คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #52 : เอ็มมา วัตสัน
เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วัตสัน (อังกฤษ: Emma Charlotte Duerre Watson) เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2533 เป็นนักแสดงลูกครึ่งอังกฤษ-ฝรั่งเศส[1]เป็น 1 ในนักแสดงนำจากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยรับบทเป็นเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ วัตสันเริ่มแสดงเมื่อมีอายุเพียง 9 ขวบ ในโรงเรียนการแสดง[2] เธอเริ่มแสดงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2547 ร่วมกับ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ท กรินท์ และเธอจะกลับมาแสดงต่ออีก 2 ภาคสุดท้ายคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม (ภาพยนตร์) เนื่องจากมีกำหนดออกฉายในปี พ.ศ. 2552 และ 2 ส่วนของ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต [3] จากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ นี้ทำให้เธอได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก และรายได้กว่า 10 ล้านปอนด์[4]
ในปี พ.ศ. 2551 วัตสันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์นอกเหนือจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ ถึง 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง Ballet Shoes ออกอากาศในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทำรายได้ 5.2 ล้านปอนด์และหนังแอนิเมชันเรื่อง The Tale of Despereaux ซึ่งสร้างจากงานเขียนของ Kate DiCamillo ที่จะออกฉายในปี พ.ศ. 2551[5][6]
เนื้อหา |
[แก้]ประวัติในวัยเด็ก
เอ็มมา วัตสันเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นลูกสาวของ แจ็กกาลีน เลอร์สบี และ นักกฎหมายชาวอังกฤษคริส วัตสัน[7] เธอมียายเป็นชาวฝรั่งเศส[8]และอาศัยอยู่ในปารีสจนกระทั่งอายุ 5 ขวบ ก่อนที่เธอจะย้ายไปอยู่กับแม่และน้องชายชื่อว่า อเล็กซ์ ไปยังอ็อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ หลังจากที่พ่อแม่ของเธอแยกทางกัน[7]
วัตสันมีความปรารถนาที่จะเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 6 ขวบ แล้วเธอจึงได้เริ่มแสดงในโรงเรียนการแสดง[9] เมื่ออายุ 10 ขวบ เธอแสดงใน Arthur: The Young Years and The Happy Prince[7] เธอไม่เคยแสดงแบบมืออาชีพเหมือนกับหนังซีรีส์อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มาก่อน เธอกล่าวในปี 2550 ว่า "ฉันไม่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงหนังซีรีส์" ในระหว่างการสัมภาษณ์ของนิตยสารพาเหรด "ถ้าหากฉันได้แสดงอย่างนั้นจริงๆ ฉันคงจะมีความรู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างมาก"[10]
[แก้]ผลงานที่ผ่านมา
[แก้]แฮร์รี่ พอตเตอร์
ในปี พ.ศ. 2542 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ขายดีที่สุดของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง[9] สิ่งสำคัญในการคัดเลือกตัวผู้แสดงในบทบาทแฮร์รี่ พอตเตอร์ และผู้ที่แสดงเป็นตัวประกอบเด่นๆ ที่แสดงเป็นเพื่อนของแฮร์รี่อีก 2 คนคือเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และ รอน วีสลีย์ ส่วนการคัดเลือกตัวผู้แสดงนั้นไปพบกับวัตสัน โดยผ่านทางครูสอนการแสดงของเธอที่โรงละครออกซ์ฟอร์ด[9] และผู้ผลิตมีความประทับใจในความมั่นใจของเธอมาก หลังจากการทดสอบถึง 8 ครั้ง เดวิด เฮย์แมน ได้บอกกับวัตสัน และผู้สมัครอีก 2 คนคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ท กรินท์ว่า ทั้ง 3 คนนี้ถูกคัดเลือกให้เล่นเป็นเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์, แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ รอน วีสลีย์ โรว์ลิ่งสนับสนุนวัตสันจากการทดสอบหน้ากล้อง[9]
