ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมคนดัง(หญิืง) 2

    ลำดับตอนที่ #14 : เซลีน ดิออน

    • อัปเดตล่าสุด 27 ส.ค. 55




    ดอกเตอร์เซลีน มารี โกลแดต ดียง (โรมัน: Céline Marie Claudette Dion) หรือเซลีน ดียง(โรมัน: Céline Dion; คำอ่าน: Loudspeaker.svg /seɪlɪn dɪɒn/ ) หรือเซลีน ดิออน ตามสำเนียงภาษาอังกฤษ (สมาชิกราชอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดาชั้นจตุรถาภรณ์ (OC) , สมาชิกราชอิสริยาภรณ์แห่งควิเบกชั้นจตุรถาภรณ์ (OQ) และสมาชิกรัฐอิสริยาภรณ์เลชียงโดเนอร์แห่งฝรั่งเศสชั้นเบญจมาภรณ์[1][2]) เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคมพ.ศ. 2511 เป็นนักร้อง นักประพันธ์ดนตรี และนักแสดงชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส[3][4] เซลีนเกิดในครอบครัวใหญ่ เริ่มต้นการเป็นนักร้องโดยใช้ภาษาฝรั่งเศส หลังจากที่เรอเน อองเชลีล ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ (ต่อมาคือสามี) จำนองบ้านของเขาเพื่อเป็นทุนในการออกอัลบั้ม ลาวัวดูบองดีเยอ อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสชุดแรก[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เซลีนได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชื่อว่า ยูนิซัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของเธอในวงการเพลงป๊อปสากลในสหรัฐอเมริกา และโลก[6]

    เซลีนเป็นที่รู้จักในระดับสากลในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยได้รับรางวัลทั้งจากการประกวดการขับร้องเพลงในเทศกาลการขับร้องสากล จัดโดยบริษัท ยามาฮ่า (อังกฤษYamaha World Song Festival) ณกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2525 และชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน ในปี พ.ศ. 2531[7][8] หลังจากนั้นเธอได้ออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสอีกหลายชุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนกระทั่งเธอได้เซ็นสัญญาสังกัดค่ายโซนีเรคอร์ดส ในปี พ.ศ. 2529 ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เธอได้รับความช่วยเหลือจากเรอเน เซลีนประสบความสำเร็จทั่วโลกกับอัลบั้มภาษาอังกฤษ และอัลบั้มภาษาฝรั่งเศส กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงป๊อป[9][10] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เธอประสบความสำเร็จทั่วโลก เธอได้ประกาศพักงานวงการดนตรีชั่วคราวเพื่อเริ่มชีวิตครอบครัว และใช้เวลาอยู่กับสามีซึ่งขณะนั้นป่วยเป็นโรคมะเร็ง[11][10] หลังจากนั้นเธอได้กลับมาสู่วงการเพลงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 และเซ็นสัญญาในการแสดงชุด อะนิวเดย์... ที่โรงแรมซีซ่าส์พาเลซ ลาสเวกัส มลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 3 ปี (ภายหลังได้ขยายเป็น 5 ปี) [12][13]

    ดนตรีของเซลีนได้รับอิทธิพลในแนวดนตรีหลายแนว ตั้งแต่ป็อปปูลาร์กอสเปลบัลลาดคลาสสิก,อาร์แอนด์บีแจ๊ซ, ประสานเสียง และร็อก กับทั้งสหภาษาตั้งแต่ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาแอฟริกาน และภาษาอิตาลี เซลีนได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ถึงความสามารถและพลังในการร้องเพลงของเธอ[14][15][16] ในปี พ.ศ. 2547 เซลีนมียอดขายรวมมากกว่า 175 ล้านชุดทั่วโลก และได้รับรางวัลเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดส สำหรับการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในศิลปินหญิงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล [17][18] นอกจากนี้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 โซนี่ บีเอ็มจีประกาศว่าเซลีน ดิออนมียอดขายกว่า 200 ล้านชุดทั่วโลก [19]

    เนื้อหา

     [ซ่อน]

    [แก้]ประวัติ

    [แก้]ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ [2524-2530]

    "ลาวัวดูบงดีเยอ" อัลบั้มแรกในชีวิตของเซลีน

    เซลีน ดิออน เกิดวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2511 ที่ชาร์เลอมาญ เขตชานเมืองทางตะวันออกของเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา[20] เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 14 คน[21] ของ Adhémar Dion และ Thérèse Tanguay ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ครอบครัวนี้มีความผูกพันกับเสียงดนตรีเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากการที่บิดาและมารดาตั้งชื่อเธอว่า "เซลีน" (ฝรั่งเศสCeline) ตามบทเพลงชื่อ "เซลีน" อันเป็นผลงานการขับร้องโดย Hugues Aufray นักร้องชาวฝรั่งเศส[22] เมื่อครั้งวัยเยาว์เซลีนร่วมร้องเพลงกับพี่น้องของเธอใน Le Vieux Baril บาร์เปียโนอันเป็นกิจการของครอบครัวเธอ และฝันที่จะเป็นนักร้อง[14] โดยในปี พ.ศ. 2537 เซลีนให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร พีเพิล ว่า "ฉันคิดถึงครอบครัวและบ้านของฉัน แต่ฉันไม่เคยเสียใจที่ฉันเสียเวลาช่วงวัยรุ่นไป ฉันมีความฝันเดียว ฉันอยากเป็นนักร้อง"[23]

    เมื่ออายุ 12 ปี แม่และพี่ชายของเธอประพันธ์เพลงให้แก่เซลีน ซึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิตของเธอ ชื่อ "เซอเนเตเกิงแรฟว์" (ฝรั่งเศสCe n'était qu'un rêve, "มันเป็นเพียงแค่ฝัน") [20] ไมเคิล พี่ชายของเธอได้ส่งเพลงนี้ให้แก่เรอเน อองเชลีล[24] หลังจากเรอเนได้ฟังเพลงนี้แล้ว จึงตัดสินใจปั้นนักร้องคนใหม่ขึ้น[20] เขาจำนองบ้านของเขาเพื่อเป็นทุนในการออกอัลบั้มแรกให้กับเซลีนในชื่อว่า ลาวัวดูบองดีเยอ (ฝรั่งเศสLa voix du bon Dieu) (มีการเล่นคำโดยอาจหมายถึง "เสียงของพระเจ้า" หรือ "วิถีทางแห่งพระเจ้า") ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งกลายเป็นเพลงอันดับ 1 ในท้องถิ่นในเวลานั้น ดนตรีของเธอได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อเธอเข้าร่วมการประกวดการขับร้องเพลงในเทศกาลการขับร้องสากล จัดโดยบริษัท ยามาฮ่า (อังกฤษYamaha World Song Festival) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เธอได้รับรางวัล "ขวัญใจนักดนตรี" จากการลงคะแนนเสียงของคณะดนตรีในวันดังกล่าว (อังกฤษCoveted Musician's Award for Top Performer) และได้รับเหรียญทองรางวัล "เพลงยอดเยี่ยม" ในเพลง "แตลมองเชดามูร์ปูร์ตัว" (ฝรั่งเศสTellement j'ai d'amour pour toi, "ฉันมีรักมากมายเพื่อคุณ") [24]

    ในปี พ.ศ. 2526 เซลีนเป็นนักร้องชาวแคนาดาคนแรกที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำของฝรั่งเศสในซิงเกิล "ดามูร์อูดามีตีเย" (ฝรั่งเศสD'amour ou d'amitié, "รักหรือเพื่อน") เซลีนยังได้รับรางวัลเฟลิกซ์ในสาขา "นักร้องหญิงยอดเยี่ยม" (อังกฤษBest Female performer) และ "นักร้องหน้าใหม่แห่งปี" (อังกฤษDiscovery of the Year[12][24] นอกจากนี้เซลีนยังประสบความสำเร็จมากขึ้นทั้งในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย หลังจากเข้าร่วมประกวดร้องเพลงรายการยูโรวิชัน ในปี พ.ศ. 2531 โดยขับร้องเพลง "เนอปาร์เตปาซองมัว" (ฝรั่งเศสNe partez pas sans moi, "อย่าไปโดยไม่มีฉัน") [25] อย่างไรก็ตามเธอก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา เหตุผลส่วนหนึ่งคือ เธอร้องเพลงภาษาฝรั่งเศส[26] จนกระทั่งเมื่อเธออายุ 18 ปี เธอเห็นการแสดงของไมเคิล แจ็กสันเธอบอกกับเรอเนว่าเธออยากเป็นนักร้องดั่งไมเคิล แจ็กสัน[27] เรอเนมั่นใจในความสามารถของเธอ จึงเริ่มเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเธอสู่ความเป็นสากลมากขึ้น[20] อาทิ เข้ารับการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อให้เธอดูดีขึ้น และเรียนภาษาอังกฤษกับ École Berlitz ในปี พ.ศ. 2532[6] ณ จุดนี้เองที่ได้ผันชีวิตของเธอสู่นักร้องระดับสากล

    [แก้]ก้าวแรกในสหรัฐอเมริกา [2531-2535]

