ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #6 : พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิำพลอดุลยเดชมหาราช

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    พระบาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ในราชวงศ์จักรี ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) ทรงมีพระนาม ในขณะนั้นว่า "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช"

    จากนั้น เมื่อ ปี พุทธศักราช 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ผู้เป็นพระเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช"

     

    แต่แล้ว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ได้มีการประกาศ ข่าวราชการสำคัญชิ้นหนึ่ง ดังก้องออกมาจาก วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้สวรรคต โดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" ครั้นในเวลาต่อมา ใน วันเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีข่าวราชการ ที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง แพร่ออกมาว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งประเทศไทย สืบราชสันติวงศ์ ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในขณะนั้น คือ คณะรัฐบาลอันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี

    สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพล อดุลยเดช ทรงดำรง อยู่ในฐานันดรศักดิ์ที่สูงส่ง คือทรงเป็นรัชทายาท อันดับรองลงมาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ดังปรากฏ ตามบันทึกของกระทรวงวัง ที่เรียกกันในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือ สำนักพระราชวังในสมัยนี้ ที่ได้นำเสนอรัฐบาลพระยาพหล ฯ ตอนที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ จะทรงสละราชสมบัติ ในบันทึกนี้ แสดงให้เห็นว่า มีเจ้านายพระองค์ ใดบ้าง ที่ทรงดำรง อยู่ในฐานันดรศักดิ์ อันคู่ควรแก่รัชทายาท แห่งประเทศไทย

    และหลังจาก ที่ประชุม โดยคณะรัฐบาล ได้มีการลงมติเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ และยืนขึ้นเปล่งเสียงไชโย พร้อมเพรียงกัน เป็นการถวายพระพร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ใหม่ ต่อจากนั้น จึงทำการแต่งตั้ง คณะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว 3 ท่าน เพราะเหตุที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งในขณะนั้น พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 18 ปี 6 เดือน 4 วัน

    ในส่วนพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก ได้มีขั้นตอนที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ เป็นเศวตพัสตร์ ทรงสะพักขาวขลิบทาง ประทับเหนือ ตั่งไม้อุทุมพร บนพระมณฑปพระกระยาสนาน สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายน้ำพระพุทธมนต์ ทรงสรงมูรธาภิเษก ด้วยน้ำที่เจือน้ำ จากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และน้ำจกาปัญจสุทธคงคา อันเป็นแม่น้ำสำคัญของไทยทั้ง 5 คือ แม่น้ำเจ้าพระยา เพชรบุรี ราชบุรี ป่าสัก บางปะกง และน้ำ 4 สระได้แก่ สระเกศ สระแก้ว สระคงคา และสระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ

    เมื่อทรง สรงมูรธาภิเษกแล้ว ทรงผลัดพระภูษา เป็นเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ สำหรับบรมราชาภิเษก เสด็จออกประทับ พระที่นั่งอัฐทิศ ภายใต้สตปฏลเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ สมาชิกรัฐสภา ถวายน้ำอภิเษก แทนราชบัณฑิต อันเป็นการดัดแปลง ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ว่าได้ทรงได้รับความยินยอม จากปวงชนและพราหมณ์ พิธีถวายน้ำเทพมนต์ เวียนจนครบ 8 ทิศ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร ประธานวุฒิสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ถวายพระพรเป็นภาษาไทย พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฏลเศวตฉัตร

    จากนั้น เสด็จพระราชดำเนิน สู่พระที่นั่งภัทรบิฐ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณองค์ เดิม พระราชครูวามเทพมุนี ร่ายเวทเปิดศิวาลัยไกลาศ แล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฏ จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (ภ.ป.ร.) ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ จากนั้นได้ถวายพระพรชัย ด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ตอบเป็นภาษาไทย พระราชทานอารักขาแก่ประชาชนชาวไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

    พระราชครูวามเทพมุนี รับพระบรมราชโองการ ด้วยภาษามคธ และภาษาไทยว่า "ข้าพระพุทธเจ้า ขอรับพระบรมราชโองการ พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ประถมธรรมิกราชวาจา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ" ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหลั่งทักษิโณทกตั้ง พระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ปกครองราชอาณาจักรไทย โดยทศพิธราชธรรมจรรยา เป็นอันที่สุดขั้นตอนสำคัญของพระราชพิธี

    โดยตลอดระยะเวลาครองราชย์ 60 ปี พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ
    และพระราชจริยาวัตรมากมาย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ แก่คนไทยทั้งประเทศ สุดที่จะนำมากล่าว ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ซึ่งทรงปฏิบัติ "ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์" ทั้งพระราชกรณียกิจ ตามรัฐธรรมนูญ และการบำบัดทุกข์บำรุงสุข ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุข กับประชาชนชาวไทย ต้องทรงตรากตรำพระวรกาย เสด็จเยี่ยมเยียน ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร

    ซึ่งเมื่อ ปี พุทธศักราช 2539 เป็นวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ด้วยความสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างล้นพ้น ที่คนไทยทั้งชาติ มีต่อพระองค์ ด้วยพระบรมเดชานุภาพ ในทุก ๆ ด้านของพระองค์ ที่ได้ดลบันดาลให้ ประเทศพ้นวิกฤติการณ์ ในบางช่วงบางขณะ ทรงขจัดความทุกข์ยากเดือดร้อน ให้แก่คนไทยในถิ่นทุรกันดาร ได้ทรงพระราชทาน พระราชดำรัส ในการพัฒนามากมาย อีกทั้งยังทรงแก้ไขปัญหา และสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ทรงดูแลเยี่ยมเยียน ประชาชนอย่างใกล้ชิด คนไทยทั้งชาติจึงได้ร่วมกันลงนาม ขอถวายพระราชสมัญญานาม ให้ทรงเป็น "มหาราช" ดังมีหลักฐาน การลงนามของคนไทยทั้งชาติ ยังคงเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

    ในปีนี้ก็ เช่นกัน เนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 60 ปี ทางหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วประเทศ ได้ร่วมใจกันจัดงาน เฉลิมฉลองพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กันอย่างมากมาย


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×