ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #8 : เฮเลน เคลเลอร์ นักเขียนและนักมนุษยธรรมผู้พิการ

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    ฮ เลน เคลเลอร์ (Helen Keller) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2511 โดยเธอเป็นบุคคล ที่โลกให้การยกย่อง จากเด็กน้อย ที่เมื่อหาย จากการเจ็บป่วยที่รุนแรง ในวัยเพียง 19 เดือน ก็ไม่สามารถมองเห็น และไม่ได้ยินเสียงใด ๆ แต่ในที่สุด เธอได้กลายเป็นผู้ที่อุทิศชีวิต ให้กับการต่อสู้ เพื่อสิทธิสตรีและสิทธิ ของคนที่ไม่อาจพึ่งพาตนเองได้

    เฮเลน อดัม เคลเลอร์ (Helen Adams Keller) นักเขียน และนักมนุษยธรรมชาวอเมริกัน ผู้พิการทั้งตาบอด แต่ในที่สุด เธอก็ได้กลายเป็นผู้ที่อุทิศชีวิต ให้กับการต่อสู้ เพื่อสิทธิสตรีและสิทธิคนที่ไม่อาจพึ่งพาตนเองได้ และยังรณรงค์เรียกร้อง เพื่อมนุษยธรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

    เฮ เลน เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2423 ที่เมืองทัสคัมเบีย (Tuscumbia) รัฐแอลบามา (Alabama) ในครอบครัวคนชั้นกลางฐานะดี และได้รับความเชื่อถือ ในระดับท้องถิ่นเป็นอย่างดี บิดารับราชการทหาร รังเกียจการทำงานใช้แรงงาน และมีอคติต่อเรื่องเผ่าพันธุ์ และสีผิวอย่างที่สุด ส่วนมารดาเป็นหญิง ที่มาจากครอบครัวที่ร่ำรวย สวยและมีการศึกษามากกว่าสามี โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ปฏิภาณไหวพริบดี และกระตือรือร้น ในการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ออกเสียงในการเลือกตั้ง

    เฮเลน เป็นลูกสาวคนแรก ที่นำความสุขมาให้ทุกคนในครอบครัว เนื่องจากเธอเป็นเด็กที่ฉลาดและร่าเริง แต่แล้วเมื่อเธออายุได้ 19 เดือน ในวัยที่กำลังหัดเดินและหัดพูด เธอล้มป่วยอย่างกระทันหัน ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบัน เชื่อกันว่าเธอเป็นโรคสมองอักเสบ โดยทุกคนต่างพากันคิดไปว่า เธอต้องเสียชีวิตแน่ ๆ แต่เธอก็สามารถรอดมาได้ ซึ่งความโล่งใจ จากการที่เธอหายป่วย กลับกลายมาเป็นความกลัดกลุ้มแทน เมื่อพวกผู้ใหญ่ต่างพากันสังเกตุเห็นว่า โรคร้ายได้เปลี่ยนแปลงเด็กน้อย ที่ร่าเริง ช่างหัวเราะคนนี้ ให้เปลี่ยนเป็นเด็กที่เงียบงัน ไม่ตอบสนองต่อเสียง และการมองเห็นอีกต่อไป โดยโรคร้ายได้พรากประสาทสัมผัส ทั้งทางการมองเห็นและการได้ยินของเธอไปด้วย

    เฮเลนเริ่มการเรียนรู้บนโลก ในแบบของคนตาบอด และคนหูหนวก โดยมีแม่ของเธอ เป็นผู้ช่วยคนแรก และเมื่อเธออายุได้ประมาณ 7 ปี จึงได้ครู "แอนน์ ซุลลิแวน" (Anne Sullivan) จากสถาบันเพอร์กินส์ เพื่อคนตาบอด (Perkins School for the Blind) มาเป็นผู้ที่สอน การอ่าน การพูด และการเขียน จนได้กลายเป็นมิตร ที่สนิทซึ่งกันและกัน ไปตลอดชีวิต

    จาก นั้นเมื่อเฮเลนอายุได้ 15 ปี จึงได้เข้าศึกษา ที่โรงเรียนไวรท์ ฮูเมสัน (Wright-Humason School for the Deaf) ที่นิวยอร์ก โรงเรียนที่เชี่ยวชาญ การสอนเด็กหูหนวก ซึ่งมีการสอน หลักสูตรการศึกษาแบบภาคปกติด้วย และเมื่อมาถึงจุดนี้ เฮเลนจึงเริ่มคิด ที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ด้วยความพยายามอย่างหนักโดยมี "แอนน์ ซุลลิแวน" เป็นผู้ช่วยในการเรียน และการดำรงชีวิต เฮเลนจึงได้เข้าเรียน ที่มหาวิทยาบัยแรดคลิฟ (Radcliffe College) เมื่ออายุได้ 20 ปี

