คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #414 : สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3[1] (อังกฤษ: Richard III of England) (2 ตุลาคมค.ศ. 1452 – 22 สิงหาคมค.ศ. 1485) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษสมัยราชวงศ์ยอร์กระหว่างปี ค.ศ. 1483 ถึงปี ค.ศ. 1485
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1452 ที่ปราสาทโฟเธอริงเฮย์ในนอร์แธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นบุตรของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กและเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก อภิเษกสมรสกับแอนน์ เนวิลล์ ครองราชย์ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1483 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 สิหาคม ค.ศ. 1485 ที่สนามรบบอสเวิรธในเทศมลฑลเลสเตอร์เชอร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์ยอร์ก และความพ่ายแพ้ของพระองค์ในยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์เป็นจุดจบของสงครามดอกกุหลาบและของราชวงศ์แพลนแทเจเนต
หลังจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระเชษฐาสวรรคต ริชาร์ดก็ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเชษฐาในตำแหน่ง “เจ้าผู้อารักขา” แต่ทรงกักตัวพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก พระอนุชา ไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอน จากนั้นก็ทรงยึดราชบัลลังก์จากพระนัดดาและเข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็น พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1483
การขึ้นครองราชสมบัติโดยไม่ชอบธรรมทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1483 นำโดยผู้ต่อต้านพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 โดยเฉพาะเฮนรี สตัฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม ผู้มีส่วนในการแต่งตั้งพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ดยุกแห่งบักกิงแฮมพ่ายแพ้และถูกประหารชีวิตที่ซอลสบรี ในปี ค.ศ. 1485 เกิดปฏิวัติขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้นำโดยเฮนรี ทิวดอร์ เอิร์ลที่ 2แห่งริชมอนด์ (ต่อมาเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7) และแจสเปอร์ ทิวดอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด ผู้เป็นลุง พระเจ้าริชาร์ดเสด็จสวรรคตในสนามรบบอสเวิรธที่เดิมเรียกสนามเรเดมอร์หรือ สนามแดดลิงฟิล์ด เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของอังกฤษที่เสด็จสวรรคตในสนามรบ
เนื้อหา |
เบื้องต้น
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เสด็จพระราชสมภพที่ปราสาทโฟเธอริงเฮย์เป็นบุตรคนสุดท้องและองค์ที่สี่ที่รอดชีวิตมาจนโตของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก (ผู้อ้างสิทธิในบัลลังก์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 6) และเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ริชาร์ดใช้เวลาเมื่อยังทรงพระเยาว์ส่วนใหญ่ที่ปราสาทมิดเดิลแฮมที่เวนสลีย์เดลภายใต้การให้การศึกษาของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก ผู้ที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ว่า “ผู้สร้างกษัตริย์” (The Kingmaker) เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อแนวทางการเป็นไปของสงครามดอกกุหลาบมาก
เมื่อพระบิดาและพระเชษฐา (เอ็ดมันด์ เอิร์ลแห่งรัทแลนด์) สิ้นพระชนม์และพระเชษฐาขึ้นครองราชย์เป็นที่ยุทธการที่เวกฟิลด์ ริชาร์ดซึ่งยังทรงพระเยาว์ถูกนำตัวไปอยู่ในการดูและของเอิร์ลแห่งวอริก ขณะที่ริชาร์ดอยู่ที่วอริคทรงเป็นสหายกับฟรานซิส โลเวลล์ ไวเคานต์โลเวลล์ที่ 1ซึ่งทรงสนิทสนมด้วยตลอดพระชนม์ชีพ แอนน์ เนวิลล์เป็นอึกผู้หนึ่งที่พำนักที่วอริกผู้ที่ต่อมาอภิเษกสมรสกับริชาร์ด
รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4
ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระเชษฐา ริชาร์ดทรงแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์และความสามารถทางการทหารในฐานะนาย ทัพจนทรงได้รับพระราชทานดินแดนผืนใหญ่ทางเหนือของอังกฤษและทรงได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นดยุกแห่งกลอสเตอร์และผู้ครองภาคเหนือ (Governor of the North) ริชาร์ดกลายเป็นเจ้านายผู้มีฐานะมั่งคั่งและอิทธิพลมากที่สุดรองจากพระเจ้า เอ็ดเวิร์ดที่ 4 ต่างจากพระเชษฐาองค์อื่นที่มีอันเป็นไป จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ ที่ถูกสำเร็จโทษโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพราะเป็นกบฏ
