ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #4 : เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ นางร้องไห้คนสุดท้ายแห่งรัตนโกสินทร์

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    "นางร้องไห้" เป็นราชประเพณีเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ จัดขึ้นเพื่อแสดงอาการโศกเศร้าเสียใจ ร้องไห้ รำพันต่อการล่วงลับของผู้ที่มีความสำคัญต่อแผ่นดิน อันเป็นการแสดงออกถึงเกียรติยศตามราชประเพณี ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา นิยมทำกันในหมู่ราชวงศ์ชั้นสูงระดับพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี พระราชชนนีและพระมหาอุปราช (วังหน้า)

    การประกอบ พิธีนางร้องไห้เป็นหน้าที่ของสตรีชาวววัง เช่น เจ้าจอม พระสนม นางกำนัล โดยคัดเลือกมาจำนวน 100 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นลูกคู่ร้องรับกับต้นเสียงอีก 4 คน และคัดเลือกหญิงที่มีเสียงไพเราะมาหนึ่งคน เพื่อประจำอยู่ใกล้พระบรมโกศ พร้อมกับขับร้องบทเพลงคร่ำครวญ ทำนองและเนื้อเศร้าโศก เยือกเย็น ซึ่งสตรีทุกคน ต้องนุ่งขาวห่มขาว และต้องสยายผมลงเช็ดพื้นเพื่อแสดงความโศกเศร้าอาลัย
    เหล่า นางร้องไห้ต้องร้องเพลงกล่อมบท ในงานพระบรมศพ ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ 5 บทคือ เพลงพระยอดฟ้าสุเมรุทอง พระทูลกระหม่อมแก้ว พระร่มโพธิ์ทอง พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปและพระเสด็จสู่สวรรค์ชั้นใด โดยเนื้อร้องทั้ง 5 บทนี้อาจร้องสลับกันได้ในบางบทดังนี้

     

    ราชประเพณีนางร้องไห้ถือปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ในพระราชพิธีพระบรมศพ โดยมี "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์" เป็นต้นเสียงนางร้องไห้ ซึ่งนับเป็นต้นเสียงคนสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากราชประเพณีนี้ไม่เป็นที่โปรดของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว เพราะทรงเห็นว่าเป็นการเสแสร้งไม่ใช่การร้องไห้จริง โดยมีพระราชหัตถเลขาปรากฏข้อความเอ่ยถึงการห้ามไม่ให้มีนางร้องไห้ว่า

    "มีสิ่งที่ รู้สึกโล่งไปอีกอย่างหนึ่งคือนางร้องไห้ได้หยุดไปแล้ว ในเวลาก่อนๆ เมื่อลงไปที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พอถึงเวลาประโค มพระบรมศพ และนางร้องไห้เริ่มส่งเสียงขึ้น ให้รู้สึกรกหูเสียจริงๆ จะข่มใจให้นึกชอบเท่าไหร่ก็ไม่ได้เลย เพราะอดรู้สึกไม่ได้ว่า มันเป็นของไม่จริงจัง ช่างเรียกชื่อผิดเสียจริงๆ เพราะมันไม่ใช่ร้องไห้แต่เป็นร้องเพลงแท้ๆ และเพลงนั้นเนื้อร้องก็ซ้ำซากไม่เห็นไพเราะอะไร..."
    นอก จากนี้ยังทรงระบุในพระราชพินัยกรรมของพระองค์อยู่ตอนหนึ่งว่า "ในเวลาตั้งพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและในเวลาอื่นๆ ต่อไปนี้ตลอด ห้ามมิให้มีการ้องไห้ ถ้าผู้ใดรักใคร่ข้าพเจ้า ปรารถนาจะร้องไห้ก็ร้องไห้จริงๆ เถิดอย่างร้องเล่นอย่างละครเลย"

    เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เป็นธิดาของหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ในกรมหมื่นภูมินทรภักดี กับหม่อมช้อย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2433 เมื่อมีอายุ 11 ขวบ ได้เข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงในอัครชายา พระองค์เจ้าสาย สวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ (พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา) พร้อมทั้งมีโอกาสได้เรียนหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีกทั้งงานฝีมือ การทำอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ

