ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสมบัติ!! สรุปวิทย์-คณิต (บลาๆ) ม.4 a little bit จ้า ^O^

    ลำดับตอนที่ #4 : การให้เหตุผล (2) [math]

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 53


    2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)

    การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานที่อาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม  ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เกิดจากการมีสมมติฐานทั่วไปและตามด้วยสมมติฐานเฉพาะย่อยๆ ไปเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสมมติฐานทั่วไป และสมมติฐานเฉพาะจะก่อให้เกิดผลสรุปเฉพาะ โดยต้องยอมรับว่าสมมติฐานทุกสมมติฐานเป็นข้อความที่เป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป

                ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย

    1. เหตุ 

    1) จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว

    2) 10 หารด้วย 2 ลงตัว

                ผล  10  เป็นจำนวนคู่ --> สมเหตุสมผล         

     

     

    2. เหตุ 

    1) คนทุกคนต้องตาย

    2) นายวิชาเป็นคน

                ผล  นายวิชาต้องตาย --> สมเหตุสมผล                         

    3. เหตุ

    1) นักกีฬากลางแจ้งทุกคนจะต้องมีสุขภาพดี

    2) เกียรติศักดิ์เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย

    ผล   เกียรติศักดิ์มีสุขภาพดี --> สมเหตุสมผล

     

    4. เหตุ 

    1) นกทุกตัวบินได้

    2) ค้างคาวเป็นนก

                ผล  ค้างคาวบินได้ --> สมเหตุสมผล              

                 

    5. เหตุ

    1) นายธนาคารทุกคนเป็นคนรวย                    

    2) นายอภิศักดิ์ เป็นนายธนาคาร                                     

                ผล นายอภิศักดิ์ เป็นคนรวย --> สมเหตุสมผล

                

    6. เหตุ

    1) มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิต

    2) นายแดงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง 

                ผล นายแดงจะต้องเป็นสิ่งมีชีวิต --> สมเหตุสมผล

     

    7. เหตุ

    1) ปลาโลมาทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

    2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทุกตัวมีปอด

                ผล ปลาโลมาทุกตัวมีปอด --> สมเหตุสมผล

     

    8. เหตุ

    1) แมงมุมทุกตัวมี 6 ขา

    2) และสัตว์ที่มี 6 ขา ทุกตัวมีปีก

                ผล แมงมุมทุกตัวมีปีก --> สมเหตุสมผล

     

    จากตัวอย่างการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วจึงหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น ซึ่งจะเรียกว่า ผล การสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปผลได้อย่างสมเหตุสมผล (valid) เช่น

    เหตุ   

    1) เรือทุกลำลอยน้ำได้     
    2) ถังน้ำพลาสติก ลอยน้ำได้
    ผล ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ                            

    การสรุปผลจากข้างต้น ไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการสรุปไม่สมเหตุสมผล

     

    สรุปว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
                1)
      ยอมรับว่าเหตุเป็นจริงทุกข้อ
                2)
      การสรุปผลสมเหตุสมผล

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×