ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #98 : "เจ้าคุณ"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.01K
      4
      10 เม.ย. 53

      -ใน บุญบรรพ์เรียกท้าวทรงกันดาล (มอญ) ว่า เจ้าคุณใหญ่แต่มีอยู่ตอนหนึ่ง เรียกว่า เจ้าคุณผู้ใหญ่อย่างไรกันแน่-

                เรียกว่า เจ้าคุณใหญ่ตอนที่กลายเป็น เจ้าคุณผู้ใหญ่ผู้เขียนคงเผลอหลุดไป

                 เจ้าคุณผู้ใหญ่นั้น มีเรียกเหมือนกันในสมัยรัชกาลที่ ๓ คนทั่วไปขุนนางทั่วไปเรียก เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ว่า เจ้าคุณผู้ใหญ่

                คำว่า เจ้าคุณนั้น ว่ามีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มิใช่ยศใช้เรียกยกย่องกันเองโดยทั่วๆ ไป ใช่ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ก็มีบางตอนที่พวกบ่าวไพร่ และผู้พึ่งบารมีความมั่งคั่งของขุนช้าง เรียกขุนช้างว่า เจ้าคุณ

                สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เจ้าคุณมาจากคำว่า เจ้าประคุณ(หรือ เจ้าพระคุณนั่นเอง)

                ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา จดไว้ว่าพระเจ้าเสือ ตรัสเรียก พระราชชนนีเลี้ยง (พระอัครมเหสีในพระเทพราชา ผู้ทรงอุปการะพระเจ้าเสือมาแต่ประสูติ ถึงแผ่นดินพระเจ้าเสือ ทรงสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ ที่พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ว่า เจ้าคุณ

                ความมีอยู่ว่า ครั้งเมื่อพระเจ้าเสือเสด็จไปโพนช้างที่เมืองนครสวรรค์ ตรัสสั่งพระบัณฑูรใหญ่ (เจ้าฟ้าเพชร-ต่อมาคือพระเจ้าท้ายสระ) และพระบัณฑูรน้อย (เจ้าฟ้าพร-ต่อมาคือพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ) ให้ทำถนนข้ามบึงหูกวางให้แล้วในคืนเดียว เมื่อเสร็จแล้วดินพูนถนนจึงยังไม่ทันแห้งสนิท ทำให้ช้างพระที่นั่งไปถลำติดหล่มลงกลางทาง พระเจ้าเสือกริ้วพระราชโอรสทั้งสองว่าคิดกบฏ ให้จำไว้และเฆี่ยนทุกวัน พระบัณฑูรทั้งสองพระองค์จึงใช้ให้คนลงมาเชิญเสด็จ กรมพระเทพามาตย์เสด็จขึ้นไปทูลขอโทษ เมื่อพระเจ้าเสือทอดพระเนตรเห็นกรมพระเทพามาตย์ ตรัสถามว่า เจ้าคุณขึ้นมาด้วยกิจธุระอันใด

                 เจ้าคุณในวัง สมัยกรุงธนบุรี ที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุ มีเพียง เจ้าคุณใหญ่ท้าวทรงกันดาล (มอญ) ดังกล่าว

                สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                 เจ้าคุณท่านแรก น้าจะเป็น เจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือ เพราะในหมายร่างพระบรมราชโองการรัชกาลที่ ๑ เรื่องฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กล่าวถึง เจ้าคุณข้างในว่าเป็นผู้ทำแกงร้อนและทำขนมจีนน้ำยาเลี้ยงพระเลี้ยงคน มีคำอธิบายเชิงอรรถว่า เจ้าคุณข้างในคือ เจ้าจอมแว่น ยกย่องเรียกกันว่า เจ้าคุณเพราะในรัชกาลที่ ๑ เป็นคนโปรดและเป็นใหญ่อยู่ในวัง

                แต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้นเองแม้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะมิได้ทรงสถาปนาพระอัครมเหสี ทว่าก็ทราบกันอยู่ว่า พระชายาเดิมทรงดำรงตำแหน่ง พระอัครมเหสีโดยปริยาย คนทั้งหลายออกพระนามว่าพระพันวษา (หรือพระพันวัสสา) เมื่อถึงรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมราชชนนี เป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (ในรัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ส่วนพระพี่พระน้อง ของ สมเด็จพระอมรินทรฯ ที่เป็นภรรยาข้าราชการอยู่ในขณะนั้น เช่น ท่านผู้หญิงนวล ภรรยาเจ้าพระยามหามหาเสนาฯ (บุนนาค) คนทั้งหลายนับถือยกย่องว่าทรงศักดิ์สิทธิ์สูงกว่าภรรยาข้าราชการอื่นๆ เพราะเป็นพระพี่น้องของพระอัครมเหสี จึงเรียกกันว่า เจ้าคุณแทนที่เคยเรียกันว่า ท่านผู้หญิง’ ‘คุณหญิงหรือ คุณ

                ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระอมรินทรฯ เป็น สมเด็จพระพันปีหลวง พระญาตินับเป็น ราชินิกุลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงยกย่องพระญาติชั้นลุงป้า น้า อาเธอในพระองค์เป็น เจ้าคุณราชินิกุล(เจ้าคุณชั้นที่ ๑) ลูกๆ ของเจ้าคุณชั้นที่ ๑ ก็เป็น เจ้าคุณ(เจ้าคุณชั้นที่ ๒) และลูกๆ ของเจ้าคุณชั้นที่ ๒ ที่เกิดแต่ท่านผู้หญิงเอก ภรรยาก็เป็น เจ้าคุณ(เจ้าคุณชั้นที่ ๓) ด้วย

                ที่เรียกกันว่า เจ้าคุณในวัง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นั้นจึงมีอยู่หลายท่าน

                คือ ธิดาของท่านผู้หญิงนวล (ในรัชกาลที่ ๒ คนทั่วไปเรียกท่านว่า เจ้าคุณ๓ ท่าน)

                เจ้าคุณหญิงนุน เรียกกันทั่วไปว่า เจ้าคุณวังหลวงเพราะในสมัยนั้น ผู้น้อยไม่กล้าออกชื่อผู้ใหญ่ บรรดาเจ้าคุณทั้งหลายจึงมีฉายานาม แทนนามจริง ที่เรียกว่าเจ้าคุณวังหลวง เพราะโปรดฯให้เจ้าคุณหญิงนุ่น ผู้เป็นธิดาคนใหญ่ของเจ้าคุณโตเป็นผู้ดูแลราชการฝ่ายในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง)

                เจ้าคุณหญิงคุ้ม เรียกกันว่า เจ้าคุณวังหน้าเป็นธิดาคนกลางของเจ้าคุณโต โปรดฯให้ดูแลราชการฝ่ายในพระราชวังบวรฯ (วังหน้า)

                เจ้าคุณหญิงต่าย ธิดาคนเล็กของเจ้าคุณโตเรียกกันว่า เจ้าคุณปราสาทเพราะท่านอยู่กับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีท่านเสด็จประทับ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยาร่วมกับ สมเด็จพระอมรินทราฯ พระที่นั่งพิมานรัตยาอยู่หลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นกลุ่มเดียวกัน คนทั้งหลายจึงออกพระนาม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี 2ว่า ทูลกระหม่อมปราสาทและเรียกเจ้าคุณหญิงต่ายว่า เจ้าคุณปราสาท

                เจ้าคุกณทั้งสองท่าน เป็นราชินิกุลในรัชกาลที่ ๒

                 เจ้าคุณในวัง ที่มิได้เป็นราชินิกุล แต่เรียกกันว่า เจ้าคุณมีอีก ๔ ท่าน คือ

                เจ้าคุณจอมมารดาตานี เรียกกันว่า เจ้าคุณวังมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ ท่านเป็นธิดาคนใหญ่ของ เจ้าพระยามหาเสนาฯ (บุนนาค) เกิดแต่ภรรยาเดิมที่สิ้นชีวิตไปก่อนที่ท่านจะสมรสกับท่านผู้หญิงนวล เจ้าคุณจอมมารดาตานี เป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชธิดา ๑ พระองค์ พระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายฉัตร (กรมหมื่นสุรินทรรักษ์) ต้นราชสกุล ฉัตรกุล ณ อยุธยา

                เจ้าคุณจอมมารดาสี (หรือศรี) เรียกกันว่า เจ้าคุณพีว่ากันว่า เพราะท่านอ้วนมาก ท่านเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงหลงรักตั้งแต่ครั้งยังทรงรุ่นหนุ่มปลายสมัยกรุงธนบุรี เวลานั้นท่านเป็นธิดาของพระยาธรรมา (บุญรอด) กรมวังกรุงธนบุรี ซึ่งมีเคหสถานใกล้กันกับเคหสถานของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานคุณสีให้เป็นพระสนมเอก ตามพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เข้าใจกันว่าคงจะขอหมั้นคุณสีไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพราะในพระราชนิพนธ์ ทรงเอาไว้ว่า พระราชทาน (คุณสี) ไปตามคู่ตุนาหงันเดิม

                เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงสร้าง สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง โปรดฯให้บรรดานางในตามเสด็จประพาสสวนขวา ลงเรือพายเล่นไล่กันทำนองไล่จับ ได้ทรงพระราชนิพนธ์กลอนสัพยอกเจ้าคุณจอมมารดาสีเอาไว้ว่า

                 จับได้เรือเจ้าคุณพี ท่านเป็นผู้ดีมาแต่แผ่นดินโน้น ท่านงามนักเจียวเมื่อสาว เดี๋ยวนี้อ้วนราวกะตะโพน

                เพราะเหตุที่เป็นพระสนมเอกท่านแรก จึงเป็นที่โปรดปรานทรงพระเมตตามาก เจ้าคุณจอมมารดาสีมีพระราชธิดา สองพระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงจักจั่น และพระองค์เจ้าหญิงบุบผา

                เจ้าคุณจอมมารดาเรียม คือ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ นั้น คนทั้งหลายเรียกท่านว่า เจ้าคุณเช่นกัน ว่ากันว่าพระฉายานามคือ เจ้าคุณห้องเครื่องหรือ เจ้าคุณเครื่องไม่ชัดเจนนัก ด้วยเมื่อพระอิสริยยศขึ้นถึงสมเด็จพระพันปีหลวง แล้วคงจะลืมๆ กันไปเสีย ที่ว่าเรียกกันอย่างนั้น เพราะท่านมีหน้าที่กำกับการหรือบัญชาการห้องพระเครื่องต้น อีกประการหนึ่งคงจะยกย่องเพราะพระราชโอรสของท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ซึ่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดปรานและไว้วางพระราชหฤทัยให้กำกับราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ในขณะนั้นด้วย

                เจ้าคุณอีกท่านหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๒ มิได้เป็นราชินิกุล และมิได้เป็นเจ้าจอมมารดา ทว่าคนทั้งหลายเรียกว่า เจ้าคุณมีฉายานามว่า เจ้าคุณประตูดิน

                 เจ้าคุณประตูดินผู้นี้ คือ ท้าวศรีสัจจา ชื่อเดิมว่า มิเป็นท้าวศรีสัจจามาแต่รัชกาลที่ ๒ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๔ ได้พยายามค้นหาประวัติของท่านก็ไม่พบที่ใด ว่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดปรานท่านมาก ลือกันว่าท่านดุและเด็ดขาด สมัยรัชกาลที่ ๓ คงจะเป็นคนสำคัญไม่น้อย เพราะเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ หลังจากท่านสิ้นชีวิตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดฯให้จำหลักรูปท่านไว้ในคูหาใต้บันไดขึ้นพระที่นั่งบุษบกมาลาฝ่ายในที่พระมหาปราสาท

                ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ผู้มีอำนาจสิทธิขาดในวัง ๓ ท่าน เรียกกันว่า ราชนิเวศานุบาลฝ่ายในคือ เจ้าคุณปราสาท ๑ ท้าววรจันทร์ (อิ่ม) ๑ และท้าวศรีสัจจา (มิ) ๑

                ที่มีฉายาเรียกกันว่า เจ้าคุณประตูดินเห็นจะเป็นเพราะที่นั่งเป็นประจำของท่านคือตรงประตูดินข้างภายใน คอยดูแลคนเข้าออก และคงจะเป็นที่เกรงขามของบรรดานางใน จนกระทั่งมีเนื้อร้องเพลงเต่าเห่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ เอ่ยถึงท้าวศรีสัจจา (มิ) ผู้นี้ว่า

     เย็นเอยเย็นย่ำ จะค่ำลงแล้วอยู่รอนรอน

    สาวน้อยน้อยพากันจร ไปเก็บดอกแก้วเล่นเย็นเย็น

    ......ฯลฯ...... ......ฯลฯ......

    ......ฯลฯ...... ......ฯลฯ......

    โขลนคนหนึ่งจึงร้องห้าม ที่พวงงามงามอย่าเด็ดไป

    ห้ามแล้วหาฟังไม่ จะไปเรียนเจ้าคุณประตูดิน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×