    เนื่องจากมีรูปโฉมงดงามและ น้ำเสียงอันไพราะเรียกว่า "แก้วเสียงเป็นเอก" ในการขับร้อง จึงได้รับเลือกเป็นต้นเสียงของวงมโหรี จนเป็นที่โปรดปรานของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับออกพระโอษฐ์ขอนางจากพระอัครชายา โดยเข้าถวายตัวและได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนขึ้นเป็นพระสนมเอกด้วยวัย เพียง 16 ปี


    ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดละครเรื่องเงาะป่า โดยเจ้าจอมสดับทำหน้าที่ร้องประจำโรง จนการแสดงเสร็จสิ้น จึงได้รับพระราชทานกำไลทองนพคุณ ซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ เนื้ออ่อนสามารถบิดได้ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมให้เจ้าจอมสดับ และบีบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
    กำไล ทองนพคุณนั้นมีน้ำหนักสี่บาท เป็นรูปตะปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตะปูเป็นดอกเดียวกัน หากมองตรงๆ จะเป็นตัวอักษร S(ย่อมาจากเจ้าจอมสดับ) หากพลิกข้อมืออีกด้านจะเป็นตัวอักษร C (ย่อมาจากจุฬาลงกรณ์) โดยที่วงกำไลลักคำว่า

     

    ต่อมาเมื่อครั้งพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ทรงมีพระราชดำริให้ เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปด้วย จนกลายเป็นที่อิจฉาของคนรอบข้าง และมีเสียงคัดค้านไม่เห็นสมควร จนทำให้มิได้ตามเสด็จไปด้วย ครั้น เมื่อทรงเสด็จกลับพระนคร ได้ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทาน โดยโปรดให้แต่งเครื่องเพชรแล้วจัดท่าพระราชทานให้ช่างถ่ายรูปชาวต่างชาติมา ถ่ายรูปให้ พร้อมทั้งพระราชทานตู้ที่ระลึกและทรงจัดของตั้งแต่งในตู้ด้วย

    การรับพระราชทานเครื่อง เพชรในครั้งนี้ ทำให้คนรอบข้างต่างพากันริษยามากขึ้น ด้วยความน้อยใจ เจ้าจอมจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการดื่มน้ำยาล้างรูป แต่ว่าแพทย์ประจำพระองค์ช่วยชีวิตไว้ทัน กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคต เจ้าจอมสดับ จึงทรงรับหน้าที่ เป็นต้นเสียงของนางร้องไห้หน้าพระราชศพ

    ภายหลังจาก ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต เนื่องจากเจ้าจอมสดับ ได้รับพระราชทานเครื่องเพชร เพื่อใช้เป็นทุนเลี้ยงชีพจำนวนมาก และด้วยวัยเพียง 20 ปี จึงทำให้เป็นที่จับตามองว่า เจ้าจอมสดับจะครองตัวเป็นหม้าย ได้ตลอดไปนานแค่ไหน หรือจะนำสมบัติไปเลี้ยงชายอื่น ดังนั้นเจ้าจอม จึงได้ถวายเครื่องเพชรคืนให้แก่ สมเด็จพระพันปีหลวง โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินไปสมทบทุนสร้าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่ไม่ปรากฎชื่อของเจ้าจอม อยู่ในรายนามผู้สมทบทุนแต่อย่างใด

    เจ้าจอมสดับยังคงครองตัว ลำพัง เพื่อรักษาชื่อเสียงมิให้ด่างพร้อย โดยอาศัยพระบารมีสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ กระทั่งอายุมากขึ้น จึงสละทางโลกบวชชี แต่ยังคงสวมกำไลทองพระราชทาน ติดตัวไว้ตลอด โดยถือว่าเป็นเครื่องรางประจำกาย กระทั่งเข้าสู่วัยชรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานอนุเคราะห์ ให้กลับมาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทำให้ท่านมีโอกาสถ่ายทอดความรู้เรื่อง การถักสไบกรองทอง การทำน้ำอบ และยาดมส้มโอมือ ซึ่งเป็นความรู้ที่ให้ประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จนกระทั่งถึงอนิจกรรมด้วยวัย 93 ปี