    หลังจากการเรียนภาษาอังกฤษได้ประมาณ 2 ปี เซลีนได้ออกอัลบั้มเพลงภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชื่อว่า ยูนิซัน (อังกฤษUnison) ในปี พ.ศ. 2533[24] ร่วมกับ วิทโท ลุปราโน และเดวิด ฟอสเตอร์ โปรดิวเซอร์ชาวแคนาดา[14] อัลบั้มนี้ได้รับอิทธิพลดนตรีแนวซอฟต์ร็อกจากคริสต์ทศวรรษ 1980 คำวิพากษ์วิจารณ์อัลบั้ม ยูนิซัน มีมากมาย อาทิ จิม เฟเบอร์จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีคลีย์ กล่าวว่าเสียงของเซลีนนั้น "ไม่ได้ตกแต่ง แต่มีรสนิยม"[28] สตีเฟน เออร์เลน จาก ออลมิวสิก กล่าวว่า "นักร้องชาวอเมริกาอันมีความสามารถได้เกิดขึ้นแล้ว" [29] ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง "(อิฟแดร์วอส) เอนีอาเธอร์เวย์" "เดอะลาสโทไนว์" "ยูนิซัน" และ "แวร์ดัสมายฮาร์ตบีทนาว" อันเป็นเพลงแนวบัลลาดเทมโปซอฟต์ร็อก โดดเด่นด้วยเสียงกีตาร์อิเล็กทริกส์ เพลงนี้เป็นเพลงแรกของเธอที่ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดของสหรัฐอเมริกาโดยขึ้นชาร์ตสูงสุดในอันดับที่ 4[21] อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกที่ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกายุโรปรวมทั้งในเอเชียด้วย

    ในปี พ.ศ. 2534 เซลีนเป็นหนึ่งในนักร้องที่ร่วมร้องเพลง "วอยซ์แดทแคร์" (อังกฤษVoices That Care) อันเป็นบทเพลงที่มอบให้แก่กองทหารอเมริกันที่เข้าร่วมสงครามอ่าวเปอร์เซีย แท้จริงแล้ว เซลีนก้าวขึ้นสู่นักร้องระดับสากลอย่างแท้จริงหลังจากการร้องเพลง "บิวตีแอนด์เดอะบีสต์" คู่กับ พีโบ ไบรซัน อันเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์แอนนิเมชัน เรื่อง บิวตีแอนด์เดอะบีสท์ ของวอลท์ดิสนีย์[7] เพลงนี้เป็นแบบอย่างของแนวเพลงที่เซลีนร้องในเวลาต่อมา กล่าวคือ เป็นทำนองสบาย ๆ ในแนวบัลลาดคลาสสิก ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลที่ 2 ของเธอที่ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 10 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา เพลงนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขา "เพลงยอดเยี่ยม" (อังกฤษBest Song) และรางวัลแกรมมี สาขา "เพลงป๊อปร้องคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม" (อังกฤษBest Pop Performance by a Duo or Group with Vocal[30] "บิวตีแอนด์เดอะบีสต์" เป็นเพลงหนึ่งในอัลบั้ม เซลีนดิออน อัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกับเธอเอง โดยเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จของเธอ ผลงานเพลงในอัลบั้มนี้เซลีนได้ร่วมงานกับเดวิด ฟอสเตอร์ และไดแอน วาเรน เพลงอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จในอัลบั้มนี้ได้แก่ "อิฟยูอาสก์มีทู" (อังกฤษIf You Asked Me To) เพลงของแพตติ เลอเบลล์ (อังกฤษPatti LaBelle) จากภาพยนตร์เรื่อง Licence to Kill อันออกฉายในปี พ.ศ. 2532 เพลงนี้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดสูงสุดในอันดับที่ 4 นอกจากนี้ยังมีเพลง "เลิฟแคนมูฟเมาเทนส์" (อังกฤษLove Can Move Mountains) และ "น็อตติงโบรกเคนบัตมายฮาร์ต" (อังกฤษNothing Broken But My Heart) โดยก่อนหน้านี้เธอได้ออกอัลบั้ม ดียงชองเตอปลามงดง (ฝรั่งเศสDion chante Plamondon) ในปี พ.ศ. 2534 เป็นอัลบั้มเพลงภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงเก่านำมาร้องใหม่ โดยมีเพลงใหม่ 4 เพลงคือ "เดโมกีซอน" (ฝรั่งเศสDes mots qui sonnent) "เชอด็องซ์ดองมาแต็ต" (ฝรั่งเศสJe danse dans ma tête) "แกลเกิงเกอแชมแกลเกิงเกอแชม" (ฝรั่งเศสQuelqu'un que j'aime, quelqu'un qui m'aime) และ "ลามูร์เอ็กซีสต์อ็องกอร์" (ฝรั่งเศสL'amour existe encore) แต่เดิมออกจำหน่ายในแคนาดา และฝรั่งเศส ในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2535 เท่านั้น ต่อมาได้ออกจำหน่ายทั่วโลกในปี พ.ศ. 2537 มียอดขาย 1.5 ล้านชุดทั่วโลก และเป็นอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสอัลบั้มแรกของเธอที่ออกจำหน่ายทั่วโลก

    ในช่วงปี พ.ศ. 2535 อัลบั้ม ยูนิซัน และ เซลีนดิออน รวมทั้งการปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทำให้เซลีนเป็นที่รู้จักทั่วอเมริกาเหนือ เธอประสบความสำเร็จในตลาดเพลงภาษาอังกฤษ และมีชื่อเสียงมากขึ้น[26] แต่กระนั้น ขณะที่เธอประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา แฟนเพลงชาวฝรั่งเศสต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอเพิกเฉยต่อพวกเขา[31][30] ต่อมาในงานประกาศรางวัลเฟลิกซ์ เซลีนได้รับรางวัล "ศิลปินอังกฤษแห่งปี" เธอกล่าวปฏิเสธในการรับรางวัลนั้น เธอยืนยันว่าเธอเป็นศิลปินฝรั่งเศส ไม่ใช่ศิลปินอังกฤษ[32][6] ซึ่งทำให้เธอได้ฐานแฟนเพลงชาวฝรั่งเศสคืนมา นอกจากความสำเร็จด้านดนตรีแล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัว เรอเน ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ ซึ่งมีอายุมากกว่าเธอ 26 ปี ได้ผันมาเป็นคนรัก อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์นี้ยังคงเป็นความลับของทั้งคู่ ด้วยกลัวว่าสาธารณชนจะกล่าวว่าทั้งสองไม่เหมาะสมกัน[33]

    [แก้]เริ่มต้นของความนิยม [2536 - 2538]

    ในปี พ.ศ. 2536 เธอประกาศความรู้สึกของเธอกับผู้จัดการส่วนตัวของเธอผ่านคำว่า "เดอะคัลเลอร์ออฟ[เฮอร์]เลิฟ" (สีสันความรัก[ของเธอ]) ที่ออกมาในชื่อของอัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ (อังกฤษThe Colour of My Love) อัลบั้มเพลงภาษาอังกฤษชุดที่ 3 ของเธอ เซลีนกังวลการวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างเธอ และผู้จัดารส่วนตัว แต่แฟนเพลงของเธอกลับให้การตอบรับอย่างดี[14] ท้ายที่สุด เรอเนและเซลีนได้จัดพิธีสมรสอย่างยิ่งใหญ่ที่โบสถ์บาซิลิกา เมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งออกอากาศทางโทรทัศน์ในแคนาดา

    สืบเนื่องจากอัลบั้มนี้เซลีนตั้งใจมอบให้แก่ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ ทำให้อัลบั้มนี้ประกอบด้วยเพลงแนวความรัก และโรแมนติก[34] อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ผ่านมา ด้วยยอดขายกว่า 6 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา, 2 ล้านชุดในแคนาดา และขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 ในหลายประเทศ นอกจากนี้เพลง "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" (อังกฤษThe Power of Love) ยังขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และออสเตรเลียเป็นเพลงแรก (เดิมเป็นเพลงของเจนนิเฟอร์ รัช ในปี พ.ศ. 2529) เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงที่เป็นสัญลักษณ์ของเธอถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[26] ซิงเกิลถัดมาได้แก่ "เว็นไอฟอลอินเลิฟ" (อังกฤษWhen I Fall in Love) ร้องคู่กับคลิฟ กริฟฟิน และเพลง "มิสเล็ด" (อังกฤษMisled) ที่ประสบความสำเร็จในชาร์ตของแคนาดา อัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ เป็นอัลบั้มแรกของเธอที่ได้รับความนิยมในยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรในเพลง "ธิงค์ทไวซ์" (อังกฤษThink Twice) ซึ่งขึ้นอันดับ 1 ชาร์ตบริติชเป็นเวลากว่า 5 สัปดาห์ติดต่อกัน อยู่ที่อันดับ 1 รวมทั้งสิ้น 7 สัปดาห์ ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลที่ 4 ที่ร้องโดยนักร้องหญิงที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดในสหราชอาณาจักร[35] และอัลบั้มนี้ก็ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 5 แผ่นซึ่งมียอดขายกว่า 2 ล้านชุด

    ถึงแม้เซลีนจะประสบความสำเร็จในอัลบั้มภาษาอังกฤษ แต่เธอก็ยังออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสไปพร้อม ๆ กับอัลบั้มภาษาอังกฤษด้วย[36] ซึ่งเพลงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเพลงภาษาอังกฤษของเธอ[31] อาทิ อัลบั้ม อาโลแล็งปียา (ฝรั่งเศสÀ l'Olympia) โดยบันทึกเสียงระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตของเธอที่โรงละครแล็งปียา ปารีส ประเทศฝรั่งเศส อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 และมีการออกซิงเกิลโปรโมตอัลบั้มนี้ คือเพลง "คอลลิงยู" (อังกฤษCalling You) ขึ้นชาร์ตฝรั่งเศสอันดับสูงสุดที่ 75

