ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #5 : เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บุตรบุญธรรมในร. 4 ข้าหลวงผู้ภักดีในร.5

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล ) เป็นคนโปรดใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งท่านมีความสามารถ ทางด้านการละคร โดยเป็นผู้ริเริ่มการแสดงละคร แบบเก็บเงิน หรือตีตั๋วเป็นครั้งแรก และตั้งชื่อโรงละคร แบบฝรั่งว่า "Prince Theatre" รวมทั้งละครของท่าน ยังก่อให้เกิดคำว่า "วิก" อีกด้วย

    เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ ธำรง เดิมชื่อ วันเพ็ง หรือวันเพ็ญ เนื่องจากท่านเกิด ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยต่อมาเรียกกันเพียงสั้นๆ ว่า "เพ็ง" เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร(ด้วง)

    เมื่อครั้ง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็น เจ้าฟ้ามงกุฏ ทรงเสด็จไปศึกษา ในสำนักพระพุฒาจารย์(ขุน) ซึ่งนายด้วง(หลวงจินดาพิจิตร) บวชเป็นสามเณรอยู่ สมเด็จพุฒาจารย์ (ขุน) จึงมอบหมายให้สามเณรด้วง ถวายการดูแล เจ้าฟ้ามงกุฏ จนเกิดความสนิทสนมกัน

    ต่อมา นายด้วงลาอุปสมบท ไปมีภรรยา และเข้ารับราชการ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็น หลวงจินดาพิจิตร มีบุตรธิดา 5 คน คนสุดท้ายคือ "วันเพ็ง" เมื่อหลวงจินดาพิจิตร มีโอกาสเข้าเฝ้า เจ้าฟ้ามงกุฏ เด็กชายเพ็งจึงตามไปด้วย ทรงทอดพระเนตรเห็น จึงออกพระโอษฐ์ ขอเด็กชายเพ็งวัย 13 ปี จากหลวงจินดาพิจิตร เพื่อรับเลี้ยง เป็นบุตรบุญธรรม โดยทรงเรียก "พ่อเพ็ง" เรื่อยมา เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พ่อเพ็งเป็น "เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี" หัวหมื่นมหาดเล็ก

    เนื่องจาก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงล่าอาณานิคม ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งอังกฤษ ได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศไทย ในปี พ.ศ.2398 โดย
    สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระ บรมราชินี ได้อัญเชิญพระสาส์น และเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังมีการลงนามร่วมกัน ใน "สนธิสัญญาบาวริ่ง" อีกด้วย

    ต่อมาในปี พ.ศ.2400 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
    พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต และเจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี เป็นอุปทูต นำพระราชสานส์ และคุมเครื่องบรรณาการ ออกไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศอังกฤษ ภายหลังจากเสร็จกิจ ในฐานะอุปทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระบุรุษรัตนราชวัลลภ"

    ต่อมารัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็น "พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี"

    เนื่องจาก ในสมัยนั้น ระบบไพร่มีความซับซ้อนมาก ไพร่จะต้องสังกัด กับมูลนาย ทำให้ไม่สามารถ ย้ายถิ่นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพได้ และนำไปสู่ปัญหาอื่น เช่น ในเวลาที่บ้านเมืองถูกคุกคาม จากจักรวรรดินิยม ไพร่อาจขอขึ้นทะเบียนสังกัด เป็นคนในบังคับต่างชาติได้

    ด้วยเหตุ นี้ พระองค์จึงทรงดำริให้ ไพร่มีหน้าที่ ต่อราชการ เท่าเทียมกัน โดยให้มีการแลกตัวเลก ซึ่งจะให้มีฐานะเสมอกัน (ตัวเลกหมายถึงไพร่) โดยขณะนั้น พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี ทำหน้าที่ ดูแลกรมพระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเพียงกรมเล็กๆ ที่มีหน้าที่สักเลก ในเขตความรับผิดชอบเท่านั้น (งานสักเลก เป็นงานหลัก ของกรมมหาดไทย ,กรมพระกลาโหม และกรมท่า) ในปี พ.ศ.2417 จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีเป็น "เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ" เท่าเทียมกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และกรมท่า เพื่อให้มีอำนาจ ในการจัดระเบียบ การควบคุมกำลังคน และการสักเลกมากกว่าเดิม รวมทั้งการเกณฑ์ไพร่ มาทำราชการ ในกรณีพิเศษ เช่น การปราบปรามโจรผู้ร้าย การปราบกบฎ เป็นต้น
    ปราบฮ่อ

