ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #23 : พระนักพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม : พระพยอม กัลยาโณ

    • อัปเดตล่าสุด 2 เม.ย. 55


    พยอม จั่นเพชร หรือที่เรารู้จักกันดี ในนาม "พระพยอม กัลยาโณ" พระนักพัฒนา ผู้ริเริ่มโครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม อย่างหลากหลาย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2492 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี


    พระ พิศาลธรรมพาที หรือ "พระพยอม กัลยาโณ" พระนักพัฒนา ผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคมอย่างหลากหลาย โดยใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถนำไปสร้าง สันติภาพและสันติสุข ให้แก่ชีวิตและครอบครัวอย่างได้ผล เป็นผู้สร้างธรรมะ เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้แก่สังคมไทย และการที่เป็นผู้นำความรู้ ทางด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ที่ตนเองได้ศึกษา ค้นคว้า ค้นพบ ฝึกฝนปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ แล้วไปเผยแพร่ สอน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ นำไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ประจำปีพุทธศักราช 2545

    พระ พยอม กัลยาโณ มีนามเดิมว่า "พยอม จั่นเพชร" เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2492 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บิดาคือ "นายเปล่ง จั่นเพชร" มารดา "นางสำเภา จั่นเพชร" ด้วยที่เกิดในครอบครัวที่ยากจน ทำให้ท่านไม่มีโอกาสได้ศึกษา ในสายสามัญเหมือนคนอื่น ๆ ซึ่งเมื่อจบการศึกษาเบื้องต้น จากโรงเรียนสังวรวิมลไพบูลย์แล้ว พระพิศาลธรรมพาที ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสังวร เมื่อปี พ.ศ.2510 และในปี พ.ศ.2513 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสังวร จากนั้นได้ศึกษาทางด้านพุทธศาสนา จนจบนักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก

    การ ศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้ง ทำให้ท่านได้ค้นพบแหล่งภูมิปัญญา สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับชีวิต และสังคมได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการเป็นพระนักการศึกษา ที่เฝ้าติดตามศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างใกล้ชิด ทำให้พระพิศาลธรรมพาที มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย ของสังคมอย่างเด่นชัด และสามารถนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ใช้เป็นฐานคิดในการดำรงชีวิต ไปสู่สันติสุขของตนเองและสังคม

    องค์ความรู้ที่โดดเด่น ของพระพิศาลธรรมพาที ก็คือ การปรับประยุกต์ธรรมะมาใช้แก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนการถ่ายทอดความรู้นั้น พระพิศาลธรรมพาที ถ่ายทอดความรู้ผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่ผู้เรียน ทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา พุทธศาสนิกชน ประชาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น โดยเนื้อหาการถ่ายทอดความรู้นั้ นมีอย่างหลากหลาย
    เช่น ธรรมะกับชีวิต ธรรมะกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ธรรมะกับการแก้ไขปัญหาของสังคม และนอกจากนี้ พระพิศาลธรรมพาที ยังได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของสังคมไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2521 เริ่มโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน ด้วยเห็นว่าเด็ก ๆ จะว่างเว้นจากการศึกษาในโรงเรียน ระหว่างนั้นเด็กควรจะได้ศึกษา และอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา เป็นการลดภาระแก่บิดามารดา และเป็นการป้องกันให้เด็กห่างไกลอบายมุข

    ปี พ.ศ.2534 จัดทำโครงการเพื่อน้องท้องหิว ต่อมาในปี พ.ศ.2535 จัดทำ "โครงการรณรงค์ ผู้ไม่รู้หนังสือ ให้มีโอกาสได้เรียน" และ "โครงการสลบมาฟื้นไป" โดยร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ ให้การอนุเคราะห์แก่คนเดือนร้อนทั่วไป รวมทั้ง"โครงการบ้านพักคนชรา" ในปี พ.ศ.2536 จัดทำ "โครงการสะพานบุญ จากผู้เหลือเจือจานผู้ขาด" ปี พ.ศ.2537 จัดทำ "โครงการซุปเปอร์มาเก็ตผู้ยากไร้" และในปี พ.ศ.2538 เปิด "โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่" เพื่อช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กกำพร้า และเลี้ยงดูให้การรักษาพยาบาล พร้อมทั้งส่งให้เรียนต่อเมื่อถึงวัยอันควร

    ส่วน เกียรติคุณ ที่เคยได้รับของท่านคือ ในปีพ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลสังข์เงิน สาขาใช้ศิลปะ ในการเผยแพร่ จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2531 ได้รับโล่โครงการรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2535 ได้รับโล่เกียรติคุณบารมี เป็นโล่...พระผู้มีคุณต่อแผ่นดินและสังคม จากสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งโล่โครงการรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

    จาก นั้นในปี พ.ศ. 2536 ได้รับโล่ สาขาการศึกษานอกระบบบุคคลดีเด่น แห่งวงการศึกษาของชาติ จากสมาคมศึกษานิเทศก์ แห่งประเทศไทย และได้รับโล่ผลงานดีเด่น ด้านวิชาภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสน์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

    ในปี พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลเหรียญอนามัยโลก การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากกรมอนามัยโลก, รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 3 จากสมาคมสันนิบาต มูลนิธิแห่งประเทศไทย, รางวัลโล่ผู้สนับสนุน กรมประชาสงเคราะห์ดีเด่นปี พ.ศ. 2538 จากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี, รางวัลชมเชยที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากคณะกรรมาธิการ เศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียแปซิฟิก (เอสแคป) ประจำปี พ.ศ. 2538

    จาก นั้นในปี พ.ศ. 2530 เปิดโครงการเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เพื่อให้ผู้สนใจและเยาวชน ได้เรียนรู้พื้นฐาน ของพุทธศาสนา และกิริยามารยาท ประเพณี วัฒนธรรม จากคณะวิทยากร ที่ทางวัดจัดมาให้ ในปีเดียวกัน ท่านก็ได้จัดทำ โครงการร่มโพธิ์แก้วขึ้น และในปี พ.ศ.2531 จัดหาคณะวิทยากร มาสอนวิชาชีพให้บุคคล ผู้เข้าร่วมโครงการร่มโพธิ์แก้ว โดยจัดทำโครงการเวทีบำเพ็ญประโยชน์

    ปี พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 2 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย และได้รับโล่พระราชทาน ประกาศเกียรติคุณ “ผู้ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    จากนั้นพ.ศ. 2540 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ ในด้าน “อภิปรายถ่ายทอดเสียง วิชาการทางพุทธศาสนา” จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, ประกาศนียบัตรทองคำเชิดชูเกียรติ “พระดีศรีสังคม” จากสมาคมสื่อสารมวลชนส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย), โล่ประกาศเกียรติคุณ “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน” จากมหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงสาธารณสุข

    ใน ปี พ.ศ. 2541 ได้รับการคัดเลือกเป็น อุทยานการศึกษา ประจำปี 2541 จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, รางวัลมูลนิธิดีเด่น ภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย, ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาชุมชน จากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปริญญานิเทศศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และในปี พ.ศ. 2542 ได้รับ "เสาเสมาธรรมจักร" ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา, รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง เรียนผูกเรียนแก้ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และในปีพ.ศ. 2543 ได้รับรางวัลมูลนิธิดีเด่น ภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย, โล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์” จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัตดามาตุ

    ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับโล่รางวัลผู้สนับสนุน งานกรมประชาสัมพันธ์ดีเด่น ประจำปี 2544 จากนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร, โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น พิเศษ ประจำปี 2544 จากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, โล่รางวัล มูลนิธิภาคดีเด่นประจำปี 2543 – 2544 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี จากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×