    เดอ (ฝรั่งเศสD'eux หรือ เดอะเฟรนช์อัลบั้ม (อังกฤษThe French Album) ในสหรัฐอเมริกา ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2538 เป็นอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[36] เพลงในอัลบั้มนี้ส่วนใหญ่เป็นผลงานการประพันธ์ของชอง-ชาก โกลด์แมน เพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากอัลบั้มนี้คือเพลง "ปูร์เกอตูแมมอองกอร์" (ฝรั่งเศสPour que tu m'aimes encore) ขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 ของสหราชอาณาจักร (เป็นหนึ่งในเพลงภาษาฝรั่งเศสไม่กี่เพลงที่ประสบความสำเร็จในชาร์ตสหราชอาณาจักร) และเพลง "เชอเซปา" (ฝรั่งเศสJe sais pas) ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในชาร์ตของฝรั่งเศส โดยเพลงเหล่านี้ได้นำมาร้องใหม่เป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า "อิฟแธตส์ว็อตอิตเทกส์" อังกฤษIf That's What It Takes)" และ "ไอด็อนท์โนว์" (อังกฤษI Don't Know) ตามลำดับ โดยบรรจุลงในอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดต่อมาที่มีชื่อว่า ฟอลลิงอินทูยู (อังกฤษFalling into You)

    ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นช่วงของการเปลี่ยนแนวดนตรีของเซลีน จากอิทธิพลของร็อกสู่แนวเพลงป๊อป และโซล (แม้กีตาร์อิเล็กทริกส์ยังคงมีความโดดเด่นในดนตรีของเธอ) เพลงของเธอเริ่มมีความนุ่มนวล และใช้ทำนองที่เบาลง และแต่ละเพลงก็จะมีช่วงสำคัญคือการร้องเสียงสูงเท่าที่เสียงของเธอสามารถร้องได้[37] ดนตรีใหม่นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิจารณ์หลายคน อาทิ แอเรียน เบอร์เกอร์ จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ กล่าวว่า "เสียงของเธอผาดโผน" และเป็น "เพลงบัลลาดที่น่าชื่นชม"[38] เป็นผลให้เธอมักถูกเปรียบเทียบกับศิลปินอื่น ๆ อย่างมารายห์ แครี และวิทนีย์ ฮูสตัน[39] นอกจากนี้ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความน่าเบื่อซ้ำซากในแนวดนตรีของเธอ เช่นในอัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ ที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากงานดนตรีของเธอก่อนหน้านี้[40][34] แม้ว่าเสียงยกย่อง และการวิพากษ์วิจารณ์จะเบาบางลง เซลีนยังคงได้รับความนิยมในชาร์ตสากลทั่วโลก และในปี พ.ศ. 2539 เซลีนได้รับรางวัลเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดส ในสาขา "นักร้องหญิงชาวแคนาดาที่มียอดขายทั่วโลกยอดเยี่ยมแห่งปี" (อังกฤษWorld’s Best-selling Canadian Female Recording Artist of the Year) เป็นครั้งที่ 3 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เซลีนได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในนักร้องที่มียอดขายสูงสุดในโลก พร้อมกับนักร้องหญิงอย่าง มารายห์ แครี และวิทนีย์ ฮูสตัน[41]

    [แก้]ประสบความสำเร็จทั่วโลก [2539 - 2542]

    อัลบั้ม ฟอลลิงอินทูยู (อังกฤษFalling into You) เป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษลำดับที่ 4 ของเธอ ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2539 นับเป็นความสำเร็จของเธอในอีกระดับหนึ่ง อัลบั้มนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและยังแสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของเธออีกด้วย[33] อัลบั้มนี้มีองค์ประกอบหลายส่วน เพื่อให้เข้าถึงแฟนเพลงในกลุ่มที่กว้างขึ้น อาทิ ส่วนของดนตรี มีการใช้วงออเคสตราร่วมบรรเลง, เสียงร้องเพลงแบบแอฟริกัน และเสียงแบบแปลก ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีอย่างไวโอลินกีตาร์สเปนทรอมโบน และแซ็กโซโฟน บรรเลงเพื่อสร้างดนตรีแบบใหม่[42] เพลงจากอัลบั้มนี้มีแนวเพลงหลากหลายแนว อาทิ "ฟอลลิงอินทูยู" (อังกฤษFalling into You) และ "ริเวอร์ดีปเมาน์เทนไฮ" (เพลงเดิมของทิน่า เทอร์เนอร์) ที่มีเครื่องดนตรีบรรเลงอย่างโดดเด่น, "อิทส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว" (อังกฤษIt's All Coming Back to Me Now) (เพลงเดิมของจิม สเตนแมน) , และเพลงเดิมของอีริค คาร์แมน อย่าง "ออลบายมายเซลฟ์" (อังกฤษAll by Myself) ที่ยังคงคงแบบดนตรีซอฟต์ร็อก แต่เพิ่มการผสมผสานในแนวคลาสสิกด้วยเสียงของเปียโน และซิงเกิลอันดับหนึ่ง "บีคอสยูเลิฟด์มี" (อังกฤษ:Because You Loved Me) ผมงานการประพันธ์ของไดแอน วาเรน เพลงแนวบัลลาดประกอบภาพยนตร์เรื่อง Up Close & Personal ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2539[41]

    ฟอลลิงอินทูยู เป็นผลงานของเซลีนที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในด้านดีอย่างมากมาย ในขณะที่แดน เลอรอย กล่าวว่าผลงานนี้ไม่ได้แตกต่างจากอัลบั้มอื่นๆ ก่อนหน้านี้มากนัก[43] และสตีเฟน โฮลเดน จากนิตยสาร นิวยอร์กไทมส์ และนาคาลี นีโคลส์ จากนิตยสาร ลอสแอนเจลิสไทมส์ กล่าวว่าเพลงในอัลบั้มนี้เป็นเหมือนแบบเดิม ๆ[44][45] คำวิพากษ์วิจารณ์อื่น ๆ อาทิ ชัค เอ็ดดี จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเม็นท์วีคลีย์, สตีเฟน โทมัส เออร์เลไวน์ จากนิตยสาร เอเอ็มจีและแดเนียล ดัชฮาลส์กล่าวว่าอัลบั้มนี้ "กระตุ้นความสนใจ", "เร่าร้อน", "ทันสมัย", "สง่างาม" และ "เป็นผลงานประณีตยอดเยี่ยม"[46][42] ฟอลลิงอินทูยู เป็นอัลบั้มที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด และประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ผ่านมา อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศและเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[47] นอกจากนี้ อัลบั้มนี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขา "อัลบั้มเพลงป๊อปยอดเยี่ยม" (อังกฤษBest Pop Album) และรางวัลเกียรติยศสูงสุดของแกรมมี "อัลบั้มแห่งปี"[48] เธอก็เป็นที่รู้จักของโลกมากขึ้น เมื่อเซลีนได้รับการทาบทามในการร้องเพลง "เดอะพาวเวอร์ออฟเดอะดรีม" ในงานพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก 1996 ที่เมืองแอตแลนตา[49] นอกจากนี้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 เซลีนเริ่มต้นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ฟอลลิงอินทูยู เพื่อสนับสนุนยอดขายของอัลบั้ม ฟอลลิงอินทูยู โดยไปเยือนเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

    อัลบั้มถัดมาของเซลีนคือ เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ (อังกฤษLet's Talk About Love) ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2540[37] บันทึกเสียงที่ลอนดอนนครนิวยอร์กลอสแอนเจลิส, ซึ่งมีแขกรับเชิญพิเศษมากมายที่มาร่วมร้องในอัลบั้มนี้ อันประกอบด้วย บาร์บรา สตรัยแซนด์ ในเพลง "เทลล์ฮิม" (อังกฤษTell Him) , วงบีจีส์ ในเพลง "อิมมอร์ทอลิตี" (อังกฤษImmortality) , ลูชิอาโน ปาวารอตติ ในเพลง "ไอเฮตยูเด็นไอเลิฟยู" (อังกฤษI Hate You Then I Love You[33][50] นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีคนอื่นๆได้ร่วมในผลงานอัลบั้มชุดนี้เช่นกัน อาทิ คาโรล์ คิงเซอร์ จอร์จ มาร์ตินเจไมกา นักร้องจากไดอาน่าคิงที่เข้ามาสร้างเสียงดนตรีแบบเรกเก้ในเพลง "ทรีตเฮอร์ไลค์อะเลดี" (อังกฤษTreat Her Like a Lady)"[51] แม้จะมีศิลปินมากมายร่วมงานในอัลบั้มชุดนี้ แต่อัลบั้มนี้จึงยังคงธีมในเรื่องของ "ความรัก" เหมือนอัลบั้มชุดก่อนๆ โดยเฉพาะความรักแบบพี่น้อง ในเพลง "แวร์อิสเดอะเลิฟ" (อังกฤษWhere Is the Love) และ "เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ" (อังกฤษLet's Talk About Love[52] ซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากอัลบั้มนี้คือเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" (อังกฤษMy Heart Will Go On) ผลงานการประพันธ์ของเจมส์ ฮอร์เนอร์ และอำนวยการผลิตโดยเจมส์ และวอลเตอร์อะฟาแนซิฟ [48] เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง ไททานิก เพลงนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในเพลงที่เป็นสัญลักษณ์ของเซลีน ดิออน[53] ซิงเกิล "มายฮาร์ตวิลโกออน" และ "ธิงค์ทไวซ์" ทำให้เซลีนเป็นนักร้องหญิงคนเดียวที่สามารถทำยอดขายซิงเกิลในสหราชอาณาจักรได้เกิน 1 ล้านชุด[54] ในการสนับสนุนยอดขายอัลบั้มนี้ เซลีนได้ทัวร์คอนเสิร์ต เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟในระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2542[55]

    เซลีนปิดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 1990 กับอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอีก 2 อัลบั้ม คือ ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ (อังกฤษThese Are Special Times) ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2541 เป็นเพลงเทศกาลคริสต์มาส และอัลบั้มเพลงฮิตอย่าง ออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง (อังกฤษAll the Way… A Decade of Song) ในปี พ.ศ. 2542[56] ในอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ เซลีนมีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงในอัลบั้มมากขึ้น ในอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วยดนตรีแนวคลาสสิกโดยมีวงออร์เคสตราร่วมบรรเลงในทุก ๆ เพลง[57] เพลง "แอมยัวร์แองเจิล" (อังกฤษI'm your angel) เป็นผลงานจากการร้องคู่กับอาร์. เคลลี ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 4 ในอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ และซิงเกิลสุดท้ายของเธอที่ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา ในส่วนของอัลบั้ม ออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง เป็นอัลบั้มเพลงฮิตที่นำเพลงเก่ามารวมกับเพลงใหม่ 7 เพลง ซิงเกิลแรกเปิดตัวด้วยเพลง "แดทส์เดอะเวย์อิทอิส" (อังกฤษThat's the Way It Is) , เพลง "เดอะเฟิร์สไทม์เอเวอร์ไอซอยัวร์เฟซ" ซึ่งเดิมขับร้องโดยโรเบอร์ตา เฟลค และเพลง "ออลเดอะเวย์" ร้องคู่กับแฟรงค์ ซินาทรา[56] ในช่วงท้ายคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เซลีนมียอดขายอัลบั้มกว่า 100 ล้านชุดทั่วโลก ทำให้เธอได้รับรางวัลจากอุตสาหกรรมดนตรีมากมาย[9] เธอกลายเป็นหนึ่งในดีว่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเพลงร่วมสมัย ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่เธอได้รับการเชื้อเชิญเข้าร่วมการแสดงของสถานีโทรทัศน์ดนตรีวีเอชวัน ในรายการพิเศษ ดีว่าส์ไลฟ์ ในปี พ.ศ. 2541 ร่วมกับ อารีธา แฟรงคลินกลอเรีย เอสเตฟานชาเนีย ทเวน และ มารายห์ แครี ซึ่งนั่นทำให้เธอได้รับอิสริยาภรณ์จากบ้านเกิดของเธอ คือ ราชอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดาชั้นจตุรถาภรณ์ (OC) และรัฐอิสริยาภรณ์แห่งควิเบกชั้นจตุรถาภรณ์ (OQ) [36] ในปีต่อมาเธอได้รับตำแหน่งในหอเกียรติยศการออกกากาศแห่งแคนาดา และได้รับเกียรติในทางเดินแห่งเกียรติยศของแคนาดา[58] นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลแกรมมี่ในสาขานักร้องหญิงยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแห่งปี สำหรับเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" (เพลงนี้ได้รับรางวัล 4 รางวัล โดย 2 รางวัลมอบให้แก่ผู้ประพันธ์เพลง) [59]

    เมื่อเปรียบเทียบกับอัลบั้มในช่วงแรก ๆ ของเธอ ทั้งคุณภาพและดนตรีในเพลงของเธอได้เปลี่ยนไปอย่างมาก อิทธิพลจากดนตรีแนวซอฟต์ร็อกกลายมาเป็นเพลงในแนวโซล และมีสไตล์เป็นเพลงร่วมสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามธีมของ "ความรัก" ก็ยังมีให้เห็นในทุก ๆ อัลบั้มของเธอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักวิจารณ์กล่าวว่าผลงานของเธอซ้ำซาก[60] บทวิจารณ์อัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ ของร็อบ โอคอนเนอร์กล่าวว่า

    Cquote1.svg

    สิ่งที่ไม่เคยหยุดทำให้ฉันประหลาดใจก็คือ ความซ้ำซากอย่างที่สุด, ดนตรีที่ถูกครอบงำด้วยความจำเจมักจะได้รับการสรรเสริญจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทางดนตรีว่าไร้ที่ติ เรือที่จมทำให้ฉันนึกถึงทำนองเพลง ["มายฮาร์ตวิลโกออน"] ที่ไถไปเรื่อย ๆเป็นเวลา 4 นาทีกว่า ๆ และอัลบั้มนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่าไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่มีข้อสงสัยเลยหรือว่าทำไมฉันถึงกลัวเวลาไปหาหมอฟัน[61]

    Cquote2.svg

    นอกจากนี้เซลีนยังได้รับคำวิจารณ์ในเพลง "เดอะเฟิร์สไทม์เอเวอร์ไอซอยัวร์เฟซ" และ "ออลเดอะวย์" ซึ่งกล่าวไว้ในทางลบว่า "น่าขนลุก" ทั้งแอลลิสสัน สตีวาร์ดจาก เดอะชิกคาโกทรีบูน และเออร์ไวน์จาก ออลมิวสิก[62] แม้ว่าเธอยังคงได้รับการสรรเสริญจากความสามารถในการร้องเพลงของเธอ (เอลิซา การ์ดเนอร์ จาก แอล.เอ.ไทมส์ เรียกเสียงของเธอว่า "เทคนิคที่น่าพิศวง") [15] เสียงของเธอในช่วงแรก ๆ ทำให้ต้องหยุดฟัง และสตีฟ ดอลลาร์ ได้วิจารณ์อัลบั้มดีสอาร์สปเชียลไทมส์ ว่า "เสียงของเธอดุจดังมหาบรรพตโอลิมปัสอันไม่มีภูเขาใด หรือระดับใด ๆ สามารถเทียบวัดได้"[63]

    [แก้]กำเนิดบุตรชาย [2543-2544]

    เซลีน ดิออนและบุตร

    ภายหลังการออกอัลบั้มกว่า 13 อัลบั้มในคริสต์ทศวรรษ 1990 เซลีนได้ประกาศระหว่างการออกอัลบั้มออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง อัลบั้มล่าสุดของเธอในขณะนั้นว่า เธอต้องการพำนักที่ใดที่หนึ่งเป็นการถาวร และเริ่มต้นใช้ชีวิตครอบครัว[64][65] ซึ่งในขณะนั้นเรอเน สามีของเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งที่คอหอย ทำให้เธอเสียกำลังใจอย่างมาก[66] ในขณะนั้น แม้เซลีนจะพักงานจากวงการดนตรี แต่เธอก็ไม่สามารถหนีความเป็นจุดสนใจในวงการได้ ในปี พ.ศ. 2543 เนชันแนลเอ็นไควเรอร์ ตีพิมพ์เรื่องราวเท็จเกี่ยวกับเธอ มีรูปเธอและเรอเน สามีของเธอพร้อมพาดหัวว่า "เซลีน - 'ฉันท้องลูกแฝด!'"[67] เซลีนฟ้องร้องสำนักพิม์นิตยสารนี้กว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[68] บรรณาธิการของ เอ็นไควเรอร์ ได้พิมพ์ข้อความขอโทษ และขอถอนคำพูดในนิตยสารฉบับต่อมา และบริจาคเงินแก่สมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งของอเมริกา (อังกฤษAmerican Cancer Society) เพื่อเป็นเกียรติแก่เซลีน และสามีของเธอ ในปีต่อมาขณะที่สามีของเธอรักษาอยู่ เซลีนได้ให้กำเนิดบุตรชายในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544 ที่ฟลอริดา และให้ชื่อว่าเรอเน-ชาลส์[69][70] ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เซลีนได้กลับสู่วงการดนตรีอีกครั้ง และออกอากาศทางโทรทัศน์ในเพลง "ก็อดเบลสอเมริกา" ในคอนเสิร์ต อเมริกา: อุทิศแก่วีรบุรุษ ชัค เทย์เลอร์จากนิตยสาร บิลบอร์ด ได้กล่าวไว้ว่า "การแสดง...เข้าสู่จิตใจของฉันที่จะเฉลิมฉลองศิลปินของเรา ความสามารถที่ทำให้อารมณ์และจิตวิญญาณหวั่นไหว, ซาบซึ้ง, เต็มไปด้วยความหมาย เติมแต่งด้วยความสง่างาม นี่คือความรู้สึกตอบสนองทางดนตรีที่เธอแบ่งปันกับพวกเราทุกคน ที่ยังค้นหาหนทางแก้ปัญหาความยากลำบากเหล่านั้น"[71]

    [แก้]การกลับมาของเซลีน [2545-2546]

    หลังจากการพักงานด้านดนตรีกว่า 3 ปี เซลีนได้กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม (อังกฤษA New Day Has Come) ออกจำหน่ายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 อัลบั้มนี้เป็นตัวแทนถึงชีวิตส่วนตัวของเซลีนได้มากที่สุด และแสดงให้เห็นถึงอีกด้านหนึ่งของเซลีนอย่างเพลง "อะนิวเดย์แฮสคัม", "แอมอะไลฟ์" และ "กู๊ดบาย (เดอะแซดเดสเวิร์ด)" เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้นของเธอในฐานะเป็น "แม่" ซึ่งเธอได้กล่าวไว้ว่า "การเป็นแม่ทำให้คุณเติบโตขึ้น"[72] เธอกล่าวว่า "วันใหม่ที่มาถึง (A New Day Has Come) สำหรับเรอเน และฉัน คือลูกของเรา มันคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะทำให้กับลูกของเรา... เพลง ["อะนิวเดย์แฮสคัม"] เป็นตัวแทนถึงความรู้สึกของฉันในตอนนี้ และเป็นตัวแทนของทั้งอัลบั้ม"[11] อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจอย่างสูง แต่กลับได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมาย โดยมีนักวิจารณ์ได้ให้ความเห็นไว้ว่าอัลบั้มนี้ "ลืมไปได้เลย" และเนื้อเพลงนั้นก็ "ไร้ความมีชีวิตชีวา"[73] ทั้งร็อบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสาร โรลลิงสโตน และเคน ทักเกอร์ จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ ได้วิจารณ์เกี่ยวกับเพลงของเซลีนไว้ว่าไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยจากการที่เธอได้พัก และจัดประเภทเพลงของเธอว่า ซ้ำๆซากๆ ไม่น่าสนใจ คุณภาพปานกลาง[74][75] ซาล ซินควิมานิ จากนิตยสาร สแลนท์ เรียกอัลบั้มเธอว่า "เป็นอัลบั้มที่ยืดยาด, เพลงป๊อปที่เหนอะหนะ"[76]

