ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #22 : อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ

    • อัปเดตล่าสุด 2 เม.ย. 55


     

    อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ (Andrey Nikolaevich Kolmogorov) เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2446 ที่ Tambov ในมอสโค และเสียชีวิต 20 ตุลาคม พ.ศ.2530 ที่มอสโค (Moscow) คอลโมโกรอฟเป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวรัสเซีย ผู้เป็นยักษ์ใหญ่ ในวงการคณิตศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานโดดเด่นมาก ในงานทฤษฎีความน่าจะเป็น และทอพอโลยี (Probability Theory and Topology)

    Ray Solomonoff
    ซึ่งอันที่จริงแล้ว คอลโมโกรอฟมีผลงาน ในแทบทุกแขนงของคณิตศาสตร์ เช่น ตรรกศาสตร์ (Logos), อนุกรมฟูเรียร์, ความปั่นป่วน (turbulence), กลศาสตร์คลาสสิก นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้คิดค้น "ความซับซ้อน แบบคอลโมโกรอฟ" (Kolmogorov complexity) ร่วมกับ เกรโกรี ไชตัง (Gregory Chaitin) และ เรย์ โซโลโมนอฟ (Ray Solomonoff) ในช่วงช่วงปี พ.ศ.2503 – 2513

    ในปี พ.ศ.2463 คอลโมโกรอฟได้เข้าเรียน ที่มหาวิทยาลัยแห่งมอสโกว์ (Moscow State University) และได้ศึกษาในหลายสาขาวิชา โดยนอกจากคณิตศาสตร์ และวิทยาศาตร์แล้ว คอลโมโกรอฟยังได้เข้าเรียน วิชาผสมโลหะและประวัติศาสตร์ด้วย ซึ่งในเวลานั้นคอลโมโกรอฟ ได้รับอิทธิพลทางด้านคณิตศาสตร์ จากนักคณิตศาสตร์ชื่อดังของรัสเซียหลายท่าน

    ในระหว่างปี พ.ศ.2469 ถึง 2473 นอยมันน์ ทำงานเป็นอาจารย์อิสระ อยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จากนั้นในปี พ.ศ.2473 นอยมันน์ได้รับเชิญ จากมหาวิทยาลัยปรินซตัน ให้เป็นอาจารย์ ใน “Institute for Advanced Study” โดยเขาเป็นอาจารย์ ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบัน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตเขา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอยมันน์ ได้มีส่วนร่วม ในโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสร้างระเบิดปรมาณู

    มีข้อ สังเกตที่น่าสนใจว่า แม้ขณะที่คอลโมโกรอฟยังเรียนอยู่ ในระดับปริญญาตรี เขาก็ได้เริ่มทำงานวิจัย ที่มีผลกระทบในวงกว้างแล้ว โดยในฤดูหนาวของปี พ.ศ.2465 คอลโมโกรอฟได้ทำบทความวิชาการ เกี่ยวกับตัวดำเนินการทางเซตจนเสร็จสิ้น งานชิ้นนี้ ได้ขยายแนวความคิดเดิมของซัสลิน (Nikolai Luzin) ให้ใช้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

    และในเดือนมิถุนายนปีเดียว กัน คอลโมโกรอฟสามารถสร้างฟังก์ชัน ที่มีลักษณะแปลกประหลาด คือ ฟังก์ชันที่หาผลรวมได้ แต่ลู่ออกแทบทุกจุด (a summable function which diverged almost everywhere) ซึ่งไม่เคยมีนักคณิตศาสตร์ท่านใด คาดคิดมาก่อน ว่าจะมีฟังก์ชันประเภทนี้อยู่จริง งานนี้ส่งผลให้ชื่อของคอลโมโกรอฟ เริ่มกระจายไปทั่วโลก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ คอลโกโกรอฟยังสนใจงานคณิตวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นอนุพันธ์ ปริพันธ์ หรือทฤษฎีการวัด คอลโมโกรอฟ ทำวิจัยในหลาย ๆ เรื่องทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป โดยแต่ละผลงานของเขา สามารถเห็นความเป็นต้นฉบับ ในรูปแบบของเขา เห็นเทคนิควิธีการแก้ไขปัญหา ที่หลากหลาย และเห็นความคิดที่ลึกซึ้ง ของคอลโมโกรอฟ ในการเจาะปัญหาแต่ละแบบ
    ในการทำเหมือง ขนาดใหญ่มาก ๆ อย่างการทำเหมือง บนดวงจันทร์ หรือ แถบดาวเคราะห์น้อย เนื่องจากกลไกแบบนี้ จะมีการเติบโต เป็นแบบเลขชี้กำลัง

    คอลโมโกรอฟเสมือนเป็นบิดาของ "ทฤษฎีความน่าจะเป็นสมัยใหม่" เนื่อง จากได้ปูรากฐาน ของทฤษฎีความน่าจะเป็นใหม่ทั้งหมด ด้วยสัจพจน์ที่เรียบง่ายเพียงไม่กี่ข้อ ซึ่งงานวิจัยด้านทฤษฎี ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน มีรากฐานทั้งหมด อยู่บนสัจพจน์คอลโมโกรอฟ (The axioms of probability) นี้
    นอก จากนี้ "เดวิด ซาลส์เบิร์ก" กล่าวยกย่องคอลโมโกรอฟว่าเป็น โมซาร์ทแห่งคณิตศาสตร์ ในหนังสือ The Lady Tasting Tea : How Statistics Revolutionized Science in the Twentieth Century


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×