ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #264 : เปรียบกรุงเทพฯ ว่าเป็นเวนิซตะวันออก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 301
      0
      18 เม.ย. 53

     

    ด้ยินว่ากรุงเทพฯ คือเวนิซตะวันออกไปเวนิซมาแล้วไม่เห็นเหมือน-

    -สะพานมัฆวานรังสรรค์ ข้ามคลองอะไรและที่เรียกกันว่าคลองรอบกรุง คลองไหนกันแน่ เดิมคิดว่าคือคลองที่เคยเรียกกันว่าคลองหลอด (ต่อมาเรียกคลองคูเมืองเดิม) ขอแผนที่ดูหน่อยก็ดีนะ-

    แนวคลองผดุงกรุงเกษม ข้างสถานีหัวลำโพง ต่อมาสร้างถนนกรุงเกษม ขนานไปกับคลองที่เห็นตึกใหญ่สีขาว คือโรงภาพยนตร์กรุงเกษม

    คำถามแรกจากหนุ่มน้อย คำถามหลังจากคุณป้า ผู้เติบโตอยู่แถบชานเมืองสุขุมวิทโน้น บังเอิญนั่งรถเข้ามาผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์ บอกว่าที่จริงผ่านมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่รู้ว่าข้ามคลองอะไรไม่เคยสนใจ เพิ่งจะอยากรู้

    ที่ฝรั่งไปว่ากันว่ากรุงเทพฯ เป็นเวนิซตะวันออกนั้น เป็นฝรั่งที่เข้ามากรุงเทพฯ สมัยเมื่อต้นรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๕ และ ๖ เมื่อต้นๆรัตนโกสินทร์นั้น ถนนหนทางยังไม่มี การเดินทางสัญจรไปมา ต้องใช้เรือนายเรือแจวไปตามแม่น้ำลำคลอง ส่วนถนนนั้น มีแต่เพียงแคบ ๆ สั้น ๆ ตามแนวคนเดินบ้าง เป็นถนนลูกรังสำหรับเกวียนหรือรถม้าบ้าง กรุยและถากกางพอให้ใช้ได้ ล้วนเป็นถนนดินหรือลูกรัง เฉพาะรอบพระบรมมหาราชวัง และรอบกำแพงเมืองด้านในเท่านั้น จึงจะเป็นถนนปูด้วยอิฐตะแคงเรียงแน่น ที่ต้องตะแคงอิฐก็เพื่อให้ฝังลึกลงไปในดิน แข็งแรงกว่า ปูลงไปเป็นแผ่นแบน ๆ

    คลองมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ใช้สำหรับการป้องกันพระนคร ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพรัตนโกสินทร์ จึงโปรดฯให้ขุดคลองรอบกรุง (ปรากฏในแผนที่คือคลอง ๒-๒) ขยายพระนครออกไป พร้อมกันนั้นก็สร้างกำแพงเมืองด้านในคลอง และสร้างป้อมรักษากรุง เรียงรายไปตามกำแพงเมืองเป็นคลองรอบกรุงคลองแรก

    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ ขยายพระนครออกไปอีกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมโอบล้อมกรุงซึ่งลักษณะเป็นเกาะ เป็นคลองรอบกรุงชั้นนอก คลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงเป็นคลองรอบกรุงชั้นใน แผ่นดินนี้ ขุดคลองแต่ไม่ได้สร้างกำแพงเมืองเลียบคลอง โปรดฯ ให้สร้างแค่ป้อม ๗ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง ที่จริงป้อมสร้างเวลานั้นมี ๘ ป้อม แต่อีกป้อมหนึ่ง ข้ามไปอยู่ฟากธนบุรี ตรงปากคลองสาน ซึ่งบัดนี้ยังคงอยู่อีกป้อมเดียวใน ๘ ป้อม คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ส่วนอีก ๗ ป้อม ทางฟากตะวันออก รื้อหมดแล้ว

    วัดโสมนัสวิหาร
    วัดโสมนัสวิหาร สร้างในรัชกาลที่ ๔ เดิมมีศาลาท่าน้ำ อยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม (ดังในภาพ)

    ชื่อป้อมทั้ง ๘ คล้องจองกันน่าจำ คือป้องปัจจามิตร ปิดปัจจานึก ฮึกเหี้ยมหาญ ผลาญไพรีราบ ปราบศัตรูพ่าย ทำลายแรงปรปักษ์ หักกำลังดัสกร มหานครรักษา
    สำหรับป้อมปราบศัตรูพ่ายนั้นเหลือแต่ชื่อ ซึ่งกร่อนลงเหลือแต่ ‘ป้อมปราบ’