    หลังจากการวาดจินตนาการจากประสบการณ์ส่วนตัว เซลีนได้ออกอัลบั้ม วันฮาร์ต (อังกฤษOne Heart) ในปี พ.ศ. 2546 อันเป็นตัวแทนของความรู้สึกปิติในชีวิตของเธอ[77] อัลบั้มนี้เพลงส่วนใหญ่ประกอบด้วยเพลงเต้น เปลี่ยนแนวจากการร้องเสียงสูงๆ สู่แนวเพลงบัลลาดที่น่าตื่นเต้นซึ่งเธอได้ผสมผสานมันด้วยตัวเอง อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในระดับปานกลาง และสามารถบอกเป็นนัยได้ถึงความไม่สามารถที่จะเอาชนะกำแพงของความคิดใหม่ๆ ของเธอ คำพูดอย่าง "คิดแล้วว่าเป็นแบบนี้" และ "พื้นๆ ธรรมดา" สามารถพบได้ในบทวิจารณ์ทั่วไป[78][79] อัลบั้มนี้เปิดตัวด้วยซิงเกิล "ไอโดรฟออลไนต์" เพลงเดิมของรอย ออร์บิสัน เป็นเพลงธีมแคมเปญของไครส์เลอร์ (อังกฤษChrysler[80] ซึ่งเป็นเพลงที่ผสมผสานแนวแดนซ์-ป๊อป,ร็อกแอนด์โรลล์เข้าด้วยกัน ทำให้หวนนึกถึงผลงานเพลงของแชร์ ช่วงคริสต์ทศววรษ 1980 อย่างไรก็ตามเพลงนี้ได้ยกเลิกจากแคมเปญดังกล่าวไป ขณะที่เซลีนพยายามที่จะทำให้ผู้สนับสนุนพอใจ[81] กลางคริสต์ทศววรษ 2000 แนวดนตรีของเซลีนเปลี่ยนไปสู่ลักษณะความเป็นแม่ซึ่งพบได้ในอัลบั้ม มิราเคิล ในปี พ.ศ. 2547 มิราเคิล เป็นโครงการที่รวมรวมสื่อภาพ และเสียงผสมผสานกัน โดยได้ช่างภาพชื่อดังอย่างแอน เกดเดสมาร่วมงาน ในธีมที่จะผสานทารก และแม่ อัลบั้มนี้ซึมซาบแนวเพลงกล่อมเด็กอย่าง lullabies และเพลงแนวรัก, แรงบันดาลใจ โดยนำเพลง 2 เพลงที่เคยได้รับความนิยมมาร้องใหม่ เพลง "ว็อตอะวันเดอร์ฟูลเวิลด์" (อังกฤษWhat a Wonderful World) เพลงเดิมของหลุยส์ อาร์มสตรอง และเพลง "บิวตีฟูลบอย" ของจอห์น เลนนอน อัลบั้ม มิราเคิล ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากชาร์ลส์ เทย์เลอร์ จากนิตยสาร บิลบอร์ด ซึ่งกล่าวไว้ว่าซิงเกิล "บิวตี้ฟูลบอย" เป็น "อัญมณีที่ไม่เคยนึกถึง" และเรียกเซลีนว่า "ศิลปินอมตะ และมีความสามารถรอบตัว",[82] ชัค อาร์โนลด์ จากนิตยสาร พีเพิล กล่าวว่าอัลบั้มละเอียดอ่อนในด้านจิตใจมากเกินไป[83] ขณะที่แนนซี มิลเลอร์จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า "การกระทำของแม่ทั้งหมดในโลกก็เป็นเพียงแค่การฉวยโอกาส"[84]

    อัลบั้มภาษาฝรั่งเศส อวีนฟีย์เอกาตร์ตีป (ฝรั่งเศส1 fille & 4 types, 1 สาว 4 ชาย) ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นผลงานชุดที่ 2 ตั้งแต่เธอกลับมาสู่วงการดนตรีอีกครั้ง อัลบั้มนี้แสดงถึงว่าเซลีนพยายามที่จะแสดงภาพลักษณ์ความเป็น "ดีว่า" อัลบั้มนี้มีผู้ร่วมงานมากมาย อาทิ ชอง-ชาก โกลด์แมน, ชีลดา อาร์เซล, เอริก บองซี และชาก เวอเนอรูโซ ซึ่งเธอเคยร่วมงานมาแล้วในอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่เคยได้รับความนิยมของเธอ ซีลซูฟฟีเซแดมเม และเดอ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแห่งความกดดันโดยตัวของเซลีนเอง ภาพปกอัลบั้มแสดงถึงความผ่อนคลาย และเรียบง่ายของเซลีน ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพปกที่ผ่านมาของเธอ อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในด้านการวิพากษ์วิจารณ์: สตีเฟน เออร์ไวน์ จาก ออลมิวสิก กล่าว่าอัลบั้มนี้ "กลับไปสู่เพลงป๊อปที่เรียบง่ายที่ไม่ค่อยพบในช่วงเวลาหนึ่ง"[85]

    แม้ว่าอัลบั้มของเธอค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นสัญญาณในด้านลบ ซึ่งเห็นได้จากคำวิพากษ์วิจารณ์แง่ลบต่างๆในอัลบั้ม เดอะคอลเลคเตอส์ซีรีส์ ชุดที่ 1 (อังกฤษThe Collector's Series, Volume One) ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2543 และอัลบั้ม วันฮาร์ต ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2546 ด้วยเสน่ห์ของเซลีนในอัลบั้มหลังๆได้ลดลง เนื่องจากธีมที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เพลงของเธอได้รับการเปิดในวิทยุน้อยลง และความนิยมในเพลงแนวบัลลาดอย่างเซลีน, มารายห์ และวิทนีย์น้อยลง ปัจจุบันแนวเพลงฮิปฮอป, เทมโป ได้รับความนิยมมากขึ้น[86] อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 เซลีนมียอดจำหน่ายอัลบั้มของเธอรวมกว่า 175 ล้านชุด และได้รับรางวัลชอปาร์ดไดมอนด์ (อังกฤษChopard Diamond Award) จากเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดสสำหรับยอดขายของเธอ และเป็นศิลปินที่เป็นตัวแทนของ "ยอดขายมากกว่า 100 ล้านชุดในชีวิตดนตรี"[87]

    [แก้]ราชินีแห่งลาสเวกัส [2546 - 2550]

    เซลีน ดิออนกับการแสดงที่ลาสเวกัส ในเพลงริเวอร์ดีปเมาน์เทนไฮ

    ช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 เซลีนได้ประกาศลงนามในการแสดงที่มีชื่อว่า อะนิวเดย์... (อังกฤษA New Day...) โดยเปิดการแสดงที่โรงแรมซีซ่าร์พาเลซ ลาสเวกัส เป็นเวลา 3 ปี รวมจำนวนการแสดงกว่า 600 รอบ 5 วันต่อสัปดาห์[88] ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็น "หนึ่งในการตัดสินใจด้านธุรกิจที่ชาญฉลาดในรอบปีโดยศิลปินเพียงคนเดียว"[89] เซลีนได้รับแรงบันดาลการแสดงชุดนี้จากการไปชมการแสดงชุด โอ อันเป็นผลงานการสร้างสรรค์โดยฟรังโก ดรากอน (ฝรั่งเศสFranco Dragone) ระหว่างการพักจากงานดนตรีของเธอ การแสดงเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 ในโรงละครโคลอสเซียม จำนวน 4,000 ที่นั่งซึ่งออกแบบเพื่อการแสดงนี้โดยเฉพาะ[88] การแสดงนี้สร้างสรรค์โดยฟรังโก ดรากอน โดยผสมผสานระหว่างการเต้น, ดนตรี และแสงสี ในการแสดงเซลีนร้องเพลงยอดนิยมของเธอ พร้อมกับขบวนนักเต้นและอุปกรณ์พิเศษมากมาย ไมค์ เวเธอร์ฟอร์ด นักวิจารณ์รู้สึกว่าในตอนแรก เซลีนไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควร ในตอนนั้นมันยากที่จะหานักร้องที่ร้องเพลงท่ามกลางเวทีที่ประดับสิ่งตกแต่งมากมาย พร้อมขบวนนักเต้น อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความเห็นว่า การแสดงสามารถให้ความสุขได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากเซลีนพัฒนาการวางตัวบนเวที และเสื้อผ้าที่เรียบง่ายมากขึ้น[53]

    การแสดงนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี แม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงราคาบัตรเข้าชมที่แพงเกินไป แต่การแสดงขายบัตรหมดเกือบทุกรอบตั้งแต่เปิดการแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2546 การแสดงชุดนี้ออกแบบท่าเต้นโดยเมีย ไมเคิล นักออกแบบท่าเต้นที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากรายงานของ โพลสตาร์ เซลีนมียอดจำหน่ายบัตร 322,000 ใบ ทำรายได้กว่า 43.9 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงต้นปี พ.ศ. 2548 และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 บัตรเข้าชมขายหมด 315 รอบจาก 384 รอบ[90] นอกจากนี้ในช่วงท้ายปี พ.ศ. 2548 เซลีนทำรายได้มากกว่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดการแสดงที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2005 ในอันดับที่ 6[91] อะนิวเดย์... เป็นคอนเสิร์ตทัวร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 ในสหรัฐอเมริกา[92] สืบเนื่องจากความสำเร็จของการแสดง เซลีนได้เซ็นสัญญาขยายระยะเวลาการแสดงถึงท้ายปี พ.ศ. 2550 จนเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศว่าการแสดงรอบสุดท้ายจะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยบัตรการแสดงช่วงหลังเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้ขายหมดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม[93] ในส่วนของสื่อบันทึกการแสดง ได้ออกจำหน่ายในชื่อว่า ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... ในรูปแบบดีวีดี และบลูเรย์ ออกจำหน่ายในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในยุโรป และวันรุ่งขึ้นในอเมริกาเหนือ[94] ส่วนในประเทศไทยได้ออกจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551[95]

