ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #80 : ท้าวทองกีบม้า ท้าวทรงกันดาล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.01K
      0
      9 เม.ย. 53

     “ท้าวทองกีบม้าหรือ ท้าวทองกลีบม้า

                 ท้าวทรงกันดาลหรือ ท้าวทรงกันดารหรือ ท้าวทรงกันดาน

                อย่างไรกันแน่ และทั้งสองท้าวมีหน้าที่ทำอะไรอยู่ในวัง-

                สะกดว่า ท้าวทองกีบม้าและ ท้าวทรงกันดาล

                ท้าวทองกีบม้า นั้นว่ามีหน้าที่เป็นพวกวิเสท (พวกทำกับข้าวของหลวง หรือทำงานในห้องพระเครื่องต้น) แต่จะถึงขั้นเป็นหัวหน้าหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะจริงๆ แล้วเท่าที่ปรากฏในทำเนียบท้าวนาง ผู้ว่าการห้องเครื่องต้นคือท้าวอินทรสุริยา แต่ในรัชกาลที่ ๒ โปรดฯให้เจ้าจอมมารดาเรียม หรือ สมเด็จพระศรีสุลาไลย ทรงว่าการห้องพระเครื่องต้น และในรัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้พระอัครชายาทรงว่าการห้องพระเครื่องต้น มิใช่ท้าวนาง

                บรรดาศักดิ์ท้าวทองกีบม้านี้ ผู้สนใจค้นคว้าบางท่านให้ข้อคิดเห็นว่า น่าจะมาจากชื่อของ ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (เดิมคือชื่อฟอลคอนที่เรารู้จักกันดี) ท่านผู้หญิงเป็นชาวญี่ปุ่นครึ่งโปรตุเกส ต่อมาเรียกกันแต่ชื่อหลังว่าเดอ กีมาร์ เมื่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์สิ้นชีวิต มาดามเดอ กีมาร์ ได้เข้าทำงานในห้องพระเครื่องต้น ว่าได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวผู้คนจึงเรียกกันว่า ท้าวเดอ กีมาร์ ต่อมากลายเป็น ทองกีบม้าไป

                อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนี้เป็นประเภท ฟังหูไว้หูเพราะไม่มีหลักฐานอันแน่ชัด

     

    เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๔ จากซ้ายไปขวา เจ้าจอมมารดาเขียน เจ้าจอมมารดาวาด และเจ้าจอมมารดาสุ่น

    ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดาวาด มีตำแหน่งเป็นท้าววรจันทร์ และ เจ้าจอมมารดาสุ่น เป็นท้าววนิดาพิจาริณี

    ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่งแบบทหารสก๊อตตามเสด็จ พระบาทสมเด็จ

    พระจอมเกล้าฯ ประพาสสระบุรี

               บรรดาศักดิ์ท้าวนางที่ขึ้นต้นว่า ทองนั้น เคยได้ยินอีกชื่อหนึ่งคือ ท้าวทองพยศอาจจะเกี่ยวกับพวกวิเสทเช่นเดียวกับ ทองกีบม้าก็ได้ ชวนให้สันนิษฐานอีกว่า ท้าวทองกีบม้าชื่อเดิมอาจจะเป็นทองอะไรสักอย่าง แต่เพราะคนดำรงตำแหน่ง ชื่อตัวว่า เดอ กีมาร์เลยกลายเป็นท้าวทองกีบม้าไป

                ก่อนหน้าที่มาดามเดอ กีมาร์ จะเป็นท้าวทองกีบม้านั้นก่อนหน้านี้จะมีบรรดาศักดิ์ท้าวทองกีบม้าหรือหาไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน

                ทว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พบว่า มีท้าวนาง บรรดาศักดิ์ ท้าวทองกีบม้า ปรากฏอยู่ในพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เรื่องงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

                เมื่อโปรดฯให้หุงข้าวอย่างเทศ โดยมีขุนนางรับพระบรมราชโองการเป็นเจ้าของหุงข้าว ๑๘ ท่าน

                 ข้าวอย่างเทศนี้สันนิษฐานว่าคงจะเป็นข้าวแขก คือหุงใส่เครื่องเทศและขมิ้นอย่างข้าวหมกไก่ เพราะผู้รับพระบรมราชโองการเป็นเจ้าของฟังดูส่วนมากบรรดาศักดิ์ออกแขกๆ แทบทั้งนั้น เช่น พระยาจุฬา (ราชมนตรี) พระศรีวรข่าน ขุนเมาะตมิข่าน ขุนวิวานิข่าน ฯลฯ

