ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #21 : สมเด็จพระจักรพรรดินีชนนีซีต้าแห่งบูรบง-ปาร์มา จักรพรรดินีองค์สุดท้ายของออสเตรีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 869
      0
      18 เม.ย. 55


     

    เจ้าหญิงซีต้าแห่งบูร์บอง-ปาร์มา (พระนามเต็ม: ซีต้า มาเรีย แดลล์ เกรซี่ อาเดลกอนด้า มิคาเอล่า ราฟาเอลล่า กาเบรียลล่า กวีเซปปีน่า แอนโตเนีย หลุยซ่า แอกนีส; Zita Maria delle Grazie Adelgonda Micaela Raffaela Gabriella Giuseppina Antonia Luisa Agnese) พระองค์ทรงเป็นสามชิกราชวงศ์บูร์บอง-ปาร์มา ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี) พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย และ สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีด้วย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระอิสริยยศว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าแห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชินีซีต้าแห่งฮังการี) ; Her Imperial and Royal Majesty the Empress-Queen Zita of Austria-Hungary พระองค์ทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของราชวงศ์ฝรั่งเศส ราชวงศ์โปรตุเกส และ ราชวงศ์สเปน

    พระองค์ทรงเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 17 ในดยุคโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา เมื่อพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับอาร์คดยุคคาร์ลเมื่อปีพ.ศ. 2454 อีก 3 ปีต่อมา อาร์คดยุคคาร์ลทรงเป็นองค์รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี หลังจากที่พระราชปิตุลาของพระองค์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2457 พระองค์จึงทรงได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟทรงสวรรคต

    และหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 1 พระราชวงศ์อิมพีเรียลถูกอัปเปหิไปอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ประเทศออสเตรียและประเทศฮังการีถูกก่อตั้งขึ้นเป็นสาธารณรัฐขึ้นใหม่ ต่อมาก็ย้ายถิ่นฐานไปประทับที่เกาะมาไดร่า ประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นสถานที่ที่ซึ่งพระสวามีของพระองค์ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่1 เมษายนพ.ศ. 2465 หลังจากที่พระสวามีสวรรคตแล้ว พระองค์ทรงแบกภาระเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุเพียง 28 พรรษา

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] ขณะทรงพระเยาว์

    พระราชวงศ์ปาร์มา

    เจ้าหญิงซีต้าแห่งบูร์บอง-ปาร์มา ทรงประสูติเมื่อวันที่9 พฤษภาคมพ.ศ. 2435 ณ วิลล่า พีอานอร์ เมืองลุคก้า ประเทศอิตาลี ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 และพระราชบุตรองค์ที่ 5 จากการอภิเษกสมรสครั้งที่ 2 ของดยุคโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา และ เจ้าหญิงหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีมิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส และเจ้าหญิงอาเดลเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวอร์เธ็ม-โรเซนเบิร์ก พระราชบิดาของพระองค์ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติ เนื่องจากการรวมประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งเดียวเมื่อปีพ.ศ. 2402 ซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงมาเรีย ปีอาแห่งทู ซิชิลี่ส์ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 12 พระองค์ แต่เจ้าหญิงมาเรีย ปีอาก็ทรงสิ้นพระชนม์กระทันหัน แต่พระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับเจ้าหญิงเอเดลเลด และทรงมีพระราชโอรส และ พระราชธิดารวมอีก 12 พระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าทรงเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 17 จากทั้งหมด 24 พระองค์ หลังจากที่ดยุคโรเบิร์ตไม่ได้ทรงครองราชย์แล้ว พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงย้ายอพยพไปที่วิลล่า พีอานอร์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองปิเอตาซานตร้าและเมืองวีอาเรจจีโอ้) และบางครั้งทรงเปลี่ยนพระราชฐานมาที่ประเทศออสเตรียด้วย ทรงมีปราสาทที่เมืองชวาร์ซอว์