    นอกจากความสามารถด้าน การร้องแล้ว เจ้าจอมยังมีความเชี่ยวชาญด้านอาหารด้วย โดยเฉพาะน้ำพริกลงเรือ ซึ่งตำรับน้ำพริกลงเรือของเจ้าจอมสดับ เริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้านิภานพดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี (พระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระวิมาดาเธอฯ) ทรงชวนเจ้าจอมให้นำอาหาร ลงไปเสวยในเรือ ระหว่างที่พายเรือเล่น ในสระวังสวนสุนันทา เจ้าจอมสดับจึงเข้าไปในห้องเครื่อง หยิบน้ำพริกกับปลาดุกฟู มาผัดรวมกับหมูหวาน ใส่จานวางกับไข่แดงของไข่เค็ม จัดเสวยพร้อมกับผัก กลายเป็นน้ำพริกลงเรือที่รู้จักกันในปัจจุบัน (ซึ่งอาจจะมีการดัดแปลงสูตร ไปบ้างแล้วแต่ความเหมาะสม)

    แม้ว่าจะ มีฝีมือในทำอาหารแต่เจ้าจอมสดับก็ไม่เคยหวงวิชา และยังถ่ายทอดสูตรอาหารต่างๆ ให้กับทุกคนรวมทั้งสูตรน้ำพริกลงเรือด้วย ซึ่งเจ้าจอมมักจะเรียกว่าเป็นน้ำพริกลงเรือ "ตำราพระวิมาดา" เพื่อแสดงความยกย่องพระวิมาดาเธอฯ ในฐานะที่ทรงเป็นต้นตำรับ และเป็นฝึกสอน การทำอาหารให้แก่เจ้าจอมสดับนั่นเอง
    โดยสูตรน้ำพริกลงเรือเจ้าจอมสดับได้บันทึกไว้มีดังนี้

    เครื่องปรุง

    1.กะปิ 1 ช้อนชา
    2.พริกชี้ฟ้าหรือพริกขี้หนูสด 5 เม็ด
    3.กระเทียม 7 กลีบ
    4.น้ำปลา
    6.มะดันหรือมะนาวตามสมควร
    7.กระเทียมดอง 2 หัว
    8.ไข่เค็มดิบ 2 ฟอง
    9.ปลาดุกหรือปลาช่อน 1 ตัว
    10.น้ำมันหมูตามควร
    11.มะเขือเปราะ 4 ผล
    12.ผักชีตามควร
    13.หมูสามชั้น 1 ชิ้น
    วิธีทำ
    น้ำพริกลงเรือ
    ตำน้ำพริกเหมือนกับ น้ำพริกทั่วไป แต่ปรุงให้เหลว ชิมรสตามชอบ นำน้ำมันหมูใส่กระทะลงเล็กน้อย พอน้ำมันร้อนเอากระเทียมโขลกสัก 5 กลีบเล็กๆ เจียวพอหอม แล้วเทน้ำพริกที่ตำไว้ ลงผัดพอสุก หลังจากนั้นตักใส่ถ้วยพักไว้ ต่อมานำหมูมาต้มให้หนังเปื่อย และหั่นให้ละเอียด ลงผัดกับน้ำมันหมู น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้รสจัดเหมือนหมูต้มเค็ม แล้วตักใส่ถ้วยพักไว้ นำปลาดุกหรือปลาช่อนมานึ่งให้สุก แล้วแกะแต่เนื้อขยี้ให้ละเอียด ลงทอดในน้ำมันหมูให้เหลืองกรอบ โดยให้น้ำมันท่วมปลา ใช้ไฟแรง แล้วตักใส่ถ้วยไว้ กะปริมาณให้เท่ากับหมูและน้ำพริก
    หลังจากนั้นนำน้ำพริก กับหมู ผัดผสมกันให้ทั่วแล้วตักใส่ถ้วย และขยี้ปลาทอดโรยให้ทั่ว นำกระเทียมดองปอกเป็นกลีบ สำหรับกลีบเล็กๆ ถ้ากลีบใหญ่ก็ผ่า 2-3 ชิ้น เอาไข่เค็มดิบ ตักใช้แต่ไข่แดงผ่าเป็นชิ้นเล็กตามควร ประดับลงบนปลาสลับกันกับกระเทียมดอง มะเขือเปราะ ผักชี จัดลงภาชนะเดียวกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×