                มีชื่อ ท้าวทองกีบม้าในตอนท้ายว่า

                 “...ให้ท้าวทองกีบม้าเป็นผู้แต่ง ใส่ชามใส่พานรองปฏิบัติ

                คือเป็นผู้จัดใส่ชามวางบนพานรองถวายพระภิกษุสงฆ์นั่นเอง

                ทีนี้ท้าวทรงกันดาล

                กันดาลแปลว่า กลางส่วน กันดารแปลว่า อัตคัดชื่อจะหมายความจริงๆ ว่าอย่างไรไม่ทราบ แต่หน้าที่ของท้าวทรงกันดาลนั้น เป็นผู้ว่าการพระคลังฝ่ายใน หรือพระคลังใน

                บรรดาศักดิ์ ท้าวหรือเรียกอย่างยกย่องว่า คุณท้าวนี้

                คือ ท้าวนางที่มีหน้าที่ราชการฝ่ายในแบบเดียวกันกับข้าราชการฝ่ายหน้า

                มิใช่ ท้าวซึ่งเป็น ท้าวพระสนม

                พูดง่ายๆ ว่า แต่โบราณมา ท้าวมี ๒ อย่าง คือ ท้าวพระสนมและ ท้าวนาง

                ท้าวพระสนม นั้น เป็นพระสนมเอกในพระเจ้าแผ่นดินซึ่งครองราชย์อยู่ขณะนั้น มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินทรสเรน ๑ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ๑ ท้าวอินทรเทวี ๑ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ๑

                ส่วนมากเรารู้จักกันดีแต่ ท้าวศรีสุดาจันทร์ กับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นไม่ต้องพูดถึง ภาพยนตร์เรื่องสุริโยไทเพิ่งฉายหมาดๆ ส่วนท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็นางนพมาศ ลอยกระทง รู้จักกันดีอีก

                ท้าวพระสนมทั้ง ๔ นี้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้ง จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงตั้งเจ้าจอมพระสนมเอก เป็น ท้าวพระสนมเอก เพียง ๒ ท่าน ไม่ถึง ๔ ตามแบบโบราณ แต่มิได้เรียกตามทำเนียบเก่า โปรดเกล้าฯ พระราชทานใหม่ให้เป็นท้าวสุจริตสุดา ๑ และท้าวอินทราณี ๑ (ท้าวอินทราณี ต่อมาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา)

                ส่วน ท้าวนางคือข้าราชการฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะโปรดฯแต่งตั้งจากหญิงสูงศักดิ์ที่มิใช่เจ้านาย หรือธิดาขุนนาง หรือผู้ที่ทรงคุ้นเคย หรือโปรดฯให้เจ้าจอมพระสนมในรัชกาลก่อนๆ ซึ่งทรงไว้วางพระราชหฤทัยดำรงตำแหน่ง ท้าวนาง ดังกล่าว

                 ท้าวนางผู้บังคับบัญชา มีอยู่ ๔ ตำแหน่ง เช่นเดียวกับ จตุสดมภ์ทางฝ่ายหน้า คือ

                ๑. ท้าวสมศักดิ์ ว่าพนักงานทั้งปวง

                ๒. ท้าวอินทรสุริยา ว่าห้องเครื่องวิเสท

                ๓. ท้าวศรีสัจจา ว่าการโขลนจ่า ควบคุมประตูวัง และอารักขาทั่วไป

                ๔. ท้าวโสภานิเวศน์ ผู้ช่วยโดยทั่วๆ ไป ส่วนมากช่วยในการของท้าววรจันทร์

                ตำแหน่ง ท้าววรจันทร์ นี้ เป็นตำแหน่งสูงที่สุดของข้าราชการฝ่ายใน แม้แต่ท้าวพระสนม ทั้ง ๔ ก็ยังเป็นรอง นับเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจบังคับบัญชาได้สิทธิ์ขาด

                แต่โบราณมา ท้าววรจันทร์ ถือศักดินา ๑,๐๐๐ เท่ากับท้าวพระสนมทั้ง ๔ แต่อำนาจบังคับบัญชาเหนือกว่า

