ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #117 : ลัญจกร หรือ ลัญฉกร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 466
      0
      10 เม.ย. 53

     -หนังสือสองเล่ม เล่มหนึ่งเขียนว่า พระราชลัญจกรอีกเล่มหนึ่งเขียนว่า พระราชลัญฉกรคำไหนถูก-

                 ลัญจกรหรือ ลัญฉกรถูกทั้งสองคำ โบราณใช้ว่า ลัญฉกรบ้าง ลัญจกรบ้าง ไม่มีกฎเกณฑ์ แปลว่า ตราสำหรับประทับ (หรือตี ตอก) บนเอกสาร ในปัจจุบันใช้ว่า พระราชลัญจกร

                สำหรับพระราชลัญจกรนั้นมีทั้ง พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน และพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน

                แต่ในที่นี้คงประสงค์จะให้หมายถึงพระราชลัญจกรประจำพระองค์แต่ละรัชกาล

                อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๓ ไม่ปรากฏว่าพบเอกสารประทับตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ต่อเมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ ฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯให้ทำตราเครื่องหมายประจำรัชกาล (หรือพระราชลัญจกร) แกะด้วยงาช้างทำเป็นรูปกลมดังในภาพ ทั้งรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่๓ ที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

                สำหรับพระราชลัญจกร ๓ รัชกาลแรกนั้น

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๑ เป็นรูปอุณาโลม อยู่ภายในกรอบทำเป็นรูปดอกบัว (ชนิดปทุม) อธิบายกันว่า ที่ทำเป็นรูปอุณาโลม เพราะพระนามเดิมว่า ด้วงซึ่งเครื่องหมายอุณาโลมนั้น คล้ายๆ กับด้วง ส่วนที่มีกรอบเป็นรูปดอกบัวปทุม พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เล่าไว้ในบันทึกความทรงจำของท่านว่า ที่พระพุทธยอดฟ้าฯ ทำตราเงินเป็นบัวนั้น ท่านทรงเห็นว่านิมิตของท่านเป็นมงคล เมื่อจวนจะได้เป็นเจ้า ที่บ้านเก่าของท่านมีดอกบัวตูมผุดขึ้นกลางบ้านของท่านดอก ๑ จึงให้ทำตราบัวเป็นการเจริญ

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๒ เป็นรูปครุฑหน้าตรงจับหางนาคสองตัวห้อยหัวลง ที่เรียกกันว่าครุฑยุดนาค อธิบายกันว่า เนื่องจากพระนามเดิมว่า ฉิมจึงเติมความหมายไปถึงวิมานฉิมพลี อันเป็นวิมานของพระยาครุฑ แต่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านทรงมีทัศนะว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ เชื่อว่าแบ่งภาคมาจากพระนารายณ์ ตราแผ่นดินจึงเป็นครุฑ เพราะว่าครุฑนั้นเป็นพาหนะของพระนารายณ์

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๓ เป็นรูปปราสาท อธิบายกันว่า เนื่องมาจากพระนามเดิมว่าทับ ซึ่งหมายถึงที่อยู่อาศัย พระราชลัญจกรจึงทำเป็นรูปวิมาน แต่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ท่านทรงว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงถือพระองค์ท่านว่าเป็นหัวหน้าแห่งเทพ ท่านจึงทำปราสาทเป็นตราแผ่นดิน คือแปลว่าปราสาทของพระอินทร์ พระอินทร์เป็นหัวหน้าของเทพ

                อย่างไรก็ตาม สำหรับพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ทับนั้น น่าจะสันนิษฐานว่า อาจมิใช่ ทับที่หมายถึง ทับกระท่อมอันแปลว่าที่อยู่อาศัยชนิดปลูกสร้างอย่างลวกๆ ชั่วคราว ซึ่งดูๆ ไม่น่าที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจะทรงมีพระนามอันมีความหมายดังนั้น น่าจะเป็น ทับที่หมายถึง ทัพหรือ กองทัพมากกว่า เพราะสมัยก่อนโน้น ในหนังสือเก่าๆ  ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุล้วนเขียนคำว่า ทัพและ กองทัพเป็น ทับและ กองทับทั้งนั้น

                อีกประการหนึ่งที่ชวนให้สันนิษฐานว่า พระนามของพระองค์ท่านน่าจะหมายถึง ทัพหรือ กองทัพก็เพราะ ใน พ.ศ.๒๓๒๙ และ พ.ศ.๒๓๓๐ นั้น มีศึกสงครามทั้ง ๒ ปี

                พ.ศ.๒๓๒๙ พม่ายกทัพใหญ่เข้ามาตั้งค่ายที่ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จฯเป็นจอมทัพยกทัพหลวงเข้าตีค่ายพม่าได้ชัยชนะ ครั้งนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์หนึ่งประสูติพอดี พระนามว่า พระองค์เจ้าชายทับ(ต่อมาทรงกรมเป็นกรมหมื่นจิตรภักดีในรัชกาลที่ ๒) เป็นต้นราชสกุล ทัพพะกุล ณ อยุธยา

                พ.ศ.๒๓๓๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จยกทัพหลวงไปตีทวาย ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เมื่อยังทรงอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงเป็นยกกระบัตรทัพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระราชสมภพปีนั้น และทรงมีพระนามว่า หม่อมเจ้าทับเช่นกัน

                จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าทั้งพระเจ้าอา และพระเจ้าหลาน ซึ่งประสูติไล่ๆ กันในเวลาที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทั้งสองพระองค์เสด็จไปทัพ น่าจะทรงพระนามว่า ทับในความหมายถึง กองทัพ มากกว่า ทับกระท่อม

                ส่วนพระราชลัญจกร รูปวิมานนั้น จะมีตั้งแต่ในรัชกาลของพระองค์ท่าน หรือทำถวายต่อมาภายหลัง ก็มิได้มีหลักฐานใดแน่ชัด

                พระราชลัญจกรประจำรัชกาลต่อมา คือ รัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ นั้น มิได้มีปัญหาให้ต้องสันนิษฐาน

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๔ ทำเป็นรูปมุงกุฎ ตามพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎมีฉัตรบริวาร ๒ ข้าง

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๕ ทำเป็นรูปพระเกี้ยวยอดรัศมี ประดิษฐานบนพานทองสองชั้น มีฉัตรบริวาร ๒ ข้าง

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๖ ทำเป็นรูปวชิราวุธ อาวุธของพระอินทร์ มีรัศมี ประดิษฐานบนพานทองสองชั้น มีฉัตรบริวาร ๒ ข้าง ตั้งอยู่เหนือตั่ง

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๗ ทำเป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ พาดบนราว ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบัวแทรก ๒ ข้าง ตามพระนามเดิมว่า ประชาธิปกศักดิเดชน์(เดชน์ แปลว่า ลูกศร)

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๘ ทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับบนบัลลังก์ ห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน พระหัตถ์ซ้ายถือบัวตูม มีฉัตร ๒ ข้าง ตามพระนามเดิมว่า อานันทมหิดลแปลว่าเป็นที่รักยินดีของแผ่นดิน

                พระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๙ ทำเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ มีวงจักรรัศมีรอบใต้พระมหาเศว ตฉัตร กลางวงจักรมีเครื่องหมายอุณาโลม ตามพระปรมาภิไธยว่า ภูมิพลอดุลยเดชแปลว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×