ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #305 : "สนทนากับคนแจวเรือจ้าง" จากหนังสือวชิรญาณ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 335
      0
      22 ก.พ. 54

    ตอนนี้เล่าถึงเรื่องการสัมภาษณ์บุคคล-หลากอาชีพลงในหนังสือวชิรญาณต่อ
             เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ) ทรง นำร่อง เขียนเรื่อง สนทนากับคนขอทาน ไปแล้ว ต่อมาในหนังสือปีนั้น ก็มีเรื่อง สนทนากับเจ๊กลากรถ สนทนากับคนแจวเรือจ้าง สนทนากับคนสูบฝิ่น และ สนทนากับคนซื้อของ โรงจำนำ
             การสนทนาหรือในสมัยนี้เรียกว่าเป็นการสัมภาษณ์บุคคลทั้ง ๔ นั้น ขอเก็บเรื่อง-เจ๊กลากรถไว้ทีหลัง
             เอาเรื่องสนทนากับคนแจวเรือจ้างก่อน เรือจ้างในที่นี้ คือเรือจ้างรับส่งคนโดยสารข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือบางทีก็รับจ้างไปส่งถึงบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองซึ่งแยกเข้าไปจากแม่ น้ำ
             ผู้สนทนานำมาเขียนลงหนังสือคือนายซุ่นฮวด เสมียนกระทรวงมุรธาธร จากการสนทนาทำให้ทราบว่า เรือจ้างนั้นก็มีผู้ให้เช่า คือเป็นนายทุนเช่นเดียวกับรถแท็กซี่ในสมัยนี้ และพวกเจ้าของเรือนั้นหากไม่ให้เช่าเรือ ก็มีลูกจ้างรับจ้างแจวโดยกินเงินเดือนประจำ
    คนแจวเรือจ้างที่นายซุ่นฮวดสนทนาด้วยนั้น อยู่ในประเภทเช่าเรือเขามา
    ถาม - แกแจวเรือจ้างได้วันละเท่าใด
    ตอบ - ได้วันละบาทบ้าง ๕ สลึงบ้าง เท่านั้นแหละขอรับ
    ถาม - แกเช่าเรือเขามาวันละเท่าใด
    ตอบ - วันละเฟื้องขอรับ (๑๒ สตางค์ครึ่ง)
    ถาม - แกต้องเสียเงินค่าท่าให้เขาหรือไม่
    ตอบ - นอกจากท่าหลวงและท่ากงสีแล้ว ต้องเสียทั้งสิ้น
    ถาม - เสียวันละเท่าใด
    ตอบ - เสียวันละเฟื้องขอรับ
    แสดงว่า เวลานั้นมีท่าจอดเรือจ้างรับคนโดยสารข้ามฟากเป็นของเอกชนอยู่หลายท่า ซึ่งเรือจ้างต้องเสียค่าจอด เว้นแต่ท่าหลวง และท่ากงสี ท่ากงสีก็คือท่าของเจ้าของกิจการต่างๆริมแม่น้ำ
    ถาม - แกเรียกค่าคนโดยสารเรืออย่างไร
    ตอบ - รับประทานท่าถนนราชวงศ์ตรงข้าม กลางวันเรียกคนละอัฐ (อัตราเงินต่ำสุด) ท่าอื่นๆเรียกคนละฟัส (สองอัฐ) ถ้า กลางคืนดึก ก็เรียกทวีขึ้นบ้าง
    ถาม - ทำไมท่าถนนราชวงศ์ถึงเรียกมากกว่าท่าอื่น
    ตอบ - รับประทาน ท่านี้ไม่ต้องรอคนมาก ถ้าแม้นมาคนเดียวก็รับข้ามได้
    ถาม - แกเป็นลูกจ้างแจวให้เขาดี หรือแจวของตัวเองดี
    ตอบ - นี่แหละขอรับ ดีคนละอย่าง แต่ใจผมชอบข้างแจวเองมาก
    ถาม - ดีอย่างใด
    ตอบ - ดีที่เวลานักขัตฤกษ์ หรือเทศกาลไหว้พระบาท ก็ได้มากกว่าวันธรรมดา ถ้าเป็นลูกจ้างเขา เวลาได้มากก็ไม่ได้เศษเลย