    พระองค์และพระเชษฐา พระอนุชา พระภัคินี และ พระขนิษฐาของพระองค์ทรงเรียนและพูดภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงเคยประทานสัมภาษณ์ว่า "ข้าพเจ้าเติบโตมาแบบนานาชาติ เสด็จพ่อของข้าพเจ้าคิดว่าอาจเป็นชาวฝรั่งเศสไปแล้วก็ได้ ซึ่งเสด็จพ่อของข้าพเจ้าใช้เวลาอยู่กับพี่น้องของข้าพเจ้าที่เมืองชอมบอร์ด ข้าพเจ้าเคยถามเสด็จพ่อของข้าพเจ้าว่า ขอแนะนำตัวเองอย่างไรทั้งๆที่อยู่ในอิตาลีนี้ เสด็จพ่อตอบข้าพเจ้าว่า พวกเราเป็นราชนิกุลฝรั่งเศส ซึ่งมาครองราชย์ในดินแดนอิตาลี ที่จริงแล้ว ข้างเจ้าและพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหมดเกิดที่อิตาลี"

    เมื่อทรงมพระชนมายุ 10 พรรษา พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประจำในเมืองซานเบิร์ก บาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่เน้นการสอนเรื่องศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่พระองค์ทรงกลับพระราชฐานกระทันหันเมื่อปีพ.ศ. 2450 เพราะเนื่องจากพระบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์จึงต้องย้ายสถานที่ศึกษากับพระภัคินีของพระองค์ไปที่เกาะไวท์ สหราชอาณาจักร จนสำเร็จการศึกษา พระภัคินีและพระของพระองค์ 3 พระองค์ได้เป็นพระแม่ชี แต่พระองค์ทั้งทรงมีสุขภาพที่ไม่ค่อยสู้ดี พระองค์จึงทรงเข้ารับการรักษาที่สมาคมยูโรเปียนสปา 2 ปีเต็ม

    [แก้] อภิเษกสมรส

    เจ้าหญิงซีต้าเมื่อทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับอาร์คดยุคคาร์ล

    ที่ปราสาทชวอร์ซอว์ หรือที่รู้จักกันในนาม วิลล่า วอร์โธว์ส พระตำหนักที่ประทับของอาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย พระมาตุจฉาของพระองค์และพระมารดาทูนหัวของอาร์คดยุคออตโต ฟรานซ์ ซึ่งเป็นพระบิดาของอาร์คดยุคคาร์ล ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชบัลลังก์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี พระธิดาทั้งสองพระองค์ของอาร์คดีชเชสมาเรีย เทเรซ่าทรงเป็นพระญาติของซีต้า และอาร์คดยุคคาร์ล เจ้าหญิงซีต้าทรงพบกับอาร์คดยุคคาร์ลที่นั่นเพียงครั้งเดียว ด้วยความที่ทรงเป็นรัชทายาทอันดับ 2 นั้น (พระปิตุลาของพระองค์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ทรงอภิเษกสมรสกับหญิงสามัญชน ดังนั้น พระราชบุตรของพระองค์ทรงไม่มีสิทธ์และชื่อในลำดับการสืบสันตติวงศ์) พระองค์จึงทรงอยากจะสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหญิงซีต้ามากยิ่งขึ้น โดยพระองค์เสด็จไปยังวิลล่า พีอานอร์ ที่ประทับของเจ้าหญิงซีต้า เพื่อทรงสู่ขอเจ้าหญิงซีต้าตามราชประเพณี และเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2454 สำนักพระราชวังอิมพีเรียลประกาศพิธีหมั้นระหว่างพระองค์กับอาร์คดยุคคาร์ล หลังจากพิธีหมั้นแล้ว พระองค์ทรงกังวลเกี่ยวกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดิ รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียลอีกด้วย แต่เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมพ.ศ. 2454 ทั้ง 2 พระองค์ทรงอภิเษกสมรส ณ ปราสาทชวอร์ซอว์ พระราชวงศ์มีความปิติยินดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ซึ่งทรงรอคอยที่จะทอดพระเนตรองค์รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี และเมื่ออาร์คดยุคออตโต ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนพ.ศ. 2455 พระราชบุตรองค์ต่อๆมา ทรงตามประสูติต่อมา รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์...