    [แก้]กลับสู่ห้องบันทึกเสียง [2550 - 2552]

    เซลีน ดิออน รับการประสาทปริญญาสังคีตศาสตรดุษฎีบัณฑิต ณ พระราชวังมงต์กาล์ม ประเทศแคนาดา

    หลังจากที่เซลีนได้ออกอัลบั้มรวมเพลงฮิตภาษาฝรั่งเศส องเนอชองช์ปา (ฝรั่งเศสOn Ne Change Pas) เมื่อ พ.ศ. 2548 แล้ว เซลีนได้พักงานด้านการออกอัลบั้มในปี พ.ศ. 2549 จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้ออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสชุดล่าสุดในชื่อว่า แดล (ฝรั่งเศสD'elles, "พวกหล่อนเหล่านั้น") ขึ้นชาร์ตอัลบั้มแคนาดาอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 72,000 ชุดในสัปดาห์แรก นับเป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งอัลบั้มที่ 10 ของเธอในยุคซาวด์สแกน และเป็นอัลบั้มที่ 8 ที่เปิดตัวในชาร์ตในอันดับที่หนึ่ง อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 2 แผ่นจากประเทศแคนาดา และมียอดการส่งออกอัลบั้มไปยังทั่วโลกกว่าอีก 5 แสนชุดในสัปดาห์แรก[96] แดล ยังขึ้นชาร์ตอันดับที่หนึ่งในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม พร้อมทั้งเพลง "เอซีลนองแรสเตกวีน (เชอเซอเรแซลเลอ-ลา)" ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มดังกล่าวเปิดตัวในอันดับที่หนึ่งในชาร์ตซิงเกิลประเทศฝรั่งเศส ในปีเดียวกัน เธอยังได้ออกจำหน่ายอัลบั้มภาษาอังกฤษชุด เทกกิงแชนเซส ออกจำหน่ายในยุโรปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน อเมริกาเหนือวันที่13 พฤศจิกายน[97] และในประเทศไทยวันที่ 15 พฤศจิกายน นับเป็นสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษแรกของเธอภายหลังอออัลบั้ม วันฮาร์ต ในปี พ.ศ. 2546 อัลบั้มดังกล่าวมีการผสมผสานแนวเพลงป๊อป อาร์แอนด์บี และร็อก[98] ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับจอห์น แชงค์สเบ็น มูดดี (อดีตสมาชิกวงอีวาเนสเซนซ์), คริสเตียน ลันดินเพียร์ อสตรอมลินดา เพอร์รีเน-โย่ นอกจากนี้ยังขับร้องเพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" ร่วมกับยูนะ อิโตะ นักร้องชาวญี่ปุ่น[99][100] เซลีนกล่าวว่า "ฉันคิดว่าอัลบั้มนี้เป็นตัวแทนของพัฒนาการทางการร้องเพลงของฉัน... ฉันรู้สึกเข้มแข็งกว่าเดิมและอาจกล้าหาญขึ้นกว่าในอดีต ฉันแค่รู้สึกรักในดนตรีและชีวิตของฉันมากที่สุดในชีวิตของฉัน"[101] นอกจากนี้เธอยังจัดคอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซสเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าว เริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551ในแอฟริกาใต้ โดยเปิดการแสดงทั่วโลกใน 5 ทวีปกว่า 132 รอบการแสดง[102]

    วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เซลีน ดิออนได้รับเบญจมาภรณ์เลชียงโดเนอร์อันเป็นเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสจากนายนีโกลา ซาร์โกซี ประธานาธิบดี ณ พระราชวังเอลีเซ (ฝรั่งเศสPalais de l’Élysée, /ปาเลเดอเลลีเซ/) [2] ,ในวันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกันนั้น เซลีน ดิออน ได้รับการประสาทปริญญาสังคีตศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยลาวาล (ฝรั่งเศสUniversité Laval[103]

    คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซสประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกสกอร์ของนิตยสาร บิลบอร์ด โดยมียอดจำหน่ายตั๋วหมดทุกใบทุกรอบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เซลีนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูโน่ในปี พ.ศ. 2551 ประกอบไปด้วยรางวัลศิลปินแห่งปี, อัลบั้มป๊อปแห่งปี (เทกกิงแชนเซส), อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสแห่งปี (แดล) , อัลบั้มแห่งปี (แดล และ เทกกิงแชนเซส)[104] ในปีต่อมาเธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูโน่อีก 3 รางวัลคือ รางวัลแฟนช็อยส์, รางวัลเพลงแห่งปี ("เทกกิงแชนเซส") และ มิวสิกดีวีดีแห่งปี (ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...)[105]

    ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เซลีนได้แสดงคอนเสิร์ตสาธารณะเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีเมืองควิเบกซึ่งขับร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสทั้งหมด[106] ณแปลนออฟอับราฮัม ควิเบกซิตี้ ประเทศแคนาดา[107] โดยมีผู้ชมทั้ง ณ บริเวณการแสดงและผ่านทางโทรทัศน์ประมาณ 490,000 คน โดยเรียกคอนเสิร์ตดังกล่าวว่า เซลีนซูร์เลแปลน โดยออกจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์คอนเสิร์ตดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจกายน พ.ศ. 2551ในแคนาดา และวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในฝรั่งเศส[108] ปลายเดือนตุลาคมในปีเดียวกันเซลีนได้ออกจำหน่ายอัลบั้มรวมเพลงฮิต มายเลิฟ: เอสเซนเชียลคอลเลกชัน[109] ซึ่งออกจำหน่ายใน 2 รูปแบบคือซีดีแผ่นเดียวและสองแผ่น โดยในรูปแบบหลังได้ใช้ชื่อว่า มายเลิฟ: อัลติเมตเอสเซนเชียลคอลเลกชัน

    ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 เซลีนได้รับการจัดอันดับเป็นศิลปินแห่งทศวรรษลำดับที่ 20 ของอเมริกา และเป็นศิลปินหญิงแห่งทศวรรษของอเมริกาในอันดับที่ 2 ด้วยยอดจำหน่ายอัลบั้มรวมทั้งทศวรรษกว่า 17.57 ล้านชุด[110] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 นิสตยสารฟอร์บส รายงานว่าเซลีนทำรายได้ในช่วงปี พ.ศ. 2551 รวมกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นอับดับที่ 2 รองจาก มาดอนน่า นอกจากนี้เธอยังวางแผนกลับไปแสดง ณ ลาสเวกัสในปี พ.ศ. 2553[111] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เซลีนแถลงการแท้งบุตรของเธอตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิสนธิ [112][113]

    ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โพลล์สตาร์ประกาศว่าเซลีนเป็นศิลปินเดี่ยวที่มียอดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตสูงสุดในทศวรรษและเป็นอันดับที่สองเมื่อนับศิลปินประเภทวง โดยเป็นรองเพียงวงเดฟแมทธิวส์แบนด์[114] เซลีนทำรายได้กว่า 522.2 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ที่ซีซาร์พาเลส[114]

    [แก้]ภาพยนตร์คอนเสิร์ตและการตั้งครรภ์ [2552 - ปัจจุบัน]

    ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 โฆษกส่วนตัวของเซลีนเปิดเผยว่าเซลีนกำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่สอง[115][116] และคาดประมาณว่าเธอจะให้กำเนิดบุตรราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เซลีนประกาศว่าการตั้งครรภ์ของเธอประสบความล้มเหลว แต่เธอยังคงพยายามในการมีบุตรคนที่สองด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว[117][118]

    ยูเอสเอทูเดย์ ประกาศว่าเซลีนจะออกฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส โดยใช้ชื่อว่า เซลีน: ธรูดิอายส์ออฟเดอะเวิลด์ และจะออกฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[119] ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ประกอบด้วยเบื้องหลังการแสดงทั้งบนเวทีและนอกเวที พร้อมด้วยวิดีโอพิเศษเกี่ยวกับครอบครัวของเธอขณะที่ท่องเที่ยวไปกับเธอ[119] ออกจำหน่ายโดยโซนีพิกเจอร์สโดยเครือบริษัทย่อยฮอตทิกเก็ต[119]

    ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 เดอะลอสแองเจิลลิสไทมส์ ตีพิมพ์รายชื่อผู้ที่มีรายได้สูงสุดประจำปี และเปิดเผยว่าเซลีน ดิออนอยู่ในอันดับสูงสุดตลอดกว่าทศวรรษ ด้วยรายได้กว่า 747.9 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2543 - 2552 (ค.ศ. 2000 - 2009)[120] ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ๋มาจากการจำหน่วยบัตรชมคอนเสิร์ตกว่า 522.2 ล้านเหรียญสหรัฐ[121]

    หนังสือพิมพ์พื้นเมืองของมอนทรีออล Le Journal de Quebec ประกาศว่าเซลีนได้รับการยกย่องให้เป็น "ศิลปินแห่งทศวรรษ" ในจังหวัดบ้านเกิดของเธอในควิเบก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552[122] โดยทำการสำรวจทางออนไลน์สอบถามไปยังผู้อ่านเพื่อลงคะแนนให้กับผู้ที่พวกเขาคิดว่าสมควรได้รับรางวัลดังกล่าว[122]

    ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 เซลีนได้ร่วมแสดงกับสโมกีย์ โรบินสันอัชเชอร์เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน และแคร์รี อันเดอร์วูดเพื่อุทิศให้กับไมเคิล แจ็กสัน[123] โดยศิลปินทั้งห้าคนร่วมร้องเพลง "เอิร์ธซอง" ของไมเคิลหน้าจอยักษ์ 3 มิติ[124]

