ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #32 : เครื่องยศพระสนมเอก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.15K
      5
      6 มิ.ย. 52

     

    ในรัชกาลที่ ๓ ไม่มีหลักฐานว่า ท่านผู้ใดบ้างที่ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นพระสนมเอก เข้าใจว่าคงจะต้องได้รับพระราชทาน เครื่องยศอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ในรัชกาลที่ ๑ นั้นปรากฏจากเอกสารต่างๆ แน่ชัดว่า ท่านที่ได้เป็นพระสนมเอกแน่ๆ  เรียกกันว่า เจ้าคุณคือ เจ้าจอมแว่นที่เรียกกันว่า เจ้าคุณวังส่วนในรัชกาลที่ ๒ ท่านที่ปรากฏว่าเป็นพระสนมเอก คือ เจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๓) เรียกกันว่า เจ้าคุณเช่นกัน ว่าบางทีเรียกกันว่า เจ้าคุณห้องเครื่องเพราะท่านเป็นผู้บัญชาการห้องพระเครื่องต้น

     เครื่องยศพระสนมเอก นี้ ในรัชกาลที่ ๑-๓ ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าคือสิ่งใด

    แต่ในรัชกาลที่ ๔ นั้น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในประวัติเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เกี่ยวกับ เครื่องยศนักสนม ดังนี้

     ชั้นที่ ๔ ชั้นต่ำกว่าเพื่อน เป็นหีบหมากเงินกาไหล่สำหรับพระราชทานนางอยู่งาน แต่โบราณดูเหมือนจะเรียก นางกำนัลซึ่งทรงใช้สอยในพระราชมณเฑียร ได้แก่บางคนที่ทรงพระเมตตาในหมู่นางอยู่งาน แต่ชั้นนี้ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม

    ชั้นที่ ๓ เป็นหีบหมากทองคำ สำหรับพระราชทานนางอยู่งาน ซึ่งทรงเลือกไว้ใช้ใกล้ชิดประจำพระองค์ใครได้พระราชทานหีบหมากทองคำจึงมีศักดิ์เป็น เจ้าจอมเรียกว่า เจ้าจอมนำหน้าชื่อทุกคน ฉันเข้าใจว่าชั้นนี้ที่เรียกว่า เจ้าจอมอยู่งาน

    ชั้นที่ ๒ เป็นหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี สำหรับพระราชทานเจ้าจอมมารดา หรือเจ้าจอมอยู่งาน ซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง ฉันเข้าใจว่าเรียก พระสนม แต่ชั้นนี้ขึ้นไป

    ชั้นที่ ๑ ที่เรียกว่า พระสนมเอกได้พระราชทานพานทองเพิ่มหีบหมากลงยาที่กล่าวมาแล้ว เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำ กับกระโถนทองคำด้วยใบหนึ่ง เป็นเทือกเดียว กันกับพานทอง เครื่องยศที่พระราชทานเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ แต่ขนาดย่อมกว่าพานทองเครื่องยศฝ่ายหน้า

    พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ที่เรียกกันว่า เจ้าจอมชั้นพานทองนี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายในแล้ว บรรดาเจ้าจอมที่โปรดเกล้าฯให้เป็น พระสนมเอกได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๒ คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)

    ในรัชกาลที่ ๓ แม้จะมิได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าจอมท่านใด เป็นพระสนมเอกบ้าง

    ทว่าก็มีเจ้าจอม ซึ่งเป็นที่โปรดปราน และนับว่าเป็นคนสำคัญอยู่สามท่าน

    คือ เจ้าจอมมารดาบาง ๑

    เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ๑

    และ เจ้าจอมมารดาอิ่ม ๑

    เจ้าจอมมารดาบาง เป็นเจ้าจอมรุ่นแรก ตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังทรงดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ประทับ ณ วังท่าพระ

    เจ้าจอมมารดาบางจะเป็นเชื้อสายท่านผู้ใด ไม่ปรากฏประวัติ แต่เข้าใจกันว่าคงจะเป็นคนสวยงามมาก เพราะทั้งพระราชธิดาและพระราชโอรส ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง เล่ากันว่า พระรูปโฉมงดงามด้วยกันทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงพระราชทานพระนามพระองค์หญิงว่า วิลาศต่อมาเมื่อทรงกรมในรัชกาล สมเด็จพระบรมชนกนาถ นั้น ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอันมีความหมายว่าเป็นเทพธิดาผู้สวยงามอีก คือ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

    ส่วนพระองค์ชาย ก็เช่นกัน คงจะมีพระรูปโฉมสวยงามเหมือนพระเชษฐภคินี เมื่อทรงพระเยาว์จึงมีพระนามเรียกกันว่า สังข์ทองหรือ เจ้าสังข์เพราะเมื่อแรกประสูติ พระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า ท่านจึงเป็นเพียงหม่อมเจ้า

    ต่อมา สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงได้พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้าลักขณานุคุณอันหมายถึงพระรูปโฉมสวยงาม อีกเช่นกัน