    อะไรขอรับ
    ถาม - เป็นลูกจ้างเขาที่เงินเดือนแพงๆไม่มีหรือ
    ตอบ - ไม่ใคร่มีขอรับ อย่างแพงก็เพียงสิบสี่บาท สิบห้าบาท อย่างต่ำเพียง ๑๐ บาท � ๓ ตำลึงเท่านั้น
    ถาม - แกแจวของตัวจะได้เสมอทุกวันหรือ
    ตอบ - รับประทานถึงไม่ได้เสมอ ก็พอมีเวลาพักผ่อนบ้าง ถ้าเป็นลูกจ้างเขา เราหยุดก็จะต้องลดเงินเดือน�
             คำสนทนานี้ ผู้ตอบใช้คำว่า �รับประทาน� นำแทบทุกคำตอบ
             คนรุ่นอายุ ๖๐-๗๐ หรือแม้แต่ ๔๐-๕๐ ที่เป็น �แฟน� เรื่องพล นิกร กิมหงวน คงเห็นว่า ตัวคนรับใช้สนิท คือ นายศักดิ์แห้ว แกติดคำว่า �รับประทาน� อย่างฟุ่มเฟือย ซึ่ง ป. อินทรปาลิต ผู้แต่ง นำมาเป็นจุดขบขัน� ด้วยแกขึ้นว่ารับประทานหมด เช่นถามว่า �เอ็งไปไหนมา� พ่อแห้วแกตอบว่า �รับประทาน...กระผมไป...รับประทานอุจจาระขอรับ�
             ทีนี้ผู้สัมภาษณ์ถามถึงการแจวทวนน้ำทวนลม ซึ่งคนไม่ได้อยู่กับเรือกับพายมักไม่รู้เรื่อง
    ถาม - การแจวอย่างไหนจะหนักแรงกว่ากัน
    ตอบ - รับประทาน ถ้าคนน้อย ถูกทวนน้ำทวนลมเข้าแล้ว เป็นหนักแรงกว่าอย่างอื่น
    ถาม - คนมากไม่หนักแรงหรือ
    ตอบ - รับประทาน คนมากถึงจะหนักแรงก็พอกำลัง ถ้าต้องทวนน้ำทวนลมเข้าแล้ว เรือก็ถ่วงไปได้เร็วกว่าคนน้อยหลายเท่าทีเดียวขอรับ
    ถาม - ทวนน้ำกับทวนลม แกจะสู้ข้างไหน
    ตอบ - ผมเอาข้างทวนน้ำละขอรับ พอจะแจวเลียบตลิ่งไปได้ ถ้าทวนลมมักจะพัดเอาเรือปัดไปได้�
             เมื่อกรุงเทพฯ ยังมีแต่แม่น้ำลำคลอง พาหนะก็มีแต่เรือต่างๆ
             เรือจ้างนั้นก็คือเรือสำปั้น (หรือสามปั้น) มีขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงได้แบบอย่างมาจากเมืองจีนจึงโปรดฯให้ทำขึ้นบ้างให้พระสนมกำนัลพาย เล่นในสระสวนขวา ต่อมาปรับปรุงเป็นหลายขนาด ขนาดกลางยาว ๓-๔ วา ใช้เป็นเรือจ้าง (ไม่มีประทุนบ้างมีประทุนบ้าง) ขนาดใหญ่ ๔-๘ วา มีประทุนใช้พักอาศัย ล้วนมาจากเรือสำปั้นของจีน เมื่อแรกต่อด้วยกระดาน ๓ แผ่น จึงเรียกว่า สามปั้น (สามปั้นแปลว่ากระดาน ๓ แผ่น) ต่อมาแม้เพิ่มกระดานต่อ ก็ยังเรียกว่า สามปั้น แล้วกลายเป็นสำปั้นอย่างที่เรียกๆกัน
             ทีนี้ สนทนากับเรือจ้างซึ่งเป็นอาชีพในแม่น้ำว่าคลอง
    ก็มีการสนทนากับเจ๊กลากรถ อาชีพในท้องถนน พาหนะแรกของคนไทยเมื่อเริ่มสร้างถนนหนทาง ไม่นับรถม้าลากที่มีมาก่อน
             ผู้สัมภาษณ์ใช้นาม (ปากกา) ว่า �นายปาล หอพระสมุด� ต่อมาท่านเป็น หลวงภักดีอดิศัย (ปาล วิมุตตกุล) เป็นเปรียญ
    ในการสนทนา ท่านเขียนคำพูดของคู่สนทนาเป็นภาษาไทยสำเนียงจีน ในสมัยนั้นก็นับว่าแหวกแนว ภาษาไทยสำเนียงจีนที่ท่านเขียนนี้เป็นสำเนียงของพวกแต้จิ๋ว ดังนี้
