ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #280 : เรื่อง "สยาม" พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 472
      0
      19 เม.ย. 53

    รื่อง ‘สยาม’ นี้ ขณะกำลังค้นหาบทความ และบทวิจารณ์เกี่ยวกับความหมายและที่มา เพื่อคว้ามาเล่าให้ได้ทราบกันพอสมควร
    สยาม
    ราฏฎรเมืองตรังกานู มาคอยเฝ้าฯรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อเสด็จประพาสแหลมมลายู พ.ศ.๒๔๓๔ ก่อนเมืองตรังกานูตกเป็นของอังกฤษ ใน พ.ศ.๒๔๕๒ ก่อนเสด็จสวรรคตเพียงปีเดียว

    ก็บังเอิญได้พบพระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้า (หญิง) พูนพิศมัย ดิศกุล ท่านมิได้ทรงนิพนธ์เรื่อง ‘สยาม’ โดยตรง หากแต่มีคำนี้อยู่ในเรื่องเมื่อเสียเขตแดนให้แก่ฝรั่งเศส และอังกฤษ อันเป็นพระนิพนธ์จากปาฐกถาของท่าน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒

    ในที่นี้ขอประทานเชิญมาเฉพาะตอนที่ต้องเสีย ๔ เมืองทางใต้ให้แก่อังกฤษ ซึ่งท่านทรงเล่าเรื่องราวอย่างฟังง่ายอ่านง่าย ดังนี้

    “เหตุที่เสียเมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู และเมืองปาลิสไป ก็เพราะเมืองเหล่านี้อยู่ใกล้ทะเล ซึ่งอำนาจปืนเรือรบยิงถึง เรือรบมีอำนาจมากในสมัยนั้น เพราะยังไม่มีเรือบินอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง พ่อค้าอังกฤษรู้จักขายของเก่ง เจ้าผู้ครองนครต่างก็สนุกในการซื้อของเพลิดเพลินจนมีหนี้ วิธีใช้หนี้ของเขาในเวลานั้น ก็คือเก็บภาษีตามหมู่บ้านใช้ แต่ก็ไม่มีผล เมื่อหนี้มากขึ้น พ่อค้าก็จะล้มละลาย ต้องร้องเรียนแก่ทางกงสุลให้ช่วย เมื่อเรื่องถึงกงสุลก็กลายเป็นการเมืองไป กงสุลต้องเข้าดูว่า ทำไมจึงไม่มีเงินใช้หนี้ ลงท้ายก็คือ เพราะจัดการไม่ดี (คงหมายถึงจัดการเรื่องในบ้านเมืองโดยเฉพาะ เรื่องการเศรษฐกิจ ทำนองนั้น - จุลลดาฯ)

    จนถึงวันหนึ่งราชทูตอังกฤษในเมืองไทย ก็ถือจดหมายของเจ้าผู้ครองนคร ๔ รัฐนี้ ถึงรัฐบาลอังกฤษ บอกว่าเต็มใจให้ให้อังกฤษปกครองทั้ง ๔ เมือง นำไปยื่นแก่เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศของเรา

    เราควรจะทำอย่างไรเล่า ในเมื่อเจ้าของท้องที่เขาขอไปเอง ส่วนการภายในเราก็ไม่ได้เข้าไปปกครอง นอกจาก ๓ ปี ก็ได้ราชบรรณาการครั้งหนึ่งเท่านั้น

    พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และแม่เจ้าอุสาห์
    พระเจ้าอินทรวิไชยานนท์
    พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และแม่เจ้าอุสาชายาพระเจ้าตา พระเจ้ายายของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕
    พระเจ้าอินทรวิไชยานนท์ (หรือพระเจ้าอินทรวิชยานนท์) และแม่เจ้าทิพเกสร (หรือเทพไกสร) ชายา พระบิดามารดาของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕

    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงพระราชดำริว่า ไหน ๆ เราก็เอาไว้ไม่ได้ เมื่อจะเสียก็ขอให้ได้อะไรบ้างก็ยังดี จึงทรงขอให้แลกกับเอาคนในสัปเยก (บังคับ) ฝรั่งมาขึ้นศาลไทย เพราะการมีศาลกงสุลนั้นใน ๑๐๐ คดี เราจะได้ชนะสัก ๑ แพ้ ๙๙ คดีเสมอไป ทั้งเป็นเหตุให้ก่อการวิวาทอยู่เสมอด้วย

    เมื่อตกลงกันแล้ว เขาก็เรียกให้เราออกไปสำรวจเขตแดน ซึ่งทางเขาขีดเส้นมาตามที่ราษฎรพูดภาษามลายูอยู่ รวมทั้งปัตตานี นราธิวาส ตากใบ และยะลา

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทยก็ทรงพิสูจน์ตามทางพงศาวดารว่า คนที่อยู่ใน ๔ เมืองนี้เป็นไทย รากวัดของไทยก็ยังมีอยู่ ที่เรียกกันว่า ‘พวกสามสาม’ นั้นคือ ‘สยามอิสลาม’ เมื่อพูดเร็วตามสำเนียงทางใต้จึงเป็น ‘สามสาม’ พวกนี้ยังพูดไทยได้ทั้งนั้น เป็นแต่เมื่อไปอยู่ในแดนมลายู ก็เลยเป็นอิสลามไป อังกฤษก็ยอมตามนี้ ๔ เมืองนี้ จึงคงเป็นเมืองของพระราชอาณาจักรสยามจนบัดนี้”

    หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงได้พระนามว่า ‘บิดาแห่งประวัติศาสตร์’ เมื่อทรงกล่าวเริ่มปาฐกถา รับสั่งว่า “ได้ฟังมาจากพ่อ ซึ่งเป็นคนมีส่วนอยู่ในคดีต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยคนหนึ่ง”

    เรื่องหนี้สินของพวกเจ้านายเจ้าบ้านผ่านเมืองนี้ มิใช่แต่เฉพาะผู้ครองนครรัฐมลายู แม้พม่าเชียงใหม่ ก็โดนทวงหนี้จนกลายเป็นเรื่องการเมืองไป

    เรื่องพม่าขอเว้นเสียไม่กล่าวถึง เพราะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพระราชอาณาจักรสยาม

    พระเจ้ากาวิโลรสสุริยาวงศ์

    แต่เรื่องเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับพระราชอาณาจักรสยามนั้น จวนแจไปทีเดียว

    ที่จริงเรื่องหนี้สินนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนคร องค์ที่ ๖ พระเจ้าตาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี แต่พวกอังกฤษมาทวงหนี้เอาในสมัย พระเจ้าอินทรวิไชยานนท์ (สะกดตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ) เจ้าครองนคร องค์ที่ ๗ พระบิดาของพระราชชายาฯ

    หนี้สินนั้นก็ไม่ได้เกิดจากการซื้อของ หรือส่วนพระองค์ หากแต่เกิดจากการตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างพวกพ่อค้าอังกฤษกับพวกค้าขายพื้นเมือง โดยพวกอังกฤษกล่าวหาว่า เมื่อครั้งพระเจ้ากาลิโลรส ท่านใช้อำนาจปรับ และรับทรัพย์สินของพวกเขาไป ร่วมด้วยกันหลายเรื่องหลายราย

    (แต่ในระหว่างพระเจ้ากาวิโลรสครองนครอยู่คงเป็นอย่างที่ว่า ‘หือ’ ไม่ขึ้น เพราะว่าที่จริงเรื่องคนในบังคับอังกฤษเป็นฝ่ายผิด หรือเป็นฝ่ายรังแกก็คงมีอยู่ไม่น้อย พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์นั้นว่ากันว่า ท่านเป็นคนดุเด็ดขาด ผู้คนกลัวกันนักหนา เมื่อจะประหารชีวิตใคร มักอุทานออกมาว่า ‘อ้าว’ คนโทษคนนั้นเป็นหัวขาด ชาวบ้านชาวเมืองจึงพากันเรียกท่านว่า ‘เจ้าชีวิตอ้าว’ ด็อกเต้อร์ดาเนียล แมคกิลวารี ศาสนาจารย์คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ในเชียงใหม่ บันทึกถึงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ไว้ว่า

    กระบวนเรือแห่นำเสด็จเข้าเมืองกลันตัน

    “ท่านเป็นเสมือนบิดาที่น่ารัก ถึงแม้ท่านจะมีน้ำพระทัยไม่แน่นอน ปรวนแปรตามอารมณ์บ่อย ๆ ก็ตามแต่ท่านก็ยังเป็นมิตรที่ประกอบไปด้วยความเมตตากรุณา ในการบริหารราชการของท่าน บ่อยครั้งได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ท่านเป็นนักปกครองที่ดีผู้หนึ่ง ท่านเป็นคนเฉียบขาดและเหี้ยมโหด ในสมัยที่ท่านครองเมือง ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อยเลย”)

    สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกอังกฤษและพวกใต้บังคับอังกฤษ ‘หือ’ ไม่ขึ้นดังกล่าวแล้ว ครั้นพระเจ้าอินทรวิไชยานนท์ เป็นเจ้าครองนคร ท่านเป็นลูกเขยของพระเจ้ากาวิโลรสฯ และว่ากันว่าเป็นคนอ่อน ๆ ไม่ดุเด็ดขาดเช่นเจ้าพ่อตา พวกในบังคับอังกฤษจึงกำเริบฟ้องร้องเจ้าผู้ครองนครองค์ก่อน และเจ้านายเมืองเชียงใหม่ หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ รวมแล้วคดีฟ้องร้องถึง ๔๒ เรื่อง ตุลาการกรุงเทพฯตัดสินยกฟ้อง ๓๐ คดี อีก ๑๑ คดี ตัดสินให้เชียงใหม่จ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน ๓๗๒,๘๑๒ บาท เจ้าครองนครไม่มีเงินชำระหนี้เพียงพอ ขอผ่อนชำระ ฝ่ายกงสุลอังกฤษ คือ มิสเตอร์น้อกซ์ (Knox) นอกจากไม่ยอมแล้วยังมีท่าทีคุกคามลบหลู่พระเจ้าอินทรวิไชยานนท์

    ถึงตรงนี้หากไม่ได้เงินชำระหนี้ เชียงใหม่ก็เห็นจะต้องเข้าตาจน ใช้สำนวนสมัยใหม่ไทยแกมฝรั่งตามความนิยมของสมัยนี้ ก็คงต้องว่า ‘เข้าล้อค’ ของนายน้อกซ์กงสุลอังกฤษพอดี

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงโปรดฯให้พระคลังมหาสมบัติ ให้พระเจ้าอินทรวิไชยานนท์ กู้เงินจำนวน ๓๑๐,๐๐๐ บาท รวมกับเงินของทางเชียงใหม่ ชำระหนี้ให้หมดสิ้นไป โดยทำสัญญาชำระคืนภายใน ๗ ป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×