    [แก้] พระชายาองค์รัชทายาท

    ในขณะนั้น อาร์คดยุคคาร์ลไม่ทรงคาดคิดมาก่อนว่าจะได้เป็นองค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อิมพีเรียล โดยเฉพาะเมื่อพระปิตุลาของพระองค์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ทรงหายกับอาการประชวร กลับมาทรงมีสุขภาพดีเหมือนเดิม แต่เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมพ.ศ. 2457 อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ และ โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก พระชายา ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว ประเทศบอสเนีย โดยลักธิชาตินิยม ทำให้ชาตะชีวิตของอาร์คดยุคคาร์ลและอาร์คดัชเชสซีต้าทรงเปลี่ยนไปตลอดกาล การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 อาร์คดยุคคาร์ลทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพลเอก-นายพลแห่งกองทัพออสเตรีย ซึ่งทำให้อาร์คดัชเชสซีต้าทรงไม่เห็นด้วย ด้วยทั้งที่เจ้าชายเฟลิกซ์ และ เจ้าชายเรเน่ พระอนุชาของพระองค์ทรงร่วมกองทัพนี้ด้วย และยังมี เจ้าชายซิกซ์ตัส และ เจ้าชายเซเวียร์ พระเชษฐาของพระองค์ซึ่งขณะนั้นทรงประทับอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ก็ทรงเข้าร่วมกองทัพเบลเยี่ยมด้วย ดังนั้นพระองค์และพระราชบุตรจึงทรงย้ายพระราชฐานจากพระตำหนักเฮ็ทเซ็นดอร์ฟ ไปที่พระราชวังเชินบรุนน์ ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทั้ง 2 พระองค์และพระราชบุตรทรงใช้เวลาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จนสมเด็จพระจักรพรรดิทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปอดบวม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ. 2459 ทรงสิริพระชนมายุได้ 86 พรรษา...

    [แก้] สมเด็จพระจักรพรรดินี

    สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีเมื่อทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษก

    หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟแล้ว อาร์คดยุคคาร์ลและอาร์คดัชเชสซีต้าทรงเข้ารับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคมพ.ศ. 2459กรุงบูดาเปสต์ประเทศฮังการี หลังจากเสร็จพิธีแล้วก็มีการจักงานเลี้ยงฉลองการครองราชย์ แต่แล้ว ทั้ง 2 พระองค์ทรงตระหนักว่าไม่ควรจัดงานเลี้ยงฉลองท่ามกลางสงครามอันโหดเหี้ยมนี้ เมื่อได้เป็นจักรพรรดิแล้ว พระองค์ทรงไม่เคยห่างจากประชาชนในออสเตรียเลย ไม่เคยอพยพไปที่ไหนเลย พระองค์ทรงมีรับสั่งให้พระชายาและพระราชบุตรของพระองค์อพยพไปที่ราชรัฐบาเดน และทรงมีรับสั่งให้ติดตั้งสายโทรศัพท์จากพระราชวังอิมพีเรียลฮอฟบูร์ก ไปที่ราชรัฐบาเดน พระองค์ทรงติดต่อกันทางโทรศัพท์ตลอดเวลา ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงกลับมาพบกันที่ประเทศออสเตรีย ในปีพ.ศ. 2460 ทั้ง 2 พระองค์จึงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เยี่ยมเยียนราษฎรในช่วงสงครามโลก

    [แก้] จุดจบของจักรวรรดิ

    ในขณะนั้น สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังจะสิ้นสุดลง ตัวแทนของสหภาพเช็คได้ลงประชามติที่จะก่อตั้งรัฐเอกราชเชคโกสโลวักขึ้น ภายใต้จักรวรรดิของฮับส์บูร์กเมื่อวันที่ 13 เมษายนพ.ศ. 2461 แต่กองทัพของเยอรมันยังคงก่อความรุนแรงที่สงครามเอเมี่ยนส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลก และเมื่อวันที่25 พฤศจิกายนพ.ศ. 2461สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย ได้ทรงหันหลังจากสงครามสู่สันติและความเป็นเอกราช สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลและสมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าทรงได้รับพระราชสาส์นเทเลแกรมจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบัลแกเรีย เกี่ยวกับความล้มเหลวของการวางมือสงคราม สมเด็จพระจักรพรรดินีทรงมีพระราชดำรัสว่า ทำให้ดีกว่านี้ เพื่อความเป็นสันติ เจรจากับอำนาจของพวกตะวันตก เมื่อวันที่16 ตุลาคม สมเด็จพระจักรพรรดิทรงยื่นข้อเสนอในหัวข้อ แนวทางของประชาชนออสเตรีย-ฮังการี ต่อที่ประชุมของนักอนุรักษ์ชาตินิยมที่ต้องการจะประกาศเอกราชเป็นรัฐเอกราชของตัวเอง

    สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีทรงประพาสพระราชวังเชินบรุนน์เป็นครั้งสุดท้าย โดยขณะนั้น รัฐมนตรีได้ลงประชามติที่จะก่อตั้งเยอรมัน-ออสเตรียขึ้น และเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน คณะรัฐมนตรีได้ยื่นคำร้องขอให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติ สมเด็จพระจักรพรรดินีได้ทรงยืนกรานไม่ทรงยอมให้เซ็น โดยคำพูดของพระองค์ที่เป็นที่น่าจดจำ ประมุขไม่เคยมีการสละราชสมบัติ พระองค์จะต้องไม่ยอมสละราชสมบัติ ถ้าไม่ใช่พระองค์ ก็ต้องเป็นออตโต และถ้าพวกข้าพเจ้าถูกฆ่าหมด ก็ต้องมีพระราชวงศ์ฮับส์บูร์กพระองค์อื่น มาครองราชย์ได้อย่างแน่นอน... แต่ในที่สุด สมเด็จพระจักรพรรดิ พระสวามีทรงยินยอมให้เผยแพร่เอกสารการยุบจักรวรรดิ พระองค์ได้พาพระราชวงศ์และข้าราชบริพารออกจากพระตำหนักชั่วคราวที่เอ็กคาร์ทซอว์ ซึ่งตั้งอยู่เขตพรมแดนระหว่างประเทศฮังการีและประเทศสโลวเกีย ซึ่งในขณะนั้นสาธารณรัฐเยอรมัน-ออสเตรียได้ถูกก่อตั้งขึ้นแล้ว

    [แก้] ช่วงการลี้ภัย

    พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี ขณะทรงลี้ภัย ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

    หลังจากความยุ่งยากหลายต่อหลายเดือนที่พระตำหนักเอ็กคาร์ทซอว์แล้ว พระราชวงศ์อิมพีเรียลได้รับการช่วยเหลือจากผู้ที่ไม่เคยคาดคิด นั่นคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรที่ทรงทราบข่าวถึงความยากลำบากของพระราชวงศ์อิมพีเรียลจากเจ้าชายซิกซ์ตัส พระเชษฐาของสมเด็จพระจักรพรรดินี ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าจอร์จทรงหันเข้ามาทรงช่วยเหลือ หลังจากที่ทรงช่วยเหลือพระญาติของพระองค์ไม่ทัน นั่นคือสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียซึ่งถูกประหารชีวิตพร้อมกับพระราชวงศ์โดยผู้ก่อการปฏิวัติ โดยพระองค์ทรงให้คำปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะทรงทำทุกอย่างที่จำเป็นต้องทำ

    สมเด็จพระเจ้าจอร์ชทรงส่งกองทักราชนาวีอังกฤษไปรับสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลและพระราชวงศ์อิมพีเรียล โดยในวันที่19 มีนาคมพ.ศ. 2462 ได้รับพระบรมราชโองการจากกษัตริย์อังกฤษผ่านกรมทหารราบ ให้ไปรับสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรียโดยเร็วที่สุด โดยทรงเกรงว่า ชะตาของพระราชวงศ์ออสเตรียจะเหมือนกับพระราชวงศ์รัสเซีย ประกอบด้วยความยุ่งยากบางประการ กองทัพราชนาวีได้จัดรถไฟพระที่นั่งไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรียไม่สามารถเดินทางเข้าดินแดนของสหราชอาณาจักรได้ เหตุเนื่องจากตอนนั้น พระราชวงศ์อังกฤษและประชาชนไม่ค่อยชอบเยอรมันเท่าใดนัก โดยเฉพาะสมเด็จพระราชินีแมรี่ พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ดังนั้น พระราชวงศ์อิมพีเรียลจึงได้แต่ประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บางครั้งพระราชวงศ์ทรงกลับไปประเทศฮังการี แต่ด้วยความไม่ปลอดภัยหลายประการ อีกทั้งผลกระทบหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว ในที่สุดพระราชวงศ์ก็ทรงย้ายไปประทับที่เกาะมาไดร่า ซึ่งเป็นเกาะพักร้อน แปรพระราชฐานของพระราชวงศ์มาช้านาน...