             ไทย ลื้อแซ่ไร ชื่อไร มาแต่เมืองไหน
             จีน อั๊วแซ่ต่า ซื่อเหล็ง มาเต่เมียงเต้จิ๋ว
             ไทย ลื้ออยู่เมืองแต้จิ๋วทีเดียว หรืออยู่ในเขตแขวงเมืองขึ้นของเมืองแต้จิ๋ว
             จีน อ้า! อั๊วอยู่ที่เมืองเต้หยง เป็นเมียงขึ้นของเต้จิ๋ว อั๊วเปงคงบั้งนอก เขาเลียกว่าเต้เอีย
    ไทย ทำไมจึงต้องเข้ามาเมืองไทย ลื้อมีเหตุไม่สบายอันใด หรือพวกพ้องเขาชวนมาก็เข้ามา
             จีน อยู่เมียงเจียนไม่สุบาย อั๊วเปงคงคักสงยากจน หาเงียนก็ไม่ล่าย ที่เมียงเจียนหาเกียนยาก วังหนึ่งจะหาสักไพสงไพก็เตียมที
             ไทย ทำไมลื้อจึงรู้ว่าเมืองไทยหากินง่าย หรือก็เดาๆมาโดยไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
             จีน พวกพ้องเขาเข้ามาเลี้ยวก็เอาเงียนไปมาก เขาบอกว่าเสียมโลหาเงียนง่าย อั๊วละก็ลีใจ พอเกียบเงียนค่าโดยสางเลือ พอเลี้ยวก็ลีบเข้ามา
    ไทย ลื้อมาเรืออะไร
             จีน มาเลือซุมาซู เปงลือกำปั่ง เมี่ยมาไม่เกียนข้าวเปงสองวัง เมาคึ่งเกียบซี้อ้า
             ไทย เมื่อแรกมาถึงลื้อมาอยู่ที่ไหน มาอยู่กับใครก่อน
             จีน อั๊วมาอยู่กะพี่ล้อง ที่กอกเจ้สัวเนียม ๕ วัง เลี้ยวไปลับจ้างอยู่ที่เขาทำกางลับส่งหลังสือไปเมียงเจียน ได้เงียนเดียนละ ๗ บาก ๒ หลึง เลี้ยวก็ไม่สุบาย จึงมาอยู่กะอา ลักษาตัวหายเลี้ยว ก็ไปลากลกต่อมา�
    ค่อนข้างอ่านภาษไทยสำเนียงภาษาแต้จิ๋วยากอยู่สักหน่อย ทว่าค่อยๆอ่านค่อยๆแคะก็สนุกดี ทีนี้มาถึงเรื่องเช่ารถ เช่นเดียวกับคนเรือจ้างแกเช่าเรือ
             ไทย ลื้อหาเช่ารถที่ไหนมาลาก
              จีน ลกของเถ้าเก่ที่ปั๊กตู ๓ ยอกเปงพวกกวางตุ้ง
             ไทย ค่าเช่าเขาเรียกเอาวันละเท่าไร
             จีน วังละเจ้กฮ้วง (หนึ่งเฟื้องประมาณ ๑๒ สตางค์ครึ่ง) เท่านั้นเอง ถ้าเซ่ากางคืงอีกเขาเอาอีกเจ้กฮ้วง
             ไทย ลื้อรับจ้างลากวันหนึ่งได้อัฐเท่าไร
             จีน วังละซือหลึง สองหลึงฮ้วง อย่างมากก็วังละบั๊ก ๕ ซือหลึง�
    จีนลากรถได้ วันละสลึงบ้าง สองสลึงกับอีก ๑ เฟื้อง (ประมาณ ๖๒ สตางค์) บ้าง อย่างมากได้วันละ ๑ บาท ถึง ๑ บาทกับ ๑ สลึง
    เทียบกับคนแจวเรือจ้าง แล้วรายได้เห็นจะพอๆกัน เพราะคนแจวเรือจ้าง บอกว่า ได้วันละ ๑ บาทถึง วันละ ๕ สลึง ก็คือ ๑ บาท กับ ๑ สลึง เหมือนกันนั่นเอง ค่าเช่าเรือ ค่าเช่ารถ ก็เสียเท่ากัน คือวันละเฟื้อง (เจ้กฮ้วง)
    การสนทนาต่อไป นายเหล็งเขาบอกว่าไม่มีเงินเก็บ เขาเอาเงินไปทำอะไรหมด จะได้ทราบกันในตอนหน้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×