    ส่วนป้อมหักกำลังดัสกรอยู่แถวๆสะพานมัฆวานรังสรรค์

    เรื่องเปรียบกรุงเทพฯว่าเป็นเวนิซตะวันออกเข้าใจกันว่า อาจจะเปรียบเทียบกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาก็เป็นได้ เพราะกรุงศรีอยุธยาก็มีสภาพเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ มีเรือนแพตามแม่น้ำลำคลอง มีคลองมากและใช้เรือสัญจรไปมาเป็นส่วนมากเช่นกัน

    คลองผดุงกรุงเกษมนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดฯ ให้ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีนั้น โดยจ้างจีนให้ขุดอยู่ ๑๐ เดือน จึงแล้วเสร็จ (พ.ศ.๒๓๙๕)

    ครั้นคลองขุดแล้วเสร็จ เมื่อเดือน ๙ (๑๔ สิงหาคม) ถึงเดือน ๑๑ (๑๐ ตุลาคม) ภายในปีนั้น สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระนางนาฎราชเทวี พระอัครมเหสีเสด็จสวรรคต

    สะพานัฆวานรังสรรค์
    สะพานมัฆวานรังสรรค์ สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมกับสร้างถนนราชดำเนินนอก ในรัชกาลที่ ๕ เห็นเรือแจวทั้งทางด้านหน้า และลอดใต้สะพานไป

    สมเด็จพระนางฯ พระองค์นั้น เมื่อสวรรคตทรงพระครรภ์ และมีพระประสูติกาลพระราชโอรส ทว่าพระราชโอรสสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ โดยที่พระราชมารดาหาได้ทรงทราบไม่ ด้วยพระบรมราชสวามีทรงมีพระบรมราชโองการให้ปิดบังเอาไว้ เกรงว่าจะสะเทือนพระหฤทัย แม้กระนั้นสมเด็จพระนางฯ ก็หาได้รอดพระชนมชีพไม่ พระราชกุมารนั้น ประสูติวันที่ ๒๐ กันยายน พระราชมารดาทรงพระชนม์อยู่อีกเพียง ๒๐ วัน ก็สวรรคต เป็นที่ทรงพระอาลัยในพระบรมราชสามียิ่งนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างวัดพระราชทานเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ริมคลองขุดใหม่ พระราชทานนามว่า ‘วัดโสมนัสวิหาร’ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖

    ครั้นสร้างวัดเสร็จ ถึง พ.ศ.๒๔๙๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ฉลองคลองผดุงกรุงเกษมเป็นการใหญ่ โปรดฯให้ปลูกศาลาและโรงตามริมคลอง รายไปฟากละ ๕๐ หลัง สองฟาก ๑๐๐ หลัง เผดียงพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป เจริญพระปริตร หลังละ ๕ รูป พระราชทานเงินขอแรงบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทช่วยทำสำรับถวายอาหารบิณฑบาท และถวายไทยทาน ราษฎรอยู่ตามริมคลองก็ให้ทำบุญร่วมด้วยตามศรัทธา ตอนกลางคืนนั้น ก็ให้ชาวบ้านจุดโคมให้สว่างทั้งสองฟากคลอง และมีการเล่นเรือเพลง มโหรีต่าง ๆ ตลอดทั้งลำคลองนั้น

    คลองผดุงกรุงเกษมนี้ ต่อมามักเรียกกันเพียงสั้น ๆ ว่า คลองผดุง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งริมคลองผดุงกรุงเกษมเป็นส่วนพระองค์เคียงคู่กันกับวัดโสมนัสวิหาร คือวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อเริ่มสร้างพระราชทานนามว่า วัดมกุฏกษัตริยาราม ตามพระปรมาภิไธยของพระองค์ให้คู่กันกับพระนามพระอัครมเหสี แต่เนื่องด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการจะกราบทูลออกพระนามาภิไธยนั้นต่างไม่ถนัดปาก จึงโปรดฯ ให้เรียกว่า ‘วัดพระนามบัญญัต’ ไปพลางก่อน ต่อเมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้วจึงให้เรียกว่า ‘วัดมกุฏฯ’

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดมกุฏฯ ได้เพียง ๙๖ วัน ก็เสด็จสวรรคต (พ.ศ.๒๔๑๑) วัดยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงโปรดฯ ให้สร้างต่อจนสำเร็จเรียบร้อยถึง พ.ศ.๒๔๓๓ จึงทรงประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้เรียกชื่อวัดว่า ‘วัดมกุฏกษัตริยาราม’ ดังเดิม ตามที่สมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทานไว้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×