    เฮเลน จบการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย ที่วิทยาลัยแรดคลิฟ (Radcliffe College) มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด โดยได้รับ ปริญญาเกียรตินิยม ในปี พ.ศ.2447 เมื่ออายุ 24 ปี นับว่าเป็นบัณฑิต ที่หูหนวก และตาบอดคนแรก ของมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว โดยบนความสำเร็จดังกล่าว ทำให้เฮเลน ไม่เคยลืมผู้ที่อยู่เบื้องหลังอย่างแอนน์ ซุลลิแวน ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของเธอเสมอมา



    เฮเลนได้กลายเป็นนักปาฐกถา และนักเขียน ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นระดับโลก โดยเธอได้ทำการ เขียนหนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "เรื่องราวชีวิตของข้าพเจ้า" (The story of MyLife) ในปี พ.ศ.2445 ซึ่งได้รับการนำไปทำเป็นบทละครเรื่อง "นักทำงานมหัศจรรย์" (The Miracle Worker) เรื่องที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการเรียน การสื่อความของเฮเลน ทั้งที่มองไม่เห็นและไม่ได้ยิน ในปี พ.ศ.2502 และได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในอีก 3 ปี ต่อมา

    ในด้านการเมือง เฮเลนได้ชื่อว่า เป็นนักรณรงค์ เพื่อคนพิการ ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง รวมไปถึงการสนับสนุน ให้สตรีมีสิทธิ์ ลงคะแนนเสียง ต่อต้านความรุนแรง และสนับสนุน การคุมกำเนิด โดยในปี พ.ศ.2458 ได้มีการก่อตั้ง องค์กรไม่แสดงกำไรขึ้น "เฮเลนเคลเลอร์สากล" (Helen Keller International) เพื่อป้องกันการตาบอด โดยเฮเลนกับเพื่อน ๆ และครู คือ แอนน์ ซุลลิแวน ได้ร่วมเดินทาง ไปเยือนประเทศต่าง ๆ 39 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในหลายต่อหลายครั้ง และเธอก็เป็นที่ชื่นชอบ ของชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฮเลน ได้พบกับประธานาธิบดีทุกคนตั้งแต่ "โกรเวอร์ คลีฟแลนด์" (Grover Cleveland) ถึงประธานาธิบดี "ลีนดอน จอห์นสัน" (Lyndon B. Johnson) และเป็นเพื่อน กับผู้มีชื่อเสียง อีกหลายคน อาทิ "อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์" (Alexander Graham Bell), "ชาร์ลี แชปปลิน" (Charlie Chaplin) และ "มาร์ค ทเวน" (Mark Twain)


    บั้นปลายของชีวิต เฮเลน เคลเลอร์ ได้เป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยม (Socialist Party) รณรงค์ช่วยเหลือชนชั้นกรรมกร (working classes) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2452 – 2464 ได้เข้าไปเยี่ยมเยือน คลุกคลีกันคนยากจน ซึ่งเธอได้กล่าวไว้ว่า "ฉันได้ไปเยี่ยมโรงงาน สลัมคนยากจน ถึงฉันจะมองไม่เห็น แต่ก็ได้กลิ่น"
    จากนั้นกิจกรรมทางการเมือง ของเฮเลนได้ลดลง พร้อมกับการเสื่อมถอย ของพรรคสังคมนิยม หลังจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้นเธอจึงได้หันมาทำงานให้กับ "มูลนิธิอเมริกันเพื่อคนตาบอด" (American Foundation for the Blind) จึงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2511 รวมอายุได้ 87 ปี

    เรื่อง ราวของเฮเลน ผู้ซึ่งมีความพิการโดยสิ้นเชิง ทั้งตาบอดและหูหนวก ได้เป็นที่สนใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้เป็นอันมากแก่บุคคลทั่วโลก และยังคงเป็นตัวอย่างที่ดี ในด้านความวิริยะอุตสาหะ แก่คนในรุ่นปัจจุบัน ที่ประสบปัญหาอันมากมายด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×