ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #143 : "พระราชนิพนธ์" ในวังหน้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 479
      0
      11 เม.ย. 53

    เคยมีผู้ถามว่า วังหน้าในรัชกาลที่ ๒ ทรงเป็นกวีเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือเปล่า-

                ได้ค้นหาพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ไม่พบพระราชนิพนธ์อื่นใดเลย นอกจากเพลงยาวเพียงบทเดียว

                สันนิษฐานตามความในเพลงยาว และเหตุการณ์ต่างๆ เข้าใจว่าจะทรงพระราชนิพนธ์ตั้งแต่เมื่อพระชนมายุประมาณ ๑๕-๑๖ ก่อนทรงเสกสมรสด้วยคุณสำลีหรือ พระองค์เจ้าสำลีวรรณ

    เจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) นัดดา (หลวงปู่) ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช เสนาบดีกระทรวงวังตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐

                ครั้งนั้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จฯเป็นจอมทัพยกทัพหลวงไปตีเมืองทวายของพม่า ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ขณะนั้นทรงดำรงพระยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร และ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ขณะนั้นดำรงพระยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ พระชนมายุ ๑๙-๒๐ และ ๑๕-๑๖ ตามลำดับ เห็นจะตามเสด็จไปในกองทัพด้วย สำหรับสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ คงมิได้มีบทบาทในกองทัพนัก เพียงแต่ตามเสด็จใกล้ชิดติดพระองค์ เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ นั้น ปรากฏว่าโปรดฯให้พระราชโอรสตามเสด็จไปในกองทัพด้วย ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีกรุงธนบุรี และตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ยังทรงพระเยาว์พระชนมายุเพียง ๘-๙ พรรษา

                ดูตามพระชนมายุ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ แล้วทรงอยู่ในวัยรุ่นหนุ่มซึ่งเป็นวัยที่หากมีความเสน่หาแล้ว มักจะอารมณ์แรง เพราะเป็นรักครั้งแรก

                 หญิงในเพลงยาวจึงน่าจะหมายถึงพระองค์เจ้าสำลีวรรณ ซึ่งในเพลงยาวกล่าวว่า

                 “จะเลี้ยงเจ้าให้งามตามวงศ์ สมพงศ์สมพักตร์พิศมัย”

                เพลงยาวนี้ค่อนข้างสั้นมาก ว่าที่จริงไม่ถึงกับไพเราะเพราะพริ้งลึกซึ้งหรือคมคายดังเช่นเพลงยาวของกวีเอกท่านอื่นๆ

                ทว่าเนื้อความนั้น สะกิดใจผู้มีโอกาสอ่านซึ่งสนใจในความรักความเสน่หาระหว่างพระองค์ท่านและพระชายาองค์แรก เพราะเนื้อความรำพันเข้ากับเรื่องราวอย่างพอเหมาะพอดี อีกทั้งเป็นเพลงยาว หรือจดหมายรักซึ่งสั้นเสมือนออกมาจากพระหฤทัยมิใช่เพลงยาวประเภทรำพันเพ้อไปเรื่อยๆ ยืดยาว บทพระราชนิพนธ์เพลงยาวเพียงบทเดียวของพระองค์ ว่าดังนี้

                ทรงเบญจกัลยาวราสมร

    เจริญพรตจรรยาสถาวร                ราษฎรลือชาปรากฏ
    ดุจดวงมณีศรีประเสริฐ                 มาบังเกิดที่ประเทศชนบท
    งามโฉมงามชื่อทั้งลือยศ             ก็ปรากฏอยู่ทั้งแคว้นแดนดง
    ใครได้เห็นก็เป็นบุญตา                เสนหาจงจิตพิศวง
    จะกล่าวความสนทนายุพาพงศ์       เกรงอนงค์นิ่มน้องจะหมองใจ
    จึงจารึกสารเสี่ยงสอดสนอง          ประคองความเสนหานี้มาให้
    แม้มิควรแก่การสถานใด               ขออภัยเถิดอย่าถือซึ่งวาจา
    ฝ่ายพี่ดังพระยาสีหราช                 หมายสวาทแสวงอยู่ที่คูหา
    ได้มาพบถ้ำทองโสภา                  ยังนิราไร้ผู้บำรุงครอง
    จึงมอบหมายมิตรใจมาให้เจ้า         เป็นคู่เคล้าฝากกายกันทั้งสอง
    สงวนไว้ที่ในนวลละออง               มิให้หมองราคีมีระคาย
    พี่จะเป็นเรือนทองรองรับ              สอดซับให้มณีศรีฉาย
    อันวงศาคณาญาติทั้งหญิงชาย       มิให้อายอัประมาณประการใด
    จะเลี้ยงเจ้าให้งามตามวงศ์            สมพงศ์สมพักตร์พิศมัย

    แม้ยังคิดเกรงกริ่งที่สิ่งใด             จะย่าใจออกให้เห็นเป็นตราชู
    นอกนี้ไปกว่าน้องสองสถาน          ไม่สมานสมัครเลี้ยงเคียงคู่
    ไม่กล่าวเกลี้ยงล่อใจให้ใจฟู          จงเก็บสารนี้ไว้ดูเป็นพยาน
    ถ้ายืดไปตลอดสอดสนอง             จะตอดต้องหรือจะกลายหลายสถาน
    แม้มิสมคำพร้องเหมือนพาล          จงประจานให้กระจ่างที่กลางคน
    ขอเชิญมิตรแม่อย่าคิดหมองหมาง   เหมือนวางหว่านข้าวกล้าไว้ท่าฝน
    ไม่เป็นหญ้ากลับกลายให้อายคน     ก็คงผลนั้นจะมีเป็นแน่นอน
    ถ้าเจ้ารักอนุกูลไม่สูญรัก               จงประจักษ์มาในศุภอักษร
    พี่จะได้หวังใจไว้ต่ออร                  คืนนครแจ้งจิตแล้วคิดการ
    จะรีบกลับมาวิวาห์พงางาม             ให้กันความครหาที่ว่าขาน
    จงเปลี่ยนเปลื้องกาสาสิกขาญาณ    นมัสการลาพรตเสียเถิด เอยฯ

