ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #29 : พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4

    • อัปเดตล่าสุด 6 มิ.ย. 52


     

    ในพระบรมมหาราชวัง สมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น เจ้านายฝ่ายในพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนๆ ที่ยังมีพระองค์อยู่ ก็มีแต่พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ และ รัชกาลที่ ๔ ส่วนพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๒ ท่านสิ้นพระชนม์ล่วงไปเกือบหมดพระองค์แล้ว พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ ที่ยังทรงพระชนม์อยู่จนถึงรัชกาลที่ ๖ มีเพียงพระองค์เดียว คือ เสด็จพระองค์แม้นเขียน พระชันษายืนยาวถึง ๙๐ พรรษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖

    ออกคำนำพระนามว่า เสด็จเพราะท่านเป็นพระองค์เจ้าชั้นพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระองค์เจ้าชั้นสูงสุด จริงๆ แล้วตามประกาศคำนำพระนามพระราชวงศ์ในรัชกาลที่ ๖ ต้องออกพระนาม พระองค์เจ้าชั้นสูงสุดนี้ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

    พระองค์เจ้าชั้นพระเจ้าหลานเธอ หรือพระราชนัดดาในพระเจ้าแผ่นดิน ตามธรรมเนียมแล้วไม่เรียกว่า เสด็จมักเรียกกันว่า ท่านพระองค์ชาย” “ท่านพระองค์หญิงเว้นเสียแต่ว่าท่านจะได้ทรงกรม จึงจะเรียกว่า เสด็จในกรม

    ทว่าในเวลาต่อมา ในสมัยประชาธิปไตยเมื่อเห็นเป็นพระองค์เจ้าแล้ว ก็พากันเรียกว่า เสด็จว่ากันว่าเริ่มเรียก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ก่อน เนื่องจากพวกมหาดเล็กข้าหลวงของท่านใคร่จะยกย่องเจ้านายของตน

     เสด็จพระราชธิดาในพระเจ้าแผ่นดินนั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ท่านทรงมีตำหนักประทับเป็นส่วนพระองค์ ส่วนมากก็พระองค์ละตำหนัก หรืออาจทรงอยู่กับพี่น้องร่วมเจ้าจอมมารดา หรือทรงอยู่กับเจ้าจอมมารดาของท่านในตำหนักเดียวกัน

    แต่ละพระองค์ มักจะมีงานที่โปรด บางตำหนัก องค์เจ้าของตำหนักโปรดทำขนม บางองค์โปรดทำน้ำหอม น้ำอบ บางองค์โปรดทางเป็นหมอยา ก็จะทรงศึกษาแล้วเลยตั้งพระองค์เป็นหมอ ดังเสด็จพระองค์กาญจนากร ซึ่งชาววังเรียกท่านว่า เสด็จหมอ บ้าง เสด็จพระองค์หมอบ้าง แม้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ก็เรียกท่านว่า เสด็จย่าหมอ

    ทรงเรียกว่า เสด็จย่าเพราะเสด็จพระองค์กาญจนากร เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ เช่นเดียวกับ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นสมเด็จย่าของพระองค์จุลฯ

    พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ มีอยู่พระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงดำเนินตามรอยพระบาทพระบรมชนกนาถ โปรดทางวิชาโหร คือ เสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์

    เสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔

    เจ้าจอมมารดาเที่ยงนั้น ในรัชกาลที่ ๔ ท่านเป็นผู้มีอำนาจวาสนา เป็นที่นับถือยำเกรงของบรรดาฝ่ายในไม่น้อย

    เพราะท่านเป็นพระสนมรุ่นแรก ถวายตัวเป็นเจ้าจอมตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จประทับอยู่ที่พลับพลา ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บิดาของท่านคือพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) เป็นข้าหลวงเดิมใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

    เจ้าจอมมารดาเที่ยงมามีชื่อเสียงโด่งดัง เมื่อหนังสือและภาพยนตร์ เรื่อง The King amd I. เข้ามาแพร่หลายในเมืองไทย

    ในหนังสือและภาพยนตร์ ยกย่องว่าเป็น ควีนหรือเทียบกับ ควีนเพราะเวลานั้น สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ซึ่งทรงดำรงพระยศพระนางเธอ สิ้นพระชนม์แล้ว เจ้าจอมมารดาเที่ยงจึงเป็นใหญ่อยู่ในหมู่นางใน ฝรั่งคือนางแอนนา ผู้แต่งเรื่อง ไม่เข้าใจเรื่องราชสำนักฝ่ายในของไทย เลยเข้าใจไปว่าเจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็น ควีนในหนังสือและภาพยนตร์จึงเป็นผู้มีบทบาทมาก