    พระราชธิดาและพระราชโอรส ทั้งสอง เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดปรานยิ่งกว่าพระองค์ใดๆ ฯกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างวัดพระราชทาน คือ วัดเทพธิดาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเทพธิดาส่วนพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ เมื่อสิ้นพระชนม์ แต่ยังหนุ่มพระชันษาเพิ่ง ๒๓ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงพระอาลัยเป็นอันมาก โปรดฯให้พระธิดาน้อย พร้อมทั้งหม่อมมารดาเข้ามาอยู่ในวังหลวง โปรดฯให้พระราชนัดดาเข้าเฝ้าฯทุกวัน ถ้าว่าอย่างชาวบ้านก็คือ ปู่เลี้ยงดูเล่นหัวด้วยตั้งแต่อายุเพียงขวบเดียวจนโตเป็นสาว และโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

    เจ้าจอมมารดาบาง จึงนับว่าเป็นเจ้าจอมมารดาคนสำคัญไม่น้อยในรัชกาลที่ ๓ ด้วยเป็นชนนีของ ลูกรักเป็นย่าของ หลานรักในพระเจ้าแผ่นดิน น่าเสียดายที่ไม่มีผู้ทราบประวัติของท่านเลย ได้แต่สันนิษฐานกันว่าบิดาของท่านเห็นจะเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่ได้รับราชการ อาจจะเป็นญาติของขุนนางท่านใดท่านหนึ่ง แต่โดยเหตุที่มีรูปโฉมงดงาม จึงได้ถวายตัวในพระเจ้าลูกยาเธอเวลานั้น

    เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ถวายตัวแต่แรก เช่นเดียวกับเจ้าจอมมารดาบาง แต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์นั้นเป็นพระญาติสนิทในสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือ เจ้าจอมมารดาเรียมในรัชกาลที่ ๒

    คือ เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นธิดาของ ท่านผ่อง (ภรรยา พระอักษรสมบัติ หรือหม่อมทับ)

    ท่านผ่อง เป็นธิดาของท่านปล้อง (ภรรยาพระยาพัทลุง ทองขาว)

    ท่านปล้อง เป็นน้องนางร่วมชนกชนนีกับพระชนนีเพ็ง

    และพระชนนีเพ็งเป็นพระชนนีของ สมเด็จพระศรีสุลาลัย

    เจ้าจอมมารดาทรัพย์ จึงเป็นหลานป้าของ สมเด็จพระศรีสุลาลัย

    เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นเจ้าจอมมารดาที่มีความสำคัญในรัชกาลที่ ๓ และสำคัญที่สุดในกาลต่อมา

    ท่านมีพระองค์เจ้าสองพระองค์เช่นเดียวกันกับเจ้าจอมมารดาบาง พระองค์ใหญ่เป็นชาย พระองค์น้อยเป็นหญิง พระนามว่า

    พระองค์เจ้าศิริวงศ์ และ พระองค์เจ้าลม่อม

    พระองค์เจ้าศิริวงศ์ นั้น ประสูติปีเดียวกันกับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นมาตยพิทักษ์ เมื่อพระชันษา ๒๗ ปี รุ่งขึ้นก็สิ้นพระชนม์ พระโอรสธิดา ยังทรงพระเยาว์อยู่หลายองค์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระเมตตาพระราชนัดดา โปรดฯ ให้รับเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทั้งหมด ในพระอุปการะของ พระองค์เจ้าลม่อม ผู้ทรงเป็นอาแท้ๆ ขณะนั้น สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพิ่งจะสวรรคตเพียงปีเดียว

    พระธิดาองค์หนึ่งของ ฯกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระนาม หม่อมเจ้าหญิงรำเพยประสูติปีเดียวกันกับ พระองค์เจ้าโสมนัสฯ ทรงกำพร้าพระบิดาเช่นเดียวกัน เมื่อเสด็จเข้ามาประทับในวัง หม่อมเจ้าหญิงรำเพย พระชันษาได้ ๔ ขวบ สมเด็จพระอัยกาธิราช ทรงพระเมตตาแก่พระราชนัดดาทั้งสองเป็นอันมาก หม่อมเจ้าหญิงรำเพย หรือสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในกาลต่อมา ได้เข้าเฝ้าฯ และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรง เล่นหัวด้วย เช่นเดียวกับพระองค์เจ้าโสมนัสฯ ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เรื่องพระราชานุกิจ รัชกาลที่ ๓ ตอนหนึ่งว่า

     เสด็จขึ้นเวลาบ่าย ๒ โมง หรือบ่าย ๒ โมงครึ่ง แล้วออกพระเฉลียงด้านใต้ ไม่มีใครเฝ้า เฝ้าแต่กรมหลวงวรเสรฐ สมเด็จพระเทพสิรินทร สมเด็จพระนางโสมนัส ทรงพระอักษรหรือเล่นกับเจ้านาย ๓ องค์นี้ จนเวลาบ่าย ๔ โมง

     กรมหลวงวรเสรฐคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดา พระองค์สุดท้ายใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระชันษา สูงกว่า สมเด็จพระนามทั้งสองพระองค์เพียง ๖ พรรษา เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต ฯกรมหลวงวรเสรฐสุดา พระชันษา ๒๒-๒๓ เป็นพระราชธิดา ผู้ทรงรับใช้สนองพระยุคลบาทใกล้ชิด จนกระทั่งเสด็จสวรรคต

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×