                ส่วน ท้าวนางทั้ง ๔ คือ ศักดินา ๘๐๐

                ทว่า เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดฯให้เจ้าจอมมารดาวาด (เจ้าจอมมารดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) ในรัชกาลที่ ๔ เป็นท้าววรจันทร์นั้น โปรดฯให้ถือศักดินา ๓๐๐๐

                นอกจากตำแหน่ง ท้าวนางทั้ง ๔ ดังกล่าวยังมีบรรดาศักดิ์ท้าวนางอีกหลายตำแหน่ง เช่น ท้าวทรงกันดาล บังคับบัญชาพระคลังใน มีท้าวภัณฑสารเป็นผู้ช่วย ท้าวสุภัติการภักดี ท้าววนิดาพิจาริณี ฯลฯ บรรดาศักดิ์คุณท้าวนี้มิได้ด้อยกว่ากันเท่าใดนัก คล้ายกันกับบรรดาศักดิ์พระยา ซึ่งสมัยก่อนมีทั้งพระยาตามทำเนียบและพระยาที่โปรดฯพระราชทานนามบรรดาศักดิ์ สูงต่ำกว่ากันก็ตรงที่เป็นพระยารับพระราชทานพานทอง (สมัยก่อนไม่มีเหรียญตรา) ที่เรียกกันว่าพระยาพานทอง กับพระยาที่มิได้รับพระราชทานพานทอง

                ในรัชกาลที่ ๕ ปรากฏนามท้าวนางท่านหนึ่ง คือท้าวอินทรสุริยา ท่านผู้นี้

    เป็นราชินิกุลบางช้าง สายเจ้าคุณชูโต ชื่อ อาบ (ชูโต) โปรดฯให้เป็น

    พระพี่เลี้ยง ท่านหนึ่งในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ

     สมเด็จพระบรมฯ พระองค์นั้นทรงบันทึกในจดหมายเหตุรายวัน ส่วนพระองค์

     ถึงคุณท้าวท่านนี้ หลายตอน บางตอนอ่านแล้วน่ารักน่าเอ็นดูทั้งพระองค์ท่านเองและคุณท้าวท่านตรัสเรียกคุณท้าวว่า ยายอิน

                เมื่อพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ทรงบันทึกว่า

                วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๖

                วันนี้เราขี้เกียจอ่านหนังสือ เตือนให้เราอ่านเราร้องไห้สองหน เราอ่านเล็กน้อย กลับมายายอินล้อเรา เราชกกับยายอิน...ฯลฯ...”

                และ

                 “...ยายอินมาเล่าถึงไปดูรับแขกเมือง...”

                 “...เราเล่นกับยายอิน...”

                ทว่าแม้จะเป็นพระพี่เลี้ยง ซึ่งใกล้ชิดสนิทสนมและดูจะโปรดมาก เมื่อยายอินของพระองค์ท่านบกพร่อง ก็ไม่ทรงเข้าข้าง แสดงว่าทรงรู้จักคิด รู้จักว่าความรับผิดชอบคืออะไร ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

                ทรงบันทึกเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๘ พระชนมายุย่างเข้า ๗ พรรษา ว่า

                 สองโมงเศษแต่งตัวไปทรงบาตร ทูลหม่อมบนไม่ได้เสด็จลง เราทรงแทน พระแปดสิบ ข้าวไม่พอ เราออกฉุนเต็มแก่ ได้เรียกยายอินมาต่อว่า แกกลับพูดเละละ บ่ายเราไปบน เฝ้าที่สวนสวรรค์ ทูลหม่อมบนทรงก่อเขา เราทูลถึงข้าวบาตรไม่พอ รับสั่งว่าให้เราเอาตัวยายอินมาเฆี่ยนเสีย...”

                (ทูลหม่อมบน-พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง)

                วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๒๘ ทรงบันทึกว่า

                 “...เมื่อเสด็จที่ไพศาล (พระที่นั่งไพศาลทักษิณ) รับสั่งถามยายอินเรื่องของทรงบาตร ยายอินฉุนเราใหญ่ เราไม่เข้ากับผู้ผิดแน่ เห็นอะไรก็ต้องทูลให้ทูลหม่อมบนทรงทราบ...”

                ตำแหน่งท้าวอินทรสุริยา นี้ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระพี่เลี้ยงในสมัยเมื่อยังทรงพระเยาว์ให้เป็นท้าวอินทรสุริยา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×