วัตสันแสดงครั้งแรกในบทของ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ตอน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ในปี พ.ศ. 2544[11][12] เป็นภาพยนตร์ซีรีส์ที่ทำเงินได้สูงสุดในปีนี้ นักวิจารณ์หนังได้กล่าวชมการแสดงของตัวละครสำคัญ 3 ตัว โดยเฉพาะวัตสัน หนังสือพิมพ์เดลิเทเลกราฟท์ได้กล่าวถึงการแสดงของเธอว่า "น่าชมเชย"[13] ส่วนไอจีเอ็นกล่าวว่าเธอ "ขโมยซีนจากแฮร์รี่ พอตเตอร์"[14] เธอเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 5 รางวัลจากการแสดงใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เธอชนะรางวัล Young Artist Award สำหรับนักแสดงนำที่เป็นเยาวชน[15]
หลังจากนั้น 1 ปี วัตสันได้แสดงในบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์อีกครั้งในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ซึ่งเป็นภาคที่ 2 ของเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ถึงแม้ว่าภาคนี้ได้รับการผสมผสานเนื่องจากจังหวะและทิศทางของพวกเขา นักวิจารณ์ได้วิจารณ์การแสดงในแง่บวก หนังสือพิมพ์เดอะลอสแอนเจลิสไทม์ กล่าวว่า วัตสันและเพื่อนของเธอมีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นในช่วงถ่ายทำหนัง[16] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะไทม์วิจารณ์ว่า การแสดงของวัตสันภายใต้การกำกับของคริส โคลัมบัส เป็นตัวละครที่โดดเด่นอย่างมาก[17] วัตสันได้รับรางวัลออตโตจากนิตยสารเยอรมัน ดาย เว็ท สำหรับการแสดงของเธอ[18] ต่อมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ออกฉายในปี พ.ศ. 2547 วัตสันได้รับความพึงพอใจการแสดงในบทบาทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และกล่าวถึงบทบาทของเธอว่า "มีความสามารถพิเศษ" และ "บทบาทการแสดงที่น่าทึ่ง"[19] ถึงแม้ว่านักวิจารณ์หนังจะหันเหความสนใจจากความสามารถของแรดคลิฟฟ์ไปแล้ว แถมยังตราหน้าเขาว่าเล่นแข็งทื่อยังกะท่อนไม้ แต่เธอก็ยังได้รับคำชมอย่างต่อเนื่อง จนหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์เขียนแสดงความน่าทึ่งของเธอว่า "...โชคดีที่ได้ความดุเดือดของวัตสันมาชดเชยให้กับความอ่อนโยนของแรดคลิฟฟ์ แม้แฮร์รี่จะแสดงทักษะพ่อมดออกมาได้มากมายเพียงใด กลับเป็นเฮอร์ไมโอนีที่ได้รับเสียงปรบมือกึกก้องเมื่อเธอตะบันหน้าเดรโก มัลฟอย โดยไม่ต้องใช้เวทมนตร์อะไรเลย..."[20] ถึงแม้ว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ที่ยังคงทำรายได้ต่ำสุดในหนังซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ จากข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 แต่เธอก็ยังชนะรางวัลออตโตถึง 2 ครั้ง และรางวัลนักแสดงเด็กยอดเยี่ยมแห่งปีจาก Total Film[21][22][23]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี พ.ศ. 2548 ทั้งวัตสันและหนังซีรีส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้มาถึงจุดที่สำคัญในชีวิต แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้สร้างสถิติเปิดตัวในสุดสัปดาห์สูงสุดที่เปิดตัวออกฉาย ที่ไม่ใช่เดือนพฤษภาคมในสหรัฐฯ และการเปิดตัวในช่วงสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจาร์หนังต่างชื่นชมที่เพิ่มวุฒิภาวะของวัตสันและนักแสดงประกอบ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์แสดงความเห็นต่อบทบาทของเธอว่า "ประทับใจกับความเอาจริงเอาจังของเธอ"[24] สำหรับวัตสันแล้ว มันเป็นการเพิ่มความสนุกชวนหัวเราะที่กระโดดจากความตึงเครียด ท่ามกลางนักแสดงนำ 3 คนในขณะที่พวกเขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เธอกล่าวว่า "ฉันชอบให้มีการโต้เถียงกัน...มันทำให้หนังดูสมจริงมากขึ้นว่าเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการโต้เถียงกัน แสดงว่าพวกเขาอาจจะมีปัญหากันก็ได้"[25] ในการส่งชื่อเข้าชิงรางวัลGoblet of Fire ถึง 3 ครั้ง เธอก็ได้รับรางวัลออตโต[26][27][28] หลังจากปีนั้น เธอได้กลายเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุดที่ปรากฏในนิตยสาร Teen_Vogue[29] ในปี พ.