ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #12 : พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas II) แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2439 พร้อมกับสถาปนาพระมเหสีขึ้น เป็นพระนางซารีนาอเล็กซานดร้า (Tsarina Alexandra) ณ วิหาร Ouspensky Cathedral กรุงมอสโคว


    มกุฎราชกุมารนิโคลัสที่ 2 พระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Tsar Alexander III) พระสูติเมื่อปี พ.ศ.2411 ทรงมีโอกาสเสด็จประพาสไทย โดยเป็นพระราชอาคันตุกะ ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดงานรับเสด็จกันอย่างใหญ่โต

    ภายหลังจากที่ พระราชบิดา ทรงเสด็จสวรรคต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2437 ถัดมาในปีเดียวกัน มงกุฎราชกุมารนิโคลัสที่ 2 ก็อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอลิกซ์ (Princess Alix Von Hesse-Darmstadt) แห่งเยอรมัน หลังจากนั้น พระเจ้านิโคลัส และพระนางอเล็กซานดร้า ได้ประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2439 ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas II) และพระนางซารีนาอเล็กซานดร้า ฟีโอโดรอฟนา (Tsarina Alexandra Feodorovna) ณ วิหาร Ouspensky Cathedral กรุงมอสโคว ซึ่งทรงมีพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ เจ้าหญิงโอลก้า (Olga), เจ้าหญิงทาเทียน่า (Tatiana), เจ้าหญิงมาเรีย (Marie) และเจ้าหญิงอนาสตาเซีย (Anastasia) โดยมีมกุฎราชกุมารอเล็กซิส (Alexei) เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้อง (ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ได้รับการรักษาโดยรัสปูติน)

    ในฐานะกษัตริย์ ผู้ปกครองรัสเซีย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์ ที่ใจอ่อนมากเกินไป สำหรับการปกครองประเทศ ที่ใหญ่โตอย่างรัสเซีย เนื่องจากทรงยินยอม ให้ประชาชนมีเสียง ในการปกครองมากขึ้น โดยยอมให้มีการตั้งสภาดูมา (Duma) และอนุญาตให้มีสมาพันธ์กรรมกร (Labour Uninon) อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังคงเป็นที่เกลียดชังของประชาชนอยู่ดี





    จนกระทั่งในปี พ.ศ.2457 รัสเซียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหาร ซึ่งขณะนั้นรัสปูติน (แพทย์ผู้รักษาอาการป่วย ของมกุฎราชกุมารอเล็กซิส ) เริ่มเข้ามามีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่สภาดูมา (Duma) อีกทั้งข่าวลือว่า รัสปูตินเป็นชู้รัก ของพระนางซารีนา ยิ่งทำให้สภาดูมา ต่อต้านราชวงศ์อย่างเปิดเผย รวมทั้งภาวะสงคราม สร้างความไม่พอใจ ให้กับประชาชนบางกลุ่ม ซึ่งไปเข้าร่วมกับกลุ่มบอลเชวิก และกลุ่มปฏิวัติอื่นๆ

    ผล ลัพท์จากสงคราม ที่รัสเซียเป็นฝ่ายพันธมิตร เพื่อรบกับเยอรมัน ทำให้ทหารฝ่ายเยอรมัน เข้าปิดล้อมกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย ประชาชนเกิดความหิวโหย จึงเกิดการปฏิวัติเดือนมีนาคม (February Revolution) ในปี พ.ศ.2460 รวมทั้งทหาร ก็เข้าร่วมกับประชาชน และรวมตัวเป็นสภา "โซเวียต" (Soviet)

    Michael Alexandrovich
    ต่อ มาเกิดมหาปฏิวัติเดือนตุลาคม หรือ การปฏิวัติบอลเชวิก เพื่อเปลี่ยนการปกครอง ไปสู่สาธารณรัฐ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงมีคำสั่งให้ใช้กำลังทหาร ปราบปรามอย่างเด็ดขาด และปิดสมัยประชุมสภาดูมา เหตุการณ์รุนแรงขึ้น เมื่อสภาดูมามีมติประกาศ ให้สิ้นสุดอำนาจรัฐบาลของพระเจ้าซาร์ ทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์แก่ มกุฎราชกุมารอเล็กซิส ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ 2 มีพระนามเต็มว่า "His Imperial Majesty Tsar Alexei II, Emperor and Autocrat of all the Russias" แต่พระเจ้าซาร์กลับเปลี่ยนพระทัย ประกาศมอบบัลลังก์ให้แก่พระอนุชา พระเจ้าไมเคิล อเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Michael Alexandrovich) แต่ทรงปฎิเสธที่จะขึ้นครองราชย์ ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟไม่มีผู้สืบทอดต่อไป

    พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ถูกถอดจากพระราชสถานะ และถูกนำไปควบคุมไว้ที่บ้านอิมปาตีฟ (Impativ House) เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Ekaterinburg) ในไซบีเรีย ต่อมาสภาโซเวียต แห่งอูรัล จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้น เพื่อพิพากษาความผิดของราชวงศ์โรมานอฟ ในข้อหากบฏ และสร้างความล่มสลาย ให้แก่ประเทศชาติ โดยมีคำตัดสิน ให้สำเร็จโทษราชวงศ์ที่เหลือ อันได้แก่ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 , พระนางซารีนาอเล็กซานดร้า , เจ้าหญิงโอลก้า ,เจ้าหญิงทาเทียน่า , เจ้าหญิงมาเรีย เจ้าหญิงอนาสตาเซีย และมกุฎราชกุมารอเล็กซิส ทั้งหมดจึงถูกสังหารหมู่ โดยตำรวจลับเชกา (Cheka)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×