ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #13 : ฟรานซิส จิตร ช่างถ่้ายรูปมืออาชีำำพคนแรกแห่งสยาม

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    ฟรานซิส จิตร (Francis Chit) หรือ นายจิตร จิตราคณี ช่างถ่ายรูปหลวง ในรัชกาลที่ 4 ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น "ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์" และต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ และเลื่อนตำแหน่งเป็น “หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป” ซึ่งฝากผลงานรูปถ่ายไว้มากที่สุด และล้วนแล้วแต่เป็น ผลงานอันล้ำค่า ทั้งภาพบุคคล ภาพเหตุการณ์สำคัญ และสถานที่ต่างๆ

    นายจิตร เป็นคนไทยเชื้อสายฝรั่งกุฎีจีน เกิดเมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ 3 บิดาชื่อตึง เป็นทหารแม่นปืน ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) เมื่อโตขึ้นจึงเข้ารับราชการ เป็นมหาดเล็กหลวง อยู่ในเวรชิตภูบาล ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคต นายจิตรจึงได้มารับราชการ ในวังหลวง หรือขึ้นอยู่กับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    หลังจากเข้า มารับใช้ในวังหลวง ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์" หมายถึง ช่างทำรูปภาพอย่างดี คือ ทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายรูปหลวง
    ต่อมาในปีพ.ศ.2406 ได้ตั้งห้างชักรูป หรือสตูดิโอถ่ายรูปเป็นที่แรก บนเรือนแพ หน้าวัดซานตาครู้ส ชื่อร้าน "ฟรานซิศจิตรแอนด์ซัน” ทำให้นายจิตร เป็นคนไทยคนแรก ที่ตั้งร้าน รับจ้างถ่ายรูปเป็นอาชีพ ซึ่งเอกลักษณ์ ของรูปถ่าย ของร้านนายจิตร จะมีตราสัญลักษณ์แบบต่างๆ เช่น ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์, Francis Chit Bangkok , Khoon Soondr Sadis Lacks By Appointment Photographer to H.M. The Supreme King of Siam Bangkok และ F. Chit อยู่ที่ด้านหลังรูป

    ในดือ นกุมภาพันธ์ พ.ศ.2411 นายจิตรได้ไปถ่ายรูปทำแผนที่ ที่วัดพนมวัน และปราสาทหินพิมาย รวมทั้งยังมีโอกาส ตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อถ่ายรูปสุริยุปราคา

    ใน สมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายจิตรได้ตามเสด็จถึงสองครั้ง คือ เมื่อสเด็จประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวีย กับเสด็จประพาสพม่าและอินเดีย แต่ในการตามเสด็จทั้งสองครั้ง ไม่มีหลักฐานว่าถ่ายรูปอะไรบ้าง

    ปี พ.ศ.2423 ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (นายจิตร) ได้รับเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็น "หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป" หมายถึง เจ้ากรมดูแลโรงแก๊ส ซึ่งนายจิตร ได้ถ่ายรูปไว้มากมาย โดยเฉพาะรูปบุคคล ทั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 รวมทั้งวัด วัง ตึก เรือน และทิวทัศน์

    หลวงอัคนีนฤมิตร ฯ ป่วยเป็นอหิวาตกโรค และได้รับการรักษา แต่อาการก็ไม่หายดี กระทั่งเป็นอัมพาต แขนและขาซ้ายตายไปซีกหนึ่ง ครั้นกลางดึกของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2434 ถึงแก่กรรมด้วยวัย 61 ปี และเนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังไม่มีการตั้งนามสกุล เพราะฉะนั้นนายจิตร จึงไม่มีนามสกุลต่อท้าย จนกระทั่งในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยขุนฉายาสาทิศกร (สอาด) ลูกชายคนสุดท้องของนายจิตร ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "จิตราคนี"

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×