ศ. 2549 เธอรับบทเป็น เฮอร์ไมโอนี่ ในเรื่อง The Queen's Handbag ซึ่งเป็นภาคพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[30]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ซึ่งเป็นภาคที่ 5 ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 ประสบความสำเร็จในด้านการเงิน จากการออกฉายทั่วโลก ทำรายได้กว่า 332.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ[31] เธอชนะครั้งแรกในรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ในตำแหน่งนักแสดงหญิงที่ดีที่สุด[32] ทำให้เธอกลายเป็นนักแสดงหญิงที่ได้รับเกียรติอย่างต่อเนื่อง วัตสันและเพื่อนนักแสดงอย่าง แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ท กรินท์ ได้ประทับฝ่ามือ ฝ่าเท้า และไม้กายสิทธิ์ ตรงหน้าโรงภาพยนตร์จีนของกรูแมน (Grauman's Chinese Theatre) ที่ฮอลลีวูด เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[33]
[
แก้]งานที่นอกเหนือจากเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์
ภาพยนตร์ที่วัตสันแสดงนอกเหนือจากเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นเรื่องแรกคือ บัลเลต ชูส์ (Ballet Shoes) โดยรับบทเป็น พอลลีน ฟอสซิล[34] เธอกล่าวในโปรเจ็กต์ว่า "ฉันจะถูกส่งกลับไปยังโรงเรียนหลังจากที่ถ่ายทำเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ เสร็จแล้ว แต่เรื่อง บัลเลต ชูส์ ไม่สามารถยืนยันได้ ฉันรักมันจริงๆ"[35] เรื่องนี้ทางบีบีซีดัดแปลงมาจากนวนิยายของ โนเอล สตรีทฟิลด์ ในเรื่องนี้วัตสันได้รับบทเป็น พอลลีน ฟอสซิล เป็นพี่สาวคนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน[36] ผู้กำกับแซนดรา โกลด์เบเชอร์ ได้เห็นความเห็นว่า "เอ็มมาแสดงในบทของพอลลีนได้อย่างเพอร์เฟ็คท์...เธอแสดงได้อย่างแทงทะลุเข้าไปถึงหัวใจ รัศมีที่ละเอียดอ่อนของเธอ จะเปล่งประกายทำให้คุณมีความต้องการที่จะจ้องและเพ่งเล็งเธอ" บัลเลต ชูส์ถูกออกอากาศในวันเปิดกล่องของขวัญที่สหราชอาณาจักร[37] และได้ประมาณจำนวนผู้ชมถึง 5.2 ล้านคน (22% ของจำนวนผู้ชมทั้งหมด) [38] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์โดยทั่วไปไม่ค่อยจะดีนัก และหนังสือพิมพ์ เดอะไทม์ พรรณาว่า "มันเป็นความก้าวหน้ากับการลงทุนที่ให้ความรู้สึกดีใจ โกรธ รัก หรือน่าอัศจรรย์ หรือการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่ง"[39][40] อย่างไรก็ตาม รายชื่อผู้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำสรรเสริญ หนังสือพิมพ์เดลิ เทเลกราฟ เขียนเอาไว้ว่า "สำเร็จได้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ถึงกับน้อยที่สุด เพราะว่ามันได้มีการยืนยันว่าปัจจุบันนี้ นักแสดงวัยเยาว์ได้แสดงความสามารถได้ดีอย่างไร"[41]
วัตสันได้พากย์เสียงในภาพยนตร์ The Tale of Despereaux ที่ออกฉายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[5] เธอพากย์เสียงเป็นเจ้าหญิงพี และตัวการ์ตูนของเด็กก็ถูกพากย์โดย แมทธิว โบรเดอริค และ เทรซี อัลแมน
[แก้]แผนการในอนาคต
ถึงแม้จะมีข่าวลือว่าวัตสันปฏิเสธที่จะแสดงเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ต่อในอีก 2 ภาคสุดท้ายก็ตาม[8] เธอต่อสัญญาในภาคที่ 6 และ 7 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 เธอชี้แจงการตัดสินใจอย่างหนักแน่นขณะที่การแสดงยังคงต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญในชีวิตเธออีก 3 ถึง 4 ปี แต่ในที่สุดแล้ว "มีน้ำหนักในทางบวกมากกว่าลบ"[8] การแสดงในเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เริ่มต้นในปลายปี 2550[42] แม้ว่าแรดคลิฟฟ์และกรินท์ต่างยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะแสดงต่อแน่นอนนั้น ทางวัตสันกลับแสดงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของเธอ โดยการไปให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร นิวส์วีค ในปี 2549 ว่า "แดเนียลและรูเพิร์ทดูเหมือนว่าแน่นอน...ฉันรักการแสดง แต่มันก็มีอีกหลายอย่างที่ฉันรัก และจะต้องทำด้วยเหมือนกัน"[43]
