ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #179 : สายตระกูลสุลต่านสุลัยมาน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 971
      1
      14 เม.ย. 53

     บุตรชายคนกลางของสุลต่านสุลัยมาน เข้ารับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เป็นพระยาพัทลุง (ดะโต๊ะ ฮุซเซ็น) ต่อมาบุตรชายชื่อตะตา ได้เป็นพระยาพัทลุง (ตะตา) ต่อในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และบุตรชายของพระยาพัทลุง (ตะตา) ชื่อ ‘ขุน’ ได้เป็นพระยาพัทลุงที่มีสมญานามว่าขุนคางเหล็กในรัชสมัยกรุงธนบุรี และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังเล่ามาแล้ว

                ส่วนบุตรชายคนเล็กของสุลต่านสุลัยมานที่ชื่อ ‘หะซัน’ นั้น เป็นสายน้อง

                สายน้องซึ่งลูกหลานผู้สืบสายลงมาทางหะซัน มีความเล่ายาวมากหน่อย เพราะเป็นสกุลพระญาติวงศ์ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๓ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕

                ‘หะซัน’ เข้ารับราชการสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่นเดียวกับพี่ชาย ได้เป็น พระยาราชบังสัน (หะซัน) ว่าที่แม่ทัพเรือ

                เข้าใจกันว่า ราชทินนาม ‘ราชบังสัน’ นี้ มีที่มาจากราช +บัง (นี่แปลว่า พี่ชาย) + ซัน (ชื่อของหะซัน) ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้โดยเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพเรือคนแรก แล้วเลยกลายเป็นตำแหน่งทางเรือ ทั้งแม่ทัพเรือ หรือนาวาพาณิชย์ ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่บุคคลในสายสกุลนี้เท่านั้นสืบต่อมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัชกาลที่ ๕ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                พระยาราชบังสัน (หะซัน) มีบุตรชายผู้หนึ่งชื่อบุญยัง ได้เป็น ขุนลักษมณา (บุญยัง) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ขุนลักษมณา (บุญยัง) มีบุตรชายชื่อ ‘หมุด’ (เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีท่านแรกสมัยกรุงธนบุรี)

                หมุด ปลายกรุงศรีอยุธยา รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เป็นหลวงศักดิ์นายเวร (หมุด) มีบุตรชาย ๒ คน ในที่นี้จะเล่าถึงเพียงบุตรชายคนเล็กที่ชื่อ หวัง

                จะเห็นได้ว่า สายทางพี่ชายเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ส่วนสายทางน้องชาย เป็นมหาดเล็กในพระเจ้าเอกทัศน์ พระราชโอรส ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

    เพื่อให้ชัดเจนขอแสดงแผนผังสายพี่ (ฮุซเซ็น) และสายน้อง (หะซัน) ดังนี้
    สุลัยมาน
    ฮุซเซ็น (พระยาพัทลุง)
    หะซัน (พระยาราชบังสัน)
    ตะตา (พระยาพัทลุง)
    ขุนลักษมณา (บุญยัง)
    ขุน (พระยาพัทลุง)
    หมุด (เจ้าพระยาจักรี)
    ทองขาว (พระยาพัทลุง)
    หวัง (พระยาราชวังสัน)

               ทีนี้เล่าทางสายน้อง (หะซัน) ต่อไป

                พวกพ้องทางขุนลักษมณา (บุญยัง) บุตรชายพระยาราชบังสัน (หะซัน) นั้น อยู่เรือนแพเรียงรายเป็นกลุ่มทำนองหมู่บ้านแต่เป็นหมู่บ้านแพริมแม่น้ำ ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกทำลายจึงปล่อยแพล่องลงมาตามแม่น้ำป่าสัก ลงมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเมืองนนทบุรี และเมืองธนบุรี เห็นว่าแหล่งใดปลอดภัยจากพม่า ก็หยุดพำนักพักพิงเป็นแห่งๆไป พวกที่อพยพลงมานี้ส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็กและผู้ที่มิได้รับราชการมีหน้าที่อย่างใด และเนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่หมู่บ้านแพ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ‘แขกแพ’ มาแต่ครั้งกระโน้น  เมื่อลงมาตั้งหลักปักฐานอยู่เมืองธนบุรี ก็ยังคงเรียกกันว่า แขกแพ

