ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมคนดัง(หญิืง) 2

    ลำดับตอนที่ #40 : ดอริส เลสซิง

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ค. 55


     

    ดอริส เมย์ เลสซิง (อังกฤษDoris Lessing, CH, OBE) (22 ตุลาคม ค.ศ. 1919 - ) ดอริส เลสซิงเป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอังกฤษผู้เกิดในเปอร์เชียผู้เขียนนวนิยายเช่น The Grass is Singingและ The Golden Notebook.

    ในปี ค.ศ. 2007 เลสซิงได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ราชสถาบันสวีเดน (Swedish Academy) บรรยายเลสซิงว่า “that epicist of the female experience, who with scepticism, fire and visionary power has subjected a divided civilisation to scrutiny”[1] เลสซิงเป็นสตรีคนที่สิบเอ็ดที่ได้รับรางวัลโนเบลในประวัติศาตร์ของรางวัลในรอบ 106 ปี[2][3] และเป็นผู้มีอายุสูงสุดที่ได้รับรางวัลในสาขาวรรณกรรม[4]

    เนื้อหา

     [ซ่อน]

    [แก้]ประวัติ

    เลสซิงเกิดในเปอร์เซีย (อิหร่าน) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1919 บิดาชื่อกัปตันอัลเฟรด เทย์เลอร์ และเอ็มมิลี มอด เทย์เลอร์ (สกุลเดิม แม็คเวห์)[5] บิดาผู้เสียขาข้างหนึ่งระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งพบเอ็มมิลีผู้เป็นพยาบาลที่ Royal Free Hospital ที่ไปรักษาตัวจากการถูกตัดขาอยู่[6][7]

    อัลเฟรดและเอ็มมิลีย้ายไปเคอร์มันชาห์ (Kermanshah) ในอิหร่าน เพื่อไปรับหน้าที่เป็นเสมียนกับธนาคารหลวงแห่งเปอร์เซีย (Imperial Bank of Persia) เลสซิงถือกำเนิดที่นั่นในปี ค.ศ. 1919[8][9] หลังจากนั้นครอบครัวก็ย้ายไปยังอาณานิคมอังกฤษ โรดีเชียใต้ (Southern Rhodesia) (ซิมบับเวปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1925 เพื่อไปทำฟาร์มข้าวโพด อัลเฟรดซื้อที่ดินราวหนึ่งพันเอเคอร์ เอ็มมิลีพยายามดำเนินชีวีตแบบเอ็ดเวิร์ดท่ามกลางสิ่งแวดล้อมในอาณานิคม ซึ่งก็ไม่ควรจะเป็นปัญหาถ้าเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี แต่ครอบครัวเทย์เลอร์ไม่อยู่ในฐานะเช่นนั้น ฟาร์มที่ทำก็ไม่ประสบความสำเร็จและมิได้สร้างฐานะให้แก่ตามที่เทย์เลอร์หวัง[10]

    เลสซิงได้รับการศึกษาที่โรงเรียนคอนแวนต์โดมินิคันสำหรับสตรีที่ซอลสบรี (Harare ปัจจุบัน)[11] และออกจากโรงเรียนเมื่อมีอายุ 14 ปี หลังจากนั้นก็ทำการศึกษาด้วยตนเอง เลสซิงออกจากบ้านเมื่ออายุ 15 ปีไปทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ในช่วงเวลานี้เลสซิงก็เริ่มอ่านงานที่เกี่ยวกับการเมืองและสังคมวิทยาที่นายจ้างมอบให้อ่าน[7] และเริ่มการเขียนในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในปี ค.ศ. 1937 เลสซิงก็ย้ายกลับไปซอลสบรีเพื่อไปทำงานเป็นพนักงานโทรศัพท์ และไม่นานหลังจากนั้นก็สมรสกับแฟรงค์ วิสดอม และมีลูกด้วยกันสองคนก่อนที่จะหย่ากันในปี ค.ศ. 1943[7]

    หลังจากการหย่าร้างแล้วเลสซิงก็หันไปสนใจกับสมาคมหนังสือเล็ฟต์ (Left Book Club) ซึ่งเป็นสมาคมผู้ขายหนังสือเกี่ยวกับคอมมิวนิสม์[10] เลสซิงพบสามีคนต่อมาที่นั่น ก็อตต์ฟรีด เลสซิง (Gottfried Lessing) ไม่นานทั้งสองคนก็สมรสกันและมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง แต่การแต่งงานก็มาสิ้นสุดด้วยการหย่าร้างในปี ค.ศ. 1949 ก็อตต์ฟรีด เลสซิงต่อมาเป็นทูตเยอรมนีตะวันออกประจำยูกันดา และถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 1979 ระหว่างการปฏิวัติต่อต้านอิดิ อามิน ดาดา (Idi Amin Dada)[7]

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×