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
วัตสันเติบโตมาท่ามกลางพ่อแม่ที่แยกทางกัน แล้วต่างคนต่างมีลูกกับสามีและภรรยาใหม่ พ่อของเธอมีลูกฝาแฝด มีชื่อว่า"นีน่า" และ "ลูซี่"[44] และมีลูกชายอายุ 4 ขวบ มีชื่อว่า "ท็อบบี้" ส่วนแม่ของเธอมีลูกชายสองคน (ซึ่งเป็นน้องชายต่างบิดาของเธอนั่นเอง) ผู้ซึ่งอยู่กับเธออย่างถูกต้อง[45] ส่วนน้องชายร่วมบิดา-มารดาของเธอ อเล็กซานเดอร์ ได้มีส่วนร่วมในการแสดงเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ถึง 2 ภาคด้วยกัน[44] ส่วนน้องสาวต่างมารดาของเธอนั้น ได้แสดงอยู่ในเรื่องบัลเลต ชูว์ ออกอากาศทางบีบีซี[44]
หลังจากที่ย้ายไปยังอ็อกซ์ฟอร์ดพร้อมกับแม่และน้องชายของเธอ เธอตั้งใจที่จะเข้าโรงเรียน The Dragon School จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 เธอก็ย้ายไปยัง Headington School ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรี[7] ในช่วงที่กำลังถ่ายทำอยู่นั้น เธอและเพื่อนเรียนวันละ 5 ชั่วโมง[46] ถึงแม้ว่าเธอจะเน้นในเรื่องของการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นหลัก แต่เธอก็สามารถรักษาระดับผลการเรียนให้อยู่ในระดับมาตรฐานเอาไว้ได้ ในเดือนมิถุนายน ปี 2549 วัตสันสามารถทำข้อสอบ GCSE ใน 10 วิชา เธอได้รับ A* 8 ตัว และเกรด A 2 วิชา[47] เธอได้รับเสียงหัวเราะอย่างเป็นมิตรเนื่องจากผลการสอบของเธอ[29] เธอได้รับใบเกรดในปี 2551 จากการทดสอบขั้นสูงวิชาอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศิลปศาสตร์[48] และในปี 2550 เธอได้รับใบเกรดวิชาประวัติศิลปะขั้นสูง[49] ปัจจุบันเธอในช่วงช่วงเวลาหาประสบการณ์ค้นหาตัวเอง 1 ปี ระหว่าง โรงเรียนกับมหาวิทยาลัย (gap year) [48] การปรับตัวในการถ่ายทำภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ที่มี 2 ตอนและจะฉายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[50] ภายหลังจากสิ่งที่เธอต้องการอย่างหนักแน่นว่าจะไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อเรียนวิชาภาษาอังกฤษ[51]
วัตสันมีค่าตอบแทน 10 ล้านปอนด์จากงานแสดงในภาพยนตร์ซีรีส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์[4] และเธอแจ้งว่าเธอไม่เคยทำงานเพื่อเงิน อย่างไรก็ตาม เธอก็ปฏิเสธที่จะออกจากโรงเรียนเพื่อมาเป็นนักแสดงอย่างเต็มตัว จากการกล่าวว่า "หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมฉันไม่ต้องการ...แต่ชีวิตในโรงเรียนทำให้ฉันได้มีความสัมพันธ์กับเพื่อน มันทำให้ฉันได้เรียนรู้ถึงชีวิตจริง"[10] เธอมีแนวความคิดในเชิงบวกเกี่ยวกับการเป็นนักแสดงเยาวชน เธอกล่าวว่าพ่อแม่ของเธอและมหาวิทยาลัยช่วยทำให้ฉันมีประสบการณ์ที่มีความสุข[29][45][52] เธอยังมีความสนิทสนมกันดีกับเพื่อนนักแสดงด้วยกันคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ท กรินท์ เธอประกาศว่า "พวกเขามีระบบสนับสนุนที่มีลักษณะพิเศษ" เพื่อผ่อนคลายในระหว่างการถ่ายทำ
วัตสันสนใจงานอดิเรก เช่น เต้นรำ ร้องเพลง ฮอกกี้ เทนนิส ศิลปะ[7] ตกปลา[53] และบริจากเงินให้กับ WTT[54][55][56] เธอประกาศด้วยตัวของเธอเองว่าเธอเป็นพวกสตรีนิยม[10][45] และมีความเลื่อมใสต่อนักแสดง จอห์นนี เดปป์ และ จูเลีย โรเบิตส์[57]
เมื่อเธอแตกเนื้อสาวแล้ว เธอมีความสนใจทางด้านแฟชั่น เธอเคยบอกว่าเธอเคยดูแฟชั่นเหมือนเป็นศิลปะ ซึ่งเธอเรียนในโรงเรียน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 เธอบอกผ่านทางเว็บบล็อกว่า "ฉันได้เน้นย้ำไปยังศิลปะอย่างมาก และแฟชั่นก็คือสิ่งนั้น"
[แก้]เรื่องที่แสดง
ปี | ภาพยนตร์ | รับบทเป็น | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
