คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : บทที่ ๑ ประวัติฟุตบอลไทย และสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์
บทที่ ๑
ประวัติฟุตบอลไทย และสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปีพุทธศักราช 2440 ชาวอังกฤษที่ทำงาน และมีถิ่นพำนักอยู่ในเมืองไทย ได้นำทีมฟุตบอล เข้ามาให้คนไทยได้รู้จักเป็นครั้งแรก โดยมีการเผยแพร่ และเล่นกันระหว่างข้าราชการครู จนมีการ จัดการ แข่งขัน อย่างเป็นทางการขึ้นในปี พุทธศักราช 2443 และได้มีการ แข่งขันกันเรื่อยมาจนมาถึงสมัยรัชการที่ 6 นับว่าเป็นยุคทองของกีฬาฟุตบอลเมืองไทย อย่างแท้จริง เพราะได้มีการเผยแพร่ข่าวสาร
ปีพุทธศักราช 2458 ได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน และมีการเรียกขานการแข่งขันฟุตบอลครั้งนั้นว่า “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง” ในครั้งนั้นมีทีม สโมสรสมัครเข้าแข่งขัน 12 ทีม ใช้เวลาจัดการแข่งขัน 46 วัน ( ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึง 27 ตุลาคม 2458) จำนวนทั้งสิ้น 29 นัด ในรอบชิงชนะเลิศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาเป็น
องค์ประธาน พระราชทานรางวัลเป็นกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันฟุตบอลตอนนั้นว่า “ฟุตบอล หน้าพระหน้าที่นั่ง“ และในช่วงเวลาพักครึ่งก็จะมีการแสดงของ “ฟุตบอลตลกหลวง” ซึ่งเป็นที่ถูกใจประชาชน ยิ่งนัก
ในปลายปีพุทธศักราช 2458 ได้มีการแข่งขันระหว่างชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่าง
“ทีมชาติสยาม” VS “ทีมราชกรีฑาสโมสร”( สปอร์ตคลับ )
ซึ่งเป็นสโมสรแรกที่เป็นศูนย์รวมของ ชาวต่าง ประเทศในกรุงเทพมหานครซึ่งมีความพร้อมทั้งตัวผู้เล่นและสนามแข่งขัน ในครั้งนั้นได้ทำการแข่งขัน ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ( สนามม้าปทุมวัน ) วันอังคารที่ 23 ผลปรากฎว่าทีมชาติสยาม เป็นฝ่ายชนะทีมราชกรีฑาสโมสรไป 2-1
มาถึงปีพุทธศักราช 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอล แห่งประเทศไทยฯขึ้น และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า THE FOOTBALL ASSOCIATION OF
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้สมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ (FEDERATION INTERNATIONAL DE FOOTBALL ASSOCIATION) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ฟีฟ่า (F.I.F.A.) ในวันที่ 23 มิถุนายน 2468
ปีพ . ศ . 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน “กีฬาโอลิมปิค” ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499 ณ นครเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย นับเป็นการร่วมการแข่งขันโอลิมปิค ครั้งแรก ของฟุตบอลทีมชาติไทย ถัดมาอีก 1 ปี สมาคมฟุตบอลฯ ก็สมัครเป็นภาคีสมาชิก สมาพันธ์ฟุตบอล แห่งเอเชีย (ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION “A.F.C.”)
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2505 เป็นต้นมาสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดการแข่งขันโดยการแบ่ง เป็นระดับชั้น เช่นเดียวกับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ คือ ระดับถ้วยพระราชทาน ประเภท ก ข ค และ ง ทีมชนะเลิศ ในแต่ละระดับ จะได้รับถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฟุตบอลทีมชาติไทย ได้มีโอกาสไปร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก และหลังจากนั้น ฟุตบอลทีมชาติไทยก็ยังไม่มีโอกาสร่วมการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกอีกเลย จวบจนปัจจุบัน ซึ่งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และประชาชน คนไทยก็หวังไว้ว่า ฟุตบอลไทยจะได้ร่วม การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้นี้ (รวมถึงข้าพเจ้าด้วย-จิ้งจอก)
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ รายการหนึ่งที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณพระราช ทานถ้วยรางวัลสำหรับทีมชนะเลิศ ซึ่งเรียกถ้วยพระราชทาน และ การแข่งขันนี้ว่า “ คิงส์คัพ” เป็นถ้วยถมทองคำ มีพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร.” ได้รับพระราชทานเมื่อปีพุทธศักราช 2511
อีกรายการหนึ่ง ที่จัดการแข่งขันโดยภาคีสโมสร ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ก็คือฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เรียกการแข่งขัน นี้ว่า “ควีนสคัพ” ทำด้วยเงินแท้ เป็นถ้วยรางวัลใบใหญ่ที่สุด
นอกจากนี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังมีการจัดการแข่งขันอีกหลายรายการ แบ่งแยกตามความเหมาะสมต่างๆ กันไป
สำหรับการแข่งขันในระดับฟุตบอลเยาวชนนานาชาติ ทีมฟุตบอลเยาวชนชาติไทย อายุ 16 ปี ได้เข้าร่วมการ แข่งขันในระดับเอเชียมา โดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้และในการแข่งขันระดับนี้ ทีมฟุตบอลเยาวชนชาติไทย สามารถเข้าชิงชนะเลิศในระดับเอเชีย ถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก ในปีพุทธศักราช 2539 (1996) ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน อายุ 16 ปี รอบชิงชนะเลิศของเอเซีย ณ จังหวัดเชียงใหม่ ทีมเยาวชนชาติไทย ได้ครองตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์ไป แข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศโลก อายุ 17 ปี ที่ ประเทศอียิปต์ ในปีพุทธศักราช 2540 (1997)
ครั้งที่สอง ในปีพุทธศักราช 2541 (1998) ประเทศไทย ส่งทีมเข้าแข่งขันฟุตบอลเยาวชน อายุ 16 ปี รอบคัดเลือก กลุ่มของเอเซีย และเป็นทีมชนะเลิศของกลุ่ม ได้สิทธิ์ไปแข่งขันฟุตบอลเยาวชน อายุ 16 ปี รอบชิงชนะเลิศ ของเอเซีย ณ ประเทศกาตาร์ ทีมเยาวชนชาติไทย ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ ได้สิทธิ์ไปแข่งขันฟุตบอลเยาวชน ชิงชนะเลิศโลก อายุ 17 ปี ที่ ประเทศนิวซีแลนด์ ในปีพุทธศักราช 2542 (1999)
เครดิต www.fat.or.th (เว็บสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์)
ความคิดเห็น