ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องสมุดโรงเรียน Moonlight oF MaGic SchOoL จ้า

    ลำดับตอนที่ #4 : การกำเนิดโลก

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 51


    จุดกำเนิดและวิวัฒนาการของโลก



    ^
    ^
    World

    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกที่เราอยู่มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี บรรพบุรุษของมนุษย์ใน
    ยุคแรกๆ เมื่อเปิดเปลือกตามองฟ้าก็ฉงนสนเท่ห์และแปลกใจในสภาพแวดล้อมของโลก นับตั้งแต่นั้นมามนุษย์ก็เริ่มค้นหาความจริงของโลก และชีวิต แล้วมนุษย์ก็ทิ้งสัตว์ทั้งหลายไว
    ้เบื้องหลัง เพราะเข้าใจโลกที่ตนอยู่ได้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับ
    พื้นพสุธากับท้องฟ้า หรือสวรรค์ เป็นเรื่องลึกลับในมนุษย์ยุคแรกๆ มนุษย์ในยุคนั้นเข้าใจธรรมชาติของพื้นดิน และท้องฟ้าเหมือนอย่างความเข้าใจของ
    ชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งเข้าใจว่าโลกที่เราอยู่เป็นห้องขนาดมหึมา พื้นดินคือพื้นห้อง
    ท้องฟ้าคือเพดาน มีเสาใหญ่ 4 ต้นค้ำท้องฟ้าไว้ มีเทพเจ้าเอาดวงดาวมาแขวนบนสวรรค์
    เป็นดวงไฟ ให้ความสว่างในยามราตรี
    เมื่อไม่กี่ร้องปีมานี่เอง มนุษย์เชื่อว่าโลกเบน มีทะเลกว้างใหญ่ห้อมล้อมอยู่ตามขอบของโลก มีดวงอาทิตย์โคจรผ่านโลกเบนๆอยู่ทุกวัน ในแนวความคิดเช่นนี้ มนุษย์จึงเชื่อว่า โลกคือศูนย์กลางของเอกภพ แต่ปัจจุบันเราทราบกันดีแล้วว่าโลกคือดาวเคราะห์ดวงเล็กๆโคจรอยู่รอบๆ
    ดาวดวงหนึ่งที่เราเรียกกันว่า ดวงอาทิตย์
    ควงอาทิตย์ก็มิใช่ศูนย์กลางของเอกภพ ความจริงดวงอาทิตย์คือดวงดาวอยู่ในบริเวณขอบด้านนอกของกลุ่มดาวมหึมา ที่เรียกกันว่า แกแลกซี่ของเรา เรามองเห็นกลุ่มดาวมหึมาหรือแกแลกซี่ในเวลากลางคืน ตรงบริเวณขาวเหมือนละอองหมอกบางๆซึ่งเป็นบริเวณดวงดาวรวมตัวกันหนาแน่นที่สุด และเรียงตัวเป็นแนวยาว เราเรียกบริเวณนี้ว่า ทางช้างเผือก (Milky Way)
    โลกที่เราอยู่ไม่เคยหยุดนิ่ง มันหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,000 ไมล์ต่อชั่วโมง และหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อวินาที และเดินทางผ่านอวกาศใกล้ๆขอบของทางช้างเผือกด้วยความเร็ว 170 ไมล์ต่อวินาที ขณะที่มันหมุนไปก็โอบอุ้มชีวิตบนโลกไปด้วยแรงดึงดูด (Gravity) โลกจึงเป็นเพียงจุดเล็กๆ ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของเอกภพ

    อายุของโลกและสุริยะจักรวาล




    รอบ ๆ ดวงอาทิตย์มีดาวเคราะห์สำคัญ 9 ดวง โคจรอยู่รอบ ๆ เป็นบริวารดาวเคราห์ะทั้ง9ดวงไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
    เหมือนดวงดาวทั้งหลาย แต่มองเห็นมีแสงสว่างในเวลากลางคืนก็เพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ดาวเคราะห์ทั้ง 9
    กับดวงอาทิตย์เรียกว่าระบบสุริยจักวาล
    ความจริงไม่ใช่มีเพียงดาวเคราะห์ 9 ดวงเท่านั้นที่หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์หากยังมีเศษหินและโลหะนับชิ้นไม่ถ้วน ซึ่งอาจหลงเหลือจากการเกิดของระบบสุริยจักวาลโคจรอยู่รอบ ๆ
    ดวงอาทิตย์ เศษละอองเหล่านี้บางทีเรียกกันว่า ดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะ มีขนาดเล็กมาก มักปรากฏอยู่เสมอว่าดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้หลุดออกจากวงโคจรจากดวงอาทิตย์ เข้ามาในบรรยากาศของโลกและตกลงมายังโลก ในที่สุดเราเรียกเศษหินและโลหะ หรือดาวเคราะห์น้อยที่ตกลงมายังโลกว่า ลูกอุกกาบาต และบางทีเรียกกันว่า ดาวตก เศษหินจากห้วงอวกาศเหล่านี้ทำให้เราได้ตัวอย่างหินจากนอกโลก ก่อนที่มนุษย์อวกาศ จะเดินทางไปเก็บเอาตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ และเมื่อนักวิทยาศาสตร์วัดการสลายตัวของ อะตอมกัมมันตภาพรังสีในลูกอุกกาบาตที่ตกลงมายังโลกก็พบว่าดาวตกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี จึงสรุปว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ หรือ ระบบสุริยจักรวาลเกิดขึ้นมาประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว ตัวเลขนี้ตรงกันกับวงการวิเคราะห์ตัวอย่างหินที่มนุษย์อวกาศนำมาจากดวงจันทร์ ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ จึงสรุปว่าโลกที่เราอยู่และระบบสุริยจักรวาลของเรามีจุดกำเนิดเมื่อ ประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว

    ทฤษฎีการเกิดของโลกและระบบสุริยะจักรวาร


    ก่อนที่นักดาราศาสตร์จะรู้อายุที่แท้จริงของ ระบบสุริยจักรวาล มีนักคิดค้นคนสำคัญของโลกหลายคนได้อธิบายการเกิด
    ของระบบสุริยจักรวาล แต่ทฤษฎีแรกทางวิทยาศาสตร์ เป็นทฤษฎีของนักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ อิมมานูเอล ค้านท์ ท่านผู้นี้ในปี ค.ศ.1755 ได้กล่าวว่า ระบบสุริยจักรวาลเกิดจากการหมุนตัวของสสารเหมือนวงล้อยักษ์หมุนอยู่ในห้วงอวกาศขณะหมุนไป ตรงจุดศูนย์กลางกลายเป็นดวงอาทิตย์และสสารที่หมุนอยู่รอบ ๆ แกนกลางกลายเป็นดาวเคราะห์ ต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ( marguis db laplace ) ในปี ค.ศ. 1796ได้เสนอทฤษฎี การเกิดของระบบสุริยจักรวาลคล้ายๆกับทฤษฎี ของ ค้านท์ทฤษฎีของ laplnce กล่าวว่า ภายหลังที่ กลุ่มสสารกลายเป็นดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์จะหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว แล้วเหวี่ยงสสารในรูปของก๊าซอองมาเป็นวงแหวนรอบๆดวงอาทิตย์ ต่อมาวงแหวนเหล่านี้จึงกลั่นตัวเป็นดาวเคราะห์แต่ละดวง ทั้ง 2 ทฤษฎีนี้หมายความว่านอกจากสุริยจักรวาลของเราแล้ว ย่อมมีระบบดาวเคราห์ที่เกิดขึ้นกับดวงดาว อื่นๆในจักรวาลซึ่งมีดวงดาวอยู่นับไม่ถ้วน







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×