    [แก้] การสิ้นพระชนม์ของพระสวามี

    พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี ณ ประเทศเยอรมนี ยืนจากซ้ายไปขวา: อาร์คดยุคคาร์ล ลุดวิก, รูดอล์ฟ และ โรเบิร์ต แถวกลาง: อเดลเลด เอลิซาเบธ และ ชาร์ลอต และอาร์คดยุคเฟลิกซ์ ส่วนแถวหน้าสุด: สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้า และ สมเด็จพระจักรพรรดิออตโต

    สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีสุขภาพที่ไม่สู้ดีนัก หลังจากที่ทรงไปซื้อของเล่นให้กับอาร์คดยุคคาร์ล ลุดวิก พระโอรส พระองค์ก็ทรงเป็นโรคหลอดลมอักเสบกำเริบ ซึ่งโรคนี้ทำให้นำไปสู่การเป็นโรคปอดบวม ซึ่งในสมัยนั้น ยังไม่มีการรักษาที่ทันสมัย อีกทั้งโรคนี้ยังไม่มีแนวทางการรักษา ทำให้การรักษาไม่ทั่วถึง อีกทั้งพระราชบุตรบางพระองค์ทรงประชวรอีก สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าซึ่งขณะนั้นทรงตั้งพระครรภ์ได้ 8 เดือนทรงถวายการรักษาพระราชบุตรและพระราชสวามีด้วยพระองค์เอง พระราชบุตรทรงหายประชวรเป็นปกติแต่ก็ไม่สามารถยื้อชีวิตพระราชสวามีอันเป็นที่รักได้ สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรียทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบเมื่อวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2465 ณ เกาะมาไดร่า ประเทศโปรตุเกส งานพระศพถูกจักขึ้นอย่างเงียบๆ และหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์แล้ว สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าก็ทรงเลี้ยงดูพระราชบุตรเรื่อยมา และทรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไร้พระสวามีเคียงข้างมาเป็นเวลาถึง 67 ปี...

    หลังจากสิ้นพระราชสวามีแล้ว พระองค์ก็ทรงเลี้ยงดูพระราชบุตรเพียงลำพัง โดยทรงพาย้ายจากเกาะมาไดร่าไปที่ต่างๆทั่วยุโรป ไม่ว่าจะเป็นประเทศสเปนประเทศเบลเยี่ยมประเทศลักเซมเบิร์กแม้กระทั่งประเทศสหรัฐอเมริกา และท้ายสุด สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตทรงซื้อพระตำหนักโพคกิ้ง ที่บาวาเรีย ประเทศเยอรมนี เป็นพระราชฐานอย่างเป็นทางการ และเมื่อปีพ.ศ. 2528 พระราชวงศ์ได้รับการอนุญาตกลับประเทศออสเตรียได้ หลังจากออสเตรียได้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบเต็มตัว ทำให้ไม่มีอันตรายและความยุ่งยากอะไรอีก...

    [แก้] สิ้นพระชนม์

    หลังจากการฉลองวันประสูติครบรอบ 90 พรรษา พระองค์ทรงเป็นที่รักของพระราชวงศ์ทั่วไป แต่สุขภาพที่แข็งแรงของพระองค์เริ่มไม่สู้ดีแล้ว ซึ่งขณะนั้น พระราชวงศ์จัดงานฉลองวันประสูติครบรอบ 95 พรรษาที่เมืองซีเซอร์ ประเทศออสเตรีย คณะแพทย์ได้แจ้งว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีทรงเริ่มเป็นโรคปอดบวม โดยเป็นเชื้อโรคสะสมในร่างกายของพระองค์ตั้งแต่ลี้ภัยอยู่ในเกาะมาไดร่าแล้ว ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ พระราชวงศ์ทั้งหมดได้เสด็จเข้ามาเฝ้าพระอาการเรื่อยมา จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าทรงสิ้นพระชนม์ ณ วันที่14 มีนาคมพ.ศ. 2532 สิริอายุได้ 97 พรรษา ถือว่าเป็นพระราชวงศ์ที่พระชนม์ชีพยืนยาวที่สุด...

    งานพระศพถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติในกรุงเวียนนา ในวันที่1 เมษายน โดยรัฐบาลได้เข้ามาช่วยในการจัดพระราชพิธีศพด้วย โดยมีพระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี และ พระราชวงศ์บูร์บอง-ปาร์มา เข้ามาร่วมในพระราชพิธีพระศพด้วย พระราชพิธีได้รับความสนใจเป็นอย่างมากของสื่อ โดยเฉพาะการเมือง เพราะอาจเป็นแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศก็เป็นได้ พระศพถูกฝังที่วิหารฮับส์บูร์ก อิมพีเรียล คริปต์ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพพระราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน

    [แก้] พระราชบุตร

    ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรส 5 พระองค์ และพระราชธิดา 3 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ดังนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×