    หมู่บ้านแพริมแม่น้ำ

                เวลาที่พวกพ้องพี่น้อง แขกแพ ทั้งหลายปล่อยโซ่ผูกแพพากันอพยพลงมาทางใต้นั้น หลวงศักดิ์นายเวร (หมุด) มหาดเล็กในพระเจ้าเอกทัศน์ รับพระบรมราชโองการให้ไปเก็บเงิน ค่าส่วยสาอากรเมืองจันทบุรี ได้เงินมา ๓๐๐ ชั่ง กำลังจะกลับพอดีมีข่าวกรุงแตก พระยาจันทบุรีขอเงินคืน หลวงนายศักดิ์ (หมุด) ไม่ยอมให้ ได้นำเงินไปแอบฝังไว้ที่วัดจันท์ ทำอุบายว่าโจรปล้นไปหมดแล้ว พระยาจันทบุรีไม่เชื่อ กำลังจะเกิดการต่อสู้กัน ก็พอดีพระยาตากยกทัพมาถึง พระยาจันทบุรีไม่ยอมอ่อนน้อม หลวงนายศักดิ์ (หมุด) จึงลอบหนีออกมาพบพระยาตาก เพราะคุ้นเคยกันมาแต่เมื่อต่างเป็นมหาดเล็กในกรุง มอบทั้งเงิน ๓๐๐ ชั่ง และพรรคพวกซึ่งล้วนเป็นจีนตัวเหี่ย ๕๐๐ คน เมื่อพระยาตากตีเมืองจันทบุรีได้ ทำการต่อเรือรบจะยกไปตีทัพพม่าที่เข้ากรุงศรีอยุธยาได้แล้ว หลวงนายศักดิ์ (หมุด) เป็นผู้ชำนาญการต่อเรืออยู่แล้วตามเชื้อสายจึงร่วมมือด้วย สร้างกองทัพเรือได้อย่างรวดเร็ว พระยาตากจึงยกกองทัพเรือขึ้นไปตีพม่าแตกไป นับแต่เสียกรุงจนกระทั่งไล่กองทัพพม่าแตกไปเป็นเวลาเพียง ๕ เดือนเท่านั้น

                เมื่อพระยาตากเสด็จปราบดาภิเษกเป็น สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔  (ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ คือ พระเจ้าเอกทัศน์) สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงศักดิ์นายเวร (หมุด) เป็นพระยายมราช ว่าที่แม่ทัพเรือก่อน แล้วจึงทรงตั้งให้เป็น ‘เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์’ ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘จักรีแขก’ ในปีเดียวกันนั้นเอง

                เจ้าพระยาจักรี (หมุด) ดำรงตำแหน่งอยู่เพียง ๔ ปี ก็ถึงอสัญกรรม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้พระยายมราช (ทองด้วง-คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เป็นเจ้าพระยาจักรี ขณะเดียวกันก็โปรดให้ หมัด บุตรชายคนใหญ่ของเจ้าพระยาจักรี (หมุด) เป็นพระยายมราช

                ส่วน หวัง บุตรชายคนเล็กของเจ้าพระยาจักรี (หมุด) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดตั้งให้เป็นพระชลบุรี เจ้าเมืองชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลตะวันออกผู้เป็นเจ้าเมืองจึงต้องมีความสามารถในการเดินเรือ ดูแลรักษาป้องกันพระราชอาณาเขตด้านชายทะเลนี้