    จากบทสัมภาษณ์ใน นิตยสารพีเพิล ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เซลีนประกาศว่าเธอจะกลับไปแสดงยังซีซาร์สพาเลสในนครลาสเวกัสในการแสดงชุด เซลีน เป็นการแสดงทั้งสิ้น 3 ปี โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554[125] เธอกล่าวว่าการแสดงชุดนี้จะรวม "ทุกเพลงของฉันที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีที่ทุกคนอยากได้ยิน" รวมไปถึงเพลงที่คัดสรรจากภาพยนตร์คลาสสิกของฮอลลีวูด[126] เซลีนประกาศว่าเธอกำลังทำงานในสองอัลบั้มใหม่ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษโดยร่วมกับเอ. อาร์. ราห์แมน ผู้ได้รับรางวัลอะคาเดมีสาขาดนตรี ซึ่งประพันธ์เพลงใหม่ให้เธอสองเพลง [127][128]

    ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เซลีนจะออกจำหน่ายอัลบั้มบันทึกการแสดงสด เทกกิงแชนเซสเวิลด์ทัวร์: เดอะคอนเสิร์ต ในรูปแบบซีดีและดีวีดี และวิดีทัศน์ภาพยนตร์เรื่อง เซลีน: ธรูดิอายส์ออฟเดอะเวิลด์ ในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์ ทั้งสองยังประกอบด้วยฉบับดีลักซ์และบุกเล็ต 52 หน้าพร้อมโปสการ์ด[129][130]

    [แก้]ภาพลักษณ์

    ดาวเจ็ดแฉกแห่งแคนาดาส์วอล์กออฟเฟม(ซ้าย) และดาห้าแฉกแห่งฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (ขวา) จารึกชื่อเซลีน ดิออน

    ในวัยเยาว์ เซลีนเติบโตขึ้นด้วยเสียงเพลงจากศิลปินต่างๆ อาทิ อารีธา แฟรงคลินไมเคิล แจ็กสันคาโรล์ คิงแอน มัวเรย์บาร์บรา สตรัยแซนด์ และวงบีจีส์ ซึ่งในภายหลังได้ร่วมงานดนตรีกับเธอด้วย ระหว่างที่เธอเล่นที่บาร์เปียโนของพ่อแม่ร่วมกับพี่น้องของเธอ เธอได้ร้องเพลงหลายเพลงของ Ginette Reno และนักร้องชื่อดังชาวควิเบกอีกหลายคน เธอยังชื่นชอบผลงานของ เอดิต เพียฟ, เซอร์เอลตัน จอห์น และลูชิอาโน ปาวารอตติ นักร้องโอเปร่า และนักร้องแนวโซลอีกหลายคนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960, 1970, 1980 รวมทั้งโรเบอร์ตา เฟลค, เอตตา เจมส์ และแพตตี ลาเบลล์ ซึ่งเธอได้นำเพลงของนักร้องเหล่านี้มาร้องใหม่ในภายหลัง ทักษะภาษาอังกฤษของเธอได้รับอิทธิพลหลากหลายแนวเพลง ทั้งป๊อปร็อกกอสเปลอาร์แอนด์บี และโซลเนื้อเพลงของเธอมุ่งประเด็นในเรื่องของความยากจน, ความอดอยากของโลก, ลักษณะของจิตวิญญาณ ด้วยความรักและโรแมนติก[34][52] ภายหลังที่เธอให้กำเนิบุตรชาย แนวเพลงของเธอได้เปลี่ยนไปเน้นความสัมพันธ์ และความรักแบบพี่น้อง เซลีนต้องเผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ที่กล่าวว่าเพลงของเธอนั้นมักจะเป็นแนวป๊อป และโซล ซึ่งอ่อนไหวมากเกินไป[6][60][61] เคธ แฮร์ริส จากนิตยสาร โรลล์ลิงสโตน ได้กล่าวไว้ว่า "อารมณ์เพลงของเซลีนนั้นมีลวดลาย และความท้าทายมากกว่าความสงบเสงี่ยมเรียบร้อย และสันโดษ... [เธอ]ยืนอยู่บนจุกสุดท้ายของโซ่แห่งการเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างอาธีรา, วิทนีย์ และมารายห์... เซลีนยืนอยู่บนสัญลักษณ์ของความรู้สึกแนวเพลงป๊อป ยิ่งใหญ่ยิ่งดี มากเกินไปแต่ไม่เคยพอ ยิ่งแบ่งอารมณ์เพลงยิ่งทำให้รู้สึกถึงอารมณ์อันแท้จริง"[131] อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสของเซลีนเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ดนตรีมีแนวโน้มที่ลึกขึ้น และหลากหลายมากกว่าเพลงในภาษาอังกฤษ ผลลัพธ์ก็คือความสำเร็จ และมีชื่อเสียงมากกว่าอัลบั้มภาษาอังกฤษ[132][31]

    เซลีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในศิลปินที่ทรงอิทธิพลในโลก[133][31][6] และจากบางแหล่งข้อมูล เธอมีความสามารถร้องเพลงได้ 5 อ็อกเตฟ[134] ในการนับถอยหลัง "22 เสียงสุดยอดทางดนตรี" โดยนิตยสาร เบล็นเดอร์ และ เอ็มทีวี เธอได้อันดับที่ 9 (อันดับที่ 6 ในผู้หญิง) และอยู่ในอันดับที่ 4 ในนิตยสารโคฟ (อังกฤษCove') ในรายชื่อ "100 ศิลปินป๊อปที่โดดเด่นที่สุด"[16][135][136] ในผลงานแรกของเธอ นักวิจารณ์หลายคนต้อนรับเธอด้วยการวิจารณ์เสียงของเธอ และยกย่องความเชี่ยวชาญ, ความเข้มของการร้องเพลง ชาร์ลส์ อเล็กซานเดอร์ จากนิตยสาร ไทม์ กล่าวว่า "เสียงของเธอผ่านไปอย่างราบเรียบอย่างง่ายดาย จากเสียงกระซิบลึกๆสู่เสียงสูง เสียงหวานๆของเธอประกอบด้วยพลังและความสง่างาม"[26] แม้ว่าเซลีนมีความก้าวหน้าทางดนตรี แต่การร้องของเธอมีความใกล้เคียงกับเพลงร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทนีย์ ฮูสตัน และมารายห์ แครี[137] และเธอได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องของการร้องเพลงที่เกินไป และขาดอารมณ์ร่วม ซึ่งพบได้ในผลงานช่วงแรกๆของเธอ[63][45] นักวิจารณ์คนหนึ่งได้กล่าวว่าอารมณ์ของเธอ "เหมือนถูกฝึกมา โดยปราศจากความรักในเสียงของเธอ" และกล่าวว่าเธอ "ใช้เสียงมากกว่าหัวใจ"[38]

    นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่าเซลีนมีส่วนร่วมในงานด้านการสร้างเพลงของเธอน้อยมาก ซึ่งทำให้ผลงานของเธอมีมากเกินไป[134] และไม่เป็นตัวของเธอ[31] นอกจากนี้ ขณะที่เธอเติบโตมากับครอบครัวที่พี่น้องเป็นนักดนตรีทั้งหมด แต่เธอไม่เคยได้เรียนวิธีการเล่นเครื่องดนตรีอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม เธอช่วยในการประพันธ์เพลงภาษาฝรั่งเศสในช่วงแรกๆของเธอ และพยายามที่จะมีส่วนร่วมในงานด้านการผลิต และบันทึกเสียงในอัลบั้มของเธอ ในอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกของเธอ ซึ่งเธอบันทึกเสียงในช่วงที่เธอยังไม่แตกฉานทางภาษาอังกฤษมากนัก เป็นผลให้เธอไม่สามารถแสดงความสามารถของเธอออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเธอควรนำความสร้างสรรค์ใส่เข้าไปมากกว่านี้[31] ต่อมาเธอได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษลำดับที่ 2 เซลีนดิออน เธอมีส่วนร่วมในงานการสร้างและบันทึกเสียงมากขึ้น ด้วยความหวังที่จะลบล้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์เดิมๆให้หมดไป เธอกล่าวว่า "ในอัลบั้มที่ 2 ฉันมีทางเลือกที่จะกลัวอีกครั้ง และไม่มีความสุข 100% หรือว่าเลิกหวาดกลัว และเป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้ม นี่คืออัลบั้มของฉัน"[31] เธอร่วมงานด้านการสร้างและการบันทึกเสียงในอัลบั้มชุดต่อๆมา ช่วยประพันธ์เพลงในบางเพลง เช่น ในเพลงของอัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ และ ดีสอาร์สเปเชียลไทม์[138]

    เซลีน ดิออน ในรายการแลร์รีคิงไลฟ์ทางสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น

