

    ปลายพระชนม์ชีพ

    แม้ว่าพระองค์จะทรงดำรงพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ในประเทศเยอรมนี แต่แกรนด์ดัชเชสออกัสตายังคงสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์อังกฤษเป็นอย่างดี ในระหว่างที่ดัชเชสแห่งแคมบริดจ์ พระชนนียังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้เสด็จเยียมเยียนพระชนนีที่ห้องชุดของพระองค์ในพระราชวังเคนซิงตันอยู่บ่อยครั้ง

    หลังการสิ้นพระชนม์ของพระชนนีเมื่อปี พ.ศ. 2432 แกรนด์ดัชเชสทรงได้รับพระตำหนักหลังหนึ่งบริเวณพระทวารของพระราชวังบัคกิงแฮม กรุงลอนดอน ซึ่งพระองค์ได้ประทับอยู่ช่วงหนึ่งของปีจนกระทั่งพระชนม์ที่ชราภาพมากขึ้นทำให้ทรงเสด็จต่างประเทศอีกต่อไปไม่ได้

    ในการเตรียมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา เมื่อปี พ.ศ. 2445ดยุคแห่งนอร์โฟล์คได้ปรึกษากับแกรนด์ดัชเชสออกัสตาถึงเรื่องของธรรมเนียมปฏิบัติและการแต่งกาย เนื่องจากเคยทรงเข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 และ สมเด็จพระราชินีอเดเลด เมื่อเจ็ดสิบเอ็ดปีก่อน ขณะทรงมีพระชนมายุเก้าพรรษา โดยได้ทรงจูบพระหัตถ์ของสมเด็จพระราชินีด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งไม่มีบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเขียนไว้เลย (ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุสิบหกพรรษา)

    แกรนด์ดัชเชสแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ทรงมีความสนิทสนมเป็นพิเศษกับ สมเด็จพระราชินีแมรี พระนัดดา แต่ด้วยความชราภาพทำให้มิทรงสามารถร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระ เจ้าจอร์จที่ 5 (ที่ทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในรุ่นที่สอง) และสมเด็จพระราชินีแมรี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนพ.ศ. 2454มหาวิหารเวสต์มินส์เตอร์กรุงลอนดอน

    เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลอังกฤษได้ระงับการจ่ายเงินบำนาญที่พระองค์ทรงได้รับในฐานะสมาชิกของ พระราชวงศ์อังกฤษ ในช่วงระหว่างสงครามสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนได้ส่งพระราชหัตถเลขาของสมเด็จ พระราชินีไปยังพระมาตุจฉาที่ยังคงประทับในประเทศเยอรมนี

    เมื่อทรงเป็นสตรีที่อาวุโสสูงขึ้น พระองค์เป็นที่รู้ถึงการชอบทำให้เสียงาน เมื่อเจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ทรง เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงออกัสตาทรงตรัสว่าได้ทรง"กลายเป็นพระราชินีแห่งราชบัลลังก์ที่มาจาก การปฏิวัติแล้ว" อีกทั้งในการเฉลิมฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษกของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าหญิงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า "ทำไมพระองค์ถึงทรงขอบคุณพระเจ้ากลางถนน" เนื่องจากสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียประทับอยู่ในรถม้าลากเพื่อทรงรับพรจากพระ เจ้า

    เจ้าหญิงออกัสตา แกรนด์ดัชเชสพระชนนีแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ. 2459 ณ เมืองนอยสเตรลิตซ์ และพระศพฝังที่เมืองมิโรว์ ประเทศเยอรมนี เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้ายในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเป็นสายสัมพันธ์สุดท้ายของเชื้อสายอังกฤษในราชวงศ์ฮาโนเวอร์

    ในช่วงการสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงมีพระชนมายุ 94 พรรษา 4 เดือน 16 วัน โดยทำให้ทรงเป็นเจ้าหญิงอังกฤษในเชื้อพระวงศ์ที่มีพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดจน กระทั่งเจ้าหญิงอลิซแห่งออลบานี เคานท์เตสแห่งแอธโลน พระราชนัดดาสายพระราชโอรสของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงทำลายสถิติในปี พ.ศ. 2520 โดยสิ้นพระชนม์ในวันที่ 3 มกราคมพ.ศ. 2524 ขณะทรงมีพระชนมายุ 97 พรรษา 10 เดือน 9 วัน

    พระอิสริยยศ

    • พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2386: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงออกัสตาแห่งแคมบริดจ์ (Her Royal Highness Princess Augusta of Cambridge)
    • พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2403: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (Her Royal Highness The Hereditary Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz)
    • พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2447: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแกรนด์ดัชเชสแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (Her Royal Highness The Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz)
    • พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2459: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแกรนด์ดัชเชสพระชนนีแห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิตซ์ (Her Royal Highness The Dowager Grand Duchess of Mecklenburg-Strelitz)


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×