2544 | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ | เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ | |||
2545 | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ | ||||
2547 | |||||
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน | |||||
2548 | |||||
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี | |||||
2550 | |||||
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ | |||||
Ballet Shoes | |||||
พอลลีน ฟอสซิล | ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง BBC 1 | ||||
2551 | The Tale of Despereaux | เจ้าหญิงพี | พากย์เสียง | ||
2552 | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม | เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ | มีหมายกำหนดการที่จะฉายรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[59] | ||
2553 | |||||
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตอนที่ 1 | หนังสือพิมพ์ลอสเองเจลลิส ไทม์ ได้ยืนยันถึงการผลิต[60] | ||||
2554 | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตอนที่ 2 |
[แก้]รางวัลที่ได้รับ
ปี (พ.ศ.) | องค์กร | รางวัล | ภาพยนตร์ | ผล | ||
---|---|---|---|---|---|---|
2545 | รางวัลจิตรกรเด็ก | การแสดงที่ดีที่สุดในภาพยนตร์ขนาดยาวปานกลาง – นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ | ชนะรางวัล | [15] | |
Academy of Science Fiction, Fantasy & Horror Films | รางวัลแซทเทิร์น | เสนอชื่อเข้าชิง[61] | ||||
เอ็มไพร์ | รางวัลเอ็มไพร์ | เสนอชื่อเข้าชิง[62] | ||||
รางวัลอเมริกันมูวี่ | นักแสดงสนับสนุนดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง[63] | ||||
นักแสดงเยาวชนยอดเยี่ยม | การแต่งตัวชุดที่ดีที่สุดในภาพยนตร์ขนาดยาวปานกลาง | เสนอชื่อเข้าชิง[15] | ||||
2546 | รางวัลออตโต | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (เหรียญเงิน) | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ | ชนะรางวัล | [18] | |
2547 | รางวัลออตโต | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (เหรียญเงิน) | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน | ชนะรางวัล | [21] | |
โททอล ฟิล์ม | นักแสดงเด็กแห่งปี | ชนะรางวัล[23] | ||||
สมาคมนักวิจารณ์ละครโทรทัศน์ | นักแสดงหญิงดีเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง[64] | ||||
2548 | Otto Awards | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (เหรียญทอง) | ชนะรางวัล[22] | |||
Broadcast Film Critics Association | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี | เสนอชื่อเข้าชิง | [27] | ||
2549 | Otto Awards | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (เหรียญเงิน) | ชนะรางวัล[26] | |||
รางวัลภาพยนตร์ MTV | Best On-Screen Team | เสนอชื่อเข้าชิง[28] | ||||
2550 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ (ไอทีวี) | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ | ชนะรางวัล | [32] | |
UK Nickelodeon Kids' Choice Awards | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | ชนะรางวัล[65] | ||||
2551 | รางวัลโซนี่ อิรคสัน เอ็มไพร์UK | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง[66] | |||
รางวัลคอนสเทลเลชัน | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | ชนะรางวัล[67] | ||||
Otto Awards | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (เหรียญทอง) | ชนะรางวัล[68] | ||||
รางวัล SyFy Genre | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | ชนะรางวัล[69] | ||||
รางวัลเกรเมอร์ | Best UK TV Actress | บัลเลต ชูส์ | เสนอชื่อเข้าชิง[70] |
ความคิดเห็น