    แม้เธอจะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นของสื่อมวลชนในการเขียนเรื่องล้อเลียน และเรื่องตลก เธอมักถูกเลียนแบบในรายการโทรทัศน์ต่างๆ อาทิ MADtvแซทเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ และ เซาท์ปาร์ค ในเรื่องของการออกเสียงของเธอ, ความอนุรักษ์นิยม และการเคลื่อนไหวของเธอบนเวที เธอยังถูกเลียนแบบในรายการ รอยัลแคนาเดียนแอร์ฟารส์ และ ดีสอาวร์แฮสทเวนตีทูมินิทส์ อย่างไรก็ตาม เซลีนได้กล่าวว่าเธอไม่ได้รู้สึกอะไรจากการล้อเลียนดังกล่าว และเธอรู้สึกยินดีที่มีคนเลียนแบบเธอ[72] เธอเชิญ Ana Gasteyer ผู้เขียนล้อเลียนเธอในเอสเอ็นแอลบนเวทีการแสดงของเธอครั้งหนึ่ง เซลีน ดิออน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนน้อยครั้งมาก อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2548 หลังจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรินาพัดถล่มสหรัฐอเมริกา เซลีนได้วิจารณ์รัฐบาลแห่งมลรัฐลุยเซียนาผ่านทางรายการแลร์รีคิงไลฟ์ (อังกฤษLarry King Live) ถึงความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุดังกล่าว เซลีนร้องไห้น้ำตานองใบหน้าและกล่าวว่า "เราต้องไปที่นั่นในทันใด เพื่อช่วยผู้คนที่เหลือรอดอยู่ คราวที่ส่งกองรบไปสังหารผู้คนในตะวันออกกลางนั้นกลับทำได้ในไม่กี่วินาที แต่เหตุใดคราวที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วนภายในประเทศกลับทำได้ช้า"[139] ภายหลังเซลีนแถลงว่า "ตอนที่ฉันให้สัมภาษณ์ในรายการแลร์รีคิงไลฟ์ซึ่งเป็นรายการสำคัญขนาดนั้น ฉันรู้สึกตกเป็นเป้าสายตาซึ่งเป็นช่วงที่ค่อนจะวางตัวลำบากนัก ฉันย่อมมีความคิดความเห็นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ก็เป็นไปตามประสานักร้อง เพราะฉันไม่ใช่นักการเมือง"[140]

    [แก้]กิจกรรมการกุศลและงานอื่นๆ

    [แก้]งานอื่นๆ

    นอกจากการร้องเพลงแล้ว เซลีนยังได้เปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารฝรั่งเศสชื่อว่า "Nickels Grill" ในปี พ.ศ. 2533 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 สายการบินแห่งชาติแคนาดาได้เลือกเซลีน ดิออน เป็นพรีเซ็นเตอร์โปรโมตแคมเปญเที่ยวบินพิเศษ และเครื่องบินใหม่ของสายการบิน โดยเลือกเพลง "ยูแอนด์ไอ" (อังกฤษYou and I) ซึ่งเป็นผลงานการขับร้องของเซลีน เป็นเพลงหลักในการโปรโมตครั้งนี้[141] นอกจากนี้เซลีนยังออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำหอมและแว่นตา โดยเซ็นสัญญากับบริษัทโคตี้ จำกัด ในด้านการดูแลการผลิต[142][143][144] และล่าสุดเซลีนได้ออกจำหน่ายน้ำหอมชื่อ "เซลีนดิออน" รุ่นเซนเซชันแนล (อังกฤษSensational) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เซลีนเตรียมออกจำหน่ายน้ำหอมรุ่นใหม่ลำดับที่ 6 ในชื่อว่า ชิก [145] น้ำหอมตราเซลีน ดิออน ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รายวัล FiFi 2 รางวัล[146][147] โดยตั้งแต่เริ่มการจำหน่ายน้ำหอมของเธอตั้งแต่ พ.ศ. 2545 น้ำหอมของเธอทำรายได้กว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ [148]

    [แก้]กิจกรรมการกุศล

    ดูบทความหลักที่ มูลนิธิเซลีนดิออน

    เซลีนได้ให้ความช่วยเหลือมูลนิธิ, องค์กรการกุศลทั่วโลก โดยเฉพาะกองทุนแคนาดาเพื่อการสร้างเนื้อเยื่อในกระเพาะปัสสาวะ (อังกฤษCanadian Cystic Fibrosis Foundation (CCFF)) ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 [149] โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคาเรน หลานสาวของเธอที่เสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่อายุ 16 ปี ในปี พ.ศ. 2546 เซลีนได้เข้าร่วมในโครงการจัดคอนเสิร์ตวันเด็กโลก (อังกฤษWorld Children's Day) ร่วมกับจอช โกรแบน และYolanda Adams มีผู้ร่วมสนับสนุนอาทิ แม็คโดนัลด์ รายได้จากการจัดงานครั้งนี้ได้บริจาคแก่มูลนิธิเด็กกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก นอกจากนี้เซลีนยังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของมูลนิธิ T.J. Martell กองทุนของเจ้าหญิงไดอาน่าแห่งเวลส์ และกองทุนด้านสุขภาพและการศึกษาอีกมากมาย เซลีนร่วมบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และยังเคยจัดรายการการกุศลหาทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมียอดบริจาครวมกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ [150] และล่าสุดหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนของจีนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 เซลีนบริจาคเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐแก่กองทุนเพื่อเด็กและเยาวชนของจีน พร้อมสาสน์แสดงความเสียใจอีกด้วย [151]

    [แก้]ผลงาน

    [แก้]ผลงานเพลง

    เซลีน ดิออน มีผลงานด้านดนตรีมากมาย ด้านล่างนี้เป็นผลงานของเซลีน ดิออน ในขณะที่สังกัดค่ายโซนี่ บีเอ็มจี (โซนีมิวสิก) ที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง ผลงานของเซลีน ดิออนดูได้ที่ ผลงานอัลบั้มเพลงของเซลีน ดิออน และ ผลงานซิงเกิลของเซลีน ดิออน

    [แก้]อัลบั้มภาษาอังกฤษที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง

    [แก้]อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง

    [แก้]ซิงเกิล

    ปี ซิงเกิล อันดับสูงสุด
    แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
    2533 "แวร์ดัสมายฮาร์ตบีตนาว" 6 4 72 20
    2535 "อิฟยูอาสกต์มีทู" 3 4 57
    "บิวตีแอนด์เดอะบีสต์ " 2 9 9
    2536 "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" 1 1 1 1
    "เอิงการ์ซงปาก็อมเลโซตร์ (ซิกกี)" 1
    2537 "ธิงทไวซ์" 1 2 1 1
    2538 "ปูร์เกอตูแมมอองกอร์" 1 1 1 1
    "เชอเซปา" 1
    2539 "บีคอสยูเลิฟด์มี" 1 1 5 19
    "อิตส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว" 2 2 3 13
    2540 "ออลบายมายเซลฟ์" 4 6 5
    "เทลล์ฮิม" 12 3 4
    2541 "เดอะรีซัน" 11 1
    "มายฮาร์ตวิลโกออน" 1 1 1 1
    "อิมมอร์ทอลิตี" 5 15
    "แอมยัวร์แองเจิล(ร้องกับ R. Kelly) 37 1 3 97
    "ซีลซูฟฟีเซแดมเม " 4
    2543 "ไอว็อนต์ยูทูนีดมี" 1
    2544 "ซูเลอวอง(คู่กับ การู) 14 1
    2545 "อะนิวเดย์แฮสคัม" 2 22 7 23
    2546 "ไอโดรฟออลไนต์" 1 45 27 22
    "ตูลอร์เดซอม" 2 3
    2548 "เชอเนอวูอูบลีปา" 1 1
    2550 "เอซีลนองแรสเตกวีน (เชอเซอเรแซล-ลา)" 1
    ซิงเกิลอันดับ 1 8 5 4 8

    [แก้]คอนเสิร์ตทัวร์

    ปี (พ.ศ.) ชื่อทัวร์ รูปแบบ/ชื่อสื่อบันทึกการแสดง
    2526-2527 คอนเสิร์ตทัวร์เลเชอแมงเดอมาแมซง
    Les chemins de ma maison tournée
    ไม่มี
    2528 คอนเสิร์ตทัวร์เซปูร์ตัว
    C'est pour toi tournée
    ไวนิล เซลีน ดิออน อองกงแซร์
    2531 คอนเสิร์ตทัวร์แองกอญีโต
    Incognito tournée
    ไม่มี
    2533-2534 คอนเสิร์ตทัวร์ยูนิซัน
    Unison Tour
    วิดีโอ ยูนิซัน
    2535-2536 คอนเสิร์ตทัวร์เซลีนดิออน
    Celine Dion Tour
    ไม่มี
    2537-2538 คอนเสิร์ตทัวร์เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ
    The Colour of My Love Tour
    ดีวีดีวีซีดี, วิดีโอ เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟคอนเสิร์ตซีดี อาโลแล็งปียา
    2538 คอนเสิร์ตทัวร์เดอ
    D'eux Tour
    ดีวีดี, วิดีโอ ไลฟ์อาปารี; ซีดี ไลฟ์อาปารี
    2539-2540 คอนเสิร์ตทัวร์ฟอลลิงอินทูยู
    Falling into You Tour
    ดีวีดี, วีซีดี, วิดีโอไลฟ์อินเมมฟิส
    2541-2542 คอนเสิร์ตทัวร์เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ
    Let's Talk About Love Tour
    ดีวีดี, วีซีดี โอเกอร์ดูสตาด ; ซีดี โอเกอร์ดูสตาด
    2546– 2550 อะนิวเดย์...
    A New Day...
    ดีวีดี, บลูเรย์ ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...; ซีดี อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส
    2551-2552 คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส
    Taking Chances Tour
    ดีวีดี, บลูเรย์ เซลีนซูร์เลแปลน

    [แก้]ผลงานการแสดง

    [แก้]ละครชุด

    [แก้]ชีวิตส่วนตัว

    เซลีนสมรสกับเรอเน่ อองเชลลีล ผู้จัดการส่วนตัวของเธอเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ณ โบสถ์โนตเรอ-ดาม บาซิลิกา ในมอนทรีออล[152] ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544 เซลีนให้กำเนิดบุตรชายชื่อ เรอเน-ชาร์ลส[153] ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เรอเน-ชาร์ลสเข้าพิธีศีลมหาสนิท ณ โบสถ์โนตเรอ-ดาม บาซิลิกา โบสถ์เดียวกับที่เซลีนจัดงานแต่งงาน[154] เธอกล่าวว่าเธอมีแผนที่จะมีบุตรอีกคนหนึ่งกับเรอเน[155][156][157][158] ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เซลีนประกาศว่าเธอกำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 [159][160]


     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×