                ในเพลงยาวทรงสมมุติให้ ‘น้อง’ เป็นประดุจนางบุษบากำลังบวชเป็นรูปชี (หรือพระองค์เจ้าสำลีวรรณจะบวชชีอยู่จริงๆ ก็ไม่แน่นัก ด้วยพระราชบิดาถูกสำเร็จโทษ อาจบวชถวายกุศลก็เป็นได้) ตามเนื้อความดูเหมือนจะเป็นรักแรกของพระองค์ตรงที่ว่า “นอกนี้ไปกว่าน้อง...ไม่สมานสมัครเลี้ยงเคียงคู่”

     

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๒ พระองค์เจ้าฤกษ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

               อีกทั้งสองบาทที่ว่า “คืนนครแจ้งจิตแล้วคิดการ จะรีบกลับมาวิวาห์พงางาม”

                ทำให้ปลงใจสันนิษฐานว่า คงต้องทรงพระราชนิพนธ์ ขณะเสด็จออกนอกพระนครเป็นแน่ เมื่อ ‘คืนนคร’ จึงจะเสด็จกลับมาเสกสมรสด้วย

                เมื่อค้นหาเวลาประสูติของพระราชโอรสพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี ก็พบว่า พระราชโอรสพระองค์แรกประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๔ พระราชชนกพระชนมายุประมาณ ๑๙ พรรษา คือคงจะทรงเสกสมรสด้วยพระองค์เจ้าสำลีวรรณประมาณพระชนม์ ๑๗-๑๘ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเสด็จกลับ ‘คืนนคร’ แล้วไม่ช้านานเท่าใดนัก ทว่าพระราชโอรสพระองค์แรกสิ้นพระชนม์หลังประสูติเพียงไม่กี่วัน

                ตลอดระยะเวลาที่คุณสำลี เป็นชายาเอก ถึง พ.ศ.๒๓๔๗ มีพระราชโอรสธิดา ๖ พระองค์ พระองค์เจ้าหญิงนฤมลที่ ๖ ประสูติ พ.ศ.๒๓๔๗ อีก ๕ ปีต่อมา เจ้าจอมมารดาก็ถูกสำเร็จโทษ พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต พระเชษฐาดังที่เล่ามาแล้ว

                พระราชโอรส พระองค์ที่ ๒ เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในจำนวนพระเชษฐภคินี ๓ และพระขนิษฐา ๑ พระองค์ ได้รับพระราชทานพระนามว่า ‘พงศ์อิศเรศ’ คือเป็นวงศ์กษัตริย์ทั้งฝ่ายพระชนกนาถและชนนี เมื่อสถาปนากรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ โปรดฯพระราชทานพระนามกรมว่า ‘กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช’ ทรงเป็นต้นราชสกุล ‘อิศรเสนา ณ อยุธยา’

                ในสมัยหนึ่ง นิยมการแต่งคำสัมผัสคล้ายๆ กับกลอนบรรยายลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลต่างๆ ส่วนมากมักเป็นไปในทำนองค่อนขอด หรือสัพยอกหยอกล้อ

                มีกลอนเช่นว่านี้ใน ‘วังหน้า’ อยู่บทหนึ่ง ยังไม่บอกว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระองค์ใด และผู้ถูกค่อนคือใครบ้าง กลอนสังเกตลักษณะอัชฌาสัยของข้าราชการวังหน้าบางคน ว่าดังนี้

     “เป็นนายทหารไม่รู้จักอะไร  พระพิไชยสรเดช
    สูงเป็นเปรต                       คุณเทศอูฐ
    พูดอะไรไม่เหมือนพูด          พระยาวิสูตรโกษา
    เข้าวังไม่เป็นเวลา                พระยาภักดีภูธร
    กินแล้วนอน                       พระยาประเสริฐหมอ
    หยิบอะไรไม่ขอ                  เฝ้าที่พริ้ง
    จริตติดจะหยิ่ง                    ยิ้มเจ้าสัวลี้
    กวนโมโหทุกที                   อีคงคุณน้อย
    พูดจาสำอิดสำออย              ยายมาทนาย
    ดองยาขาย                        ทนายเรือนเตาะ
    เป่าปี่เพราะ                        พระประดิษฐ์
    พูดอะไรไม่คิด                    คุณเอมคุณใหญ่
    ทำราชการถลากไถล            นายปานขุนบำรุง
    ทำราชการเข้าพกเข้าถุง        คุณปลัดน้อย
    รับสินบนบ่อยบ่อย               จ่าแต้ม
    เห็นหน้าวับวับแวมแวม          หลวงนายมหาใจภักดิ์
    หมั่นเป็นพักพัก                   พระยาบริรักษ์ราชา
    เมาไม่เป็นเวลา                    พระพรหมสุรินทร์
    หาได้พอกิน                       นายนรินทร์กับหมื่นเดช
    พลัดพรากจากพระนิเวศน์      หม่อมเกษพระราชรองเมือง
    นอนกินเป็นไอ้ตื้อให้เขาฤาหัวเมืองกระเดื่อง เจ้าจอมมารดาขลิบ
    เข้าเจ้าหัวขูดตูดขมุบขมิบ       นางแดงนครนายก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×