    ต่อมาในปี พ.ศ.2418 เกิดการชุมนุม ของพวกฮ่อ (ชาวจีนอพยพ เข้ามาทำมาหากิน ในภาคเหนือ ของประเทศไทย) ที่ทุ่งเชียงคำ เพื่อหมายจะตีเมืองหลวงพระบาง ทางการ จึงจัดกำลังเข้าปราบปราม โดยแบ่งเป็น 4 กอง ซึ่งหนึ่งในนั้น มีกองทัพของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นแม่ทัพ และยกกำลัง มาจากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย โดยสามารถ ปราบปรามพวกฮ่อ ให้ล่าถอยไปได้

    กรมพระ สุรัสวดี มีบทบาทในการสักเลก ทั้งในกรุงเทพฯ เมืองชั้นใน และเมืองชั้นนอก ทำให้มีบทบาทสำคัญ เรื่อยมา จนกระทั่ง ถูกลดฐานะมาเป็นกรมเล็ก ขึ้นกับกระทรวงกลาโหม ในเวลาต่อมา

    นอกจากความสำคัญ ในฐานะข้าหลวงแล้ว เจ้าพระมหินทรศักดิ์ธำรง ยังมีความเกี่ยวพันธ์ กับการแสดงละคร และที่มาของคำว่า "วิก" ด้วย

    เนื่องเจ้า พระมหินทรศักดิ์ธำรง มีคณะละคร ที่เป็นของท่านเอง มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งแต่เดิมมีเพียงละครนอก และละครใน จนกระทั่งเมื่อครั้งที่เป็นอุปทูตไปอังกฤษ ได้เห็นการแสดงละครของที่นั่น จึงนำแบบละครยุโรป มาปรับปรุงละครนอก ให้มีแนวทางที่แปลกไป ทำให้ละครของท่าน ได้รับความนิยมมากช่วงปลายรัชกาลที่ 5
    Prince Theatre Prince Theatre

    โดยคณะละคร ของ เจ้าพระมหินทรศักดิ์ธำรงชื่อ "Siamese Theatre" เป็นละครที่เล่นเฉพาะเวลา ที่มีแขกบ้านแขกเมืองมาดู จนเมื่องานฉลองกรุง 100 ปี ท่านได้นำละคร มาร่วมแสดงที่ท้องสนามหลวง ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินคนดู จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการเก็บค่าตั๋ว เพราะนับจากนั้น ท่านได้เปลี่ยนชื่อ โรงละครมาเป็น "Prince Theatre" (หมายถึง ละครของพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ซึ่งเป็นหลานของท่าน) และมีการเรียกเก็บเงิน เพื่อชมละคร

    โดยละคร ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีทั้งเรื่อง ดาหลัง และราชาธิราช ซึ่งการแต่งตัวก็สมจริง เมื่อเล่นเรื่องจีน ก็แต่งชุดจีน เล่นเรื่องพม่าก็แต่งชุดพม่า ทำให้กลายเป็นที่ชื่นชอบ และได้รับความนิยมมาก

    โรงละครปรินซ์เทียเตอร์ เดิมเป็นเพียงโรงกั้นรั้ว จะแสดงในคืนเดือนหงาย เดือนละ 1 สัปดาห์ หรือ 1 วีค(week) ซึ่งต่อมา เล่นเดือนละ 2 วีค เมื่อชาวบ้านจะดูละค รก็มักจะพูดกันว่าไป "วิก" (เพี้ยนมาจากคำว่าวีค) ทำให้ละครอื่นๆ รวมทั้งลิเกพากันตามอย่าง โดยมีการกำหนดเวลา และเก็บเงินเหมือนกัน คำว่า "วิก" จึงแพร่หลาย กลายเป็นละครวิกนั้น วิกนี้ สืบมา

    นอกจากนี้ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ยังเป็นผู้เริ่มต้น พิมพ์หนังสือแจก ในวาระงานทำบุญวันเกิด เป็นแล่มแรก คือ หนังสือในโอกาสอายุครบ 70 ปี ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ.2432 "เรื่องพระรัตนไตร" เนื่องจากในสมัยนั้น นิยมพิมพ์หนังสือแจก ในวาระงานศพเท่านั้น

    เจ้าพระยาม หินทรศักดิ์ธำรง มีบุตรธิดารวม 26 คน โดยบุตรชายที่ชื่อ นายนิล ได้เป็น พระยาทรินทรราชเสนี และธิดาคนที่ 3 ชื่อมรกฎ ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดามรกฎ ในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระองค์เจ้า 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (ผู้ประพันธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือ เพลงลาวดวงเดือน ซึ่งขึ้นต้นว่า "โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย")

    ต่อมา เมื่อเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2437 โรงละครปรินซ์เทียเตอร์ จึงตกเป็นของ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) บุตรชาย ซึ่งเรียกละครของท่านว่า "ละครบุศย์มหินทร์" โดยละครโรงนี้ ได้ไปแสดงในยุโรปเป็นครั้งแรก ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดทุน เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยไม่นาน เจ้าหมื่นไวยวรนาถก็ถึงแก่กรรม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×