ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #45 : ชื่อสกุลที่มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.3K
      3
      5 ก.ค. 52

     

    สกุลต่างๆ ที่สืบสาวขึ้นไปแล้วมาจากบรรพบุรุษเดียวกันนั้นมีไม่ใช่น้อย เช่นสกุลที่สืบมาจากเจ้าพระยาสองพี่น้อง คือเจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาทิราช (เมฆ) และเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) ที่เล่าๆ มาแล้ว

    ทางเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) เล่าแล้วว่าบุตรชายใหญ่ของท่าน คือ หม่อมมุกนั้น เดิมเป็นนายกวด หุ้มแพร ในรัชสมัยกรุงธนบุรี เป็นพระสวามี พระองค์เจ้าหญิงกุ (กรมหลวงนรินทรเทวี) พระเจ้าน้องนางเธอในรัชกาลที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดฯให้หม่อมมุกดำรงพระยศทรงกรมเป็นกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์

    จากพระองค์เล็กสุด ๑. พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ๒. พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ๓. พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ๔. พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย

    ส่วนบุตรชายสุดท้อง ลำดับที่ ๖ นั้น คือเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) เป็นบิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)

    เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) สมัยยังเด็กๆ ว่ากันว่า คงจะสนิทสนมกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังทรงดำรงพระยศหม่อมเจ้า พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เพราะนอกจากจะเกี่ยวดองเป็นพระญาติแล้ว อายุเจ้าพระยาบดินทรเดชาก็สูงกว่า พระชนมายุพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เพียง ๙ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงทรงพระราชดำรัสเรียกท่านว่า พี่บดินทร์มาแต่ยังเด็กด้วยกัน และตรัสเรียกเช่นนั้นตลอดมา

    พูดถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มีผู้สงสัยกันว่า เมื่อท่านถึงอสัญกรรม ก็พระราชทานโกศรับศพตามเกียรติยศที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี แต่มิได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงที่เมรุผ้าขาววัดสระเกศ สมกับที่เป็น ขุนพลแก้วตามพระราชดำรัสยกย่อง

    จึงมีบางท่านสันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯคงจะกริ้วในเรื่องบางเรื่อง

    แต่ข้อสันนิษฐานนี้ เห็นว่าน่าจะไม่เป็นความจริง เหตุผลคงอยู่ที่ว่า ประการหนึ่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ถึงอสัญกรรมก่อนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคตเพียงปีเดียว เป็นปีที่ ๒๖ ในรัชกาลที่ ๓ เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระชรา และกำลังเริ่มทรงพระประชวรไม่สบาย

    พระองค์ตามธรรมดาของผู้สูงอายุ บางครั้งเสด็จออกว่าราชการสำคัญๆ  เกินเวลาเสวย ถึงกับทรงบ่นว่าหิว นั่นคงเป็นเหตุผลประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ป่วยเป็นโรคป่วงใหญ่ หรือ อหิวาตกโรค ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนั้น หากเป็นคนธรรมดาก็ต้องฝังไม่เผา การเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงย่อมเป็นการเสี่ยงอันตราย คงมิใช่เพราะมีเรื่องกริ้ว พี่บดินทร์ของพระองค์แต่อย่างใด

    สายเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) ผู้น้อง มีบุคคลสำคัญ คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)

    สายเจ้าพระสุรสีห์พิศมาทิราช (เมฆ) ผู้พี่ชายก็มีบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นราชินิกุล ในรัชกาลที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ และที่ ๙ ถึง ๔ รัชกาล

    ดังที่เล่ามาแล้วเรื่องเจ้าจอมมารดาพุ่มกับน้องชาย หนีพม่า

    น้องชายเจ้าจอมมารดาพุ่ม ที่ชื่อแก้ว ซึ่งมีสมญาเรียกกันว่า แก้วแขกสันนิษฐานว่า หน้าตาคงจะคมคายละม้ายแขกนั้น ต่อมาได้เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นพระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) จางวางกรมช่างสิบหมู่

    พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) มีบุตรธิดาหลายคน ได้เป็นพระยาถึง ๔ คน แต่บุตรชายคนที่ ๒ ที่ชื่อแตงนั้น รับราชการที่หลวงอาสาสำแดง แล้วก็สิ้นชีวิตเสียก่อนในรัชกาลที่ ๔

    หลวงอาสาสำแดง (แตง) สมรสกับคุณนาค คุณนาคเข้ารับราชการฝ่ายในได้เป็นที่ท้าวทองพยศ ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เป็น ท้าวสุจริตธำรง (นาค)

    หลวงอาสาสำแดง (แตง) และ ท่านท้าวสุจริตธำรง (นาค) เป็นบิดามารดาของเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔

    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช สมเด็จพระปิยมาวดีฯ

    เจ้าจอมมารดาเปี่ยม มีพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๔ ๖ พระองค์ พระองค์ใหญ่ คือ พระองค์เจ้าอุณากรรณ อนันตนรไชย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาเพียง ๑๗ พระองค์ที่ ๒ คือ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศวโรปการ)

    พระองค์แรกได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมชนกนาถว่า อุณากรรณฯเนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ท่านเล่นละคร เป็นตัวอุณากรรณ คือ นางบุษบา ขณะแปลงเป็นชาย เสมอมา แสดงว่าท่านเป็นคนสวยงามมาก เพราะอุณากรรณนั้นในบทพระราชนิพนธ์ว่า สวยงามแม้อยู่ในเพศชาย ใครเห็นก็ยังตะลึงหลง ส่วนพระนามพระองค์ที่ ๒ ก็ยังติดพันอยู่กับ วงศ์เทวัญซึ่งเป็นวงศ์อิเหนาและนางบุษบา

    พระราชธิดา ในเจ้าจอมมารดาเปี่ยม สามพระองค์ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศ พระราชินีทั้งสามพระองค์ในเวลาต่อๆ กันมา คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระอิสริยยศสุดท้าย คือ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า) สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (พระอิสริยยศสุดท้ายคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

    เจ้าจอมมารดาเปี่ยมเป็นขรัวยาย สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอกที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าทั้งสามพระองค์ ร่วมสามสิบพระองค์ด้วยกัน

    เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาอัฐิเป็น สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕

    สมเด็จพระปิยมาวดีฯ นี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี พระบรมราชินีนาถ ตรัสเรียกว่า คุณยาย

    ยังมีธิดาของหลวงอาสาสำแดง (แตง) ที่มิได้เป็นธิดาของท่านท้าวสุจริตธำรง แต่ท่านท้าวฯ ท่านเลี้ยงดูประหนึ่งลูกแท้ๆ ติดตามสมเด็จพระปิยมาวดีฯผู้น้องสาวเข้าไปอยู่ด้วย ท่านผู้นี้เป็นประดุจขรัวยายเลี้ยง หรือ คุณยายเลี้ยงของสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระบรมฯ ตรัสเรียกว่า นายชื่อ สุดชาววังเรียกกันว่า ขรัวนายสุด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×