ริชาร์ดทรงปกครองทางเหนือของอังกฤษจนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จสวรรคต ในปี ค.ศ. 1482 ริชาร์ดยึดเบอร์วิก-อัปพอน-ทวีดกลับจากสกอตแลนด์ และการปกครองในบริเวณที่ยึดครองของพระองค์ถือว่าเป็นไปโดยยุติธรรมโดยการทรงสร้างมหาวิทยาลัยและทรงบริจากเงินแก่คริสตจักร
ขึ้นครองราชย์
เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เมษายนค.ศ. 1483 พระราชโอรสของพระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษาโดยมีริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์ก พระอนุชาพระชนมายุ 9 พรรษาเป็นรัชทายาท ริชาร์ดทรงสั่งจับแอนโทนี วูดวิลล์ เอิร์ลที่ 2แห่งริเวิร์ส ผู้ดูแลพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 (พระเชษฐาของพระนางเซซิลี เนวิลล์ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4) และที่ปรึกษาประจำพระองค์อีกหลายคนและนำไปกักขังที่ปราสาทพอนทีแฟรก ต่อมาก็ทรงสำเร็จโทษโดยทรงกล่าวหาว่าร่วมกันวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าเอ็ด เวิร์ดที่ 5 ต่อมาก็ทรงย้ายพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชาไปประทับที่หอคอยแห่งลอนดอน
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1483 ก็มีการอ่านแถลงการณ์หน้ามหาวิหารเซนต์พอลซึ่ง เป็นการประกาศเป็นครั้งแรกของริชาร์ดว่าทรงยึดราชบัลลังก์ด้วยเหตุผลที่ว่า การอภิเษกสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งทำให้พระราชโอรสของพระองค์ไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ และผู้ที่มีสิทธิถูกต้องในราชบัลลังก์จึงเป็นริชาร์ด แถลงการณ์สนับสนุนโดยพระราชบัญญัติที่ผ่านรัฐสภาตามหลักฐานการกล่าวอ้างของ บิชอปราล์ฟ ชา ผู้ให้การว่าเป็นผู้ทำการสมรสระหว่างพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับเลดีเอลินอร์ ทาลบอทผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาสมรสกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ต่อมาเป็นพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1483 ริชาร์ดก็ได้รับราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ส่วนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระอนุชาหายสาบสูญไปโดยไม่มีร่องรอย (จนปัจจุบัน) เป็นที่เชื่อกันว่าพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 สังหารพระราชนัดดา แต่นักประวัติศาสตร์ก็ยังขัดแย้งกันอยู่เรื่องการเสียชีวิตของทั้งสอง พระองค์และเหตุผลที่ที่ริชาร์ดขึ้นครองราชสมบัติ (เจ้าชายในหอคอยแห่งลอนดอน (Princes in the Tower))
การสวรรคตที่บอสเวิร์ธ
เมื่อวันที่ 22 สิหาคม ค.ศ. 1485 พระเจ้าริชาร์ดทรงเผชิญกับกองทัพแลงแคสเตอร์ของเฮนรี ทิวดอร์ที่ทุ่งบอสเวิร์ธ ระหว่างการต่อสู้ริชาร์ด วิลเลียม สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 1 แห่งดาร์บี เซอร์วิลเลียม สแตนลีย์ และ เฮ็นรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลที่ 4 แห่งนอธัมเบอร์แลนด์ ละทิ้งริชาร์ดไปเข้าข้างเฮนรี ทิวดอร์ การเปลี่ยนข้างนี้ทำให้กองกำลังของริชาร์ดอ่อนแอลงซึ่งอาจจะมีส่วนในการทำ ให้พระองค์ต้องพ่ายแพ้ในที่สุด กล่าวกันว่าริชาร์ดทรงต่อสู้อย่างกล้าหาญ ทรงสังหารผู้ถือธงของเฮนรีตกจากหลังม้าและเกือบจะเข้าถึงตัวเฮนรีเองแต่ไม่ ทรงถูกล้อมและถูกปลงพระชนม์เสียก่อน
พระศพที่เปลือยเปล่าถูกลากไปประจานตามถนนก่อนที่ถูกปลงที่โบสถ์เกรย์ไฟรอารส์ที่เลสเตอร์ ตามคำอ้างหนึ่งกล่าวว่าระหว่างการยุบอาราม พระศพของพระองค์ถูกโยนลงไปในแม่น้ำซอร์ แต่หลักฐานอื่นกล่าวว่าอาจจะไม่เป็นจริงและพระศพของพระองค์อาจจะยังอยู่ภาย ใต้ลานจอดรถที่เลสเตอร์ก็ได้ ในปัจจุบันมีป้ายติดเป็นอนุสรณืตรงมหาวิหารที่เชื่อกันว่าครั้งหนึ่งอาจจะ เป็นที่ที่ปลงพระบรมศพของพระเจ้าริชาร์ด
อีกทฤษฏีหนึ่งก็ว่าพระเจ้าริชาร์ดทรงปรึกษาหมอดูที่เมืองเลสเตอร์ก่อน ที่เข้าทำศึก หมอดูก็ทำนายว่า “ที่ใดที่เดือยรองพระบาทหักเมื่อทรงม้าไปสงคราม ที่นั่นก็จะเป็นที่ที่พระเศียรหักเมื่อเสด็จกลับ” เมื่อทรงขี่ม้าไปศึกเดือยรองพระบาทก็หักที่สะพานหินที่สะพานโบว์ ตำนานกล่าวว่าเมื่อนำร่างของพระองค์พาดหลังม้ากลับจากศึก พระเศียรของพระองค์ก็สะดุดกับหินก้อนเดียวกับที่ทำให้เดือยหักหลุดลงมา[2]
เฮนรี ทิวดอร์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และทรงสมานสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ยอร์กโดยการเสกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์กพระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ซึ่งเป็นการทำให้สงครามดอกกุหลาบสิ้นสุดลง
ความคิดเห็น