ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #246 : กฎพระอัยการตำแหน่งนา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 350
      1
      17 เม.ย. 53

    ความล้มละลายของระบบศักดินา คืออะไรกันแน่

                เป็นคำถามจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเพิ่งสอบผ่าน (กำลังจะ) เข้าเรียนปีแรก

                ตอบให้ง่ายที่สุด คือการเลิกล้มระบบหรือระบอบประเพณีการนับศักดิ์ด้วยที่นา เพราะในสมัยโบราณโน้นการทำนาเป็นอาชีพ และเป็นผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญที่สุด จึงได้มีพระไอยการ (กฎหมาย) กำหนดเอาที่นาเป็นการกำหนด ‘ศักดิ์’ และ ‘สิทธิ’ โยงไปถึงกฎเกณฑ์ในการปกครองด้วย

                ก่อนเล่าถึงการล้มเลิก น่าจะได้เล่าถึงการเริ่มต้นก่อน

                กฎพระไอยการตำแหน่งนา มีขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลที่ ๘ ราชวงศ์เชียงรายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ.๑๙๗๗ - ๑๙๙๒)

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
    เจ้าฟ้าฯ
    กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

                กำหนดชั้นเป็น ๓ ชั้น คือ

                ๑. ชั้นผู้ปกครอง กษัตริย์ ถือว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งพระราชอาณาจักร จึงได้ออกพระนามกันว่า พระเจ้าแผ่นดิน จากนั้นก็พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง

                ๒. ชั้นผู้ถูกปกครอง คือราษฎรสามัญทั่วไป

                ๓. ชั้นพิเศษออกไป คือ พระภิกษุ สามเณร

                ทั้ง ๓ ชั้นนี้ กำหนด ‘ศักดินา’ ไว้ว่า

                ๑. ก. พระบรมวงศานุวงศ์ มีศักดินาตามลำดับชั้น พระมหาอุปราช มีศักดินา ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ อันเป็นศักดินาสูงสุด เจ้าฟ้าที่ทรงกรมแล้ว ๕๐,๐๐๐ ไร่ และ ๔๐,๐๐๐ ไร่ ลงไปจนถึง ๑,๕๐๐ ไร่

                ข. ขุนนาง มีศักดินาตั้งแต่ ๕๐ ไร่ ขึ้นไปจนถึง ๑๐,๐๐๐ ไร่ พวกขุนนางชั้นสูง ขั้นพระยาบางท่านและเจ้าพระยาที่ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ จึงเรียกกันว่า ‘พวกยานาหมื่น’ และ ‘เจ้าพระยานาหมื่น’ (สมัยนั้นเสนาบดีจตุสดมภ์ เจ้าเมืองเอก เจ้าเมืองโท ฯลฯ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ทว่าถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่าเจ้าพระยา)

                ๒. ราษฎรสามัญ มีศักดินาตั้งแต่ ๒๕ ไร่ลงไป แบ่งเป็น ๕ ชั้น

                ก. ไพร่หัวงาน (หัวหน้า) มีศักดินา ๒๕ ไร่

                ข. ไพร่มีครัว (ผู้บวชเรียน และมีครอบครัวแล้ว) มีศักนิดา ๒๐ ไร่

                ค. ไพร่ราบ (ชายฉกรรจ์ที่อายุเข้าเกณฑ์เป็นทหาร) มีศักดินา ๑๕ ไร่

                ง. ไพร่เลว (เด็กอายุระหว่าง ๑๓ - ๑๘ ปี โกนจุก แล้วแต่ยังไม่ถึงอายุเกณฑ์เป็นไร่ราบ) มีศักดินา ๑๐ ไร่ และ ง. พวกยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส มีศักดินา ๕ ไร่

                ๓. พิเศษ คือพระภิกษุ สามเณร

                ก. พระภิกษุธรรมดา มีศักดินา ๔๐๐ - ๖๐๐ ไร่ ชั้นพระครูธรรมามีศักดินา ๑,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ไร่

                ข. สามเณร มีศักดินา ๒๐๐ - ๓๐๐ ไร่

                ทั้งนี้เป็นการถือสิทธิเท่านั้น จะมีนาจริงๆ หรือไม่มีก็แล้วแต่ ทว่าถ้าหากมีที่นา ก็ต้องไม่เกินกว่าศักดิ์ที่กำหนดไว้ในพระไอยการ

                หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ มักมีผู้พูดกันว่า เป็นการล้มละลายของระบบศักดินา

                ซึ่งที่จริงแล้ว จะว่าถูกก็ได้เหมือนกัน เพราะต่อมา ไม่มีการโปรดเกล้าฯ ตั้งขุนนาง ข้าราชการเทียบศักดินาอีกเลย และแม้แต่ขุนนางศักดินา ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ถูกขอร้องแกมบังคับให้คืนบรรดาศักดิ์ขุนหลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา โดยเฉพาะ ชั้น พระ พระยา และเจ้าพระยา โดยให้ใช้ราชทินนาม เป็นนามสกุล

                และในระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๕ - พ.ศ.๒๔๘๘ ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทหหิดล ยังทรงพระเยาว์เสด็จอยู่ต่างประเทศ จึงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

    สมเด็จพระราชปิตุจฉา
    เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
    กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

                ระหว่างนี้ ไม่มีการสถาปนาพระอิสริยยศหรือสถาปนากรม หรือเลื่อนกรม พระบรมวงศานุวงศ์เทียบศักดินา

                มีแต่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธย ประกาศ เฉลิมพระเกียรติยศ ถวาย พระนาม สมเด็จพระอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระราชปิตุจฉา

                และเปลี่ยนคำนำพระนาม สมเด็จ เจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาฯ เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าฯ

                ต่อมาเมื่อ คณะผู้สำเร็จราชการฯ ประกาศในพระปรมาภิไธย โปรดเกล้าฯสถาปนาหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรวรรณ เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฯ ตามลำดับ ก็มิได้เทียบศักดินา

                จนกระทั่ง

                เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งนี้ ๒ พ.ศ.๒๔๘๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระมหานคร ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงถวายคืนพระราชอำนาจ

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์  เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาฯ

                ในประกาศพระบรมราชโองการนั้น มีความตอนท้ายว่า

                “ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างเจ้าฟ้าต่างกรมในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ จงทรงพระเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ...ฯลฯ...

                ให้ทรงเลื่อนเจ้ากรมเป็นพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ถือศักดินา ๑,๐๐๐

                ให้ทรงเลื่อนปลัดกรมเป็นพระจำนงบริรักษ์ ถือศักดินา ๘๐๐

                ให้ทรงเลื่อนสมุห์บัญชีเป็นหลวงพลพรรคภิบาล ถือศักดินา ๕๐๐”

                เป็นพระบรมวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่ทรงได้รับเลื่อนกรมในรัชกาลที่ ๘ และโดยเทียบศักดิดาตามระบบ ศักดินาตามพระไอยการเก่าแต่เดิม แสดงว่าระบบศักดินา ล้มละลายหรือเลิกไปเฉพาะเพียงขุนนางข้าราชการเท่านั้น

                ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ เมื่อเสด็จกลับมาบรมราชาภิเษกแล้ว โปรดเกล้าฯเลื่อนกรมพระบรมวงศ์ สถาปนากรม และเลื่อนพระอิสริยยศ จากหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า หลายพระองค์ในประกาศนั้น ก็ยังเทียบศักดินาอยู่ (พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๑๓)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×