ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #50 : พระบัณฑูร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 683
      1
      8 ธ.ค. 52

     
    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
                ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
                ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
                 “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
                ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’
                (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
                แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
                อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน
                แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
                เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
                เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
                ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
                ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
                 “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
                พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
                พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
                แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
                เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
                ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
                ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
                แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
                สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
                 “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
                ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
                ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
                แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
                ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
                รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
                รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
                รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ 
    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
                ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
                ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
                 “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
                ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’
                (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
                แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
                อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน
                แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
                เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
                เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
                ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
                ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
                 “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
                พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
                พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
                แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
                เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
                ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
                ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
                แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
                สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
                 “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
                ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
                ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
                แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
                ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
                รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
                รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
                รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ 
    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
                ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
                ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
                 “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
                ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’
                (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
                แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
                อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน
                แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
                เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
                เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
                ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
                ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
                 “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
                พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
                พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
                แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
                เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
                ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
                ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
                แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
                สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
                 “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
                ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
                ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
                แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
                ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
                รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
                รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
                รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ 
    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
                ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
                ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
                 “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
                ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’
                (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
                แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
                อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน
                แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
                เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
                เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
                ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
                ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
                 “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
                พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
                พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
                แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
                เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
                ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
                ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
                แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
                สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
                 “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
                ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
                ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
                แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
                ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
                รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
                รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
                รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ 
    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
                ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
                ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
                 “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
                ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’
                (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
                แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
                อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน
                แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
                เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
                เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
                ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
                ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
                 “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
                พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
                พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
                แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
                เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
                ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
                ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
                แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
                สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
                 “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
                ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
                ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
                ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
                ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
                แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
                ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
                รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
                รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
                รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×