    เจ้าจอมมารดาเที่ยงมีพระองค์เจ้ามากที่สุด ถึง ๑๐ พระองค์

    เสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์ เป็นพระองค์ที่ ๓

    เมื่อพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เข้าไปอยู่กับเจ้าจอมมารดาชุ่มในรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่พระยาบุรุษฯ ยังเยาว์วัยอยู่นั้น ก็วิ่งเล่นไปตามตำหนักต่างๆ เป็นที่โปรดปราน คุ้นเคยในเจ้านายฝ่ายในแทบทุกพระองค์ รวมทั้งเสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์

    ในปลายๆ รัชกาลที่ ๕ พระยาบุรุษฯเป็นอย่างที่เรียกกันว่า ดวงตกอยู่ระยะหนึ่ง โดนกริ้ว ถึงขนาดโปรดฯให้เรียกพานทองตราจุลจอมเกล้า คืน ต่อมายังกริ้วอีก ครั้งนี้โปรดฯให้ลงพระอาญาจำขังสนม ด้านชีวิตส่วนตัวก็เกิดลูกหญิงคนที่ ๒ เป็นไข้ถึงแก่ชีวิต

    เคราะห์ร้ายของพระยาบุรุษฯ ครั้งนั้น ทำให้เสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์ พลอยเดือดร้อนพระทัยไปด้วย เพราะทรงเมตตาเอ็นดูพระยาบุรุษฯ มาแต่พระยาบุรุษฯ ยังเยาว์วัย วิ่งเล่นอยู่ในวังหลวง

    เสด็จพระองค์ศรีนาคสวาสดิ์ ได้ทรงตรวจดูดวงชะตาของพระยาบุรุษฯ และประทานลายพระหัตถ์ อันแสดงถึงพระปรีชาในวิชาการแขวงนี้ของพระองค์ท่าน ลายพระหัตถ์นั้นมีว่า

     ฉันได้ตรวจดูดวงพระยาบุรุษรัตนฯ ยังค้างอยู่ก็เจ็บเสีย วันนี้พอยังชั่วก็ตรวจต่ออีก เห็นว่าการที่ร้ายนั้น เป็นที่ชะตาตกอย่างหนึ่ง เป็นที่ลักขณาจรๆ ไปต้องอังคาร เดิมก็นับว่าร้ายอยู่แล้ว ยังซ้ำพระอังคารจรอีก ถ้าจรไม่เล็งแลร่วมธาตุ ก็ค่อยคลายลงบ้าง แต่ก็นิดหน่อยไม่สู้มาก แต่ถ้าจรมาเล่งแลร่วมธาตุเข้าก็มีเหตุร้ายแรงขึ้น เพราะเดิมร้ายอยู่แล้ว

    นี่ไม่ช้าพอถึงโชคก็จะพ้นโทษ การที่พ้นออกมาใช่ว่าจะเป็นสุข คงยังจะมีเหตุให้ร้อนใจอีกเป็นแน่

    ฉันดูเข้าละเป็นลมทุกที สงสารจนเป็นบ้านึกว่าติดอยู่ดูจะดีกว่า เพราะเหมือนไว้พัก ทั้งหวังใจว่าคงจะเป็นสุขกว่าที่จะออกมาเสียอีก แต่ก็คงจะไม่อยู่ไปนาน ก็จะออกมาได้ความร้อนใจ คือชะตาตกทั้งนอกในหมดอำนาจและมีแต่ทุกข์มากกว่าความสุขมาก ฉันเลยทรุดโทรมเศร้าสลดใจมาก เป็นลมไปหลายหน จนไม่สบายทั้งจับไข้ทั้งแน่น วันนี้ค่อยยังชั่วก็ดูอีก ถ้าดูเวลาไร ฉันไม่สบายใจจริงๆ เพราะว่าลักขณากับมนตรีกาลกิณีก็เล็งกุมกันอยู่ แล้วยังจะยกไปร่วมที่กาลกิณีเดิมอีก จึงเห็นว่ายังหวนไปหวนมา ไม่วางใจเกรงจะมีภัยภายหน้าอีก ถ้าออกมาครั้งนี้ต้องระวังให้มาก เมื่อจะเจ็บไข้ก็ยังดีกว่า ถ้าว่าระวังจะได้น้อยลงหรือเป็นอย่างอื่นเสีย

    แต่การที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงกริ้วพระยาบุรุษฯ หนักนี้เพียงปีเดียว ต่อมาก็พระราชทานอภัยโทษทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพานทองและตราจุลจอมเกล้าฯ คืน โปรดฯให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างเดิมต่อไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×