                พระชลบุรี (หวัง) ก็ได้แล่นเรือตรวจตราน่านน้ำโดยเฉพาะเวลานั้นมักมีโจรสลัดชาติต่างๆ คอยปล้นเรือสินค้าที่ไปมาค้าขายเนืองๆ

                การแล่นเรือตระเวนตรวจตรานี้ ทำให้พระชลบุรี (หวัง) ได้พบองเชียงสือ บุตรชายเจ้าเมืองญวน ซึ่งพาพรรคพวกหนีกบฏ มาจากญวน องเชียงสือจึงขอฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรม พระชลบุรี (หวัง) ก็เลี้ยงดูเป็นอย่างดี แต่มิได้นำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยเวลานั้นมีข่าวว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบางเวลาทรงมีพระอารมณ์ดุดันนัก ทำให้องเชียงสือเกิดความหวั่นเกรง

                ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดฯให้พระชลบุรี (หวัง) เข้าเฝ้า พระชลบุรี (หวัง) จึงนำองเชียงสือขึ้นเฝ้า ก็ทรงพระเมตตาให้องเชียงสืออาศัยอยู่ในกรุงภายใต้พระบารมี ส่วนพระชลบุรี (หวัง) นั้น โดยเหตุที่ทรงคุ้นเคยกับเจ้าพระยาจักรี (หมุด) มาช้านาน แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระมหากรุณาแก่พระชลบุรี (หวัง) โปรดฯให้เป็นเจ้ากรมพาณิชย์นาวี รับราชการอยู่ในกรุงเทพฯรัตนโกสินทร์ พระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาราชวังสัน (หวัง)

                สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ ทรงสันนิษฐานว่า ‘วังสัน’ คงมาจาก ชื่อของพระยาราชวังสัน นั่นเอง เปลี่ยนจาก ‘บัง’ เป็น ‘วัง’ และคงพระราชทานเป็นบรรดาศักดิ์เฉพาะตัว เพราะตั้งแต่แรกตั้งราชทินนาม ‘ราชบังสัน’ จนถึงรัชกาลที่ ๕ กรุงรัตนโกสินทร์นั้น ราชทินนาม ‘ราชวังสัน’ มีเพียงผู้เดียวเฉพาะท่านหวัง นอกจากนั้น ราชทินนามเป็นราชบังสัน ทั้งสิ้น

                พระยาราชวังสัน (หวัง) อยู่หมู่บ้านแขกแพใกล้วัดหงส์ พระยาพัทลุง (ขุน) อยู่หมู่บ้านแถววัดนางนอง วัดหนัง เข้าใจว่าคงจะไปมาหาสู่กันเสมอ พระยาราชวังสัน (หวัง) จึงได้สมรสกับกุลสตรีชาวสวนวัดหนัง ชื่อว่า ชู และมีสายสัมพันธ์เกี่ยวดองกันอีกชั้นหนึ่ง  นอกจากชั้นปู่ทวดจะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมาแต่ต้นตระกูลแล้ว

                คือ พระยาราชวังสัน (หวัง) กับคุณหญิงชู มีธิดาด้วยกัน ๓ คน ชื่อ เพ็ง ปล้อง และรอด ตามลำดับ ต่อมาปล้อง สมรสกับทองขาว บุตรชายคนใหญ่ของพระยาพัทลุง (ขุน) ความสัมพันธ์ตามแผนผังของสกุล ที่ว่า เกี่ยวข้องเป็นพระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระพันปีหลวง รัชกาลที่ ๓ กับ ๕ จึงเป็นดังนี้

    พระยาราชวังสัน (หวัง) + คุณหญิงชู
    พระยานนทบุรี (บุญจัน) + เพ็ง
    พระยาพัทลุง (ทองขาว) + ปล้อง
    รอด
    สมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าคุณจอมมารดาเรียม)
    ผ่อง  (+ พระอักษรสมบัติ)
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ + เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ร.๓
    พระองค์เจ้าศิริวงศ์
    พระองค์เจ้าลม่อม
    สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×